Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ว่าวจุฬา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ว่าวจุฬา แสดงบทความทั้งหมด

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวภาคเหนือ
ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำมาจากไม้ไผ่ นำมาไขว้กันมี แกนกลางอันหนึ่ง และมีอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน แต่ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง และภู่จะมีชนิดเดียวไม่มีหลายประเภทเหมือน ภาคกลาง ว่าวรูปแบบอื่น ๆ คงได้รับแบบอย่างจากว่าวภาคกลางในภายหลัง ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม

ว่าวภาคกลาง
มีการวิจัยสำรวจพบว่าเยาวชนไทยในภาคกลางนิยมเล่นว่าวมากถึง ร้อยละ 50.60 ว่าวที่นิยมเล่นมีรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิม คือ ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวอีเพรด ว่าวอีลุ้ม ส่วนรูปแบบใหม่ที่รับมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวปลา ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น

ว่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม
ว่าวภาคใต้
การเล่นว่าวในภาคใต้นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นส่วนใหญ่ ว่าวที่เล่นกันมากในภาคใต้มีหลายชนิด เช่น ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก และว่าวใบไม้ ว่าวที่นิยมเล่นกันมาก คือว่าววงเดือนแบบมีแอก ผู้เล่นมักชักขึ้นในเวลาบ่ายแล้วลงในตอนเช้าของอีกวันหนึ่ง ซึ่งถือว่าว่าวตัวไหนชักไว้ค้างคืนโดยไม่ต้องเอาลงได้นับว่าตัวนั้นวิเศษมาก อนึ่งนักเล่นว่าวชาวใต้นิยมประชันเสียงแอกด้วยว่าว่าวตัวไหนมีเสียงแอกดังและไพเราะกว่ากัน คนรุ่นเก่า ๆ มักนิยมเล่นว่าววงเดือนขนาดใหญ่กันเป็นหมู่เป็นพวก คือทำว่าวที่มีขนาดของปีกยาวประมาณ 3-4 เมตร ใช้คนส่งว่าวขึ้น 2-3 คน และคนชัก 3-4 คน ส่วนว่าววงเดือนอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีแอกนั้น นิยมเล่นเพื่อการแข่งขันว่าวว่าวตัวไหนลอยขึ้นสูงที่สุดได้ก่อนตัวอื่นในเวลาเดียวกัน ฤดูกาลที่นิยมเล่นว่าวมาก คือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรุป
การเล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน มีการพัฒนาการต่อสู้ ดัดแปลงการชักด้ายที่ติดไว้ด้วยของมีคมทำจากเศษแก้วที่เรียกว่า “ป่านคม” สำหรับต่อสู้กัน ใครพลาดท่าก็จะถูกคู่แข่งตัดสายป่านขาด ตลอดการแข่งขันกลางเวหา ตั้งแต่การขึ้นว่าว การยัก การส่าย การคว้า การโฉบ รอก และการบังคับให้เคลื่อนไวได้อย่างสง่างามด้วยสายป่านเพียงสายเดียว ซึ่งต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ที่มีความงามด้วยสีสัน แต่ส่วนมากมักลอยลมอยู่เฉยๆ “จึงอาจกล่าวได้ว่าชาติไทย เป็นชาติเดียวที่มีกีฬาเอาชนะกันกลางเวหา”

ว่าวไทยมีการเล่นในทุกๆ ภาค จะแตกต่างกันบ้างในลักษณะของว่าว กีฬาเล่นว่าวนอกจากผู้เล่นจะสนุกสนาน ผู้ชมก็ยังได้รับความเพลิดเพลินและตื่นตาตื่นใจเพราะนี่คือ อีกหนึ่งแห่งความภาคภูมิใจแห่งภูมิปัญญาของคนไทย ดังนั้น จึงขอเชิญชวนท่านผู้ฟังรายการทุกท่าน รวมถึงเด็กและเยาวชนหันมาเล่นว่าวเพื่อช่วยกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเล่นว่าวของคนไทยเรา และฝากอีกปิดท้ายรายการอีกสักนิดว่า การละเล่นว่าวควรหาพื้นที่เปิดโล่ง และห่างจากสายส่งไฟฟ้าให้มากนะคะ เพื่อความปลอดภัย และประการสำคัญของการเล่นว่าว เพื่อเป็นจุดสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวที่ทุกท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล


คำค้นหา :

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย

ว่าว, ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าว ภาษาอังกฤษ, ว่าวไทย, ว่าวควาย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th