Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เรียงความประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เรียงความประเพณีไทย แสดงบทความทั้งหมด

เรียงความ ประเพณี ไทย

เรียงความ ประเพณี ไทย
การเขียนเรียงความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเพณีไทย ก่อนที่เราจะเขียนในหัวข้อนี้ออกมาได้ และทำให้ผู้ที่อ่านเรียงความของเรา มีความเข้าใจในเนื้อหาที่เราต้องการจะสื่อออกมา เราต้องมีความรู้ ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับ ประเพณีไทย เป็นอย่างดี และสามารถอธิบายใจความสำคัญของประเพณีไทยออกมาได้

ในครั้งนี้ ผู้เขียนจะไม่ขอยกตัวอย่างของเรียงควาประเพณีไทยมาให้ดู แต่จะเป็นการยกหัวข้อของคำหลัก ที่ควรจะมีในการเขียนเรียงความ ประเพณีไทย เพื่อให้นักเรียน หรือผู้ที่กำลังจะเขียนเรียงความ ได้ไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติม เพื่อแตกแขนง หรือขยายความคำว่า "ประเพณีไทย" ให้ชัดเจน และคลอบคลุมยิ่งขึ้น

ประเพณี ไทย
ประเพณี ไทย
สำหรับคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเพณีไทย เพื่อที่จะนำมาเขียนเรียบเรียงเป็นเรียงความมี ดังนี้
- ประเพณีไทย
- ประเพณีไทยทรงดำ
- ประเพณีไทย 4 ภาค
- ประเพณีไทยภาคเหนือ
- ประเพณีไทยภาคกลาง
- ประเพณีไทยภาคใต้
- ประเพณีไทย คือ
- ประเพณีไทยภาคอีสาน
- ประเพณีไทยทรงดํา
- ประเพณีไทย มีอะไรบ้าง
- ประเพณีไทย ภาษาอังกฤษ
- ประเพณีไทยทั้งหมด
- ประเพณีไทยลอยกระทง
- ประเพณีไทยสงกรานต์
- ประเพณีไทยที่สําคัญ
- ประเพณีไทย12เดือน
- ประเพณีไทยโบราณ
- ประเพณีไทยใหญ่
- ประเพณีไทยและวัฒนธรรมไทย
- ประเพณีไทยแปลกๆ
- ประเพณีไทยภาคตะวันออก
- ประเพณีไทย 12 เดือน
- แฟนพันธุ์แท้ ประเพณีไทย

ดังนั้นแล้ว หากท่านกำลังที่จะศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเขียน เรียงความ ประเพณี ไทย แล้วผู้เขียนแนะนำให้ศึกษา หัวข้อต่างๆ ตามด้านบน
หากท่านศึกษาได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว ท่านสามารถ เรียนรู้ทักษะการเขียน เรียงความได้ที่นี่


ผู้เขียนหวังว่าท่านจะสามารถต่อยอดความรู้ และถ่ายทอด เรียบเรียง "เรียงความ ประเพณี ไทย" ออกมาเป็นเอกลักษณ์ของท่านได้อย่างแน่นอน

หากท่านใดมี เรียงความ ประเพณี ไทย อยากจะเผยแพร่ ก็สามารถติดต่อผู้เขียนได้เลย ผู้เขียนยินดีที่จะเผยแร่ผลงานให้ท่านครับผม
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ทักษะการเขียนเรียงความ

ทักษะการเขียนเรียงความ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนเรียงความประเพณีไทย

ทักษะการเขียนเรียงความจำเป็นต้องอาศัยการ เลียน เพื่อ เรียนรู้ นอกจากนี้ต้องมีความรู้และความคิดในเรื่องที่จะเขียน จึงจะสามารถเรียบเรียงถ้อยคำออกมาเป็นเรื่องราวสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้
ปัญหาของผู้เขียน  คือ    ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร
ปัญหาของครู         คือ    ผู้เรียนไม่ชอบเขียน กว่าจะเคี่ยวเข็ญให้เขียนได้แต่ละเรื่องจนกว่า จะส่งงานได้ครบทุกคนนั้น ครูต้องรอเป็นเวลานานมาก นอกจากนี้ครูยังต้องผจญกับปัญหา                   เรื่อง ลายมือ การเว้นวรรคตอน เขียนไม่มีย่อหน้า สะกดคำผิด เขียนตกหล่น ประโยคไม่สมบูรณ์           การเรียงลำดับความไม่มีเอกภาพ ใจความวกวน ฯลฯ
ปัญหาเหล่านี้  อาจจะแก้ไขได้โดย
1. ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างการเขียนเรียงความที่ดีในหัวข้อเรื่องที่เหมาะสมกับเด็กและ              ไม่ยาวนัก
2. ให้ผู้เรียนสังเกตการใช้ภาษา ลำดับการเขียน เนื้อหา ฯลฯ จากนั้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทดลองเขียนดูบ้าง อาจจะให้เขียนคนเดียวหรือช่วยกันเขียนก็ได้
3. ฝึกเขียนบ่อย ๆ เรื่องลายมือ ครูอาจแบ่งคะแนนลายมือที่เน้นการเขียนสะอาด และ              อ่านง่ายไว้ให้เห็นเป็นตัวเลขที่ชัดเจนด้วยก็จะเป็นทางหนึ่งที่นำไปใช้ได้

แนวการสอนเขียนเรียงความ เพื่อให้ผู้เรียนเขียนได้นี้ ศาสตราจารย์ฐะปะนีย์  นาครทรรพ ท่านได้นำเสนอไว้ในหนังสือ บันไดหลักภาษา เล่ม 2 ว่า ขั้นตอนการสอนเขียนเรียงความ มี 3 ขั้นตอน คือ 1) เขียนแนวคิดให้กระจ่าง  2) ร่างโครงเรื่องให้เป็นระเบียบ  3) เรียบเรียงเนื้อความ ให้สมบูรณ์   ดังจะขออธิบายตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1.       เขียนแนวคิดให้กระจ่าง
การมีแนวคิดก่อนลงมือเขียนเรียงความนั้นมีความจำเป็นและสำคัญมาก เพราะหากขาดแนวคิดที่จะเขียนแล้วการเขียนย่อมไร้ทิศทาง เป็นสาเหตุให้เขียนวกวน จับต้นชนปลายไม่ถูก
การจะกำหนดแนวคิดได้นั้นผู้เรียนจะต้องตีความจากหัวข้อเรื่องให้ได้ถูกต้องเสียก่อน เช่น ถ้าจะสอนเรื่อง ชีวิตคือการเดินทาง ครูอาจใช้เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อช่วยให้ผู้เรียนคิดให้ได้เสียก่อนว่า เราจะเปรียบชีวิตกับการเดินทางได้อย่างไร คำตอบอาจจะได้ว่า การเดินทาง ให้ประสบการณ์แก่เรา เช่นเดียวกับวันเวลาที่ผ่านไปในชีวิตก็ให้ประสบการณ์เช่นกัน ส่วนการเก็บเกี่ยวประสบการณ์หรือการรู้จักเลือกประสบการณ์หรือสิ่งที่เราพบเห็นมาใช้นั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเลือกให้เหมาะสมแก่ตัวเรา ดังนั้น ต้องเน้นที่การเป็นคนช่างสังเกต ถ้าผู้เรียนคิดแนวคิดหลักออกมา ได้เช่นนี้แล้ว ผู้เรียนก็พอนึกออกว่าตนจะเขียนเรื่องไปในแนวใด และเมื่อได้แนวคิดแล้ว สิ่งสำคัญต่อไปคือ  นำแนวคิดนั้นมาเขียนโครงเรื่อง

2.       ร่างโครงเรื่องให้เป็นระเบียบ
วิธีคิดโครงเรื่องนั้น อาจใช้วิธีคิดออกมาเป็นประโยคย่อยก่อน แล้วจึงนำความคิดเหล่านั้น มาเรียงลำดับใหม่ให้เหมาะสม  เช่น
1.       การเดินทาง ให้ประสบการณ์แปลกใหม่แก่ชีวิต
2.       ประสบการณ์ต่าง ๆ มีประโยชน์ ช่วยให้เราเห็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
3.       ตัวอย่างที่เห็นจากบุคคลอื่น เป็นแนวทางให้นำมาคิดปรับใช้กับตนเองได้
4.       การเลือกประสบการณ์ดี ๆ มาใช้ ย่อมให้คุณประโยชน์แก่ผู้รู้จักเลือก
5.       คนเราสามารถนำสิ่งที่พบเห็นในชีวิตมาเป็นแบบอย่างหรือเป็นครูได้
6.       คนเราควรมีความคิดและวิจารณญาณมากขึ้นเมื่อวัยเพิ่มขึ้น

เมื่อได้หัวข้อของโครงเรื่องออกมาแล้ว ผู้เรียนก็จะมองเห็นแนวทางที่จะเขียนได้ชัดเจนขึ้น
สิ่งที่ครูอาจจะช่วยผู้เรียนได้คือ การตั้งคำถามเพื่อนำสนทนาไปสู่แนวคิดและการเขียนโครงเรื่องให้ได้ ครูอาจจะต้องยอมเสียเวลาในห้องเรียนสำหรับขั้นตอนนี้
เมื่อผู้เรียนลงมือเขียนได้บ้างแล้ว บางคนอาจจะยังเขียนไม่ออก ครูก็ต้องช่วยตั้งคำถาม นำความคิดต่อไป แต่ถ้าได้พยายามแล้วยังเขียนไม่ได้อีก ครูอาจต้องย้อนมาดูที่ปัญหาอื่น ๆ และ                หาแนวทางแก้ไข แล้วสอนเท่าที่ผู้เรียนจะสามารถทำงานได้โดยไม่รู้สึกเครียดจนเกินไป เพราะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่ต้องอาศัยทัศนคติและพื้นฐานที่ดีร่วมกับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ บางครั้ง              อาจจะจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับผู้เรียน
อย่างไรก็ตาม การสอนเขียนเรียงความนี้ ครูต้องคำนึงถึงความรู้และประสบการณ์               ของผู้เรียนเป็นสำคัญ หัวข้อเรื่องต้องเหมาะแก่วัยและชั้นเรียน หรือเป็นสิ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจ             การเริ่มต้นเขียนต้องเริ่มจากง่ายและใกล้ตัวผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเขียนได้ด้วยความมั่นใจ                     การเริ่มต้นที่ไม่ยากจะกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเขียน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ที่เสนอแนวทางการสอนเขียนเรียงความมาแล้วนี้ เป็นเพียงการสอนให้ผู้เรียนเขียนให้ได้เสียก่อน ในส่วนของรูปแบบนั้น ครูอาจจะแนะนำภายหลังก็ได้ เพราะการเขียนให้มีรูปแบบ                  เหมือนการจัดสิ่งที่มีอยู่ให้ดูสวยงามนั่นเอง
รูปแบบของเรียงความ มี 3 ส่วน คือ 1) นำเรื่อง หรือ ตอนนำ 2) เนื้อเรื่อง 3) สรุป หรือตอนปิดเรื่อง
ทั้ง 3 ส่วนนี้ มีความสำคัญที่จะช่วยให้เรียงความน่าอ่าน เพราะสัดส่วนของเรื่องก็เหมือนรูปทรงภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ก่อน
ครูอาจจะให้ผู้เรียนดูตัวอย่างเรียงความจากเรื่องเดียวกัน แต่เขียนต่างกัน แบบหนึ่งมีย่อหน้า วรรคตอนถูกต้องสวยงาม กับอีกแบบเขียนโดยไม่มีย่อหน้าและไม่เว้นวรรคตอน หรือ เว้นวรรคไม่ถูกต้อง จากนั้นให้ผู้เรียนเลือกว่าอยากอ่านแบบใด เพราะอะไร
คำตอบของผู้เรียนจะช่วยให้เขาตระหนักในความสำคัญของการเขียนอย่างมีย่อหน้าและวรรคตอนที่ถูกต้อง โดยครูไม่ต้องไปบ่นว่าให้เสียเวลาและเสียอารมณ์ของผู้ฟังเลยแม้แต่น้อยนิด
ส่วนเรื่องลายมือ บางทีเป็นเรื่องความนิยมของเด็ก สมัยนี้เด็กจะเขียนหนังสือด้วยลายมือที่คล้ายคลึงกันมาก เหมือนตัวหนอนเป็นเส้น ๆ อ่านยาก ถ้าหมึกที่เขียนมีสีอ่อนจาง ก็เกือบกล่าวได้ว่าอ่านไม่ได้ทีเดียว วิธีนี้ครูต้องพูดกับผู้เรียนให้ชัดเจนว่า ครูตรวจไม่ได้ อ่านไม่ออก เพราะฉะนั้น                      อาจมีข้อตกลงว่า ต้องลอกใหม่ เพราะครูจำเป็นต้องตรวจงานของทุกคน
การสอนให้ผู้เรียนเขียนโครงเรื่องออกมาเป็น 3 ส่วนนี้ ต้องให้ผู้เรียนเข้าใจว่า                       ต้องพิจารณาว่าตอนใดเป็นการเกริ่นเพื่อนำเข้าสู่เรื่อง เป็นตอนที่กล่าวนำเพื่อยั่วให้อยากอ่าน ครูต้องหาตัวอย่างนำเรื่องที่น่าสนใจมาให้ดู แล้วให้ผู้เรียนอภิปรายว่า เรื่องใดเขียนดี เพราะเหตุใด นั่นคือ ตอนนำเรื่อง บางครั้งผู้เรียนชอบถามว่าจะให้เขียนกี่บรรทัด ตรงนี้ครูอาจจะระบุกว้าง ๆ ให้ก็ได้ว่า ถ้าเขียนเรียงความหนึ่งหน้า (ประมาณ 24 บรรทัด) ส่วนนำเรื่องก็ประมาณ 3 - 5 บรรทัด
การเขียนนำเรื่องนั้น ครูสามารถหาตัวอย่างมาก ๆ หลากหลายแบบหลายชนิดมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาเป็นใบความรู้ เช่น คำนำที่ขึ้นต้นด้วย บทร้อยกรอง, วาทะของบุคคลสำคัญ, เหตุการณ์ปัจจุบันที่น่าสนใจ, เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้น, เกริ่นนำ ฯลฯ
เมื่อผู้เรียนเขียนตอนนำเรื่องนั้น ให้ย้ำว่าจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า กำลังเขียนเรื่องอะไร สอดคล้องกับแนวคิดและโครงเรื่องที่วางไว้หรือเปล่า
ตัวอย่างการเขียนนำเรื่องมีความสำคัญมาก เพราะการสอนเขียนที่ดีที่สุด คือ การให้ดูจากตัวอย่าง เมื่อผู้เรียนได้เห็น ตัวอย่างมาก ๆ แล้ว เขาจะนำไปเป็นแนวทางในการเขียนได้เอง ครูมีหน้าที่ให้กำลังใจ คำชมคือปุ๋ยที่จะพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ส่วนคำติ เหมือนยาฆ่าแมลง ต้องใช้บ้างแต่ก็ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง บางครั้งอาจต้องรานกิ่งริดก้านเพื่อให้ได้ผลงดงามที่สุด เพราะฉะนั้นการติจึงควรเป็นคำแนะนำมากกว่า หรือครูอาจถามความคิดของผู้เรียนก่อนว่า เขาคิดอย่างไรที่เขียนเช่นนั้น บางครั้งผู้เขียนอาจคิดแปลกและสร้างสรรค์เกินกว่าครูจะคาดถึงก็ได้

3.       เรียบเรียงเนื้อความให้สมบูรณ์
ถ้าครูกำหนดคาบสอนเรียงความไว้ 3 - 4 คาบเรียน คาบแรกครูควรสอนเรื่องการเขียนแนวคิดและการวางโครงเรื่อง พร้อมกับให้ปฏิบัติ ส่วนคาบที่ 2 ควรฝึกเขียนนำเรื่องระหว่างสอน                   ครูควรแบ่งเวลาให้ผู้เรียนได้ทดลองเขียนด้วย แล้วเลือกผลงานของผู้เรียนออกมาอ่านเพื่อเป็นตัวอย่าง ให้เพื่อนร่วมชั้นช่วยกันวิจารณ์แสดงความคิดเห็น การใช้ตัวอย่างจากผลงานของเพื่อนในชั้นเรียน             จะช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่างานที่ครูให้ทำไม่ยากจนเกินไป นอกจากนี้การได้ฟังตัวอย่างก็จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดออกว่าจะเขียนอะไร อย่างไร
ในส่วนการสอนเขียนเนื้อเรื่องนั้น ขอให้ยึดโครงเรื่องไว้ตลอดเวลาที่เขียน แต่ทั้งนี้            ต้องแนะนำผู้เรียนว่า ถ้าระหว่างที่เขียนเห็นว่าโครงเรื่องน่าจะเปลี่ยนแปลงใหม่ก็สามารถทำได้                ไม่มีอะไรตายตัวในเรื่องของการเขียน
ปัญหาของการเขียนเนื้อเรื่องเท่าที่พบเสมอคือ เนื้อเรื่องขาดเอกภาพและสัมพันธภาพ วิธีแก้ไขคือ ครูต้องนำสิ่งที่เป็นปัญหามาให้ผู้เรียนร่วมกันคิดพิจารณาและหาทางแก้ไข การร่วมด้วยช่วยกันคิดเช่นนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
นอกจากนี้การส่งเสริมให้อ่านเรียงความที่เขียนดี มีสาระและไม่ยาวนัก เช่น แสงธรรม ของมูลนิธิ ก.ศ.ม. ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นแนวทางการเขียน เพราะหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยความเรียงสั้น ๆ ที่มีรูปแบบสมบูรณ์ทั้งนำเรื่อง เนื้อเรื่อง และสรุปอย่างชัดเจนทั้งข้อเขียนก็มีขนาดสั้นพอเหมาะแก่ความสนใจ ข้อคิดจากเรื่องก็ง่ายเพราะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน และที่สำคัญคือ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตของตนเองได้ด้วย
ในการเขียนสรุปหรือปิดเรื่องนั้น ผู้เรียนอาจมีปัญหาว่าจะจบอย่างไรดี วิธีสอนอย่างง่าย ก็คือ หาตัวอย่างมาให้ศึกษามาก ๆ แล้วให้ช่วยกันสังเกตว่าการเขียนสรุปจากตัวอย่างนั้นใช้กลวิธีใดบ้าง เช่น สรุปด้วยบทร้อยกรอง คำคม คำขวัญ สุภาษิต ข้อคิด ฯลฯ
จากวิธีการสอนดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาของผู้เรียนที่ว่า ไม่รู้จะเขียนอะไร ให้หมดไปได้บ้าง ข้อสำคัญอยู่ที่ครูต้องตรวจผลงานของผู้เรียน และต้องตรวจในเวลาที่ไม่นานจนเกินไป เพราะผู้เรียนมักจะรอฟังผลงานของตนอย่างกระตือรือร้นในช่วงแรก ๆ เท่านั้น แต่ปัญหาของครูคือ ผู้เรียนในชั้นเรียนมีห้องละกว่า 50 คน ครูจะบริหารเวลาอย่างไร ครูอาจจะต้องให้งานผู้เรียนแต่ละห้อง                 ไม่ตรงกัน หรือใช้วิธีสอนให้เขียนทีละส่วน งานของครูก็จะเบาลงพอที่จะปฏิบัติได้จริง เพราะ                  การสอนเขียนนั้นสำคัญยิ่งที่ครูจะต้องมีข้อมูลย้อนกลับมาให้ผู้เรียนทราบ ถ้าครูไม่สามารถตรวจงานผู้เรียนได้แล้วการสอนเขียนก็ไร้ค่า และสร้างปัญหาให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเขียนยิ่งขึ้น นอกจากนี้การให้คะแนนอย่างชัดเจนมีสัดส่วนของคะแนนที่ครูอธิบายได้ว่า ที่ให้คะแนนเช่นนี้              มีหลักอย่างไร ก็จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและไม่รู้สึกน้อยใจเมื่อคะแนนออกมาน้อยกว่าที่เขาคาดหวัง แต่อย่างไรก็ตามครูไม่ควรให้คะแนนน้อยจนเกินไป ถ้าผลงานชิ้นนั้นมีข้อตำหนิมากเกินไป ควรให้ผู้เรียนนำไปปรับปรุงเสียก่อนจะดีกว่า
ขั้นตอนสุดท้ายที่ครูสามารถนำมาช่วยพัฒนาผู้เรียนให้ชอบเขียนได้ก็คือ การนำผลงานของผู้เรียนไปเผยแพร่ ด้วยการติดป้ายนิเทศ หรือลงวารสารของโรงเรียน หรือแม้แต่การนำผลงาน       ของผู้เรียนมารวมกันแล้วเย็บเป็นเล่ม อาจทำภาพประกอบแบบหนังสือเล่มเดียว โดยให้ผู้เรียนที่มีความสามารถด้านศิลปะมาช่วยตกแต่งรูปเล่ม ก็จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการเขียน ตลอดจนตระหนักในความสามารถของตนเอง เพื่อจะได้มีกำลังใจที่จะพัฒนาตนเองยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ข้อเสนอแนะ
1.       การสอนเขียนเรียงความสำหรับผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ทางภาษาค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ ครูอาจจะต้องเริ่มต้นที่การสอนให้เขียนประโยค จากประโยคจึงเรียบเรียงเป็นเรื่องราวสั้น ๆ เช่น     เขียนบรรยาย เพราะภาพจะช่วยบอกเนื้อเรื่องได้
2.       ต่อจากนั้นจึงเริ่มสอนการเขียนนำเรื่อง จากเรื่องที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งชื่อเรื่อง             หาตัวอย่างการเขียนนำเรื่องหลาย ๆ แบบมาให้ศึกษา แล้วฝึกเขียนนำเรื่องอย่างเดียวจนแน่ใจว่านักเรียนเขียนได้แล้ว จึงฝึกเขียนสรุปเรื่อง และเมื่อได้ฝึกเขียนทั้งนำเรื่องและสรุปเรื่องแล้ว การเขียนเรียงความทั้งเรื่องก็จะทำได้ง่ายขึ้น


3.       เทคนิควิธีการสอนเขียนเรียงความ จึงขึ้นอยู่กับพื้นฐานของผู้เรียนเป็นสำคัญ ถ้าผู้เรียน มีพื้นฐานดีอยู่แล้ว การสอนเน้นแนวคิดจะให้ประโยชน์ได้มากกว่า เพราะเป็นการเริ่มต้นที่การคิดวิเคราะห์ แล้วนำมาสังเคราะห์ให้เป็นเรื่องราวที่สมบูรณ์

คำค้นหา : 
ทักษะการเขียนเรียงความ, เขียนเรียงความ, เรียงความ, 
เรียงความประเพณีไทย, เรียงความเรื่องประเพณีไทย, เรียงความเรื่อง ประเพณีไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th