Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript

เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557

เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557

>>> เกณฑ์การแข่งขันล่าสุด <<<





งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64 จังหวัดสกลนคร
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ วันที่ 13 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] ….. เพิ่มรายละเอียดเกณฑ์สวดมนต์แปล…..
Dowmload เสียงสวดมนต์ภาษาบาลีจากตัวอย่าง  -  เสียงของพระภิกษุชาวอังกฤษ        -  เสียงของพระภิกษุชาวไทย
  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ วันที่ 18 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] …….เพิ่มภาคผนวค โน๊ตเพลงดนตรีไทย………..
  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วันที่ 6 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]  …. แก้ไขแอโรบิก….
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วันที่ 18 สิงหาคม 2557  [คลิกที่นี่ ] …แก้เกณฑ์การแข่งขัน Impromptu Speech…
  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วันที่ 19 กรกฎาคม 2557  [คลิกที่นี่ ]
  ปฐมวัย วันที่ 30 มิถุนายน 2557  [คลิกที่นี่ ]
  การศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม)  วันที่ 29 กรกฎาคม 2557  [คลิกที่นี่ ]  …. เกณฑ์ใหม่…..
 การศึกษาพิเศษ (เฉพาะความพิการ) วันที่ 30 มิถุนายน 2557  [คลิกที่นี่ ]
อ้างอิงจาก : sillapa.net
อัพเดทล่าสุด วันที่ 18 สิงหาคม 2557

คำค้นหา : ศิลปหัตถกรรม จังหวัดสกลนครครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, เกณฑ์แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางและตะวันออก, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65, www.esan64.net, ศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64,ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางภาคตะวันออก, เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64, งานหัตถกรรมสกล, อีสาน64, งานศิลปหัตถกรรมครั้งที่64, เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรม 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2557, ศิลปหัตถกรรม ครั้งท่ 64, การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64, โหลดเกณฑ์งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศิลปหัตกรรมสกลนครครั้งที่ 64, เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ภาคเหนือ, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมภาคอีสาน ครั้งที่64, งานหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 64, ประกาศผลการแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรม วันที่ 18 สิงหาคม 2557, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน

ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาพื้นบ้านบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เพราะหมอยาเก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น หรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติเพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนสมัยก่อน ใช้ยาสมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิกง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงิน เครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษาคุณภาพและผีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากินมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถนาแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน

การลงแขกทำนาปลูกข้าวและปลูกสร้างบ้านเรือนก็เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียนมีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ คนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อยลงลงไป

การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ผลผลิตจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นำการพัฒนาหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน และการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม


คำค้นหา :

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาชาวบ้านในปัจจุบัน, ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคม, ภูมิปัญญาไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้นำ หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การสั่ง

แต่เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฎระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชนการละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ \"ผิดผี\" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น

ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การแลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง

ในชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางรักษาโรค บางคนทางการเพาะพืช บางคนทางการเลี้ยงสัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคนเก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความสามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี \"ค่าครู\" แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือเพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้นจะเก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว \"วิชา\" ที่ครูถ่ายทอดมาให้ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไปแต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ ด้วยวิธีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการสอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อนตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปีคนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือเก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเขาได้ปลา เขาจะทำกับเราเช่นเดียวกัน

ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด งานบุญกิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่างๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพพระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูสอนลูกหลานผู้ชายซึ่งรับใช้พระสงฆ์ หรือ \"บวชเรียน\" ทั้งนี้ก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาทของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป


คำค้นหา :

การอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคม, เศรษฐกิจพอเพียง, การอยู่ร่วมกัน, สังคม
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

พิธีจัดงานศพ

พิธีจัดงานศพ
พิธีจัดงานศพ
พิธีจัดงานศพ
การตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต การจัดงานศพให้แก่ผู้ตายนับเป็นประเพณีสุดท้ายเกี่ยวกับชีวิต จัดขึ้นตามพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ กลุ่มคนไทยเขมรที่นับถือศาสนาพุทธก็จะจัดพิธีศพตามหลักการของศาสนาพุทธซึ่งผสมผสานอยู่ระหว่างคตินิยมเชิงพุทธกับพราหมณ์

การทำโลงศพหรือหีบศพ ตามชนบทไม่นิยมซื้อโลงสำเร็จรูป แต่จะช่วยกันต่อโลงเองโดยนำไม้ประการฝาบ้านและกระดานพื้นบ้านของผู้ตายมาต่อเป็นโลงแล้วประดับด้วยกระดาษแก้วหลากสี นำมาตัดเป็นลวดลายต่างๆ การตั้งศพนิยมตั้งที่บ้านผู้ตาย ถ้าเป็นศพของญาติผู้ใหญ่จะตั้งไว้หลายวันตั้งแต่3 –7 วัน ศพเด็กหรือศพคนที่มีฐานะยากจนจะตั้งไว้ 1-3 วัน ก็จะทำพิธีฌาปนกิจ ในช่วงที่ตั้งศพสวดอภิธรรมที่บ้านจะมีประเพณีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกว่า “ลึงกาฮ” หมายถึงการเล่นทายเหรียญว่าจะออกหัวหรือก้อย โดยใช้เงินเหรียญหมุนแล้วครอบด้วยขัน ส่วนการแทงหรือการทายจะใช้เสื้อผ้า สิ่งของ ตลอดจนเครื่องประดับเท่าที่มีอยู่ขณะนั้น ไม่ได้เล่นได้เสียกันอย่างจริงจัง เมื่อเสร็จงานศพแล้วก็จะส่งคืน ส่วนใหญ่ผู้เล่นมักจะเป็นหนุ่มสาว ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้เกี้ยวพาราสีกัน

การเผาศพนิยมนำไปเผาที่ป่าช้าประจำหมู่บ้านหรือไม่ก็หัวไร่ปลายนาของผู้ตาย ผู้มีหน้าที่จัดพิธีศพซึ่งจะเป็นคนเดียวตั้งแต่แรกเริ่มเรียกว่า “อาจารย์” เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านพิธีและไสยเวทย์ที่เกี่ยวข้องกันเป็นอย่างดี พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2- 3 คน ผู้ช่วยเหล่านี้มีหน้าที่ตรงกับที่เรียกว่า “สัปเหร่อ” ภาษาถิ่นเรียกว่า “กีร์” หรือ “เกียร์” ชาวไทยเขมรมีการถือฤกษ์ยามการเผาศพเช่นเดียวกับชาวไทยในชนบททั่วไป คือ วันที่ห้ามเผาศพ คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 11 และวันแรม 6 ค่ำของทุกเดือน เนื่องจากวันดังกล่าวตำราของไทยเขมรเรียก “วันผีกิน” ถ้านำศพไปเผาในวันดังกล่าวอาจทำให้ญาติพี่น้องตายตามกันทันที นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามตามวันทั้ง 7 ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นด้วย


คำค้นหา :

พิธีจัดงานศพ

พิธีจัดงานศพ, งานศพ, สัปเหร่อ, วันผีกิน, วันที่ห้ามเผาศพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

วงมโหรีพื้นบ้าน

วงมโหรีพื้นบ้าน
วงมโหรีพื้นบ้าน
วงมโหรีพื้นบ้าน
วงมโหรีพื้นบ้าน คือ การนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องดนตรีประเภทปี่พาทย์ บางชิ้นมาประสมกัน โดมีซอเป็นเครื่องดนตรีหลักใช้บรรเลงในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในวงมโหรีพื้นบ้านสุรินทร์ ประกอบด้วย ซอกลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนซออู้ แต่จะมีเสียงสูงกว่า ซออู้เล็กน้อย หรือเรียกว่า ซออู้เสียงกลาง, ปี่ไน, ซออู้, ซอด้วง, กลองสองหน้า, ฉิ่ง , ฉาบ

เพลงที่ใช้ประกอบในวงมโหรีจะมีเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ประเภทของเพลงขับร้องจะมีบทร้องโดยไม่มีท่ารำประกอบเช่น บทเพลงกันตบ เนื้อร้องจะเป็นบทสอนหญิง บทเพลงเขมรเป่าใบไม้ ส่วนบทเพลงที่มีท่ารำประกอบเช่น เพลงอมตูก(พายเรือ), เพลงมลปโดง(ร่มมะพร้าว), เพลงอายัยโบราณ, เพลงซองซาร(หมายถึงที่รัก) บทเพลงดังกล่าวจะมีการฟ้อนรำประกอบโดยเฉพาะ อายัยโบราณ เป็นเพลง ซองซาร ในการร้องจะเป็นการโต้ตอบระหว่างชายหญิง เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องจะเป็นภาษาเขมร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวบ้านและวงมโหรีพื้นบ้านยังมีบทบาทต่อชาวบ้านในด้านต่างๆเช่น เป็นเครื่องนันทนาการของสังคมชาวบ้านเป็นสื่อประสานสัมพันธ์ทางสังคม ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสมาพบปะกัน เกิดความใกล้ชิด สามัคคีกลมเกลียวขึ้นในชุมชน


คำค้นหา :

วงมโหรีพื้นบ้าน

วงมโหรีพื้นบ้าน, มโหรีพื้นบ้าน, มโหรี
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประเพณีไทยภาคใต้ การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
มะโย่ง เป็นศิลปะการละครร่ายรำอย่างหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีลักษณะของการผสมผสานทางพิธีกรรม ความเชื่อ การละคร นาฏศิลป์และดนตรีเข้าด้วยกัน มีความกลมกลืนกันเป็นศิลปะชั้นเลิศของมลายู มะโย่งจัดเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายู ที่สามารถชมกันได้ในรัฐกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี ซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทสมาเลเซีย บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไกลจนถึงเกาะสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซีย คนไทยเชื้อสายมลายูเรียกการละเล่นมะโย่งว่า “เมาะโย่ง” ตามสำเนียงภาษามลายูถิ่นปัตตานี ซึ่งปัจจุบันมะโย่งยังคงมีการแสดงอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ประวัติความเป็นมาของมะโย่ง
ประวัติความเป็นมาของมะโย่งมิอาจระบุได้แน่ชัดว่ากำเนิดขึ้นที่ใดเป็นครั้งแรก นักวิชาการและนักแสดงหลายท่านได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของมะโย่งไว้แตกต่างกันไปหลายกระแส เช่น นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า มะโย่งกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเมืองมัชปหิต สมัยรายามูดอแลลอ บ้างก็ว่ากำเนิดขึ้นจากต่วนประไหมสุหรีบอสู และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในเมืองปาเล็มบังในสมัยรายากาซีนาบันดีตอแล้วแพร่มาสู่แหลมมลายู ส่วนจากคำเล่าของนักแสดงมะโย่ง บางโรงว่ามะโย่งกำเนิดขึ้นจากพิธีกรรมที่เกาะชวา บางโรงบอกว่าเกิดขึ้นจากสองสามีภรรยาที่ไปหาของในป่า ดังเช่น

จากการสัมภาษณ์ นายเจ๊ะเต๊ะ ดือมอง นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสรีปัตตานี เล่าว่า “มะโย่งก่อกำเนิดในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มจากสองผัวเมียเข้าไปหาของในป่าใหญ่แล้วเกิดหลงทาง ทั้งสองจึงคิดที่จะออกจากป่าซึ่งบังเอิญเห็นลิงป่าหลายตัวเล่นกันอยู่ จึงคิดสนุกโดยการที่ฝ่ายสามีเหลือบไปเห็นกะโหลกสุนัขก็นำกะโหลกสุนัขมาทำกะโหลกซอและเอาผมของตนเองมาทำสายคันชักและสายซอเอากระดูกมาเป็นด้ามซอฝ่ายภรรยาก็ร้องเพลงและเลียนท่าเต้นจากลิงป่า เมื่อออกจากป่าได้แล้ว จึงนำมาแสดงในเมือง ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม การแสดงนี้ต่อมาจึงเรียกว่า “มะโย่ง”

จากการสัมภาษณ์ นายนิโซะ นิเลาะ นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสามพี่น้อง กล่าวว่า “มะโย่งมีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ขณะนั้นโดยมะโย่งอยู่ในรูปแบบของการเล่นเพื่อรักษาไข้ ต่อมาเป็นที่รู้จักของชาวบ้านในวงกว้างขึ้นและได้นำเอาการแสดงมะโย่ง มาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในโอกาสต่างๆ เช่น งานเข้าสุหนัต งานแต่งงาน ต้อนรับบุคคลสำคัญ ต่อมากลายเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมจากราชสำนักและระดับชาวบ้าน จึงทำให้การแสดงมะโย่งได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาสู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดาร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน”

จากการสัมภาษณ์ นายยูโซ๊ะ บ่อทอง นักแสดงลิเกฮูลู กล่าวว่า มะโย่งมีต้นกำเนิดจากคนชวา ใช้แสดงในพิธีกรรมรักษาไข้ ต่อมาได้แพร่หลายมายังรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน และมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานี ปรากฏว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า การแสดงมะโย่งในปัตตานีมีมานานมากกว่า 400 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานเด่นชัดในสมัยราชินีฮิเยาครองเมืองปัตตานี สมัยนั้นมะโย่งมักนิยมดูในหมู่ชนชั้นสูง โดยใช้สถานที่แสดงในวังหรือบ้านขุนนาง ครั้งหนึ่ง ๆ แสดงนานถึง 4-7 คืน แต่ละคืนจะเลิกแสดงก็ต่อเมื่อรายารับสั่งให้ยุติ เล่นเพื่อความบันเทิง ต้อนรับบุคคลสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายูได้ปรากฏหลักฐานในพิธีต้อนรับพระองค์ได้มีการแสดงมะโย่งในเมืองปัตตานี ทรงบันทึกไว้ในหนังสือพระราชหัตถเลขา เรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายู อาจกล่าวได้ว่าการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานีน่าจะเริ่มปรากฏในราชสำนักก่อนในรูปแบบความบันเทิงเป็นที่นิยมชื่นชอบในราชสำนัก ถึงขนาดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ครองเมือง ต่อมาได้แพร่หลายสู่ระดับประชาชนทั่วไปซึ่งทั้งใช้เพื่อความบันเทิงและประกอบพิธีกรรมรักษาไข้มาจนถึงปัจจุบัน

โอกาสในการแสดงมะโย่ง
โอกาสในการแสดงมะโย่งสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการแสดงได้ 2 ประการ คือ การแสดง เพื่อความบันเทิง และการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ดังรายละเอียดดังนี้

1) การแสดงเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงที่เจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างรับมะโย่งมาแสดงในโอกาสต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง บุคคลสำคัญ งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานขึ้นเปลลูกเจ้าเมือง งานมาแกแต (งานบุญบริจาคหารายได้สมทบทุน) แก้บนที่ไม่ได้เกี่ยวรักษาไข้ (บนไว้ว่าถ้าได้ลูกสาวจะรับมะโย่งมาแสดง) งานประเพณีแห่นก งานเทศกาลประจำปี หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เป็นต้น

2) การแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม
เป็นการแสดงเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแสดงมะโย่งในพิธีแก้บน สะเดาะเคราะห์ รักษาไข้หรือตือรี และเพื่อไหว้ครู เป็นต้น

โรง หรือเวทีแสดงมะโย่ง
โรงหรือเวทีที่ใช้ในการแสดงมะโย่ง นั้น มี 2 แบบ คือ โรงที่ใช้แสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิง และโรงที่แสดงมะโย่งในพิธีกรรม ซึ่งทั้งสองมีลักษณะเป็นโรงที่ปลูกเป็นเพิงหมาแหงนเหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่อุปกรณ์ที่ใช้ประดับตกแต่งโรง คือ โรงเวทีที่ใช้แสดงมะโย่งในพิธีกรรม จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและมีอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในโรงหลายอย่าง

การแสดงมะโย่ง
ในการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรมนั้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ เริ่มต้นด้วยการเบิกโรง การโหมโรงจะเริ่มจากการบรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือซอรือบับเท่านั้นที่เล่นคลอเบา ๆ ตามด้วยกลองฆือแน ฆ้อง โหม่งและเครื่องดนตรีชิ้นที่เหลือตีบรรเลงพร้อมๆ กัน เป็นการปลุกเร้าหรือส่งสัญญาณบอกให้ผู้ชมทราบว่าการแสดงมะโย่งกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ต่อด้วย การรำเบิกโรง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้ร่ายรำจะต้องเป็นเปาะโย่ง ในพิธีนี้คนไข้อาจจะแสดงเป็นเปาะโย่ง และได้รับการถ่ายทอดท่าร่ายรำจากผู้แสดงเป็นเปาะโย่งของคณะที่ว่าจ้าง โดยมีตัวละครเมาะโย่ง ปือรันมูดอ ปือรันตูวอร่วมแสดงด้วย เวลาที่ใช้ในการรำเบิกโรงนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อมาเป็นการแสดงเป็นละครมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องตามบทละคร มีบทพูดสนทนาโต้ตอบกันของตัวละคร สลับบทร้อง การรำ การเต้น เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงจะมีลักษณะคล้ายเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ต่อมาเป็นพิธีแก้บน เป็นพิธีกรรมที่กระทำในคืนสุดท้ายเพื่อบอกกล่าวว่าการใช้บนได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยเจ้าภาพจะจัดเตรียมอุปกรณ์ คือ “สมางีน” พ่อหมอจะเรียกคนไข้และญาติให้มานั่งใกล้ ดนตรีเริ่มบรรเลงเพลง พ่อหมอจะหยิบผงกำยานโรยบนถ่านไฟให้ควันกำยานพุ่งนำเครื่องประกอบแก้สินบนทั้งหมดขึ้นมารมควันแล้วอ่านคาถา พ่อหมอดึงตัวปลดปล่อยที่สานจากใบมะพร้าวให้ขาดออกจากกัน และพ่อหมอนำแป้งหอมละลายน้ำทำเป็นน้ำมนต์มาพรมคนไข้และญาติๆ

ส่วนการแสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิงมีลักษณะการแสดงคล้าย ๆ กับการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรม แต่จะมีลำดับขั้นตอนการแสดงน้อยกว่า คือ จะเริ่มจากการโหมโรง ต่อด้วยรำเบิกโรง และแสดงเป็นละคร เวลาที่ใช้แสดงประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมะโย่งประกอบด้วย ซอรือบับ ปี่ซูนา กลองฆือแน ฆง โหม่ง จือแร็ก ฉิ่ง ฉาบ รำมะนา และไวโอลิน ส่วนจำนวนผู้แสดงมะโย่งมีทั้งหมด 15-25 คน เป็นโต๊ะมีโน๊ะหรือพ่อหมอ 1 คน เป็นนักดนตรี 7-9 คน ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงกับผู้ช่วยแสดง นักดนตรี ประกอบด้วย คนสีซอรือบับ เป่าปี่ซูนา ตีกลองฆือแน ฆง โหม่ง ฉิ่งกับฉาบ จือแร็ก รำมะนา (เครื่องดนตรีบางชนิดอาจจะเป็นคนๆ เดียวกันเล่น) ผู้ที่เป็นนักแสดงจะรักบทเป็นตัวละครสำคัญ ๆ ในการแสดงมะโย่งมี เปาะโย่ง เป็นตัวละครเอก เมาะโย่ง ปือรันมูดอ ตัวตลกตัวที่ 1 ปือรันทูวอ เป็นตัวตลกตัวที่ 2 ดายัง - ดายัง หรือ อีนัง - อีนัง

เครื่องแต่งกายของเปาะโย่งจะมีลักษณะพิเศษเป็นชุดเลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ ส่วนเมาะโย่งและนักแสดงที่เป็นตัวประกอบจะแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดพื้นบ้านชาวไทยมุสลิม เช่น ชุดกือบายา หรือชุดที่ธรรมดาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน นักดนตรีจะแต่งชุดสบาย ๆ ธรรมดาในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อัตราค่าจ้างในการแสดง มะโย่งแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่รับไปแสดง เช่น ถ้าเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง ระยะเวลาแสดง 2 - 3 ชั่วโมง ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 4,500 บาท ถ้าเป็นการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 6,000 บาท

ปัจจุบันมะโย่งนับได้ว่าเป็นการแสดงที่กำลังจะสูญหาย และหาดูได้ยากในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเนื่องจาก ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ไม่เอื้ออำนวยให้การละเล่นชนิดนี้อยู่รอดต่อไปได้ ดังเช่น ปัจจัยด้านความเชื่อในศาสนาอิสลาม ปัจจัยสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากชาติอื่น ๆ เข้ามาแพร่สิ่งใหม่ ๆ ดังเช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ โทรทัศน์ และปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างผู้แสดงและผู้ชมที่บทละครมะโย่งใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานี


คำค้นหา :

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง, มะโย่ง, ประเพณีภาคใต้, การละเล่นภาคใต้
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประเวศ วะสี (2542 : 34 – 36) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า เศรษฐกิจ พอเพียง คือ เศรษฐกิจที่มีรูปแบบเป็นทางสายกลาง หรือเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาปฏิปทา เพราะเชื่อมโยงทุกเรื่องเข้ามาด้วยกันทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่จริงคำว่า “เศรษฐกิจ” เป็นคำที่มีความหมายในทางที่ดี ที่หมายถึง ความเจริญที่เชื่อมโยงกาย ใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน แต่ได้มีการนำเอาคำว่าเศรษฐกิจไปใช้ในลักษณะที่แยกส่วนที่หมายถึง การแสวงหาเงินเท่านั้น เมื่อยกส่วนมันก็จะทำลายส่วนอื่น ๆ จนเสียสมดุลและวิกฤต

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2544) เศรษฐกิจพอเพียง คือ วัฒนธรรม ไม่ใช่เทคนิคการเพาะปลูก แต่ เป็นศีลธรรมความไม่ละโมบ และการประหยัด เศรษฐกิจพอเพียงเปิดโอกาสให้ทุกคนพออยู่ได้ แตกต่างจากการคิดในด้านเทคนิค ถ้าคิดแต่ด้านเทคนิคก็จะย้ำเฉพาะคน ทำให้เกิดการเอาตัวรอด ซึ่งไม่ตรงกับอุดมการณ์ของเศรษฐกิจพอเพียง ความคิดทางเทคนิคทำให้คนไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ตัวใครตัวมัน อันจะเป็นโทษแก่ธรรมชาติด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของสมาชิกในชุมชนที่มีให้แก่เพื่อนบ้าน และธรรมชาตินั้นถือเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน แนวคิดนี้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่จะคำนึงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน พร้อม ๆ กับรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติไปด้วย

พิสิฐ ลี้อาธรรม (2549 : 11) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง โดยความพอเพียงนั้น หมายถึง ความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายนอก และภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้ในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ และสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน มีความพอกินพอใช้ ไม่ใช่แต่จะสร้างความเจริญ หรือ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะที่เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ

สุเมธ ตันติเวชกุล (2550 : 13) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self –Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกิน พอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็ว แต่เพียงอย่างเดียว

อภิชัย พันธเสน (2550 : 22) ได้ให้คำจำกัดความของเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นข้อเสนอใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า “คือ ความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น” การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจจะหามาได้ถ้าปราศจากเงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การได้มาซึ่งเงินนั้นจำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ และนำเงินที่ได้มานั้นไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต

จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความสามารถในการดำรงชีพ อย่างเรียบง่าย อุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง รู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย อยู่อย่างประมาณตน ใช้จ่ายไม่เกินรายรับ มีการผลิตเพื่อให้พอมีพอกินในครอบครัว และมีความเอื้อเฟื้อกันในชุมชน ทะนุบำรุงพื้นฐานตัวเองให้เข้มแข็งทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ


คำค้นหา :

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง คือ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้รับการบรมราชาภิเษกตามแบบโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ณ วโรกาสนั้น พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แม้จะเป็นข้อความเพียงสั้น ๆ แต่มีความลึกซึ้งกินใจซึ่งเป็นพระราชปณิธานมุ่งมั่นพระทัยที่ต้องทรงปฏิบัติให้ได้

เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เหล่าพสกนิกรชาวไทย และชาวโลกแล้วว่า ตลอดระยะเวลา 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฏร์ และทรงห่วงใยในทุกข์สุขของประชาชนตลอดมา ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เมื่อทรงพบกับปัญหาก็ได้พยายามช่วยเหลือโดยทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ที่มุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชน

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นส่วนหนึ่งในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเหมาะพอดี มีเหตุมีผล และไม่ประมาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือปฏิบัติด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งได้พระราชทานพระราชดำริให้แก่คนไทยนำไปปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฏาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปโดยลำดับต่อไป หากมุ่งเน้นแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทาง การแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรอง พระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2549 – 2554) โดยรัฐบาลได้ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ อันเป็นการสนองพระราชปณิธานสืบสายพระราชดำริต่อไป


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง, ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, ที่มาของเศรษฐกิจพอเพียง, ที่ มา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง, ความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ความ หมาย ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาษาอังกฤษ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง doc
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เกษตรแบบผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น

เกษตรแบบผสมผสาน
เกษตรแบบผสมผสาน
เกษตรแบบผสมผสาน
การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ก็เป็นความรู้ความสามารถที่มีมาแต่โบราณ คนทางภาคเหนือรู้จักบริหารน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการบริโภคต่างๆ โดยการจัดระบบเหมือนฝายมีการจัดแบ่งปันน้ำกันตามระบบประเพณีที่สืบทอดกันมา มีหัวหน้าที่ทุกคนยอมรับ มีคณะกรรมการจัดสรรน้ำตามสัดส่วนและตามพื้นที่ทำกิน นับเป็นความรู้ที่ทำให้ชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำ ไม่ว่าต้นน้ำหรือปลายน้ำ ได้รับการแบ่งปันน้ำอย่างยุติธรรม ทุกคนได้ประโยชน์และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ชาวบ้านรู้จักการแปรรูปผลิตผลในหลายรูปแบบ การถนอมอาหารให้กินได้นาน การดองการหมัก เช่น ปลาร้า น้ำปลา ผักดอง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ปลาแห้ง เนื้อแห้ง การแปรรูปข้าวก็ทำได้มากมายนับร้อยชนิด เช่น ขนมต่าง ๆ แต่ละพิธีกรรมและแต่ละงานบุญประเพณี มีข้าวและขนมในรูปแบบไม่ซ้ำกัน ตั้งแต่ขนมจีน สังขยา ไปถึงขนมในงานสารท กะละแม ขนมครก และอื่น ๆ ซึ่งยังพอมีให้เห็นอยู่จำนวนหนึ่ง ในปัจจุบันส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อขาย หรือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน

ความรู้เรื่องการปรุงอาหารก็มีอยู่มากมายแต่ละท้องถิ่นมีรูปแบบและรสชาติแตกต่างกันไปมีมากมายนับร้อยนับพันชนิด แม้ในชีวิตประจำวันจะมีเพียงไม่กี่อย่าง แต่โอกาสงานพิธี งานเลี้ยง งานฉลองสำคัญ จะมีการจัดเตรียมอาหารอย่างดีและพิถีพิถัน

การทำมาหากินในประเพณีเดิมนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การเตรียมอาหาร การจัดขนมและผลไม้ ไม่ได้เป็นเพียงเพื่อให้รับประทานและอร่อย แต่ให้ได้ความสวยงาม ทำให้สามารถสัมผัสกับอาหารนั้นไม่เพียงแต่ทางปากและรสชาติของลิ้น แต่ทางตาและทางใจ การเตรียมอาหารนั้นเป็นงานศิลปะที่ปรุงแต่งด้วยความตั้งใจ ใช้เวลา ผีมือ และความรู้ความสามารถ

ชาวบ้านสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำนาเป็นหลักเพราะเมื่อมีข้าวแล้วก็สบายใจ อย่างอื่นพอหาได้จากธรรมชาติ เสร็จหน้านาก็จะทำงานหัตถกรรม การทอผ้า ทำเสื่อ เลี้ยงไหม เลี้ยงไหม ทำเครื่องมือสำหรับจับสัตว์ เครื่องมือการเกษตร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น หรือเตรียมพื้นที่เพื่อการทำนาครั้งต่อไป

หัตถกรรมเป็นทรัพย์สินและมรดกทางภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษเพราะเป็นสื่อที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อและคุณค่าต่าง ๆ ที่สั่งสมมาแต่นมนาน ลายผ้าไหม ผ้าฝ้าย ฝีมือในการทออย่างประณีต รูปแบบเครื่องมือที่สานด้วยไม้ไผ่ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ เครื่องดนตรี เครื่องเล่น สิ่งเหล่านี้ได้ถูกบรรจงสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สอย การทำบุญหรือการอุทิศให้ใครคนหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อการค้าขาย

ชาวบ้านทำมาหากินเพียงเพื่อการยังชีพ ไม่ได้ทำเพื่อขาย มีการนำผลิตผลส่วนหนึ่งไปแลกสิ่งของที่จำเป็นที่ตนเองไม่มี เช่น นำข้าวไปแลกเกลือ พริก ปลา ไก่ หรือเสื้อผ้า การขายผลิตผลมีเพียงส่วนน้อย และเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อเสียภาษีให้รัฐ ชาวบ้านนำผลิตผล เช่น ข้าว ไปขายในเมืองให้กับพ่อค้าหรือขายให้กับพ่อท้องถิ่นเช่นทางภาคอีสาน เรียกว่า \"นายฮ้อย\" คนเหล่านี้จะนำผลผลิตบางอย่างเช่น ข้าว ปลาร้า วัว ควาย ไปขายในที่ไกล ๆ ทางภาคเหนือมีพ่อค้าวัวต่าง ๆ เป็นต้น

แม้ว่าความรู้เรื่องการค้าขายของคนสมัยก่อนไม่อาจจะนำมาใช้ในระบบตลาดเช่นปัจจุบันได้ เพราะสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแต่การค้าที่มีจริยธรรมของพ่อค้าในอดีต ที่ไม่ได้หวังแต่เพียงกำไร แต่คำนึงถึงการช่วยเหลือแบ่งปันเป็นหลัก ยังมีคุณค่าสำหรับปัจจุบัน นอกนั้น ในหลายพื้นที่ในชนบท ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของยังมีอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจนซึ่งชาวบ้านไม่มีเงินสด แต่มีผลิตผลต่างๆ ระบบการแลกเปลี่ยนไม่ได้ยึดหลักมาตราชั่งวัดหรือการตีราคาของสิ่งของ แต่แลกเปลี่ยนโดยการคำนึงถึงสถานการณ์ของผู้แลกทั้งสองฝ่ายคนที่เอาปลาหรือไก่มาของแลกข้าว อาจจะได้ข้าวเป็นถังเพราะเจ้าของข้าวคำนึงถึงความจำเป็นของครอบครัวเจ้าของไก่ ถ้าตีราคาเป็นเงินข้าวหนึ่งถังย่อมมีค่าสูงกว่าไก่หนึ่งตัว


คำค้นหา :

เกษตรแบบผสมผสาน

เกษตรแบบผสมผสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาชาวบ้าน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความคิดและการแสดงออก ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อจะเข้าใจภูมิปัญญาชาวบ้าน จำเป็นต้องเข้าใจความคิดของชาวบ้านเกี่ยวกับโลกหรือที่เรียกว่า โลกทัศน์ และเกี่ยวกับชีวิตที่เรียกว่า ชีวทัศน์ สิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรมอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ทีเป็นรูปธรรม

แนวคิดเรื่องความสมดุล เป็นแนวคิดพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน การแพทย์แผนไทยหรือที่เคยเรียกกันว่า การแพทย์แผนโบราณ นั้นมีหลักการว่า คนมีสุขภาพดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คนเจ็บป่วยได้เพราะธาตุขาดความสมดุล

ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านในชุมชน ความสัมพันธ์ที่ดี มีหลักเกณฑ์ที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนมา เช่น ลูกควรปฏิบัติอย่างไรกับพ่อแม่ กับญาติพี่น้อง กับผู้สูงอายุ พ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยเฉพาะในยามทุกข์ยากหรือมีปัญหา

ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อนพึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน ตั้งแต่อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่พัฒนาก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ยังไม่มีระบบการค้าแบบสมัยใหม่ ไม่มีตลาด ชาวบ้านมีหลักเกณฑ์ในการใช้สิ่งของในธรรมชาติ ไม่ตัดไม้อ่อน ทำให้ต้นไม้ในป่าขึ้นแทนที่ถูกตัดไปได้ตลอดเวลา

ชาวบ้านยังไม่รู้จักสารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สิ่งของในธรรมชาติให้เกื้อกูลกัน ใช้มูลสัตว์ ใบไม้ใบหญ้าที่เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบรูณ์ น้ำสะอาดและไม่เหือดแห้ง ชาวบ้านเคารพธรรมชาติ เชื่อว่ามีเทพมีเจ้าสถิตอยุ่ในดิน น้ำ ป่า เขา สถานที่ทุกแห่งจะทำอะไรต้องขออนุญาตและทำด้วยความเคารพและพอดีพองาม ชาวบ้านรู้คุณธรรมชาติ ที่ได้ให้ชีวิตแก่ตน พิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแสดงออกถึงแนวคิดดังกล่าว เช่น งานบุญพิธีที่เกี่ยวกับ น้ำ ข้าว ป่าเขา รวมถึงสัตว์ บ้านเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ มีพิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น

ความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ชาวบ้านรู้ว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วน เล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเร้นลับ มีพลังและอำนาจที่เขาไม่อาจจะหาคำอธิบายได้ ความเร้นลับดังกล่าวรวมถึงญาติพี่น้องและผู้คนที่ล่วงลับไปแล้ว ชาวบ้านยังความสัมพันธ์กับพวกเขา ทำบุญและรำลึกถึงอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือในโอกาสสำคัญ ๆ

การทำมาหากินแม้วิถีชีวิตของชาวบ้านเมื่อก่อนจะดูเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ และยังอาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็ต้องใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด ทั้งนี้เพราะปัญหาต่าง ๆ ในอดีตก็ยังมีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อครอบครัวมีสมาชิกมากขึ้น จำเป็นต้องขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิกพื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนาซึ่งเป็นงานที่หนัก การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ การจับปลาล่าสัตว์ก็มีวิธีการ บางคนมีความสามารถมาก รู้ว่าเวลาไหนที่ใดและวิธีใดจะจับปลาได้ดีที่สุด คนที่ไม่เก่ง ก็ต้องใช้เวลานานและได้ปลาน้อย การล่าสัตว์ก็เช่นเดียวกัน


คำค้นหา :

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ความคิดและการแสดงออก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาชาวบ้าน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความหมายของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงความรู้ ความคิด ความเชื่อที่ท้องถิ่นได้สั่งสมและ สืบทอดต่อกันมา ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ อันเป็นศักยภาพหรือความสามารถ วิธีการ เครื่องมือเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาของการดำรงชีวิตให้มีความสงบสุขของบุคคลในท้องถิ่นให้อยู่รอด

ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ
การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม

การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย

การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน

การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น

ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทำมาหากิน การร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี

ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกับธรรมชาติ

ความรู้เรื่องทำมาหากินมีอยู่มาก เช่นการทำไร่ทำนา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การจับปลา จับสัตว์ การผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดของชาวบ้าน การทำเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้และหิน ซึ่งจะพบได้จากโบราณสถานในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ


คำค้นหา :

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประเพณีภาคเหนือ ประเพณียี่เป็ง

ประเพณียี่เป็ง
ประเพณียี่เป็ง
ประเพณียี่เป็ง
คำว่า “ยี่เป็ง” เป็นภาษาล้านนาหรือภาษาคำเมือง การนับวันเดือนปีของชาวล้านนาจะมีความคาดเคลื่อนจากชาวภาคกลางประมาณ 2 เดือน ชาวล้านนาจะเริ่มนับวันเดือนปีประมาณเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปี โดยเดือนที่หนึ่งเรียกว่า “เดือนเกี๋ยง” เดือนที่สองเรียกว่า “เดือนยี่” และเดือนที่สาม สี่ ห้า……จนถึงเดือนสิบสองจะนับเช่นเดียวกับชาวภาคกลาง

คำว่า “เป็ง” ก็คือพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ พระจันทร์ในคืนนี้จะมีความสว่างสุกใสเป็นพิเศษ ชาวล้านนาออกเสียง พ (พ.พาน) เป็น ป (ป.ปา) ถ้าเป็นภาษาเขียน พ (ตั๋วป๊ะ) = พ) ดังนั้น คำว่า “วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง พวกเราชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง” ก็คือ วันเพ็ญเดือนสิบสองของชาวภาคกลาง และก็มีความหมายเหมือนกับของชาวล้านคือ “วันยี่เป็ง” ซึ่งจะตกราวประมาณของเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี

ประเพณียี่เป็งชาวล้านนาจะถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน กิจกรรมในประเพณีนี้ชาวล้านนาจะมีการตบแต่งสถานที่ “ชุ้มประตูป่า” ประดับด้วยไฟสีต่าง ๆ ตอนเช้าไปทำบุญที่วัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและความเป็นศิริมงคลกับครอบครัวและตนเอง ตอนเย็นหรือหัวค่ำก็จะเดินทางไปบูชาเทียนต่อพระประธานในพระวิหารหรือพระอุโบสถ เทียนนี้จะทำเป็นพิเศษ โดยไส้เทียนจะประกอบด้วยเส้นไส้เทียนเท่าอายุของตนเองหรือเผื่ออีกเล็กน้อย จะมากหรือน้อยนั้นก็สุดแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล กระดาษสาที่เขียนด้วยบทคาถาและวันเดือนปีเกิดของบุคคลนั้น เทียนนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 เล่มคือ สืบชะตา รับโชค และสะเดาะเคราะห์ นอกจากการบูชาเทียนนี้แล้ว ก็มีการจุด ประทีบ (ผางปะตีด) บูชาพระพุทธเจ้า และกลับมาที่บ้านก็มาจุดบูชาพระพุทธรูปที่บ้าน ตลอดจนจุดประทีบบริเวณหน้าบ้าน จะมีการจุดดอกไม้ไฟ ปล่อยโคมลอย และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ๆ ต่างก็มีความสนุกสนานกับประเพณีนี้ในปีหนึ่ง ๆ จะมีเพียงครั้งเดียว

สิ่งที่เราพบเห็นอีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือ “การลอยกระทง” ในแม่น้ำสายต่าง ๆ ทั่วประเทศ การทำกิจกรรมนี้ในอดีตที่ผ่านมานั้นกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะบูชา “พระแม่คงคา” กล่าวคือแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดียนั้นมีประโยชน์คุณูประการต่อชาวอินเดียตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยรับเอาพระพุทธศาสนามาจากประเทศอินเดีย และขณะเดียวกันก็รับเอาประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาด้วย การลอยกระทงเป็นการบูชา “แม่น้ำ” หรือ “น้ำ” นั้น เป็นการสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ช่วยให้ชีวิตทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ได้อาบ ได้ดื่ม ได้กิน ให้ชีวิตนี้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข
ประเพณียี่เป็ง
ปล่อยโคมลอย


คำค้นหา :

ประเพณียี่เป็ง

ประเพณียี่เป็ง, ประเพณีภาคเหนือ, ลอยกระทงภาคเหนือ, โคมลอย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประเพณีที่กำลังเลือนหาย ทำขวัญ-รับขวัญแม่โพสพ ประเพณีไทย

ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
ข้าว มีความผูกพันกับคนไทยมายาวนาน เพราะข้าวเป็นส่วนประกอบหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนให้ดำรงอยู่และเติบโต คนไทยเรียนรู้จนรู้จักวิถีแห่งข้าว จึงตระหนักถึงคุณค่าของข้าว ให้ความเคารพมาแต่ครั้งอดีต โดยแสดงความเคารพ นอบน้อม และด้วยจิตสำนึกอันดีงามอันเป็นรากฐานของประเพณีไทย จึงทำให้เกิดประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนานจนเป็น หนึ่งเดียวกับวิถีชีวิตของคนไทย อันได้แก่ ประเพณีทำขวัญข้าว และประเพณีรับขวัญข้าว

ชาวนาในตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งอาชีพทำนาช่วยสร้างรายได้และหล่อเลี้ยงชีวิตมายาวนาน มีประเพณีทำขวัญข้าว ในเดือนสืบ หรือประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง

มีความเชื่อกันว่า การทำขวัญข้าวเป็นการกราบไหว้ เพื่อขอให้แม่โพสพปกป้องพืชพรรณให้เจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ จะทำพิธีในตอนเช้า เจ้าของนาจะนำอาหารใส่ชะลอมเล็กๆ ที่บุด้วยกระดาษบางๆ อาหารที่ใส่ในชะลอมมักมีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม อ้อย มะขาม ฯลฯ เพราะมีความเชื่อว่า ผู้ที่ตั้งครรภ์จะอยากรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว รวมทั้งแม่โพสพด้วย นอกจากนี้ยังมีแป้ง หมาก พลู กล้วย และขนมอื่นๆ รวมถึงอาหารหวานคาวต่างๆ ที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ เพราะอาหาร ที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ถือว่าเป็นอาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะแม่โพสพที่เป็นเจ้าแม่ แห่งข้าว หรือเป็นเทพธิดาประจำต้นข้าว จะไม่รับของที่เป็นเนื้อสัตว์แต่อย่างใด หลังจากเตรียมของที่จะไหว้เสร็จเรียบร้อย จึงนำของเหล่านั้นมาไว้ที่คันนา พร้อมนำธงที่ได้จากการประกอบพิธี เทศน์มหาชาติมาผูกติดกับชะลอมไว้ด้วย

เมื่อได้เวลา ผู้ประกอบพิธีทำขวัญข้าวจะพูดคำที่เป็นมงคลในการประกอบพิธี เช่น “วันนี้วันดี มาทำขวัญแม่ศรีโพสพ ให้ข้าวออกรวงดี ออกง่ายออกดาย อย่าเป็นโรคเป็นภัย ให้เลี้ยงลูกจนแก่เฒ่า ขอให้ร่ำรวย...” แม้แต่ละคนจะมีคำพูดที่แตกต่างกัน แต่คำพูดทำคำจะมีความหมาย ที่เป็นมงคลที่แสดงความต้องการให้ข้าวของตนมีความเจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์

เมื่อเสร็จสิ้นจากการทำขวัญข้าวแล้ว เจ้าของนาจะสบายใจ ด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพจะบันดาลให้มีผลผลิตดี เมื่อถึงเวลาที่ข้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ ก็จะมีการ “ลงแขก” การลงแขกคือ การที่เจ้าของนาแจ้งให้ผู้ที่รู้จักคุ้นเคยมาช่วยเกี่ยวข้าว นวดข้าว ซึ่งจะช่วยกันโดยวิธีผลัดเปลี่ยน เป็นบ้านๆ โดยไม่ต้องจ่ายค่าแรง เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในหมู่ชาวบ้าน อีกประเพณีหนึ่ง

เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว หญิงสาวชายหนุ่มต่างยินดีมาร่วมเกี่ยวด้วย เพราะจะได้มีโอกาส มาชุมนุมรื่นเริง เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงโต้ตอบฝีปากกันบ้าง

การเกี่ยวข้าวมักเกี่ยวในตอนเช้า พอแดดร้อนก็หยุดพักและไปเกี่ยวใหม่ในตอนบ่าย ใครเกี่ยวได้เท่าใดก็เอารวมไว้เป็นกองๆ หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของเจ้าของข้าว เมื่อเสร็จจาก การเก็บเกี่ยวแล้วจะจัดมัดเป็นฟ่อนๆ เพื่อขนได้สะดวก เชือกที่มัดฟ่อนข้าวจะใช้เส้นตอกแทนเชือกชนิดอื่นๆ ถ้าไม่มีและไม่สะดวกก็สามารถใช้ซังข้าวฟั่นเป็นเกลียวเป็นเชือกมัดเรียกว่า เขน็ด การมัดนั้นจะต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง

ในขณะที่หญิงสาวชายหนุ่มไปเก็บเกี่ยวข้าวนั้น พวกผู้ชายที่แก่เฒ่าอยู่เฝ้าบ้านจัดทำลานสำหรับนวดข้าว ปรับพื้นดินให้เรียบจนติดกันแน่นแข็ง แล้วเอาขี้วัวขี้ควายสดๆ ละลายน้ำปนกับเปลือกไม้ที่มียางหรือไม่มีก็ได้ละเลงทาลานจนทั่วเพื่อให้ปิดดิน ทิ้งไว้จนลานแห้ง เพื่อใช้นวดข้าว

หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จจะนำข้าวมานวดในลานนวดข้าวที่เตรียมไว้ โดยใช้ควายย่ำ จะนำฟ่อนข้าวมาวางเรียงเป็นวงกลมหรือวงรีในลานนวดตามขนาดของลานนวดข้าว การเรียงฟ่อนข้าวใช้วิธีตั้งกำข้าวเอาซังลงดิน ใช้เคียวตัดกำข้าวออกเรียกว่า ตัด “คะเน็ด” เพื่อให้รวงข้าวหลุด จนกระทั่งกองข้าวได้ขนาดพอเหมาะก็ใช้ควายย่ำ การนวดข้าวอาจใช้ควายเพียงตัวเดียวหรือ หลายตัว ถ้าใช้หลายตัวก็นำมาผูกกันเรียงเป็นพวง โดยผูกที่คอเป็นพวงๆ ละประมาณ 3-4 ตัว แต่จะมีควายที่ชาวนานฝึกหัดไว้จนชำนาญอยู่ด้านใน เวลานวดให้ควายย่ำซ้ำอยู่พักหนึ่งก็หยุดพักควายระหว่างหยุดพักชาวนาจะใช้ “ขอฉาย” ซึ่งเป็นด้ามไม้ไผ่ยาว ที่ปลายมีเหล็กปลายงอติดอยู่ “สงฟาง” ที่ถูกนวดเรียบร้อยแล้วออกไป ถ้ายังมีเมล็ดข้าวติดอยู่ก็ใช้ขอฉายสงขึ้นมาไว้ข้างบน ทำอย่างนี้ประมาณ 3 ครั้งกับข้าว 1 กอง หรือ 1 ตก ในการตรวจดูฟางว่าสงสะอาดเรียบร้อยดีหรือไม่ก็ดูด้วยสายตา ถ้าเป็นเวลากลางคืนก็ทดลองใช้ฟางจุดไฟ ถ้ายังมีเมล็ดข้าวติดอยู่มาก จะมีเสียงดังเกิดขึ้น เมื่อนวดเสร็จแล้วก็สงฟางออกให้มากที่สุดคงเหลือแต่เศษฟางปะปนอยู่ ในกองข้าว

เมื่อเสร็จจากลงแขกเก็บเกี่ยวและนวดข้าวแล้ว เจ้าของนาก็จะทำพิธีรับขวัญข้าว เป็นการเชิญขวัญข้าวที่ได้หลังจากการเก็บเกี่ยว ก่อนจะนำไปเก็บในยุ้งฉาง

การรับขวัญข้าว หรือรับขวัญแม่โพสพจากกลางนามาประทับในยุ้งข้าว เป็นพิธีที่ แสดงว่าฤดูทำนาได้สิ้นสุดลงแล้ว ช่วงเวลาที่นิยมทำพิธีมีสองวันคือ วันจันทร์ข้าวยุ้ง หมายถึง การอัญเชิญแม่โพสพ (ข้าว) จากลานไปไว้ในยุ้ง และวันศุกร์ข้าวลาน หมายถึง ประเพณีรับขวัญ แม่โพสพเมล็ดข้าวที่ตกอยู่ตามลานไปไว้ที่ยุ้ง เหตุที่เลือกทำในวันจันทร์ เนื่องจากเชื่อว่า จะได้เจริญรุ่งเรือง ค้าขายข้าวได้ราคาดี เหมือนชื่อจันทร์ เพราะจันทร์เป็นสัญลักษณ์ของความส่องสว่าง รุ่งเรือง ส่วนเหตุที่เลือกทำในวันศุกร์นั้น เนื่องจากเชื่อว่า วันศุกร์ เป็นวันที่ให้ความสุข ไม่มีทุกข์โศกใดๆ

เมื่อได้เวลาในการทำพิธี เจ้าของนาจะเตรียมอาหาร เช่น ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ขนมหม้อแกง เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบพิธีรับขวัญข้าว พร้อมทั้งจะมีการกล่าวคำเชิญเหมือนกับการทำขวัญข้าวว่า “ขอเชิญแม่โพสพ นพดารา มารับขวัญข้าว ขอแม่เจ้าจงมา ตกหล่นกลางนา กลับมาอยู่ยุ้งฉาง”

ในการทำขวัญข้าว และการรับขวัญข้าว ที่ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนใหญ่จะให้ผู้หญิงเป็นผู้ดำเนินการ การกำหนดวันจะหาฤกษ์ดีตามความสะดวกของเจ้าของนา และมีการฝากต่อๆ กัน เพื่อที่จะให้เพื่อนบ้านมาร่วมประกอบพิธีด้วย

พิธีทำขวัญข้าวและพิธีรับขวัญข้าว สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับการทำนา เนื่องจากข้าวที่ได้จากการปลูกด้วยแรงกายแรงใจของตนนั้น ช่วยสร้างรายได้หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในสังคม ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในตำบลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในปัจจุบันที่ตำบลน้ำตาล มิได้มีประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ทำลาน นวดข้าว และรับขวัญข้าวเหมือนสมัยก่อน เนื่องจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่รู้วิธีการและทำพิธีที่เกี่ยวข้องกับการทำนามีอยู่น้อยคน จึงไม่มีผู้สืบสานต่อ ทำให้ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำนาเริ่มจะเลื่อนหายไป หากผู้ที่มีความรู้ เรื่องนี้จากไปโดยไม่มีการสืบต่อรวมทั้งเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวสมัยใหม่ที่สะดวกกว่าเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานเหมือนก่อน จนทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับแม่โพสพเปลี่ยนไป ประเพณี ที่มีคุณค่าทางใจนี้น่าจะสูญหายไปในที่สุด


คำค้นหา :

ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ

ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ, ประเพณีทำขวัญ, ประเพณีแม่โพสพ, ทำขวัญ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

บทความ เศรษฐกิจพอเพียงคือฐานแห่งคุณธรรมนำสู่สังคมสมานฉันท์

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางสายกลางในการดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ พระองค์ทรงยึดถือเป็นวัตรปฏิบัติ ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสเมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา กระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งทรงปรารภถึงพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชชนนีว่า “ ภูมิพลต้องเหยียบดิน ถึงเดินไปบนภูเขาก็เดินบนดิน ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือเป็นอนุสติตลอดมา ทรงมีพระราชดำรัสในคราวเดียวกันอีกว่า “ พอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ เป็นความคิด ให้สามารถทำอะไรอยู่ได้ แม้แต่กองทัพ ” ทรงมีพระประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นว่าความพอเพียงนั้นสามารถใช้ได้กับทุกด้าน

การทำมาหากินของคนเรานั้น ก็ต้องหาให้พอกินในบ้านก่อน ถ้าหามาได้มากก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน และถ้าขายได้ก็ขาย วิถีดังเดิมของคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา มีขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวเนื่องกับการทำนาเรียกว่า “วัฒนธรรมข้าว” มีภูมิปัญญาคารวะธรรม สามัคคีธรรม และปัญญาธรรม นำสู่สังคมสมานฉันท์ ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่ยุคสุโขทัย ดังศิลาจารึกหลักที่ ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า “ เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ” แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มีวิถีในการดำเนินชีวิตในทางสายกลางอันเป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่ามรรค ๘ มีสัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค ๘ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงคือวิถีดั่งเดิมของคนไทย จึงเป็นฐานแห่งคุณธรรม ในยุคสุโขทัยนั้นมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงจึงแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรดังพ่อแห่งแผ่นดิน

การทำนาของไทย แต่ก่อนใช้คนเกี่ยวข้าว ใช้ควายไถนา มีการลงแขกเกี่ยวข้าว คือการที่เราไปช่วยเพื่อนบ้านเกี่ยวข้าวที่นาของเขาก่อน แล้วเขาก็จะมาช่วยเราเกี่ยวข้าวที่นาของเราเป็นการตอบแทน เรียกว่า “ ไปเอาแรงเขาไว้ก่อน แล้วเขาก็จะมาใช้แรงเราภายหลัง ” ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนเป็นการจ้าง การใช้เครื่องจักรแทนการใช้แรงงานคนและสัตว์

เมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมาเคยมีโรงสีข้าวขนาดเล็กอยู่ตามริมแม่น้ำ โรงสีขนาดเล็กบริการสีข้าวให้ชาวบ้านโดยไม่คิดค่าจ้าง แต่เจ้าของโรงสีจะได้รำข้าวและปลายข้าวที่ได้จากการสีข้าวเป็นการตอบแทนแล้วขายรำข้าวและปลายข้าวให้ชาวบ้านนำไป เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ โรงสีขนาดเล็กเป็นการบริการชุมชน เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตเพื่อบริโภค ทำให้ชาวนามีที่สีข้าวสารสำหรับบริโภค

(โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ได้เปิดกิจการ และเริ่มสีข้าว ตั้งแต่วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยถึงฐานะความเป็นอยู่ของชาวนา โดยเฉพาะรายได้จากการขายข้าวที่ขาดหายไป เนื่องจากการขายข้าวให้พ่อค้าคนกลาง แล้วนำ เงินมาซื้อข้าวบริโภคในราคาแพง จึงมีพระราชดำริว่าสมควรที่จะแก้ไขโดยให้ชาวนา ร่วมกันเป็นกลุ่มดำเนินงานในแบบ สหกรณ์โดยยึดหลัก สีข้าวเอง เก็บไว้บริโภคเอง ส่วนข้าวเปลือกที่เหลือจากการสี ก็สามารถขายได้)

นอกจากนี้ผู้คนยังใช้เรือบรรทุกข้าวขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางน้ำบรรทุกได้มากกว่าการขนส่งทางรถยนต์ ค่าขนส่งทางน้ำถูกกว่าทางรถยนต์ ต่อมามีนายทุนตั้งโรงสีข้าวขนาดใหญ่รับซื้อข้าวส่งขายต่างประเทศ พ่อค้าคนกลางใช้รถยนต์ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกถึงยุ้งข้าวชาวนา ชาวนาพากันขายข้าวเปลือก ไม่นำข้าวเปลือกไปสีตามโรงสีขนาดเล็ก โรงสีขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ต้องปิดกิจการ ชาวนาเปลี่ยนวิถีจากผู้ผลิตเพื่อบริโภคเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายผ่านกลไกตลาด ชาวนาไม่ได้บริโภคข้าวที่ตนเองผลิต แต่ซื้อข้าวสารจากตลาดมาบริโภค สังคมชาวนาเข้าสู่ระบบบริโภคนิยม ละทิ้งภูมิปัญญาการเป็นผู้ผลิตเพื่อบริโภค ละทิ้งการใช้บริการของชุมชน ทำให้ต้องใช้เงินซื้อจากตลาดมาบริโภค ตลาดเป็นของนายทุน เขาจำหน่ายเพื่อหวังกำไร ชาวนาจึงประสบปัญหาซื้อของแพงมาบริโภค

เราต้องแก้ไขโดยการสร้างสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจพอเพียง คือสร้างกระแสในระดับชาติ ด้วยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนหันมาบริโภค นุ่งห่ม อยู่อาศัยอย่างพอเพียง และสร้างบทบาทผู้ผลิตเพื่อบริโภคในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ให้เกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจพอเพียง อัลวิน ทอฟฟเลอร์ นักวิชาการและนักวิจารณ์สังคมมีชื่อได้กล่าวไว้ในหนังสือคลื่นลูกที่สามว่า “ ตราบใดที่ยังมองไม่เห็นความสำคัญของผู้ผลิตเพื่อบริโภค ตราบนั้นจะไม่มีวันแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เส้นกั้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคเริ่มลบเลือน บทบาทของผู้ผลิตเพื่อบริโภคกำลังจะเปลี่ยนสภาพการตลาด วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไป ระบบของโลกจะเปลี่ยนไป ” การผลิตเพื่อบริโภคแม้ไม่เกิดมูลค่า แต่ไม่ต้องซื้อมาบริโภค ทำให้ประหยัดรายจ่าย เกิดความพอเพียงแก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขนำสู่สังคมสมานฉันท์

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการยอมรับในระดับโลก เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ องค์การสหประชาชาติโดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย โคฟี อันนัน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award และได้กล่าวปาฐกถาถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เริ่มจากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้านและสู่เศรษฐกิจในวงกว้าง มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ องค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกทั้ง ๑๖๖ ประเทศ ยึดเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมารณรงค์เผยแพร่ มีหลักการ ๓ ประการ คือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ ๒ เงื่อนไข คือ ความรู้ และคุณธรรม หลักการประการที่ ๑ คือ ความพอประมาณ ความพอดี ความซื่อตรง ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เกินกำลังความสามารถของตนเองจนทำให้ให้เกิดความลำบากในภายหลัง

หลักการประการที่ ๒ คือความมีเหตุผล ความเหมาะสมทั้งต้นและปลาย ความเป็นไปได้ในการผลิต การเล็งเห็นผลของความเพียรที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การผลิตเพื่อจำหน่ายต้องมีการลงทุน การจำหน่ายใช้ระบบเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า ต้องจำหน่ายสินค้าให้ได้โดยไม่ขาดทุน ยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ทุกมุมโลกจะแยกย่อยและหลากหลายมากขึ้น แต่จะมีการเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ความมีเหตุผลจะนำสู่ความสมดุล มั่นคง ความยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม

หลักการประการที่ ๓ คือการมีภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณและความมีเหตุผลจะเป็นภูมิคุ้มกันความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก ทางสายกลางเป็นทางเลือกในการตัดสินใจเผชิญกับความไม่แน่นอนในอนาคต หลักการทั้ง ๓ ประการดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข ๒ ประการ

เงื่อนไขประการที่ ๑ คือความรู้หมายถึง ความรอบรู้ในทางทฤษฎี หลักการ วิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างสมบรูณ์รอบด้าน ความรอบคอบบูรณาการเชื่อมโยงในขั้นการวางแผน และความระมัดระวัง มีสติในการนำไปใช้ในขั้นการปฏิบัติ

เงื่อนไขประการที่ ๒ คือคุณธรรมหมายถึงการประกอบสัมมาชีพ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน ความเพียร และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีความรับผิดชอบทางจริยธรรมต่อสังคม

ด้วยคุณธรรมของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน และความเพียร จึงทำให้เกิดความพอเพียงแก่ตนเอง ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น สร้างสามัคคีธรรมขยายสู่ชุมชน นำสู่สังคมสมานฉันท์ เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้เกิดความพอเพียงขึ้นภายในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของโลกขยายออกไปสู่ภูมิภาค หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ จึงเป็นปรัชญาในการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืนและมั่นคง ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่าสมควรที่จะปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อเป็นพรอันประเสริฐน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร นำชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขสมดังมโนปณิธานที่ทรงประกาศปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” อันเป็นพระบรมโพธิสมภารรักษาเอกราช และความเป็นราชอาณาจักรไทยสืบไป.


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง, บทความเศรษฐกิจพอเพียง, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงาน

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลาที่จะลองผิดลองถูกในการทำงาน เพราะกำไรจึงเป็นของผู้ลงมือก่อน เราจึงต้องเปลี่ยนแปลง ต้องจัดสรรเวลาให้รวดเร็ว ในวันหนึ่ง ๆ เราใช้เวลาในการทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับ 8 ชั่วโมง อื่น ๆ 8 ชั่วโมง ในเวลา 1 วัน มี 24 ชั่วโมง หากทบทวนดู เราใช้เวลาให้มีคุณภาพในแต่ละวินาทีอย่างไร หายใจทิ้ง คอรับชั่นเวลาไปเท่าไร เราเคยคิดหรือไม่ว่า เราทำงาน เราทุ่มเทให้หน่วยงานองค์กรเท่าไร เราขโมยเวลาในการทำงานให้หน่วยงานไปเท่าไรหรือเราคิดวนเวียนว่า เราจบจากไหน ได้เงินเดือนเท่าไร มีตำแหน่งบริหารหรือไม่ ได้สองขั้นหรือไม่ ใครได้ดีเกินเรา แล้วก็มัวแต่นั่งหายใจทิ้งไปเฉย ๆ โดยไม่ลงมือทำอะไรเลย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เป็นวิถีชีวิตที่สามารถใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ เพื่อให้ดำรงตนและปฏิบัติตนให้สมดุล ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่เป็นการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น เป็นผู้บริหารที่พอเพียง การพูด การคิดต้องพอเพียง อย่าให้ความคิดกระจาย ซึ่งเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงานได้ง่าย ๆ ดังนี้

ความพอประมาณ ได้แก่ เรียบง่าย ประหยัด การทำอะไรที่พอเหมาะพอควร สมดุลกับอัตภาพ ศักยภาพของตนและสภาวะแวดล้อม ตามความสามารถของแต่ละคน พอประมาณกับภูมิสังคม สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ การทำงานทุกอย่างต้องเรียบง่าย ประหยัด อย่าทำงานให้ยุ่ง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ มีกำหนดการทำงานตามลำดับขั้นตอน และมีการปฏิบัติชัดเจน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องรู้ว่านักศึกษาต้องการอะไร ผู้ใช้บัณฑิตต้องการอะไร เพราะทุกกิจกรรม ทุกงานที่ทำมีต้นทุน อย่าทำงานทิ้งๆ ขว้าง ๆ การทำงานต้องมีประโยชน์ มีผลผลิตที่เกิดขึ้น

ความมีเหตุผล คือ การคิด ฟัง ปฏิบัติ การทำงานต้องใช้หลักความรู้ในการทำงาน วางแผนงานต้องระมัดระวัง ต้องใช้หลักวิชาการช่วยสนับสนุน อย่าใช้ความรู้สึกและอารมณ์ในการทำงาน ทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน การพัฒนาตัวเองต้องเกิดขึ้นจากภายในตัวเองของแต่ละคน จึงต้องแสดงศักยภาพออกมาให้ได้

มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ต้องมีแผนกลยุทธ์ เช่น เป็นอาจารย์ต้องมีแผนการสอน องค์กรต้องมีแผนกลยุทธ์ เป็นต้น การทำงานต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมองภาพรวม ทุกคนมีส่วนร่วม คือการประสานงาน และการบูรณาการปรับวิธีการทำงาน หน่วยงานองค์กรต้องมีธรรมาภิบาลเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้นกันภายในตัว

ชีวิตที่พอเพียงในการทำงานการศึกษา จึงต้องยึดความพอเพียง ประกอบด้วย ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาที่ยึดคุณธรรม ความเพียร ความรอบรู้ ความซื่อสัตย์สุจริตให้เข้าสู่จิตใต้สำนึกของผู้เรียน บุคลากร และต้องมีธรรมาภิบาลในองค์กร การทำงานกับมนุษย์ต้องใช้หลักการ หลักวิชาการให้สอดคล้องกับภูมิสังคม คือภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ต้องปรับกระบวนการทำงานจากบนลงล่าง เป็นล่างขึ้นบน เป็นผู้เป็นหุ้นส่วนระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายของการศึกษาคือ คุณภาพชีวิตและสังคม เพื่อลดความยากจน เป็นเครื่องมือดูแลสุขภาพ เป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือสำหรับ ธรรมาภิบาลหรือความโปร่งใสของสังคม

การเป็นผู้นำยุคใหม่นี้ ต้องมีความสามารถในการชี้นำ การสื่อสาร และสร้างการเรียนรู้เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้นำผู้ตาม รวมทั้งสามารถทำให้ผู้ร่วมงานสามารถตามทันวิสัยทัศน์ผู้นำได้ การบริหารจัดการจึงต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จคือคุณภาพตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรจึงต้องวางระบบให้กิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


คำค้นหา :

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน, เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง ของ ฉัน, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจําวัน, ตัวอย่างเรียงความเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, การ เขียน เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง, เรียงความพ่อของแผ่นดิน, เรียงความ วัน แม่
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การวาดภาพ สอนวาดภาพ เรียนวาดภาพ

การวาดภาพ สอนวาดภาพ เรียนวาดภาพ
การวาดภาพ สอนวาดภาพ เรียนวาดภาพ















ผู้ที่จะเรียนอย่างได้ผล ต้องฝึกฝน ไปที่ละขึ้นตอนที่ละข้อจึงจะสำเร็จตามเป้าหมาย ช่วงแรกที่เรียนยังไม่เข้าใจว่าต้องฝึกฝนอย่างไร พอเรียนไป แล้วถึงรู้ว่าต้องฝึกฝนจริงๆ (ฝนดินสอเป็นวันๆเลย)


ขั้นแรก การเรียนรู้น้ำหนักมือ การบังคับทิศทางมือ ต้องฝึกจนจำความหนักเบาได้ดังนี้


1.วาดรูป สี่เหลี่ยม 2 x 2 นิ้ว 4 แถว แถวละ 5 ช่อง แรเงาจากเข้มมากจนจางลง เป็น 5 ระดับความเข้ม แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน

วาดรูป สี่เหลี่ยม 2 x 2 นิ้ว 4 แถว แถวละ 5 ช่อง
วาดรูป สี่เหลี่ยม 2 x 2 นิ้ว 4 แถว แถวละ 5 ช่อง
ดินสอ HB ตีกรอบ ดินสอ EE แรเงา จับดินสอคล้ายกับจับปากกาแล้วขีดไปทิศทางเดียวกันสั้นไม่ต้องยาวมาก ไม่ตะแคงดินสอแบบที่แรเงากันตอนเด็กๆ ดินสออย่าทู่มากเส้นจะไม่สวย

2.วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 4 นิ้ว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง แรเงาจากเข้มมากจนจางลง 4 ระดับความเข้ม แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน
วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 4 นิ้ว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง
วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 4 นิ้ว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง
ฝนลากยาวๆ ได้

3.วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 8 นิ้ว 2 ช่อง ช่องแรก แรเงาจากเข้มมากจนจางลง ช่อง 2 แรเงาจากอ่อนถึงเข้มมาก แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน
วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 8 นิ้ว 2 ช่อง
วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 8 นิ้ว 2 ช่อง
เทคนิค ดินสอ HB ตีกรอบ ดินสอ EE แรเงา สำคัญ ดินสอเหลาต้องแหลมพอสมควร ทิศทางที่แรเงาต้องเป็นแนวเดียวกัน บนลงล่าง-ล่างขึ้นบน หรือ ทะแยงบนลงล่าง-ล่างขึ้นบน จับดินสอเหมือนจับปากกาทำมุมประมาณ 45 องศา แต่ละช่องต้องตั้งใจและใช้เวลานานพอสมควรไม่ควรรีบร้อน

ขั้นสอง การเรียนรู้เรื่องแสงเงา

1.วาดรูปทรงกระบอก แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
วาดรูปทรงกระบอก แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ
วาดรูปทรงกระบอก แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ 
2.วาดรูปทรงกลม แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
วาดรูปทรงกลม แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
วาดรูปทรงกลม แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
3.วาดรูปทรงกระบอก 3 อัน ให้แสงส่องคนละด้าน ทั้งนอนและเอียง อาจวาดรูป สามเหลี่ยม หกเหลี่ยมเพื่อเป็นการฝึกเพิ่มเติม
วาดรูปทรงกระบอก 3 อัน ให้แสงส่องคนละด้าน ทั้งนอนและเอียง
วาดรูปทรงกระบอก 3 อัน ให้แสงส่องคนละด้าน ทั้งนอนและเอียง
4.วาดรูปทรงเรขาคณิตแบบกลุ่มแล้วลงแสงเงา กลุ่ม 1
วาดรูปทรงเรขาคณิตแบบกลุ่มแล้วลงแสงเงา กลุ่ม 1
วาดรูปทรงเรขาคณิตแบบกลุ่มแล้วลงแสงเงา กลุ่ม 1

คำค้นหา :

การวาดภาพ สอนวาดภาพ เรียนวาดภาพ

การวาดภาพ, สอนวาดภาพ, เรียนวาดภาพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ผญา คำกลอน เดือน 9 บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดิน
ประเพณีบุญเดือนเก้า ฮีตครองเก่าเคยมีมา
กลางพรรษาฮีตสิบสอง สืบต่อครองฮีตของเค้า
นั่นคืองานบุญข้าว ประดับดินศีลสิบสี่
เพิ่นพามีห่อข้าวน้อย พายซ้อยสืบมา


ครองปู่ย่าฮีตเค้า ของเก่าโบราณมี
ปวงภูตผีบรรพชน ว่ายวนอยู่ภายพื้น
หวังจักคืนมาเอาข้าว ลูกหลานเอามาวางปล่อย
เอิ้นว่าห่อข้าวน้อย ประสงค์ให่ใส่ภาช์


อุทิศาไปเถิงท่าน บำเพ็ญทานสู่โลกใหม่
มีจิตใจส่งให้ฮู้ ได้ซูซ้วนส่วนบุญ
ดวงวิญญาณ์บ่มาวุ่น นำผลบุญสู่ภพใหม่
จิตแจ่มใสได้ข้าวน้อย เป็นภายซ้อยสืบมา


เจริญ บุดดีเสาร์
๒๔/๐๘/๒๕๕๗



คำค้นหา :

บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน, ลาวบุญคูนข้าว, บุญข้าวสาก, บุญเดือน 9
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th

ประเพณีไทย