Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีภาคใต้ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีภาคใต้ แสดงบทความทั้งหมด

ประเพณีไทยภาคใต้ การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
มะโย่ง เป็นศิลปะการละครร่ายรำอย่างหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีลักษณะของการผสมผสานทางพิธีกรรม ความเชื่อ การละคร นาฏศิลป์และดนตรีเข้าด้วยกัน มีความกลมกลืนกันเป็นศิลปะชั้นเลิศของมลายู มะโย่งจัดเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายู ที่สามารถชมกันได้ในรัฐกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี ซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทสมาเลเซีย บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไกลจนถึงเกาะสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซีย คนไทยเชื้อสายมลายูเรียกการละเล่นมะโย่งว่า “เมาะโย่ง” ตามสำเนียงภาษามลายูถิ่นปัตตานี ซึ่งปัจจุบันมะโย่งยังคงมีการแสดงอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ประวัติความเป็นมาของมะโย่ง
ประวัติความเป็นมาของมะโย่งมิอาจระบุได้แน่ชัดว่ากำเนิดขึ้นที่ใดเป็นครั้งแรก นักวิชาการและนักแสดงหลายท่านได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของมะโย่งไว้แตกต่างกันไปหลายกระแส เช่น นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า มะโย่งกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเมืองมัชปหิต สมัยรายามูดอแลลอ บ้างก็ว่ากำเนิดขึ้นจากต่วนประไหมสุหรีบอสู และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในเมืองปาเล็มบังในสมัยรายากาซีนาบันดีตอแล้วแพร่มาสู่แหลมมลายู ส่วนจากคำเล่าของนักแสดงมะโย่ง บางโรงว่ามะโย่งกำเนิดขึ้นจากพิธีกรรมที่เกาะชวา บางโรงบอกว่าเกิดขึ้นจากสองสามีภรรยาที่ไปหาของในป่า ดังเช่น

จากการสัมภาษณ์ นายเจ๊ะเต๊ะ ดือมอง นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสรีปัตตานี เล่าว่า “มะโย่งก่อกำเนิดในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มจากสองผัวเมียเข้าไปหาของในป่าใหญ่แล้วเกิดหลงทาง ทั้งสองจึงคิดที่จะออกจากป่าซึ่งบังเอิญเห็นลิงป่าหลายตัวเล่นกันอยู่ จึงคิดสนุกโดยการที่ฝ่ายสามีเหลือบไปเห็นกะโหลกสุนัขก็นำกะโหลกสุนัขมาทำกะโหลกซอและเอาผมของตนเองมาทำสายคันชักและสายซอเอากระดูกมาเป็นด้ามซอฝ่ายภรรยาก็ร้องเพลงและเลียนท่าเต้นจากลิงป่า เมื่อออกจากป่าได้แล้ว จึงนำมาแสดงในเมือง ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม การแสดงนี้ต่อมาจึงเรียกว่า “มะโย่ง”

จากการสัมภาษณ์ นายนิโซะ นิเลาะ นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสามพี่น้อง กล่าวว่า “มะโย่งมีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ขณะนั้นโดยมะโย่งอยู่ในรูปแบบของการเล่นเพื่อรักษาไข้ ต่อมาเป็นที่รู้จักของชาวบ้านในวงกว้างขึ้นและได้นำเอาการแสดงมะโย่ง มาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในโอกาสต่างๆ เช่น งานเข้าสุหนัต งานแต่งงาน ต้อนรับบุคคลสำคัญ ต่อมากลายเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมจากราชสำนักและระดับชาวบ้าน จึงทำให้การแสดงมะโย่งได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาสู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดาร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน”

จากการสัมภาษณ์ นายยูโซ๊ะ บ่อทอง นักแสดงลิเกฮูลู กล่าวว่า มะโย่งมีต้นกำเนิดจากคนชวา ใช้แสดงในพิธีกรรมรักษาไข้ ต่อมาได้แพร่หลายมายังรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน และมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานี ปรากฏว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า การแสดงมะโย่งในปัตตานีมีมานานมากกว่า 400 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานเด่นชัดในสมัยราชินีฮิเยาครองเมืองปัตตานี สมัยนั้นมะโย่งมักนิยมดูในหมู่ชนชั้นสูง โดยใช้สถานที่แสดงในวังหรือบ้านขุนนาง ครั้งหนึ่ง ๆ แสดงนานถึง 4-7 คืน แต่ละคืนจะเลิกแสดงก็ต่อเมื่อรายารับสั่งให้ยุติ เล่นเพื่อความบันเทิง ต้อนรับบุคคลสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายูได้ปรากฏหลักฐานในพิธีต้อนรับพระองค์ได้มีการแสดงมะโย่งในเมืองปัตตานี ทรงบันทึกไว้ในหนังสือพระราชหัตถเลขา เรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายู อาจกล่าวได้ว่าการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานีน่าจะเริ่มปรากฏในราชสำนักก่อนในรูปแบบความบันเทิงเป็นที่นิยมชื่นชอบในราชสำนัก ถึงขนาดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ครองเมือง ต่อมาได้แพร่หลายสู่ระดับประชาชนทั่วไปซึ่งทั้งใช้เพื่อความบันเทิงและประกอบพิธีกรรมรักษาไข้มาจนถึงปัจจุบัน

โอกาสในการแสดงมะโย่ง
โอกาสในการแสดงมะโย่งสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการแสดงได้ 2 ประการ คือ การแสดง เพื่อความบันเทิง และการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ดังรายละเอียดดังนี้

1) การแสดงเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงที่เจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างรับมะโย่งมาแสดงในโอกาสต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง บุคคลสำคัญ งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานขึ้นเปลลูกเจ้าเมือง งานมาแกแต (งานบุญบริจาคหารายได้สมทบทุน) แก้บนที่ไม่ได้เกี่ยวรักษาไข้ (บนไว้ว่าถ้าได้ลูกสาวจะรับมะโย่งมาแสดง) งานประเพณีแห่นก งานเทศกาลประจำปี หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เป็นต้น

2) การแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม
เป็นการแสดงเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแสดงมะโย่งในพิธีแก้บน สะเดาะเคราะห์ รักษาไข้หรือตือรี และเพื่อไหว้ครู เป็นต้น

โรง หรือเวทีแสดงมะโย่ง
โรงหรือเวทีที่ใช้ในการแสดงมะโย่ง นั้น มี 2 แบบ คือ โรงที่ใช้แสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิง และโรงที่แสดงมะโย่งในพิธีกรรม ซึ่งทั้งสองมีลักษณะเป็นโรงที่ปลูกเป็นเพิงหมาแหงนเหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่อุปกรณ์ที่ใช้ประดับตกแต่งโรง คือ โรงเวทีที่ใช้แสดงมะโย่งในพิธีกรรม จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและมีอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในโรงหลายอย่าง

การแสดงมะโย่ง
ในการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรมนั้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ เริ่มต้นด้วยการเบิกโรง การโหมโรงจะเริ่มจากการบรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือซอรือบับเท่านั้นที่เล่นคลอเบา ๆ ตามด้วยกลองฆือแน ฆ้อง โหม่งและเครื่องดนตรีชิ้นที่เหลือตีบรรเลงพร้อมๆ กัน เป็นการปลุกเร้าหรือส่งสัญญาณบอกให้ผู้ชมทราบว่าการแสดงมะโย่งกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ต่อด้วย การรำเบิกโรง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้ร่ายรำจะต้องเป็นเปาะโย่ง ในพิธีนี้คนไข้อาจจะแสดงเป็นเปาะโย่ง และได้รับการถ่ายทอดท่าร่ายรำจากผู้แสดงเป็นเปาะโย่งของคณะที่ว่าจ้าง โดยมีตัวละครเมาะโย่ง ปือรันมูดอ ปือรันตูวอร่วมแสดงด้วย เวลาที่ใช้ในการรำเบิกโรงนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อมาเป็นการแสดงเป็นละครมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องตามบทละคร มีบทพูดสนทนาโต้ตอบกันของตัวละคร สลับบทร้อง การรำ การเต้น เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงจะมีลักษณะคล้ายเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ต่อมาเป็นพิธีแก้บน เป็นพิธีกรรมที่กระทำในคืนสุดท้ายเพื่อบอกกล่าวว่าการใช้บนได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยเจ้าภาพจะจัดเตรียมอุปกรณ์ คือ “สมางีน” พ่อหมอจะเรียกคนไข้และญาติให้มานั่งใกล้ ดนตรีเริ่มบรรเลงเพลง พ่อหมอจะหยิบผงกำยานโรยบนถ่านไฟให้ควันกำยานพุ่งนำเครื่องประกอบแก้สินบนทั้งหมดขึ้นมารมควันแล้วอ่านคาถา พ่อหมอดึงตัวปลดปล่อยที่สานจากใบมะพร้าวให้ขาดออกจากกัน และพ่อหมอนำแป้งหอมละลายน้ำทำเป็นน้ำมนต์มาพรมคนไข้และญาติๆ

ส่วนการแสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิงมีลักษณะการแสดงคล้าย ๆ กับการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรม แต่จะมีลำดับขั้นตอนการแสดงน้อยกว่า คือ จะเริ่มจากการโหมโรง ต่อด้วยรำเบิกโรง และแสดงเป็นละคร เวลาที่ใช้แสดงประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมะโย่งประกอบด้วย ซอรือบับ ปี่ซูนา กลองฆือแน ฆง โหม่ง จือแร็ก ฉิ่ง ฉาบ รำมะนา และไวโอลิน ส่วนจำนวนผู้แสดงมะโย่งมีทั้งหมด 15-25 คน เป็นโต๊ะมีโน๊ะหรือพ่อหมอ 1 คน เป็นนักดนตรี 7-9 คน ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงกับผู้ช่วยแสดง นักดนตรี ประกอบด้วย คนสีซอรือบับ เป่าปี่ซูนา ตีกลองฆือแน ฆง โหม่ง ฉิ่งกับฉาบ จือแร็ก รำมะนา (เครื่องดนตรีบางชนิดอาจจะเป็นคนๆ เดียวกันเล่น) ผู้ที่เป็นนักแสดงจะรักบทเป็นตัวละครสำคัญ ๆ ในการแสดงมะโย่งมี เปาะโย่ง เป็นตัวละครเอก เมาะโย่ง ปือรันมูดอ ตัวตลกตัวที่ 1 ปือรันทูวอ เป็นตัวตลกตัวที่ 2 ดายัง - ดายัง หรือ อีนัง - อีนัง

เครื่องแต่งกายของเปาะโย่งจะมีลักษณะพิเศษเป็นชุดเลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ ส่วนเมาะโย่งและนักแสดงที่เป็นตัวประกอบจะแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดพื้นบ้านชาวไทยมุสลิม เช่น ชุดกือบายา หรือชุดที่ธรรมดาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน นักดนตรีจะแต่งชุดสบาย ๆ ธรรมดาในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อัตราค่าจ้างในการแสดง มะโย่งแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่รับไปแสดง เช่น ถ้าเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง ระยะเวลาแสดง 2 - 3 ชั่วโมง ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 4,500 บาท ถ้าเป็นการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 6,000 บาท

ปัจจุบันมะโย่งนับได้ว่าเป็นการแสดงที่กำลังจะสูญหาย และหาดูได้ยากในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเนื่องจาก ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ไม่เอื้ออำนวยให้การละเล่นชนิดนี้อยู่รอดต่อไปได้ ดังเช่น ปัจจัยด้านความเชื่อในศาสนาอิสลาม ปัจจัยสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากชาติอื่น ๆ เข้ามาแพร่สิ่งใหม่ ๆ ดังเช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ โทรทัศน์ และปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างผู้แสดงและผู้ชมที่บทละครมะโย่งใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานี


คำค้นหา :

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง, มะโย่ง, ประเพณีภาคใต้, การละเล่นภาคใต้
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th