Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีทำขวัญ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ประเพณีทำขวัญ แสดงบทความทั้งหมด
ประเพณีที่กำลังเลือนหาย ทำขวัญ-รับขวัญแม่โพสพ ประเพณีไทย
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ |
ข้าว มีความผูกพันกับคนไทยมายาวนาน เพราะข้าวเป็นส่วนประกอบหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนให้ดำรงอยู่และเติบโต คนไทยเรียนรู้จนรู้จักวิถีแห่งข้าว จึงตระหนักถึงคุณค่าของข้าว ให้ความเคารพมาแต่ครั้งอดีต โดยแสดงความเคารพ นอบน้อม และด้วยจิตสำนึกอันดีงามอันเป็นรากฐานของประเพณีไทย จึงทำให้เกิดประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนานจนเป็น หนึ่งเดียวกับวิถีชีวิตของคนไทย อันได้แก่ ประเพณีทำขวัญข้าว และประเพณีรับขวัญข้าว
ชาวนาในตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งอาชีพทำนาช่วยสร้างรายได้และหล่อเลี้ยงชีวิตมายาวนาน มีประเพณีทำขวัญข้าว ในเดือนสืบ หรือประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง
มีความเชื่อกันว่า การทำขวัญข้าวเป็นการกราบไหว้ เพื่อขอให้แม่โพสพปกป้องพืชพรรณให้เจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ จะทำพิธีในตอนเช้า เจ้าของนาจะนำอาหารใส่ชะลอมเล็กๆ ที่บุด้วยกระดาษบางๆ อาหารที่ใส่ในชะลอมมักมีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม อ้อย มะขาม ฯลฯ เพราะมีความเชื่อว่า ผู้ที่ตั้งครรภ์จะอยากรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว รวมทั้งแม่โพสพด้วย นอกจากนี้ยังมีแป้ง หมาก พลู กล้วย และขนมอื่นๆ รวมถึงอาหารหวานคาวต่างๆ ที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ เพราะอาหาร ที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ถือว่าเป็นอาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะแม่โพสพที่เป็นเจ้าแม่ แห่งข้าว หรือเป็นเทพธิดาประจำต้นข้าว จะไม่รับของที่เป็นเนื้อสัตว์แต่อย่างใด หลังจากเตรียมของที่จะไหว้เสร็จเรียบร้อย จึงนำของเหล่านั้นมาไว้ที่คันนา พร้อมนำธงที่ได้จากการประกอบพิธี เทศน์มหาชาติมาผูกติดกับชะลอมไว้ด้วย
เมื่อได้เวลา ผู้ประกอบพิธีทำขวัญข้าวจะพูดคำที่เป็นมงคลในการประกอบพิธี เช่น “วันนี้วันดี มาทำขวัญแม่ศรีโพสพ ให้ข้าวออกรวงดี ออกง่ายออกดาย อย่าเป็นโรคเป็นภัย ให้เลี้ยงลูกจนแก่เฒ่า ขอให้ร่ำรวย...” แม้แต่ละคนจะมีคำพูดที่แตกต่างกัน แต่คำพูดทำคำจะมีความหมาย ที่เป็นมงคลที่แสดงความต้องการให้ข้าวของตนมีความเจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์
เมื่อเสร็จสิ้นจากการทำขวัญข้าวแล้ว เจ้าของนาจะสบายใจ ด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพจะบันดาลให้มีผลผลิตดี เมื่อถึงเวลาที่ข้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ ก็จะมีการ “ลงแขก” การลงแขกคือ การที่เจ้าของนาแจ้งให้ผู้ที่รู้จักคุ้นเคยมาช่วยเกี่ยวข้าว นวดข้าว ซึ่งจะช่วยกันโดยวิธีผลัดเปลี่ยน เป็นบ้านๆ โดยไม่ต้องจ่ายค่าแรง เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในหมู่ชาวบ้าน อีกประเพณีหนึ่ง
เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว หญิงสาวชายหนุ่มต่างยินดีมาร่วมเกี่ยวด้วย เพราะจะได้มีโอกาส มาชุมนุมรื่นเริง เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงโต้ตอบฝีปากกันบ้าง
การเกี่ยวข้าวมักเกี่ยวในตอนเช้า พอแดดร้อนก็หยุดพักและไปเกี่ยวใหม่ในตอนบ่าย ใครเกี่ยวได้เท่าใดก็เอารวมไว้เป็นกองๆ หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของเจ้าของข้าว เมื่อเสร็จจาก การเก็บเกี่ยวแล้วจะจัดมัดเป็นฟ่อนๆ เพื่อขนได้สะดวก เชือกที่มัดฟ่อนข้าวจะใช้เส้นตอกแทนเชือกชนิดอื่นๆ ถ้าไม่มีและไม่สะดวกก็สามารถใช้ซังข้าวฟั่นเป็นเกลียวเป็นเชือกมัดเรียกว่า เขน็ด การมัดนั้นจะต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง
ในขณะที่หญิงสาวชายหนุ่มไปเก็บเกี่ยวข้าวนั้น พวกผู้ชายที่แก่เฒ่าอยู่เฝ้าบ้านจัดทำลานสำหรับนวดข้าว ปรับพื้นดินให้เรียบจนติดกันแน่นแข็ง แล้วเอาขี้วัวขี้ควายสดๆ ละลายน้ำปนกับเปลือกไม้ที่มียางหรือไม่มีก็ได้ละเลงทาลานจนทั่วเพื่อให้ปิดดิน ทิ้งไว้จนลานแห้ง เพื่อใช้นวดข้าว
หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จจะนำข้าวมานวดในลานนวดข้าวที่เตรียมไว้ โดยใช้ควายย่ำ จะนำฟ่อนข้าวมาวางเรียงเป็นวงกลมหรือวงรีในลานนวดตามขนาดของลานนวดข้าว การเรียงฟ่อนข้าวใช้วิธีตั้งกำข้าวเอาซังลงดิน ใช้เคียวตัดกำข้าวออกเรียกว่า ตัด “คะเน็ด” เพื่อให้รวงข้าวหลุด จนกระทั่งกองข้าวได้ขนาดพอเหมาะก็ใช้ควายย่ำ การนวดข้าวอาจใช้ควายเพียงตัวเดียวหรือ หลายตัว ถ้าใช้หลายตัวก็นำมาผูกกันเรียงเป็นพวง โดยผูกที่คอเป็นพวงๆ ละประมาณ 3-4 ตัว แต่จะมีควายที่ชาวนานฝึกหัดไว้จนชำนาญอยู่ด้านใน เวลานวดให้ควายย่ำซ้ำอยู่พักหนึ่งก็หยุดพักควายระหว่างหยุดพักชาวนาจะใช้ “ขอฉาย” ซึ่งเป็นด้ามไม้ไผ่ยาว ที่ปลายมีเหล็กปลายงอติดอยู่ “สงฟาง” ที่ถูกนวดเรียบร้อยแล้วออกไป ถ้ายังมีเมล็ดข้าวติดอยู่ก็ใช้ขอฉายสงขึ้นมาไว้ข้างบน ทำอย่างนี้ประมาณ 3 ครั้งกับข้าว 1 กอง หรือ 1 ตก ในการตรวจดูฟางว่าสงสะอาดเรียบร้อยดีหรือไม่ก็ดูด้วยสายตา ถ้าเป็นเวลากลางคืนก็ทดลองใช้ฟางจุดไฟ ถ้ายังมีเมล็ดข้าวติดอยู่มาก จะมีเสียงดังเกิดขึ้น เมื่อนวดเสร็จแล้วก็สงฟางออกให้มากที่สุดคงเหลือแต่เศษฟางปะปนอยู่ ในกองข้าว
เมื่อเสร็จจากลงแขกเก็บเกี่ยวและนวดข้าวแล้ว เจ้าของนาก็จะทำพิธีรับขวัญข้าว เป็นการเชิญขวัญข้าวที่ได้หลังจากการเก็บเกี่ยว ก่อนจะนำไปเก็บในยุ้งฉาง
การรับขวัญข้าว หรือรับขวัญแม่โพสพจากกลางนามาประทับในยุ้งข้าว เป็นพิธีที่ แสดงว่าฤดูทำนาได้สิ้นสุดลงแล้ว ช่วงเวลาที่นิยมทำพิธีมีสองวันคือ วันจันทร์ข้าวยุ้ง หมายถึง การอัญเชิญแม่โพสพ (ข้าว) จากลานไปไว้ในยุ้ง และวันศุกร์ข้าวลาน หมายถึง ประเพณีรับขวัญ แม่โพสพเมล็ดข้าวที่ตกอยู่ตามลานไปไว้ที่ยุ้ง เหตุที่เลือกทำในวันจันทร์ เนื่องจากเชื่อว่า จะได้เจริญรุ่งเรือง ค้าขายข้าวได้ราคาดี เหมือนชื่อจันทร์ เพราะจันทร์เป็นสัญลักษณ์ของความส่องสว่าง รุ่งเรือง ส่วนเหตุที่เลือกทำในวันศุกร์นั้น เนื่องจากเชื่อว่า วันศุกร์ เป็นวันที่ให้ความสุข ไม่มีทุกข์โศกใดๆ
เมื่อได้เวลาในการทำพิธี เจ้าของนาจะเตรียมอาหาร เช่น ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ขนมหม้อแกง เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบพิธีรับขวัญข้าว พร้อมทั้งจะมีการกล่าวคำเชิญเหมือนกับการทำขวัญข้าวว่า “ขอเชิญแม่โพสพ นพดารา มารับขวัญข้าว ขอแม่เจ้าจงมา ตกหล่นกลางนา กลับมาอยู่ยุ้งฉาง”
ในการทำขวัญข้าว และการรับขวัญข้าว ที่ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนใหญ่จะให้ผู้หญิงเป็นผู้ดำเนินการ การกำหนดวันจะหาฤกษ์ดีตามความสะดวกของเจ้าของนา และมีการฝากต่อๆ กัน เพื่อที่จะให้เพื่อนบ้านมาร่วมประกอบพิธีด้วย
พิธีทำขวัญข้าวและพิธีรับขวัญข้าว สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับการทำนา เนื่องจากข้าวที่ได้จากการปลูกด้วยแรงกายแรงใจของตนนั้น ช่วยสร้างรายได้หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในสังคม ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในตำบลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในปัจจุบันที่ตำบลน้ำตาล มิได้มีประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ทำลาน นวดข้าว และรับขวัญข้าวเหมือนสมัยก่อน เนื่องจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่รู้วิธีการและทำพิธีที่เกี่ยวข้องกับการทำนามีอยู่น้อยคน จึงไม่มีผู้สืบสานต่อ ทำให้ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำนาเริ่มจะเลื่อนหายไป หากผู้ที่มีความรู้ เรื่องนี้จากไปโดยไม่มีการสืบต่อรวมทั้งเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวสมัยใหม่ที่สะดวกกว่าเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานเหมือนก่อน จนทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับแม่โพสพเปลี่ยนไป ประเพณี ที่มีคุณค่าทางใจนี้น่าจะสูญหายไปในที่สุด
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ, ประเพณีทำขวัญ, ประเพณีแม่โพสพ, ทำขวัญ
ชาวนาในตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งอาชีพทำนาช่วยสร้างรายได้และหล่อเลี้ยงชีวิตมายาวนาน มีประเพณีทำขวัญข้าว ในเดือนสืบ หรือประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง
มีความเชื่อกันว่า การทำขวัญข้าวเป็นการกราบไหว้ เพื่อขอให้แม่โพสพปกป้องพืชพรรณให้เจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ จะทำพิธีในตอนเช้า เจ้าของนาจะนำอาหารใส่ชะลอมเล็กๆ ที่บุด้วยกระดาษบางๆ อาหารที่ใส่ในชะลอมมักมีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม อ้อย มะขาม ฯลฯ เพราะมีความเชื่อว่า ผู้ที่ตั้งครรภ์จะอยากรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว รวมทั้งแม่โพสพด้วย นอกจากนี้ยังมีแป้ง หมาก พลู กล้วย และขนมอื่นๆ รวมถึงอาหารหวานคาวต่างๆ ที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ เพราะอาหาร ที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ถือว่าเป็นอาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะแม่โพสพที่เป็นเจ้าแม่ แห่งข้าว หรือเป็นเทพธิดาประจำต้นข้าว จะไม่รับของที่เป็นเนื้อสัตว์แต่อย่างใด หลังจากเตรียมของที่จะไหว้เสร็จเรียบร้อย จึงนำของเหล่านั้นมาไว้ที่คันนา พร้อมนำธงที่ได้จากการประกอบพิธี เทศน์มหาชาติมาผูกติดกับชะลอมไว้ด้วย
เมื่อได้เวลา ผู้ประกอบพิธีทำขวัญข้าวจะพูดคำที่เป็นมงคลในการประกอบพิธี เช่น “วันนี้วันดี มาทำขวัญแม่ศรีโพสพ ให้ข้าวออกรวงดี ออกง่ายออกดาย อย่าเป็นโรคเป็นภัย ให้เลี้ยงลูกจนแก่เฒ่า ขอให้ร่ำรวย...” แม้แต่ละคนจะมีคำพูดที่แตกต่างกัน แต่คำพูดทำคำจะมีความหมาย ที่เป็นมงคลที่แสดงความต้องการให้ข้าวของตนมีความเจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์
เมื่อเสร็จสิ้นจากการทำขวัญข้าวแล้ว เจ้าของนาจะสบายใจ ด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพจะบันดาลให้มีผลผลิตดี เมื่อถึงเวลาที่ข้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ ก็จะมีการ “ลงแขก” การลงแขกคือ การที่เจ้าของนาแจ้งให้ผู้ที่รู้จักคุ้นเคยมาช่วยเกี่ยวข้าว นวดข้าว ซึ่งจะช่วยกันโดยวิธีผลัดเปลี่ยน เป็นบ้านๆ โดยไม่ต้องจ่ายค่าแรง เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในหมู่ชาวบ้าน อีกประเพณีหนึ่ง
เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว หญิงสาวชายหนุ่มต่างยินดีมาร่วมเกี่ยวด้วย เพราะจะได้มีโอกาส มาชุมนุมรื่นเริง เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงโต้ตอบฝีปากกันบ้าง
การเกี่ยวข้าวมักเกี่ยวในตอนเช้า พอแดดร้อนก็หยุดพักและไปเกี่ยวใหม่ในตอนบ่าย ใครเกี่ยวได้เท่าใดก็เอารวมไว้เป็นกองๆ หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของเจ้าของข้าว เมื่อเสร็จจาก การเก็บเกี่ยวแล้วจะจัดมัดเป็นฟ่อนๆ เพื่อขนได้สะดวก เชือกที่มัดฟ่อนข้าวจะใช้เส้นตอกแทนเชือกชนิดอื่นๆ ถ้าไม่มีและไม่สะดวกก็สามารถใช้ซังข้าวฟั่นเป็นเกลียวเป็นเชือกมัดเรียกว่า เขน็ด การมัดนั้นจะต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง
ในขณะที่หญิงสาวชายหนุ่มไปเก็บเกี่ยวข้าวนั้น พวกผู้ชายที่แก่เฒ่าอยู่เฝ้าบ้านจัดทำลานสำหรับนวดข้าว ปรับพื้นดินให้เรียบจนติดกันแน่นแข็ง แล้วเอาขี้วัวขี้ควายสดๆ ละลายน้ำปนกับเปลือกไม้ที่มียางหรือไม่มีก็ได้ละเลงทาลานจนทั่วเพื่อให้ปิดดิน ทิ้งไว้จนลานแห้ง เพื่อใช้นวดข้าว
หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จจะนำข้าวมานวดในลานนวดข้าวที่เตรียมไว้ โดยใช้ควายย่ำ จะนำฟ่อนข้าวมาวางเรียงเป็นวงกลมหรือวงรีในลานนวดตามขนาดของลานนวดข้าว การเรียงฟ่อนข้าวใช้วิธีตั้งกำข้าวเอาซังลงดิน ใช้เคียวตัดกำข้าวออกเรียกว่า ตัด “คะเน็ด” เพื่อให้รวงข้าวหลุด จนกระทั่งกองข้าวได้ขนาดพอเหมาะก็ใช้ควายย่ำ การนวดข้าวอาจใช้ควายเพียงตัวเดียวหรือ หลายตัว ถ้าใช้หลายตัวก็นำมาผูกกันเรียงเป็นพวง โดยผูกที่คอเป็นพวงๆ ละประมาณ 3-4 ตัว แต่จะมีควายที่ชาวนานฝึกหัดไว้จนชำนาญอยู่ด้านใน เวลานวดให้ควายย่ำซ้ำอยู่พักหนึ่งก็หยุดพักควายระหว่างหยุดพักชาวนาจะใช้ “ขอฉาย” ซึ่งเป็นด้ามไม้ไผ่ยาว ที่ปลายมีเหล็กปลายงอติดอยู่ “สงฟาง” ที่ถูกนวดเรียบร้อยแล้วออกไป ถ้ายังมีเมล็ดข้าวติดอยู่ก็ใช้ขอฉายสงขึ้นมาไว้ข้างบน ทำอย่างนี้ประมาณ 3 ครั้งกับข้าว 1 กอง หรือ 1 ตก ในการตรวจดูฟางว่าสงสะอาดเรียบร้อยดีหรือไม่ก็ดูด้วยสายตา ถ้าเป็นเวลากลางคืนก็ทดลองใช้ฟางจุดไฟ ถ้ายังมีเมล็ดข้าวติดอยู่มาก จะมีเสียงดังเกิดขึ้น เมื่อนวดเสร็จแล้วก็สงฟางออกให้มากที่สุดคงเหลือแต่เศษฟางปะปนอยู่ ในกองข้าว
เมื่อเสร็จจากลงแขกเก็บเกี่ยวและนวดข้าวแล้ว เจ้าของนาก็จะทำพิธีรับขวัญข้าว เป็นการเชิญขวัญข้าวที่ได้หลังจากการเก็บเกี่ยว ก่อนจะนำไปเก็บในยุ้งฉาง
การรับขวัญข้าว หรือรับขวัญแม่โพสพจากกลางนามาประทับในยุ้งข้าว เป็นพิธีที่ แสดงว่าฤดูทำนาได้สิ้นสุดลงแล้ว ช่วงเวลาที่นิยมทำพิธีมีสองวันคือ วันจันทร์ข้าวยุ้ง หมายถึง การอัญเชิญแม่โพสพ (ข้าว) จากลานไปไว้ในยุ้ง และวันศุกร์ข้าวลาน หมายถึง ประเพณีรับขวัญ แม่โพสพเมล็ดข้าวที่ตกอยู่ตามลานไปไว้ที่ยุ้ง เหตุที่เลือกทำในวันจันทร์ เนื่องจากเชื่อว่า จะได้เจริญรุ่งเรือง ค้าขายข้าวได้ราคาดี เหมือนชื่อจันทร์ เพราะจันทร์เป็นสัญลักษณ์ของความส่องสว่าง รุ่งเรือง ส่วนเหตุที่เลือกทำในวันศุกร์นั้น เนื่องจากเชื่อว่า วันศุกร์ เป็นวันที่ให้ความสุข ไม่มีทุกข์โศกใดๆ
เมื่อได้เวลาในการทำพิธี เจ้าของนาจะเตรียมอาหาร เช่น ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ขนมหม้อแกง เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบพิธีรับขวัญข้าว พร้อมทั้งจะมีการกล่าวคำเชิญเหมือนกับการทำขวัญข้าวว่า “ขอเชิญแม่โพสพ นพดารา มารับขวัญข้าว ขอแม่เจ้าจงมา ตกหล่นกลางนา กลับมาอยู่ยุ้งฉาง”
ในการทำขวัญข้าว และการรับขวัญข้าว ที่ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนใหญ่จะให้ผู้หญิงเป็นผู้ดำเนินการ การกำหนดวันจะหาฤกษ์ดีตามความสะดวกของเจ้าของนา และมีการฝากต่อๆ กัน เพื่อที่จะให้เพื่อนบ้านมาร่วมประกอบพิธีด้วย
พิธีทำขวัญข้าวและพิธีรับขวัญข้าว สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับการทำนา เนื่องจากข้าวที่ได้จากการปลูกด้วยแรงกายแรงใจของตนนั้น ช่วยสร้างรายได้หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในสังคม ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในตำบลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในปัจจุบันที่ตำบลน้ำตาล มิได้มีประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ทำลาน นวดข้าว และรับขวัญข้าวเหมือนสมัยก่อน เนื่องจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่รู้วิธีการและทำพิธีที่เกี่ยวข้องกับการทำนามีอยู่น้อยคน จึงไม่มีผู้สืบสานต่อ ทำให้ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำนาเริ่มจะเลื่อนหายไป หากผู้ที่มีความรู้ เรื่องนี้จากไปโดยไม่มีการสืบต่อรวมทั้งเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวสมัยใหม่ที่สะดวกกว่าเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานเหมือนก่อน จนทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับแม่โพสพเปลี่ยนไป ประเพณี ที่มีคุณค่าทางใจนี้น่าจะสูญหายไปในที่สุด
คำค้นหา : | ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ทำขวัญ,
ประเพณีทำขวัญ,
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เศรษฐกิจพอเพียง
วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง
ประเพณีไทย
ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
เกี่ยวกับเรา ประเพณีไทย
เข้าร่วม Google+ ประเพณีไทย
ประเพณีไทย โดย anirud
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ความรู้ ประเพณีไทย
-
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลา...
-
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย ห ลายๆ ท่าน หลายโรงเรียนในช่วงนี้ อาจจะกำลังตามหารูปภาพที่จะใช้ในการวาดประกวดใน หัวข้อ " ภาพวาดประกวดประเพณี...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมท...
-
เรียงความ ประเพณี ไทย การเขียนเรียงความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเพณีไทย ก่อนที่เราจะเขียนในหัวข้อนี้ออกมาได้ และทำให้ผู้ที่อ่านเรียงควา...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย หมายถึง กิจกรรมที่มีการกระทำสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์ของไทยพร้อมทั้งมีความสำคัญต่อสังคมไทย เช่น...
-
การวาดภาพระบายสี การวาดภาพระบายสี 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 4 – ป....
-
ศิลป์สร้างสรรค์ การแข่งขัน “ ศิลป์สร้างสรรค์” 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดั...
-
ประโยชน์ของศิลปะ ประโยชน์ของศิลปะ - ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง - ได...
-
เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 >>> เกณฑ์การแข่งขันล่าสุด <<< งานศิ...
-
ประโยชน์ของดนตรี ประโยชน์ของดนตรี ดนตรี คำว่าดนตรีนั้นมีความหมายมากมายแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลแต่ดิฉันให้ความหมายของ...
คำค้นหา ประเพณีไทย
กลอนประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
การประสมวงดนตรีไทย
(1)
การรักษาสัมพันธภาพ
(1)
การละเล่นไทย
(3)
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
(1)
การละเล่นภาคใต้
(1)
การละเล่นว่าว
(1)
การเล่นโพงพาง
(1)
การเล่นว่าว
(1)
การเล่นว่าวไทย
(1)
การวาดภาพ
(1)
การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ
(1)
การสร้างสัมพันธภาพ
(1)
การอยู่ร่วมกัน
(1)
การอยู่ร่วมกันในสังคม
(2)
เกณฑ์การแข่งขัน
(1)
เกษตรแบบผสมผสาน
(1)
ขนบธรรมเนียม
(2)
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
(1)
เขียนเรียงความ
(1)
แข่งขันดนตรีไทย
(1)
แข่งขันเรือยาว
(2)
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
(1)
แข่งดนตรีไทย
(1)
ครอบครัวพอเพียง
(1)
ครอบครัวพอเพียง เรียงความ
(1)
ความคิดและการแสดงออก
(1)
ความเป็นไทย
(1)
ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
คำขวัญวันเด็ก
(1)
คำขวัญวันเด็ก 2559
(1)
โคมลอย
(1)
งานศพ
(1)
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
(1)
ดนตรี
(1)
ดนตรีไทย
(2)
ทหารเรือ
(1)
ทักษะการเขียนเรียงความ
(1)
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
(1)
ทันตแพทย์ในดวงใจ
(1)
ทำขวัญ
(1)
ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ
(1)
บทความเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
บ้านน้ำจั้น
(1)
บุญข้าวประดับดิน
(1)
บุญข้าวสาก
(1)
บุญเดือน 9
(1)
บุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณี
(6)
ประเพณีกำฟ้า
(1)
ประเพณีแข่งขันเรือยาว
(1)
ประเพณีทหารเรือ
(1)
ประเพณีทำขวัญ
(1)
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
(1)
ประเพณี ไทย
(9)
ประเพณีไทยไทย
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557
(1)
ประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
ประเพณีภาคกลาง
(1)
ประเพณีภาคใต้
(1)
ประเพณีภาคเหนือ
(1)
ประเพณียี่เป็ง
(1)
ประเพณีลอยกระทง
(1)
ประโยชน์ของดนตรี
(1)
ประโยชน์ของศิลปะ
(1)
ประโยชน์ดนตรี
(1)
ประวัติ เพลงชาติไทย
(1)
ปรัชญา
(1)
ผูกเสี่ยว
(1)
พระราชดำรัส
(1)
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(1)
พอเพียง
(3)
พิธีจัดงานศพ
(1)
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย
(1)
เพลงชาติไทย
(1)
ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557
(1)
ภาพวาด
(1)
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย
(1)
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
(3)
ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(3)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
(1)
ภูมิปัญญาไทย
(1)
มโหรี
(1)
มโหรีพื้นบ้าน
(1)
มะโย่ง
(1)
ระดับประเทศ
(1)
ระเบียบประเพณีไทย
(1)
เรียงความ
(3)
เรียงความ ประเพณี ไทย
(2)
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
(2)
เรียนวาดภาพ
(1)
เรือยาวสกลนคร
(1)
โรงเรียน
(1)
ลอยกระทง
(1)
ลอยกระทงภาคเหนือ
(1)
ลาวบุญคูนข้าว
(1)
วงมโหรีพื้นบ้าน
(1)
วันเด็ก 2559
(1)
วันเด็กแห่งชาติ
(1)
วันที่ห้ามเผาศพ
(1)
วันผีกิน
(1)
วันลอยกระทง
(1)
วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ว่าว
(1)
ว่าวควาย
(1)
ว่าวจุฬา
(1)
ว่าวไทย
(1)
ว่าวปักเป้า
(1)
ว่าว ภาษาอังกฤษ
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้
(1)
ศิลปหัตถกรรม 2557
(1)
ศิลปหัตถกรรม 64
(1)
ศิลปะ
(4)
ศิลปะกับมนุษย์
(1)
ศิลปะในสังคมไทย
(4)
ศิลปะบำบัด
(3)
ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
(2)
ศิลปะเพื่อชีวิต
(1)
ศิลปะเพื่อสุขภาพ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียง
(8)
เศรษฐกิจพอเพียง คือ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
(1)
สกลนคร 2557
(1)
สมัยกรุงสุโขทัย
(1)
สอนวาดภาพ
(1)
สังคม
(1)
สัปเหร่อ
(1)
สัมพันธภาพ
(1)
สัมพันธภาพกับผู้อื่น
(1)
สัมพันธภาพที่ดี
(1)
สืบทอดวัฒนธรรม
(1)
หลักการอยู่ร่วมกัน
(1)
แห่ดาว
(1)
แห่ดาว ท่าแร่
(1)
แห่ดาว สกลนคร
(1)
อนุรักษ์
(1)
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
(1)
เอกลักษณ์ไทย
(1)