Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พอเพียง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พอเพียง แสดงบทความทั้งหมด

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม
จากการศึกษาประเด็นหลัก ๕ ประเด็นหลักข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าคือ สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมไทยซึ่งจะนำมาซึ่งความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยนัยยะของ “วัฒนธรรม” หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน คือจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ การประยุกต์ใช้จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมมือกัน


คำค้นหา :

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้รับการบรมราชาภิเษกตามแบบโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ณ วโรกาสนั้น พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แม้จะเป็นข้อความเพียงสั้น ๆ แต่มีความลึกซึ้งกินใจซึ่งเป็นพระราชปณิธานมุ่งมั่นพระทัยที่ต้องทรงปฏิบัติให้ได้

เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เหล่าพสกนิกรชาวไทย และชาวโลกแล้วว่า ตลอดระยะเวลา 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฏร์ และทรงห่วงใยในทุกข์สุขของประชาชนตลอดมา ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เมื่อทรงพบกับปัญหาก็ได้พยายามช่วยเหลือโดยทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ที่มุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชน

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นส่วนหนึ่งในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเหมาะพอดี มีเหตุมีผล และไม่ประมาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือปฏิบัติด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งได้พระราชทานพระราชดำริให้แก่คนไทยนำไปปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฏาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปโดยลำดับต่อไป หากมุ่งเน้นแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทาง การแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรอง พระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2549 – 2554) โดยรัฐบาลได้ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ อันเป็นการสนองพระราชปณิธานสืบสายพระราชดำริต่อไป


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง, ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, ที่มาของเศรษฐกิจพอเพียง, ที่ มา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง, ความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ความ หมาย ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาษาอังกฤษ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง doc
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงาน

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลาที่จะลองผิดลองถูกในการทำงาน เพราะกำไรจึงเป็นของผู้ลงมือก่อน เราจึงต้องเปลี่ยนแปลง ต้องจัดสรรเวลาให้รวดเร็ว ในวันหนึ่ง ๆ เราใช้เวลาในการทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับ 8 ชั่วโมง อื่น ๆ 8 ชั่วโมง ในเวลา 1 วัน มี 24 ชั่วโมง หากทบทวนดู เราใช้เวลาให้มีคุณภาพในแต่ละวินาทีอย่างไร หายใจทิ้ง คอรับชั่นเวลาไปเท่าไร เราเคยคิดหรือไม่ว่า เราทำงาน เราทุ่มเทให้หน่วยงานองค์กรเท่าไร เราขโมยเวลาในการทำงานให้หน่วยงานไปเท่าไรหรือเราคิดวนเวียนว่า เราจบจากไหน ได้เงินเดือนเท่าไร มีตำแหน่งบริหารหรือไม่ ได้สองขั้นหรือไม่ ใครได้ดีเกินเรา แล้วก็มัวแต่นั่งหายใจทิ้งไปเฉย ๆ โดยไม่ลงมือทำอะไรเลย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เป็นวิถีชีวิตที่สามารถใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ เพื่อให้ดำรงตนและปฏิบัติตนให้สมดุล ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่เป็นการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น เป็นผู้บริหารที่พอเพียง การพูด การคิดต้องพอเพียง อย่าให้ความคิดกระจาย ซึ่งเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงานได้ง่าย ๆ ดังนี้

ความพอประมาณ ได้แก่ เรียบง่าย ประหยัด การทำอะไรที่พอเหมาะพอควร สมดุลกับอัตภาพ ศักยภาพของตนและสภาวะแวดล้อม ตามความสามารถของแต่ละคน พอประมาณกับภูมิสังคม สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ การทำงานทุกอย่างต้องเรียบง่าย ประหยัด อย่าทำงานให้ยุ่ง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ มีกำหนดการทำงานตามลำดับขั้นตอน และมีการปฏิบัติชัดเจน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องรู้ว่านักศึกษาต้องการอะไร ผู้ใช้บัณฑิตต้องการอะไร เพราะทุกกิจกรรม ทุกงานที่ทำมีต้นทุน อย่าทำงานทิ้งๆ ขว้าง ๆ การทำงานต้องมีประโยชน์ มีผลผลิตที่เกิดขึ้น

ความมีเหตุผล คือ การคิด ฟัง ปฏิบัติ การทำงานต้องใช้หลักความรู้ในการทำงาน วางแผนงานต้องระมัดระวัง ต้องใช้หลักวิชาการช่วยสนับสนุน อย่าใช้ความรู้สึกและอารมณ์ในการทำงาน ทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน การพัฒนาตัวเองต้องเกิดขึ้นจากภายในตัวเองของแต่ละคน จึงต้องแสดงศักยภาพออกมาให้ได้

มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ต้องมีแผนกลยุทธ์ เช่น เป็นอาจารย์ต้องมีแผนการสอน องค์กรต้องมีแผนกลยุทธ์ เป็นต้น การทำงานต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมองภาพรวม ทุกคนมีส่วนร่วม คือการประสานงาน และการบูรณาการปรับวิธีการทำงาน หน่วยงานองค์กรต้องมีธรรมาภิบาลเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้นกันภายในตัว

ชีวิตที่พอเพียงในการทำงานการศึกษา จึงต้องยึดความพอเพียง ประกอบด้วย ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาที่ยึดคุณธรรม ความเพียร ความรอบรู้ ความซื่อสัตย์สุจริตให้เข้าสู่จิตใต้สำนึกของผู้เรียน บุคลากร และต้องมีธรรมาภิบาลในองค์กร การทำงานกับมนุษย์ต้องใช้หลักการ หลักวิชาการให้สอดคล้องกับภูมิสังคม คือภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ต้องปรับกระบวนการทำงานจากบนลงล่าง เป็นล่างขึ้นบน เป็นผู้เป็นหุ้นส่วนระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายของการศึกษาคือ คุณภาพชีวิตและสังคม เพื่อลดความยากจน เป็นเครื่องมือดูแลสุขภาพ เป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือสำหรับ ธรรมาภิบาลหรือความโปร่งใสของสังคม

การเป็นผู้นำยุคใหม่นี้ ต้องมีความสามารถในการชี้นำ การสื่อสาร และสร้างการเรียนรู้เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้นำผู้ตาม รวมทั้งสามารถทำให้ผู้ร่วมงานสามารถตามทันวิสัยทัศน์ผู้นำได้ การบริหารจัดการจึงต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จคือคุณภาพตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรจึงต้องวางระบบให้กิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


คำค้นหา :

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน, เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง ของ ฉัน, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจําวัน, ตัวอย่างเรียงความเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, การ เขียน เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง, เรียงความพ่อของแผ่นดิน, เรียงความ วัน แม่
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th