Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ แสดงบทความทั้งหมด

ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ

ขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ ขนบธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือนั้นเป็นประเพณี พิธี หรือรูปแบบการปฏิบัติ ที่ได้รับ การปฏิบัติสืบช่วงต่อกันมาแต่ครั้งโบราณ พร้อมด้วยเหตุผล ไม่ในทางมารยาทก็ในทางความรู้สึก หรือไม่ก็ในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือหลายประการรวมกัน 

ปัจจุบันขนบธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือนี้ นับว่าแพร่หลายไปทั่วโลกที่มีกองทัพเรือ บางอย่างก็มีลายลักษณ์อักษร บางอย่างก็ไม่มี ขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรืออาจไม่มีผลในทางกฎหมาย แต่ก็เป็นที่ทราบและนิยมปฏิบัติกันมา และในทุกๆชาติพันธุ์ก็มีประเพณี ของตนเอง อาจไม่เหมือนกันทั้งหมด  แต่ส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน บางชาติอาจรับมาจากอีกชาติหนึ่ง และดัดแปลงบางสิ่งบางอย่างให้เหมาะสม โดยราชนาวีไทยได้ถือเอาแบบอย่างราชนาวีอังกฤษเป็นหลัก

ถึงแม้จะมีประเพณีอีกเป็นอันมากที่ยังไม่ได้รับรองเป็นทางการก็ตาม แต่เชื่อว่าทหารเรือของประเทศทั้งหลาย ก็คงไม่ยอมให้ประเพณีเหล่านั้นเปลี่ยน ไป หรือทอดทิ้งละเลยให้สูญไปเสีย และเป็นหน้าที่ของทหารเรือ รุ่นหลังทุกคน ที่ต้องพยายามศึกษาให้รู้และปฏิบัติตาม การที่จะเป็นผู้มีวินัยดีย่อมเกิดจากการปฏิบัติ ตามแผนที่ดีและแบบแผน ธรรมเนียมที่ดีเหล่านี้จะคงอยู่ด้วยการร่วมมือกัน ปฏิบัติทั่วทุกคน ทั้งนายทหารและทหาร โดยเฉพาะผู้น้อยควรลงมือปฏิบัติก่อนเสมอ 

ขอขอบคุณเอกสารอ้างอิงจากระเบียบกองทัพเรือ และหนังสือขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ ของกรมยุทธศึกษาทหารเรือ ที่ได้รวบรวมเนื้อหาจากหลายแหล่งที่มาและถอดความจากหนังสือต่างประเทศไว้ นำมาซึ่งแนวทางในการศึกษาของข้าราชการทหารเรือและผู้ที่ให้ความสนใจ ผู้รักษาสืบต่อมรดกอันล้ำค่าที่ บรรพบุรุษชาวเรือได้มอบไว้ให้ ร.ล.จักรีนฤเบศร ขอเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของเรื่องราวแต่สมัยโบราณนี้ จนกลายเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเรือที่น่าภาคภูมิยิ่ง


แบบธรรมเนียมและมารยาทบางอย่างของทหารเรือโดยสังเขปที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้ คือ

1. เมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีดเรือต้องฟังให้ทราบว่าเป็นเรื่องอะไร

2. ห้ามผิวปากในเรือและตะโกนพูดกับคนภายนอก

3. โฮ แปลว่า หยุด หะเบส แปลว่า ดึง ลาก หระเรีย แปลว่า หย่อนปล่อยไปช้า ๆและ ต๋ง แปลว่า ผูกให้อยู่

4. เมื่อรับคำสั่งต้องทวนทำสั่งเสมอ เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง

5. เมื่อได้รับคำสั่งใด ๆ ต้องตะโกน (เฉพาะยาม)

6. ตีระฆังไม่เกิน 8 ที และ ตีเป็นคู่

7. ห้ามนั่งห้อยเท้าตามที่ต่าง ๆ เช่น กราบเรือ เขื่อนริมน้ำ เป็นต้น

8. นอนแล้วข้ามกันได้ไม่ถือ เพราะในเรือแคบไม่มีทางเดิน ห้ามนอนในเรือกระเชียง

ซึ่งผูกอยู่ท้ายเรือ หรือนั่งเต้าอยู่บนเรือใหญ่

9. การขึ้นลงเรือรบและการผ่านเข้าเขตเสาธงท้าเรือต้องหันหน้าไปทางท้ายเรือ ทำการเคารพก่อนเสมอ เพื่อคารวะต่อธงราชนาวี และสถานที่

10. การขึ้นลงเรือกระเชียงผู้มีอาวุโสต่ำต้องลงก่อนและขึ้นเรือทีหลัง ห้ามเหยียบกระทงเรือ

11. ผู้มีอาวุโสต่ำต้องเข้าประจำกระเชียงก่อน ถ้าไม่มีหน้าที่ประจำกระเชียง ต้องนั่งเอามือกอดอก ในท่าผึ่งผาย ไม่จำเป็นแล้วห้ามนั่งท้ายเรือ

12. จ่าและพลทหารต้องขึ้นทางมุม ห้ามขึ้นบันได (พันจ่าอนุญาตให้ขึ้นลงบันไดซ้ายได้) เว้นในกรณีที่จำเป็น เช่นมีของมาก หรือของหนัก คลื่นจัด ๆ ต้องขออนุญาตก่อน

13. ถ้ามีทหารในเรือโบต ห้ามพลเรือนที่ไปด้วยถือท้าย

14. ห้ามนุ่งโสร่งและใส่เสื้อเกี๊ยะในเรือ ห้ามสวมรองเท้าแตะขึ้นบก แม้ว่าจะอยู่ริมฝั่งก็ตาม

15. ห้ามทหารกางร่ม (ทั้งแดดและฝน) 16. วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ ชักธงราชนาวี

ขนาดใหญ่ท้ายเรือ

17. ก่อนทำการรับสลุตคำนับเรือสินค้า ต้องเป็นธงที่ชักอยู่เต็มเสา ถ้ารับสลุตในเวลาไว้ทุกข์ให้ชักขึ้นเต็มเสาก่อนสลุต แล้วลดลงไว้ตามเดิม

18. ก่อนเทน้ำทิ้งต้องเอามือควานก้นถังตรวจของว่ามีตกหล่นอยู่หรือไม่ก่อน แล้วต้องเทลงกราบใต้ลม

19. ห้ามสูบบุหรี่และตากผ้าเปียกในห้องใต้ดาดฟ้า ห้ามตากผ้าตามราวลวดข้างเรือโดยให้สูบบุหรี่ และตากผ้าในที่กำหนดไว้

20. หยิบของไปใช้แล้วให้นำกลับไว้ที่เดิม ถ้าชำรุดต้องซ่อมทำหรือแจ้งผู้รับผิดชอบทราบ

21. เวลาเรือถูกคลื่น เข้าแถวให้ยืนถ่างขาได้

22. เดินบนดาดฟ้าต้องสวมหมวก เว้นแต่ทหารรับใช้

23. การเคลื่อนไหวบนดาดฟ้าต้องสวมหมวกเสมอ

24. ขณะรับประทานอาหารต้องถอดหมวกเสมอ

25. พิธีธงขึ้นลง ผู้ไม่มีหน้าที่จำเป็นต้องรับธงหมดทุกคน

26. ขึ้นบุมหรือบันไดต้องว่องไว ห้ามยืนขวางช่องทางเดิน

27. ทหารต้องเดินกราบซ้ายเสมอ นอกจากเหตุจำเป็นหรือประจำสถานี

28. เชือกชักธงต้องตึงเสมอ ระวังอย่าให้ธงพันเสา

29. อย่ายืนเอนพิงกับราวลวด หลักเพดาน เป็นต้น อันแสดงที่อ่อนแอ ขี้เกียจหรือนั่งบนพุกก้ามปู เป็นต้น 30. เวลานั่ง ยืน เดินผู้อาวุโสต่ำอยู่ทางซ้ายผู้มีอาวุโสสูง ถ้าหลายคนให้ผู้อาวุโสอยู่กลาง

31. ผู้บังคับการเรือขึ้นลงหรือผู้มีตำแหน่งสูงกว่าผู้บังคับการเรือ และเป็นผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ทหารทุกคนต้องทำความเคารพ วันแต่ผู้ที่ทำงานจำเป็นหรือไม่ได้ยินเสียงนกหวีด

32. การเคารพในเรือทำครั้งเดียวในเวลาพบกันครั้งแรก และจะทำอีกเมื่อได้รับคำสั่งให้เข้าไปพบ เว้นแต่ผู้บังคับการเรือต้องทำทุกครั้งที่ผ่าน

33. การเข้าพบนายทหารผู้มีอาวุโสต่ำ ในหมู่นายทหารอาวุโสสูงต้องขออนุญาตพบผู้นั้นต่อนายทหาร ผู้มีอาวุโสสูงสุดก่อน

34. ก่อนเข้าพบผู้มีอาวุโสสูงที่อยู่ในห้อง ต้องเคาะประตูและขออนุญาตก่อนการเคาะประตูนิยมเคาะ 3 ครั้ง ติด ๆ กัน แสดงว่าผู้เข้าพบเป็นทหารต่ำกว่าสัญญาบัตร ถ้าเคาะ 2 ครั้ง ติดๆ กัน และเว้นจังหวะเคาะอีก 1 ที แสดงว่าผู้ที่เข้าพบเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร

35. การเข้าไปในห้องโถงนายทหาร ต้องแต่งเครื่องแบบให้เรียบร้อย 36. การเดินตามหลังผู้มีอาวุโสและประสงค์จะรีบขึ้นหน้า หรือผ่านในที่แคบซึ่งผู้มีอาวุโสนั่งหรือยืนอยู่ ต้องขออนุญาตก่อนเสมอ

37. การขึ้นลงบันได หรือช่องทางคับแคบ ผู้มีอาวุโสต่ำต้องหยุดแอบข้างทาง เพื่อเปิดทางสะดวก

38. ทำอะไรต้องเข้าคิว และต้องให้สิทธิผู้มีอาวุโสสูงก่อน

39. ระเบียบปลีกย่อยปฏิบัติตามที่ทางเรือสถานที่นั้น ๆ กำหนด

40. การปฏิบัติบนบกอนุโลมตามแบบธรรมเนียมและมรรยาทนี้ด้วย

ที่มา : tulpongkrit.wordpress.com
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th