Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีกำฟ้า แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีกำฟ้า แสดงบทความทั้งหมด
ประเพณีกำฟ้า บ้านน้ำจั้น
ประเพณีกำฟ้า
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีกำฟ้า |
ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน คำว่า ”กำ” ในภาษาพวน หมายถึง การนับถือสักการะ คำว่า “ฟ้า” หมายถึง เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ผู้อยู่สูงเทียมฟ้า หรือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น คำว่า “กำฟ้า” จึงหมายถึง การนับถือการบูชาฟ้า
มีตำนานเล่าต่อๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน หมู่บ้านน้ำจั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม) เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวย และมีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้
สำหรับในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระและร่วมกันใส่บาตรข้าวหลามข้าวจี่ ตอนบ่ายจนถึงกลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหม่าเบี้ย ต่อไก่ ไม้อื่อคร่อมเส้า ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า และในช่วงเวลากำฟ้านั้น คนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวจะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน โดยมีคำทำนาย ดังนี้
เสียงฟ้าร้อง หมายถึง ฟ้าเปิดประตูน้ำ
ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะตกดี ทำนาจะได้ข้าวดี
ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้งข้าวกล้าในนาจะเสียหาย ชาวบ้านจะอดเกลือ
ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยได้ผล นาในที่ลุ่มดี นาในที่ดอนจะเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเดือดร้อน เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท รบราฆ่าฟันกัน
ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ชาวบ้านจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย
หลังจากำฟ้า 1 สัปดาห์ จะไปทำบุญที่วัดอีกครั้งหนึ่งโดยนำดุ้นฟืนที่ติดไฟ 1 ดุ้น ไปทิ้งตามแม่น้ำลำคลองให้ไหลไปตามสายน้ำ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และเป็นการบอกกล่าวแก่เทวดาผีฟ้าว่าหมดเขตกำฟ้าแล้ว
ปัจจุบัน งานกำฟ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากบ้านเมืองเจริญขึ้น การทำบุญต่างๆ ได้รวบรัดตัดรายละเอียดของพิธีลงไป แต่ก็ใช่ว่าจะลดความสำคัญลง ฉะนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่ชาติไทย สืบไป
ประเพณีกำฟ้า, บ้านน้ำจั้น, ประเพณีภาคกลาง
มีตำนานเล่าต่อๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน หมู่บ้านน้ำจั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม) เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวย และมีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้
สำหรับในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระและร่วมกันใส่บาตรข้าวหลามข้าวจี่ ตอนบ่ายจนถึงกลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหม่าเบี้ย ต่อไก่ ไม้อื่อคร่อมเส้า ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า และในช่วงเวลากำฟ้านั้น คนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวจะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน โดยมีคำทำนาย ดังนี้
เสียงฟ้าร้อง หมายถึง ฟ้าเปิดประตูน้ำ
ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะตกดี ทำนาจะได้ข้าวดี
ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้งข้าวกล้าในนาจะเสียหาย ชาวบ้านจะอดเกลือ
ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยได้ผล นาในที่ลุ่มดี นาในที่ดอนจะเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเดือดร้อน เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท รบราฆ่าฟันกัน
ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ชาวบ้านจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย
หลังจากำฟ้า 1 สัปดาห์ จะไปทำบุญที่วัดอีกครั้งหนึ่งโดยนำดุ้นฟืนที่ติดไฟ 1 ดุ้น ไปทิ้งตามแม่น้ำลำคลองให้ไหลไปตามสายน้ำ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และเป็นการบอกกล่าวแก่เทวดาผีฟ้าว่าหมดเขตกำฟ้าแล้ว
ปัจจุบัน งานกำฟ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากบ้านเมืองเจริญขึ้น การทำบุญต่างๆ ได้รวบรัดตัดรายละเอียดของพิธีลงไป แต่ก็ใช่ว่าจะลดความสำคัญลง ฉะนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่ชาติไทย สืบไป
คำค้นหา : | ประเพณีกำฟ้า |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
บ้านน้ำจั้น,
ประเพณีกำฟ้า,
ประเพณีภาคกลาง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เศรษฐกิจพอเพียง
วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง
ประเพณีไทย
ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
เกี่ยวกับเรา ประเพณีไทย
เข้าร่วม Google+ ประเพณีไทย
ประเพณีไทย โดย anirud
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ความรู้ ประเพณีไทย
-
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลา...
-
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย ห ลายๆ ท่าน หลายโรงเรียนในช่วงนี้ อาจจะกำลังตามหารูปภาพที่จะใช้ในการวาดประกวดใน หัวข้อ " ภาพวาดประกวดประเพณี...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมท...
-
เรียงความ ประเพณี ไทย การเขียนเรียงความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเพณีไทย ก่อนที่เราจะเขียนในหัวข้อนี้ออกมาได้ และทำให้ผู้ที่อ่านเรียงควา...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย หมายถึง กิจกรรมที่มีการกระทำสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์ของไทยพร้อมทั้งมีความสำคัญต่อสังคมไทย เช่น...
-
การวาดภาพระบายสี การวาดภาพระบายสี 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 4 – ป....
-
ศิลป์สร้างสรรค์ การแข่งขัน “ ศิลป์สร้างสรรค์” 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดั...
-
ประโยชน์ของศิลปะ ประโยชน์ของศิลปะ - ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง - ได...
-
เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 >>> เกณฑ์การแข่งขันล่าสุด <<< งานศิ...
-
ประโยชน์ของดนตรี ประโยชน์ของดนตรี ดนตรี คำว่าดนตรีนั้นมีความหมายมากมายแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลแต่ดิฉันให้ความหมายของ...
คำค้นหา ประเพณีไทย
กลอนประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
การประสมวงดนตรีไทย
(1)
การรักษาสัมพันธภาพ
(1)
การละเล่นไทย
(3)
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
(1)
การละเล่นภาคใต้
(1)
การละเล่นว่าว
(1)
การเล่นโพงพาง
(1)
การเล่นว่าว
(1)
การเล่นว่าวไทย
(1)
การวาดภาพ
(1)
การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ
(1)
การสร้างสัมพันธภาพ
(1)
การอยู่ร่วมกัน
(1)
การอยู่ร่วมกันในสังคม
(2)
เกณฑ์การแข่งขัน
(1)
เกษตรแบบผสมผสาน
(1)
ขนบธรรมเนียม
(2)
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
(1)
เขียนเรียงความ
(1)
แข่งขันดนตรีไทย
(1)
แข่งขันเรือยาว
(2)
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
(1)
แข่งดนตรีไทย
(1)
ครอบครัวพอเพียง
(1)
ครอบครัวพอเพียง เรียงความ
(1)
ความคิดและการแสดงออก
(1)
ความเป็นไทย
(1)
ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
คำขวัญวันเด็ก
(1)
คำขวัญวันเด็ก 2559
(1)
โคมลอย
(1)
งานศพ
(1)
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
(1)
ดนตรี
(1)
ดนตรีไทย
(2)
ทหารเรือ
(1)
ทักษะการเขียนเรียงความ
(1)
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
(1)
ทันตแพทย์ในดวงใจ
(1)
ทำขวัญ
(1)
ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ
(1)
บทความเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
บ้านน้ำจั้น
(1)
บุญข้าวประดับดิน
(1)
บุญข้าวสาก
(1)
บุญเดือน 9
(1)
บุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณี
(6)
ประเพณีกำฟ้า
(1)
ประเพณีแข่งขันเรือยาว
(1)
ประเพณีทหารเรือ
(1)
ประเพณีทำขวัญ
(1)
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
(1)
ประเพณี ไทย
(9)
ประเพณีไทยไทย
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557
(1)
ประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
ประเพณีภาคกลาง
(1)
ประเพณีภาคใต้
(1)
ประเพณีภาคเหนือ
(1)
ประเพณียี่เป็ง
(1)
ประเพณีลอยกระทง
(1)
ประโยชน์ของดนตรี
(1)
ประโยชน์ของศิลปะ
(1)
ประโยชน์ดนตรี
(1)
ประวัติ เพลงชาติไทย
(1)
ปรัชญา
(1)
ผูกเสี่ยว
(1)
พระราชดำรัส
(1)
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(1)
พอเพียง
(3)
พิธีจัดงานศพ
(1)
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย
(1)
เพลงชาติไทย
(1)
ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557
(1)
ภาพวาด
(1)
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย
(1)
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
(3)
ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(3)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
(1)
ภูมิปัญญาไทย
(1)
มโหรี
(1)
มโหรีพื้นบ้าน
(1)
มะโย่ง
(1)
ระดับประเทศ
(1)
ระเบียบประเพณีไทย
(1)
เรียงความ
(3)
เรียงความ ประเพณี ไทย
(2)
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
(2)
เรียนวาดภาพ
(1)
เรือยาวสกลนคร
(1)
โรงเรียน
(1)
ลอยกระทง
(1)
ลอยกระทงภาคเหนือ
(1)
ลาวบุญคูนข้าว
(1)
วงมโหรีพื้นบ้าน
(1)
วันเด็ก 2559
(1)
วันเด็กแห่งชาติ
(1)
วันที่ห้ามเผาศพ
(1)
วันผีกิน
(1)
วันลอยกระทง
(1)
วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ว่าว
(1)
ว่าวควาย
(1)
ว่าวจุฬา
(1)
ว่าวไทย
(1)
ว่าวปักเป้า
(1)
ว่าว ภาษาอังกฤษ
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้
(1)
ศิลปหัตถกรรม 2557
(1)
ศิลปหัตถกรรม 64
(1)
ศิลปะ
(4)
ศิลปะกับมนุษย์
(1)
ศิลปะในสังคมไทย
(4)
ศิลปะบำบัด
(3)
ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
(2)
ศิลปะเพื่อชีวิต
(1)
ศิลปะเพื่อสุขภาพ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียง
(8)
เศรษฐกิจพอเพียง คือ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
(1)
สกลนคร 2557
(1)
สมัยกรุงสุโขทัย
(1)
สอนวาดภาพ
(1)
สังคม
(1)
สัปเหร่อ
(1)
สัมพันธภาพ
(1)
สัมพันธภาพกับผู้อื่น
(1)
สัมพันธภาพที่ดี
(1)
สืบทอดวัฒนธรรม
(1)
หลักการอยู่ร่วมกัน
(1)
แห่ดาว
(1)
แห่ดาว ท่าแร่
(1)
แห่ดาว สกลนคร
(1)
อนุรักษ์
(1)
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
(1)
เอกลักษณ์ไทย
(1)