Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เศรษฐกิจพอเพียง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เศรษฐกิจพอเพียง แสดงบทความทั้งหมด

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
ในโรงเรียนนักเรียนสามารถนำวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้โดยการประยุกต์ให้เหมาะสมดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การตั้งใจเรียน มีการดำเนินงานและวางแผนในการเรียนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

2. ช่วยกันประหยัดและอนุรักษ์ทรัพยากรในโรงเรียน เช่น
1) การใช้น้ำประปาและไฟฟ้าในโรงเรียนอย่างประหยัด รู้คุณค่า ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น
2) ช่วยกันดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ และใช้ของส่วนรวมอย่างทะนุถนอม และไม่ทำลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเล่นต่าง ๆ เป็นต้น
3) ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น ทิ้งขยะลงในถังที่จัดไว้ให้ และไม่ทำให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น ช่วยกันดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน ไม่ขีดเขียนภาพหรือข้อความใด ๆ บนโต๊ะ เก้าอี้ ฝาผนัง อาคารเรียน ประตู ห้องน้ำ เป็นต้น
3) การทำการเกษตรเพื่อเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผลไว้บริโภค

การเลี้ยงเป็ดและไก่ การเพาะเห็ด การขุดบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น 4) การใช้เงินอย่างประหยัด ซื้อของที่ไม่ฟุ่มเฟือย

5) การประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีแบบชาวบ้านมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น
1) การทำปุ๋ยหมักธรรมชาติไว้ใช้ปลูกพืชผักในโรงเรียน 2) การทำเชื้อเพลิงช่วยในการหุงต้ม เช่น การเผาถ่าน เป็นต้น 3) การใช้สมุนไพรช่วยกำจัดศัตรูพืช 6) การรวมกลุ่มสหกรณ์ในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน มีแนวทางที่จะเพิ่มพูนรายได้โดยการนำสินค้าของสมาชิกมาจำหน่ายในสหกรณ์ และซื้อสินค้าได้ในราคายุติธรรม


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน

เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม
จากการศึกษาประเด็นหลัก ๕ ประเด็นหลักข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าคือ สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมไทยซึ่งจะนำมาซึ่งความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยนัยยะของ “วัฒนธรรม” หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน คือจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ การประยุกต์ใช้จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมมือกัน


คำค้นหา :

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง
         
          ...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากวารสารชัยพัฒนา  ฉบับประจำเดือนสิงหาคม  ๒๕๔๒

          ...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔  ธันวาคม  ๒๕๔๑

          ...ความพอเพียง นี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอเสื้อผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...

พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
        ธันวาคม  ๒๕๔๐

...วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไปมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด เนื่องมาจากความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ ของโลกยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง ประคับประคองตัวเรามากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่โดยประหยัด เพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี...
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
๓๑     ธันวาคม  ๒๕๒๑


เศรษฐกิจพอเพียง
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้นำ หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การสั่ง

แต่เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฎระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชนการละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ \"ผิดผี\" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น

ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การแลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง

ในชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางรักษาโรค บางคนทางการเพาะพืช บางคนทางการเลี้ยงสัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคนเก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความสามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี \"ค่าครู\" แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือเพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้นจะเก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว \"วิชา\" ที่ครูถ่ายทอดมาให้ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไปแต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ ด้วยวิธีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการสอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อนตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปีคนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือเก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเขาได้ปลา เขาจะทำกับเราเช่นเดียวกัน

ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด งานบุญกิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่างๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพพระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูสอนลูกหลานผู้ชายซึ่งรับใช้พระสงฆ์ หรือ \"บวชเรียน\" ทั้งนี้ก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาทของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป


คำค้นหา :

การอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคม, เศรษฐกิจพอเพียง, การอยู่ร่วมกัน, สังคม
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประเวศ วะสี (2542 : 34 – 36) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า เศรษฐกิจ พอเพียง คือ เศรษฐกิจที่มีรูปแบบเป็นทางสายกลาง หรือเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาปฏิปทา เพราะเชื่อมโยงทุกเรื่องเข้ามาด้วยกันทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่จริงคำว่า “เศรษฐกิจ” เป็นคำที่มีความหมายในทางที่ดี ที่หมายถึง ความเจริญที่เชื่อมโยงกาย ใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน แต่ได้มีการนำเอาคำว่าเศรษฐกิจไปใช้ในลักษณะที่แยกส่วนที่หมายถึง การแสวงหาเงินเท่านั้น เมื่อยกส่วนมันก็จะทำลายส่วนอื่น ๆ จนเสียสมดุลและวิกฤต

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2544) เศรษฐกิจพอเพียง คือ วัฒนธรรม ไม่ใช่เทคนิคการเพาะปลูก แต่ เป็นศีลธรรมความไม่ละโมบ และการประหยัด เศรษฐกิจพอเพียงเปิดโอกาสให้ทุกคนพออยู่ได้ แตกต่างจากการคิดในด้านเทคนิค ถ้าคิดแต่ด้านเทคนิคก็จะย้ำเฉพาะคน ทำให้เกิดการเอาตัวรอด ซึ่งไม่ตรงกับอุดมการณ์ของเศรษฐกิจพอเพียง ความคิดทางเทคนิคทำให้คนไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ตัวใครตัวมัน อันจะเป็นโทษแก่ธรรมชาติด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของสมาชิกในชุมชนที่มีให้แก่เพื่อนบ้าน และธรรมชาตินั้นถือเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน แนวคิดนี้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่จะคำนึงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน พร้อม ๆ กับรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติไปด้วย

พิสิฐ ลี้อาธรรม (2549 : 11) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง โดยความพอเพียงนั้น หมายถึง ความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายนอก และภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้ในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ และสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน มีความพอกินพอใช้ ไม่ใช่แต่จะสร้างความเจริญ หรือ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะที่เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ

สุเมธ ตันติเวชกุล (2550 : 13) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self –Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกิน พอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็ว แต่เพียงอย่างเดียว

อภิชัย พันธเสน (2550 : 22) ได้ให้คำจำกัดความของเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นข้อเสนอใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า “คือ ความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น” การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจจะหามาได้ถ้าปราศจากเงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การได้มาซึ่งเงินนั้นจำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ และนำเงินที่ได้มานั้นไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต

จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความสามารถในการดำรงชีพ อย่างเรียบง่าย อุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง รู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย อยู่อย่างประมาณตน ใช้จ่ายไม่เกินรายรับ มีการผลิตเพื่อให้พอมีพอกินในครอบครัว และมีความเอื้อเฟื้อกันในชุมชน ทะนุบำรุงพื้นฐานตัวเองให้เข้มแข็งทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ


คำค้นหา :

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง คือ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้รับการบรมราชาภิเษกตามแบบโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ณ วโรกาสนั้น พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แม้จะเป็นข้อความเพียงสั้น ๆ แต่มีความลึกซึ้งกินใจซึ่งเป็นพระราชปณิธานมุ่งมั่นพระทัยที่ต้องทรงปฏิบัติให้ได้

เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เหล่าพสกนิกรชาวไทย และชาวโลกแล้วว่า ตลอดระยะเวลา 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฏร์ และทรงห่วงใยในทุกข์สุขของประชาชนตลอดมา ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เมื่อทรงพบกับปัญหาก็ได้พยายามช่วยเหลือโดยทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ที่มุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชน

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นส่วนหนึ่งในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเหมาะพอดี มีเหตุมีผล และไม่ประมาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือปฏิบัติด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งได้พระราชทานพระราชดำริให้แก่คนไทยนำไปปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฏาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปโดยลำดับต่อไป หากมุ่งเน้นแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทาง การแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรอง พระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2549 – 2554) โดยรัฐบาลได้ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ อันเป็นการสนองพระราชปณิธานสืบสายพระราชดำริต่อไป


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง, ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, ที่มาของเศรษฐกิจพอเพียง, ที่ มา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง, ความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ความ หมาย ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาษาอังกฤษ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง doc
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

บทความ เศรษฐกิจพอเพียงคือฐานแห่งคุณธรรมนำสู่สังคมสมานฉันท์

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางสายกลางในการดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ พระองค์ทรงยึดถือเป็นวัตรปฏิบัติ ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสเมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา กระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งทรงปรารภถึงพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชชนนีว่า “ ภูมิพลต้องเหยียบดิน ถึงเดินไปบนภูเขาก็เดินบนดิน ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือเป็นอนุสติตลอดมา ทรงมีพระราชดำรัสในคราวเดียวกันอีกว่า “ พอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ เป็นความคิด ให้สามารถทำอะไรอยู่ได้ แม้แต่กองทัพ ” ทรงมีพระประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นว่าความพอเพียงนั้นสามารถใช้ได้กับทุกด้าน

การทำมาหากินของคนเรานั้น ก็ต้องหาให้พอกินในบ้านก่อน ถ้าหามาได้มากก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน และถ้าขายได้ก็ขาย วิถีดังเดิมของคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา มีขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวเนื่องกับการทำนาเรียกว่า “วัฒนธรรมข้าว” มีภูมิปัญญาคารวะธรรม สามัคคีธรรม และปัญญาธรรม นำสู่สังคมสมานฉันท์ ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่ยุคสุโขทัย ดังศิลาจารึกหลักที่ ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า “ เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ” แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มีวิถีในการดำเนินชีวิตในทางสายกลางอันเป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่ามรรค ๘ มีสัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค ๘ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงคือวิถีดั่งเดิมของคนไทย จึงเป็นฐานแห่งคุณธรรม ในยุคสุโขทัยนั้นมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงจึงแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรดังพ่อแห่งแผ่นดิน

การทำนาของไทย แต่ก่อนใช้คนเกี่ยวข้าว ใช้ควายไถนา มีการลงแขกเกี่ยวข้าว คือการที่เราไปช่วยเพื่อนบ้านเกี่ยวข้าวที่นาของเขาก่อน แล้วเขาก็จะมาช่วยเราเกี่ยวข้าวที่นาของเราเป็นการตอบแทน เรียกว่า “ ไปเอาแรงเขาไว้ก่อน แล้วเขาก็จะมาใช้แรงเราภายหลัง ” ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนเป็นการจ้าง การใช้เครื่องจักรแทนการใช้แรงงานคนและสัตว์

เมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมาเคยมีโรงสีข้าวขนาดเล็กอยู่ตามริมแม่น้ำ โรงสีขนาดเล็กบริการสีข้าวให้ชาวบ้านโดยไม่คิดค่าจ้าง แต่เจ้าของโรงสีจะได้รำข้าวและปลายข้าวที่ได้จากการสีข้าวเป็นการตอบแทนแล้วขายรำข้าวและปลายข้าวให้ชาวบ้านนำไป เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ โรงสีขนาดเล็กเป็นการบริการชุมชน เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตเพื่อบริโภค ทำให้ชาวนามีที่สีข้าวสารสำหรับบริโภค

(โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ได้เปิดกิจการ และเริ่มสีข้าว ตั้งแต่วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยถึงฐานะความเป็นอยู่ของชาวนา โดยเฉพาะรายได้จากการขายข้าวที่ขาดหายไป เนื่องจากการขายข้าวให้พ่อค้าคนกลาง แล้วนำ เงินมาซื้อข้าวบริโภคในราคาแพง จึงมีพระราชดำริว่าสมควรที่จะแก้ไขโดยให้ชาวนา ร่วมกันเป็นกลุ่มดำเนินงานในแบบ สหกรณ์โดยยึดหลัก สีข้าวเอง เก็บไว้บริโภคเอง ส่วนข้าวเปลือกที่เหลือจากการสี ก็สามารถขายได้)

นอกจากนี้ผู้คนยังใช้เรือบรรทุกข้าวขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางน้ำบรรทุกได้มากกว่าการขนส่งทางรถยนต์ ค่าขนส่งทางน้ำถูกกว่าทางรถยนต์ ต่อมามีนายทุนตั้งโรงสีข้าวขนาดใหญ่รับซื้อข้าวส่งขายต่างประเทศ พ่อค้าคนกลางใช้รถยนต์ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกถึงยุ้งข้าวชาวนา ชาวนาพากันขายข้าวเปลือก ไม่นำข้าวเปลือกไปสีตามโรงสีขนาดเล็ก โรงสีขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ต้องปิดกิจการ ชาวนาเปลี่ยนวิถีจากผู้ผลิตเพื่อบริโภคเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายผ่านกลไกตลาด ชาวนาไม่ได้บริโภคข้าวที่ตนเองผลิต แต่ซื้อข้าวสารจากตลาดมาบริโภค สังคมชาวนาเข้าสู่ระบบบริโภคนิยม ละทิ้งภูมิปัญญาการเป็นผู้ผลิตเพื่อบริโภค ละทิ้งการใช้บริการของชุมชน ทำให้ต้องใช้เงินซื้อจากตลาดมาบริโภค ตลาดเป็นของนายทุน เขาจำหน่ายเพื่อหวังกำไร ชาวนาจึงประสบปัญหาซื้อของแพงมาบริโภค

เราต้องแก้ไขโดยการสร้างสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจพอเพียง คือสร้างกระแสในระดับชาติ ด้วยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนหันมาบริโภค นุ่งห่ม อยู่อาศัยอย่างพอเพียง และสร้างบทบาทผู้ผลิตเพื่อบริโภคในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ให้เกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจพอเพียง อัลวิน ทอฟฟเลอร์ นักวิชาการและนักวิจารณ์สังคมมีชื่อได้กล่าวไว้ในหนังสือคลื่นลูกที่สามว่า “ ตราบใดที่ยังมองไม่เห็นความสำคัญของผู้ผลิตเพื่อบริโภค ตราบนั้นจะไม่มีวันแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เส้นกั้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคเริ่มลบเลือน บทบาทของผู้ผลิตเพื่อบริโภคกำลังจะเปลี่ยนสภาพการตลาด วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไป ระบบของโลกจะเปลี่ยนไป ” การผลิตเพื่อบริโภคแม้ไม่เกิดมูลค่า แต่ไม่ต้องซื้อมาบริโภค ทำให้ประหยัดรายจ่าย เกิดความพอเพียงแก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขนำสู่สังคมสมานฉันท์

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการยอมรับในระดับโลก เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ องค์การสหประชาชาติโดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย โคฟี อันนัน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award และได้กล่าวปาฐกถาถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เริ่มจากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้านและสู่เศรษฐกิจในวงกว้าง มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ องค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกทั้ง ๑๖๖ ประเทศ ยึดเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมารณรงค์เผยแพร่ มีหลักการ ๓ ประการ คือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ ๒ เงื่อนไข คือ ความรู้ และคุณธรรม หลักการประการที่ ๑ คือ ความพอประมาณ ความพอดี ความซื่อตรง ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เกินกำลังความสามารถของตนเองจนทำให้ให้เกิดความลำบากในภายหลัง

หลักการประการที่ ๒ คือความมีเหตุผล ความเหมาะสมทั้งต้นและปลาย ความเป็นไปได้ในการผลิต การเล็งเห็นผลของความเพียรที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การผลิตเพื่อจำหน่ายต้องมีการลงทุน การจำหน่ายใช้ระบบเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า ต้องจำหน่ายสินค้าให้ได้โดยไม่ขาดทุน ยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ทุกมุมโลกจะแยกย่อยและหลากหลายมากขึ้น แต่จะมีการเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ความมีเหตุผลจะนำสู่ความสมดุล มั่นคง ความยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม

หลักการประการที่ ๓ คือการมีภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณและความมีเหตุผลจะเป็นภูมิคุ้มกันความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก ทางสายกลางเป็นทางเลือกในการตัดสินใจเผชิญกับความไม่แน่นอนในอนาคต หลักการทั้ง ๓ ประการดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข ๒ ประการ

เงื่อนไขประการที่ ๑ คือความรู้หมายถึง ความรอบรู้ในทางทฤษฎี หลักการ วิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างสมบรูณ์รอบด้าน ความรอบคอบบูรณาการเชื่อมโยงในขั้นการวางแผน และความระมัดระวัง มีสติในการนำไปใช้ในขั้นการปฏิบัติ

เงื่อนไขประการที่ ๒ คือคุณธรรมหมายถึงการประกอบสัมมาชีพ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน ความเพียร และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีความรับผิดชอบทางจริยธรรมต่อสังคม

ด้วยคุณธรรมของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน และความเพียร จึงทำให้เกิดความพอเพียงแก่ตนเอง ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น สร้างสามัคคีธรรมขยายสู่ชุมชน นำสู่สังคมสมานฉันท์ เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้เกิดความพอเพียงขึ้นภายในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของโลกขยายออกไปสู่ภูมิภาค หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ จึงเป็นปรัชญาในการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืนและมั่นคง ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่าสมควรที่จะปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อเป็นพรอันประเสริฐน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร นำชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขสมดังมโนปณิธานที่ทรงประกาศปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” อันเป็นพระบรมโพธิสมภารรักษาเอกราช และความเป็นราชอาณาจักรไทยสืบไป.


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง, บทความเศรษฐกิจพอเพียง, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงาน

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลาที่จะลองผิดลองถูกในการทำงาน เพราะกำไรจึงเป็นของผู้ลงมือก่อน เราจึงต้องเปลี่ยนแปลง ต้องจัดสรรเวลาให้รวดเร็ว ในวันหนึ่ง ๆ เราใช้เวลาในการทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับ 8 ชั่วโมง อื่น ๆ 8 ชั่วโมง ในเวลา 1 วัน มี 24 ชั่วโมง หากทบทวนดู เราใช้เวลาให้มีคุณภาพในแต่ละวินาทีอย่างไร หายใจทิ้ง คอรับชั่นเวลาไปเท่าไร เราเคยคิดหรือไม่ว่า เราทำงาน เราทุ่มเทให้หน่วยงานองค์กรเท่าไร เราขโมยเวลาในการทำงานให้หน่วยงานไปเท่าไรหรือเราคิดวนเวียนว่า เราจบจากไหน ได้เงินเดือนเท่าไร มีตำแหน่งบริหารหรือไม่ ได้สองขั้นหรือไม่ ใครได้ดีเกินเรา แล้วก็มัวแต่นั่งหายใจทิ้งไปเฉย ๆ โดยไม่ลงมือทำอะไรเลย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เป็นวิถีชีวิตที่สามารถใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ เพื่อให้ดำรงตนและปฏิบัติตนให้สมดุล ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่เป็นการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น เป็นผู้บริหารที่พอเพียง การพูด การคิดต้องพอเพียง อย่าให้ความคิดกระจาย ซึ่งเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงานได้ง่าย ๆ ดังนี้

ความพอประมาณ ได้แก่ เรียบง่าย ประหยัด การทำอะไรที่พอเหมาะพอควร สมดุลกับอัตภาพ ศักยภาพของตนและสภาวะแวดล้อม ตามความสามารถของแต่ละคน พอประมาณกับภูมิสังคม สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ การทำงานทุกอย่างต้องเรียบง่าย ประหยัด อย่าทำงานให้ยุ่ง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ มีกำหนดการทำงานตามลำดับขั้นตอน และมีการปฏิบัติชัดเจน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องรู้ว่านักศึกษาต้องการอะไร ผู้ใช้บัณฑิตต้องการอะไร เพราะทุกกิจกรรม ทุกงานที่ทำมีต้นทุน อย่าทำงานทิ้งๆ ขว้าง ๆ การทำงานต้องมีประโยชน์ มีผลผลิตที่เกิดขึ้น

ความมีเหตุผล คือ การคิด ฟัง ปฏิบัติ การทำงานต้องใช้หลักความรู้ในการทำงาน วางแผนงานต้องระมัดระวัง ต้องใช้หลักวิชาการช่วยสนับสนุน อย่าใช้ความรู้สึกและอารมณ์ในการทำงาน ทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน การพัฒนาตัวเองต้องเกิดขึ้นจากภายในตัวเองของแต่ละคน จึงต้องแสดงศักยภาพออกมาให้ได้

มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ต้องมีแผนกลยุทธ์ เช่น เป็นอาจารย์ต้องมีแผนการสอน องค์กรต้องมีแผนกลยุทธ์ เป็นต้น การทำงานต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมองภาพรวม ทุกคนมีส่วนร่วม คือการประสานงาน และการบูรณาการปรับวิธีการทำงาน หน่วยงานองค์กรต้องมีธรรมาภิบาลเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้นกันภายในตัว

ชีวิตที่พอเพียงในการทำงานการศึกษา จึงต้องยึดความพอเพียง ประกอบด้วย ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาที่ยึดคุณธรรม ความเพียร ความรอบรู้ ความซื่อสัตย์สุจริตให้เข้าสู่จิตใต้สำนึกของผู้เรียน บุคลากร และต้องมีธรรมาภิบาลในองค์กร การทำงานกับมนุษย์ต้องใช้หลักการ หลักวิชาการให้สอดคล้องกับภูมิสังคม คือภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ต้องปรับกระบวนการทำงานจากบนลงล่าง เป็นล่างขึ้นบน เป็นผู้เป็นหุ้นส่วนระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายของการศึกษาคือ คุณภาพชีวิตและสังคม เพื่อลดความยากจน เป็นเครื่องมือดูแลสุขภาพ เป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือสำหรับ ธรรมาภิบาลหรือความโปร่งใสของสังคม

การเป็นผู้นำยุคใหม่นี้ ต้องมีความสามารถในการชี้นำ การสื่อสาร และสร้างการเรียนรู้เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้นำผู้ตาม รวมทั้งสามารถทำให้ผู้ร่วมงานสามารถตามทันวิสัยทัศน์ผู้นำได้ การบริหารจัดการจึงต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จคือคุณภาพตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรจึงต้องวางระบบให้กิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


คำค้นหา :

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน, เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง ของ ฉัน, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจําวัน, ตัวอย่างเรียงความเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, การ เขียน เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง, เรียงความพ่อของแผ่นดิน, เรียงความ วัน แม่
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th