Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทความเศรษฐกิจพอเพียง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทความเศรษฐกิจพอเพียง แสดงบทความทั้งหมด

บทความ เศรษฐกิจพอเพียงคือฐานแห่งคุณธรรมนำสู่สังคมสมานฉันท์

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางสายกลางในการดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ พระองค์ทรงยึดถือเป็นวัตรปฏิบัติ ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสเมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา กระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งทรงปรารภถึงพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชชนนีว่า “ ภูมิพลต้องเหยียบดิน ถึงเดินไปบนภูเขาก็เดินบนดิน ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือเป็นอนุสติตลอดมา ทรงมีพระราชดำรัสในคราวเดียวกันอีกว่า “ พอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ เป็นความคิด ให้สามารถทำอะไรอยู่ได้ แม้แต่กองทัพ ” ทรงมีพระประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นว่าความพอเพียงนั้นสามารถใช้ได้กับทุกด้าน

การทำมาหากินของคนเรานั้น ก็ต้องหาให้พอกินในบ้านก่อน ถ้าหามาได้มากก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน และถ้าขายได้ก็ขาย วิถีดังเดิมของคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา มีขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวเนื่องกับการทำนาเรียกว่า “วัฒนธรรมข้าว” มีภูมิปัญญาคารวะธรรม สามัคคีธรรม และปัญญาธรรม นำสู่สังคมสมานฉันท์ ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่ยุคสุโขทัย ดังศิลาจารึกหลักที่ ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า “ เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ” แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มีวิถีในการดำเนินชีวิตในทางสายกลางอันเป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่ามรรค ๘ มีสัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค ๘ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงคือวิถีดั่งเดิมของคนไทย จึงเป็นฐานแห่งคุณธรรม ในยุคสุโขทัยนั้นมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงจึงแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรดังพ่อแห่งแผ่นดิน

การทำนาของไทย แต่ก่อนใช้คนเกี่ยวข้าว ใช้ควายไถนา มีการลงแขกเกี่ยวข้าว คือการที่เราไปช่วยเพื่อนบ้านเกี่ยวข้าวที่นาของเขาก่อน แล้วเขาก็จะมาช่วยเราเกี่ยวข้าวที่นาของเราเป็นการตอบแทน เรียกว่า “ ไปเอาแรงเขาไว้ก่อน แล้วเขาก็จะมาใช้แรงเราภายหลัง ” ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนเป็นการจ้าง การใช้เครื่องจักรแทนการใช้แรงงานคนและสัตว์

เมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมาเคยมีโรงสีข้าวขนาดเล็กอยู่ตามริมแม่น้ำ โรงสีขนาดเล็กบริการสีข้าวให้ชาวบ้านโดยไม่คิดค่าจ้าง แต่เจ้าของโรงสีจะได้รำข้าวและปลายข้าวที่ได้จากการสีข้าวเป็นการตอบแทนแล้วขายรำข้าวและปลายข้าวให้ชาวบ้านนำไป เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ โรงสีขนาดเล็กเป็นการบริการชุมชน เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตเพื่อบริโภค ทำให้ชาวนามีที่สีข้าวสารสำหรับบริโภค

(โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ได้เปิดกิจการ และเริ่มสีข้าว ตั้งแต่วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยถึงฐานะความเป็นอยู่ของชาวนา โดยเฉพาะรายได้จากการขายข้าวที่ขาดหายไป เนื่องจากการขายข้าวให้พ่อค้าคนกลาง แล้วนำ เงินมาซื้อข้าวบริโภคในราคาแพง จึงมีพระราชดำริว่าสมควรที่จะแก้ไขโดยให้ชาวนา ร่วมกันเป็นกลุ่มดำเนินงานในแบบ สหกรณ์โดยยึดหลัก สีข้าวเอง เก็บไว้บริโภคเอง ส่วนข้าวเปลือกที่เหลือจากการสี ก็สามารถขายได้)

นอกจากนี้ผู้คนยังใช้เรือบรรทุกข้าวขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางน้ำบรรทุกได้มากกว่าการขนส่งทางรถยนต์ ค่าขนส่งทางน้ำถูกกว่าทางรถยนต์ ต่อมามีนายทุนตั้งโรงสีข้าวขนาดใหญ่รับซื้อข้าวส่งขายต่างประเทศ พ่อค้าคนกลางใช้รถยนต์ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกถึงยุ้งข้าวชาวนา ชาวนาพากันขายข้าวเปลือก ไม่นำข้าวเปลือกไปสีตามโรงสีขนาดเล็ก โรงสีขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ต้องปิดกิจการ ชาวนาเปลี่ยนวิถีจากผู้ผลิตเพื่อบริโภคเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายผ่านกลไกตลาด ชาวนาไม่ได้บริโภคข้าวที่ตนเองผลิต แต่ซื้อข้าวสารจากตลาดมาบริโภค สังคมชาวนาเข้าสู่ระบบบริโภคนิยม ละทิ้งภูมิปัญญาการเป็นผู้ผลิตเพื่อบริโภค ละทิ้งการใช้บริการของชุมชน ทำให้ต้องใช้เงินซื้อจากตลาดมาบริโภค ตลาดเป็นของนายทุน เขาจำหน่ายเพื่อหวังกำไร ชาวนาจึงประสบปัญหาซื้อของแพงมาบริโภค

เราต้องแก้ไขโดยการสร้างสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจพอเพียง คือสร้างกระแสในระดับชาติ ด้วยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนหันมาบริโภค นุ่งห่ม อยู่อาศัยอย่างพอเพียง และสร้างบทบาทผู้ผลิตเพื่อบริโภคในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ให้เกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจพอเพียง อัลวิน ทอฟฟเลอร์ นักวิชาการและนักวิจารณ์สังคมมีชื่อได้กล่าวไว้ในหนังสือคลื่นลูกที่สามว่า “ ตราบใดที่ยังมองไม่เห็นความสำคัญของผู้ผลิตเพื่อบริโภค ตราบนั้นจะไม่มีวันแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เส้นกั้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคเริ่มลบเลือน บทบาทของผู้ผลิตเพื่อบริโภคกำลังจะเปลี่ยนสภาพการตลาด วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไป ระบบของโลกจะเปลี่ยนไป ” การผลิตเพื่อบริโภคแม้ไม่เกิดมูลค่า แต่ไม่ต้องซื้อมาบริโภค ทำให้ประหยัดรายจ่าย เกิดความพอเพียงแก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขนำสู่สังคมสมานฉันท์

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการยอมรับในระดับโลก เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ องค์การสหประชาชาติโดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย โคฟี อันนัน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award และได้กล่าวปาฐกถาถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เริ่มจากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้านและสู่เศรษฐกิจในวงกว้าง มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ องค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกทั้ง ๑๖๖ ประเทศ ยึดเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมารณรงค์เผยแพร่ มีหลักการ ๓ ประการ คือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ ๒ เงื่อนไข คือ ความรู้ และคุณธรรม หลักการประการที่ ๑ คือ ความพอประมาณ ความพอดี ความซื่อตรง ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เกินกำลังความสามารถของตนเองจนทำให้ให้เกิดความลำบากในภายหลัง

หลักการประการที่ ๒ คือความมีเหตุผล ความเหมาะสมทั้งต้นและปลาย ความเป็นไปได้ในการผลิต การเล็งเห็นผลของความเพียรที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การผลิตเพื่อจำหน่ายต้องมีการลงทุน การจำหน่ายใช้ระบบเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า ต้องจำหน่ายสินค้าให้ได้โดยไม่ขาดทุน ยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ทุกมุมโลกจะแยกย่อยและหลากหลายมากขึ้น แต่จะมีการเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ความมีเหตุผลจะนำสู่ความสมดุล มั่นคง ความยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม

หลักการประการที่ ๓ คือการมีภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณและความมีเหตุผลจะเป็นภูมิคุ้มกันความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก ทางสายกลางเป็นทางเลือกในการตัดสินใจเผชิญกับความไม่แน่นอนในอนาคต หลักการทั้ง ๓ ประการดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข ๒ ประการ

เงื่อนไขประการที่ ๑ คือความรู้หมายถึง ความรอบรู้ในทางทฤษฎี หลักการ วิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างสมบรูณ์รอบด้าน ความรอบคอบบูรณาการเชื่อมโยงในขั้นการวางแผน และความระมัดระวัง มีสติในการนำไปใช้ในขั้นการปฏิบัติ

เงื่อนไขประการที่ ๒ คือคุณธรรมหมายถึงการประกอบสัมมาชีพ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน ความเพียร และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีความรับผิดชอบทางจริยธรรมต่อสังคม

ด้วยคุณธรรมของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน และความเพียร จึงทำให้เกิดความพอเพียงแก่ตนเอง ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น สร้างสามัคคีธรรมขยายสู่ชุมชน นำสู่สังคมสมานฉันท์ เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้เกิดความพอเพียงขึ้นภายในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของโลกขยายออกไปสู่ภูมิภาค หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ จึงเป็นปรัชญาในการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืนและมั่นคง ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่าสมควรที่จะปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อเป็นพรอันประเสริฐน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร นำชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขสมดังมโนปณิธานที่ทรงประกาศปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” อันเป็นพระบรมโพธิสมภารรักษาเอกราช และความเป็นราชอาณาจักรไทยสืบไป.


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง, บทความเศรษฐกิจพอเพียง, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th