Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript

ประวัติ เพลงชาติไทย

ประวัติ เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย เป็นชื่อของเพลงชาติสยามและประเทศไทย ได้รับการประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ และได้ประพันธ์เพลงชาติไทยในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พุทธศักราช

เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย
2475 คำร้องฉบับแรกสุดร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พุทธศักราช 2482
ต่อมาในสมัยการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมเยือน ประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล แม้เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าวเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พุทธศักราช 2475 คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี
ที่มาของทำนองเพลงชาติปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พุทธศักราช 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ในลักษณะของเพลงลามาร์แซแยส ซึ่งพระเจนดุริยางค์ได้บอกปฏิเสธ เพราะถือว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว ทั้งการจะให้แต่งเพลงนี้ก็ยังไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย แม้ภายหลังหลวงนิเทศกลกิจจะมาติดต่อให้แต่งเพลงนี้อีกหลายครั้งก็ตาม พระเจนดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 ผ่านไปได้ประมาณ 5 วันแล้ว หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งพระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่าเป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎรด้วย ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดทางที่จะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ตนได้กำหนดนัดหมายวันแต่งเพลงชาติไว้ ขณะที่นั่งบนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน จากนั้นจึงได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง และมอบโน้ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงตนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้แต่งเพลงเอาไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ศรีกรุงก็ได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเปิดเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี จะได้ชี้แจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ 30 ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นบำนาญ อีกครึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง
ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่ขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พุทธศักราช 2475 เนื่องจากมีการคันพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว แม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ และมีการจดจำต่อๆ กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ เมื่อ พุทธศักราช 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย
เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุด ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พุทธศักราช 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พุทธศักราช 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พุทธศักราช 2475 และ พุทธศักราช 2477)

ชาติไทย
ชาติไทย

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา
ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ
ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา
เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย


เพลงชาติสยามฉบับราชการ พุทธศักราช 2477

ในปี พุทธศักราช 2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน มีกรรมการท่านอื่นๆ ดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์, พระเจนดุริยางค์, หลวงชำนาญนิติเกษตร, จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท การประกวดเพลงชาติในครั้งนั้นได้ดำเนินการประกวดเพลงชาติ 2 แบบ คือ เพลงชาติแบบไทย (ประพันธ์ขึ้นโดยดัดแปลงจากดนตรีไทยเดิม) และเพลงชาติแบบสากล ซึ่งผลการประกวดมีดังนี้

1. เพลงชาติแบบไทยคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติได้ตัดสินให้ผลงานเพลง "มหานิมิตร" ซึ่งประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล เป็นผลงานชนะเลิศ เพลงมหานิมิตรนี้จางวางทั่วได้ประพันธ์ดัดแปลงมาจากเพลงหน้าพ­าทย์สำคัญของไทยที่มีชื่อว่า "ตระนิมิตร" ให้สามารถบรรเลงเป็นทางสากล ซึ่งเพลงตระนิมิตรนี้ เป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงครู นักดนตรีจะใช้บรรเลงในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานไหว้ครู บรรเลงเป็นการอัญเชิญครูบาอาจารย์ เทวดาทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนั้นจึงมีความหมายอันควรแก่การเคารพนับ­ถือเป็นสิริมงคล เหมาะสมที่จะใช้เป็นเพลงชาติไทยได้
รัฐบาลได้ทดลองบรรเลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงอยู่ระยะหนึ่ง แต่ต่อมาเมื่อคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติจะเสนอผลการประกวดให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองนั้น คณะกรรมการฯ ได้ประชุมกันและมีความเห็นว่า เพลงชาติมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความ­ศักดิ์สิทธิ์ หากมีการใช้อยู่ 2 เพลง จะทำให้คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง จึงได้ตัดสินใจไม่เสนอเพลงชาติแบบไทยที่ได้คัดเลือกไว้ให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเป็นเพลงชาติในที่สุด
2. เพลงชาติแบบสากลคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติมีความเห็นให้ใช้ทำนองเพลงซึ่งประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์เป็นทำนองเพลงชาติแบบสากล สำหรับบทร้องนั้นได้คัดเลือกบทร้องของขุนวิจิตรมาตราซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทร้องชนะเลิศ และได้เพิ่มบทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นบทร้องที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศเข้าอีกชุดหนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้ประกาศรับรองให้เป็นบทร้องเพลงชาติฉบับราชการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2477
บทร้องทั้งของขุนวิจิตรมาตราและนายฉันท์ ประพันธ์ในรูปฉันทลักษณ์แบบกลอนสุภาพ (กลอนแปด) ความยาว 4 บท แต่ละบทมี 4 วรรค ผลงานของแต่ละคนจึงมีความยาวของบทร้องเป็น 16 วรรค เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงทำให้บทร้องเพลงชาติทั้งหมดมีความยาวถึง 32 วรรค ซึ่งนับว่ายาวมาก หากจะร้องเพลงชาติให้ครบทั้งสี่บทจะต้องใช้เวลาร้องถึง 3 นาที 52 วินาที (เฉลี่ยแต่ละท่อนรวมดนตรีนำด้วยทั้งเพลงตกที่ท่อนละ 35 วินาที) ในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา และต่อมาภายหลังจึงไม่มีการขับร้อง คงเหลือแต่เพียงทำนองเพลงบรรเลงเท่านั้น

เพลงชาติสยามฉบับสังเขป พุทธศักราช 2478
ในปี พุทธศักราช 2478 รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ออกระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2478 (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน) ระเบียบดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดให้แบ่งการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติออกเป็น 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบพิสดาร (บรรเลงตามความยาวปกติเต็มเพลง) และการบรรเลงแบบสังเขป ในกรณีของเพลงชาตินั้น ได้กำหนดให้บรรเลงเพลงชาติฉบับสังเขปในการพิธีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สโมสรสันนิบาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีปกติ ส่วนการบรรเลงแบบเต็มเพลงนั้นให้ใช้ในงานพิธีใหญ่เท่านั้น
ท่อนของเพลงชาติที่ตัดมาใช้บรรเลงแบบสังเขปนั้น คือท่อนขึ้นต้น (Introduction) ของเพลงชาติ (เทียบกับเนื้อร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบันก็คือตั้งแต่ท่อน สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี จนจบเพลง) ความยาวประมาณ 10 วินาที ไม่มีการขับร้องใดๆ ประกอบ

เพลงชาติไทย พุทธศักราช 2482 – ปัจจุบัน
ในปี พุทธศักราช 2482 "ประเทศสยาม" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า "ไทย" ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกไทยก่อนแก้ไขเป็นฉบับทางการมีดังนี้ (สำหรับเนื้อร้องฉบับประกาศใช้จริง ดูได้ในหัวข้อ เนื้อเพลง)

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน
อยู่ยืนยงดำรงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

การประกวดเพลงชาติครั้งนี้ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีกวีและผู้มีชื่อเสียงในทางการประพันธ์เพลงหลายท่าน เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แก้ว อัจฉริยะกุล ชิต บุรทัต เป็นต้น ซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติสองฉบับแรก (ขุนวิจิตรมาตรา และฉันท์ ขำวิไล) ได้ส่งเนื้อร้องของตนเองเข้าประกวดด้วย แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านการตัดสินครั้งนั้น เฉพาะเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใหม่นั้น ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า "ไทย" ถึง 12 ครั้ง

เพลงชาติไทยปัจจุบัน


คำค้นหา : เพลงชาติไทย, เพลงชาติไทย เนื้อเพลง, เพลงชาติไทย mp3, เพลงชาติไทย ภาษาอังกฤษ, เพลงชาติไทย ความหมาย, เพลงชาติไทย คอร์ด, เพลงชาติไทย เนื้อ, เพลงชาติไทย บรรเลง, เพลงชาติไทย ขลุ่ย, เพลงชาติไทย โน๊ต, เพลงชาติไทย ประวัติ, เพลงชาติไทย ผู้แต่ง, เพลงชาติไทย 4sh, เพลงชาติไทย คาราโอเกะ, เพลงชาติไทยใหญ่, เพลงชาติไทย แปล, เพลงชาติไทยเกิดขึ้นเมื่อใด, เพลงชาติไทย สมัยก่อน, เพลงชาติไทยแดนซ์, เพลงชาติไทยมีความสําคัญอย่างไร, เพลงชาติไทย ช่อง 9, เพลง ชาติ ไทย thai national anthem, เพลง ชาติ ไทย แบบ เป็น ทางการ, เพลง ชาติ ไทย แบบ เป็น ทางการ mp3, ประวัติ เพลง ชาติ ไทย แบบ ย่อ, โหลด เพลง ชาติ ไทย แบบ เป็น ทางการ, เพลงชาติไทย download, เพลง ชาติ ไทย mp3 download, ฟัง เพลง ชาติ ไทย mp3 download, ตัว โน๊ ต เพลง ชาติ ไทย download, ตัว โน๊ ต เพลง ชาติ ไทย doc, เพลงชาติไทย hd, เพลงชาติไทย itv
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การละเล่นว่าว

การละเล่นว่าว
การละเล่นว่าว
การละเล่นว่าว
สำหรับคำว่า ว่าว ในภาษาไทย หรือ ในภาษาอังกฤษนั้น มีความหมายว่า เป็นเครื่องเล่นรูปต่างๆ มีไม้เบาๆ ทำเป็นโครง แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบางๆ แล้วปล่อยให้ลอยขึ้นไปในอากาศ โดยที่มีเชือก หรือ สายป่านยึดไว้

ว่าว เรียกได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์อีกประเภทหนึ่งที่มนุษย์ทำขึ้นมา / ประดิษฐ์ ขึ้นมาเพื่อเป็นการละเล่นที่ให้ความบันเทิงและเพื่อเป็นประโยชน์อย่างอื่นมานับพันปีแล้ว แม้จะไม่ทราบแหล่งกำเนิดที่แน่ชัดว่า ว่าว เกิดขึ้นที่ชาติใดก่อนเป็นครั้งแรก เนื่องจากว่าวเป็นการละเล่นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เล่นกันแทบจะทุกชาติทุกภาษา แต่ชนชาติที่นิยมเล่นกันมาที่สุดนั้น คือ ชนชาติในทวีปเอเชีย และประเทศที่น่าสนใจ นั่นคือ ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่และสำคัญของโลก มีองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการเล่นว่าวเป็นอย่างยิ่ง คือ ในประเทศจีนมีต้นไผ่เป็นจำนวนมาก ชาวจีนรู้จักการทอผ้าไหมและทำกระดาษมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4,000 ปีมาแล้ว จากบันทึกเก่าแก่ของประเทศจีนที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ชาวจีนรู้จักการทำว่าวและเล่นว่าวมาไม่น้อยกว่า 2,000 ปี

สำหรับคนไทยคุ้นเคยและรู้จัก ว่าว กันมาแต่โบราณเพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่แพร่หลาย เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ. ศ.1781-1981) จนเกิดตำนานความรักระหว่างพระร่วงหรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่โปรดการเล่นว่าวมาก วันหนึ่งพระองค์ทรง เล่นว่าวในวัง สายป่านขาดลอยไปตกที่หลังคาบ้านพระยาเอื้อ พระองค์เสียดายว่าวมาก เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงปลอมตัวเป็นคน สามัญ ปีนออกจากวังไปเก็บว่าวที่บ้านพระยาเอื้อ เมื่อปีนไปก็ได้พบ ว่าพระยาเอื้อมีลูกสาวสวย ทำให้พระองค์เกิดความรักกับลูกสาวพระยาเอื้อ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) การเล่นว่าวได้รับความ นิยมมาก ตั้งแต่พระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงสามัญชน ในสมัย สมเด็จพระเพทราชา ได้ใช้ว่าวในการสงครามด้วย คือใช้ว่าวติดลูกระเบิดลอยขึ้นไปแล้วจุดไฟสายป่าน ทำให้ฝ่ายข้าศึกถูกระเบิด เสียหาย การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระมหากษัตริย์จะทรงว่าวจุฬา ถ้าใครเล่นว่าวปักเป้าเข้ามาในเขตของพระองค์ก็จะถูกคว้า ลงมา และการพนันเรื่องว่าวก็เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้น

หลักฐานจากจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชฑูตจากราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุ การเดินทางไว้ว่า "ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าของทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของ ฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้

บาทหลวง ตาชาร์ด ซึ่งเป็นบาทหลวงในนิกายเยซุอิค ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ส่งเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ได้เขียนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับว่าว ไว้ว่า "ว่าวเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ทะเลชุบศร และเมืองลพบุรี ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืน รอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูกกระพรวนส่งเสียง กรุ๋งกริ๋ง”

สมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ใ นปี พ.ศ. 2449 ได้มีการจัดการแข่งขัน ว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทาน ที่พระราชวังดุสิต การแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาในช่วงปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาอีก แต่ก็มีอันต้องว่างเว้นไปอีก เนื่องจากว่ารัฐบาลไม่ส่งเสริม และว่าวเป็นสิ่งที่สร้างปัญหากับระบบการจ่ายไฟฟ้า เพราะมีว่าวไปติดสายไฟ และเคยมีคนถูกไฟดูดตายก็มีมาก จึงทำให้การเล่นว่าวเสื่อมความนิยมลงไป และคนที่มีภูมิปัญญาด้านนี้เริ่มร่อยหรอลง เด็กรุ่นใหม่ที่เล่นและทำว่าวเองเริ่มที่จะไม่มีให้พบเห็น จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างมากหากการเล่นว่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย จากหลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้ว โดยเริ่มแรกอาจรับอิทธิพลความเชื่อในพิธีกรรมมาจากอินเดีย ต่อมาค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นการละเล่นตามฤดูกาลเท่านั้น

ประเภทและชนิดของว่าว
ในประเทศไทยมีการแบ่งประเภทว่าว เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ 1. ว่าวแผง ได้แก่ ว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาว เช่น ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา ว่าว อีลุ้ม ว่าวแซงแซว หรือว่าวรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น

2. ว่าวภาพ ได้แก่ ว่าวที่ประดิษฐ์ขึ้นในลักษณะพิเศษ เป็นรูปร่าง มีความกว้าง ความยาว และความหนา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้ 3 ประเภท คือ ว่าวประเภทสวยงาม ว่าวประเภทความคิด และว่าวประเภทขบขัน




คำค้นหา :

การละเล่นว่าว

การละเล่นว่าว, การเล่นว่าว, การเล่นว่าวไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวภาคเหนือ
ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำมาจากไม้ไผ่ นำมาไขว้กันมี แกนกลางอันหนึ่ง และมีอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน แต่ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง และภู่จะมีชนิดเดียวไม่มีหลายประเภทเหมือน ภาคกลาง ว่าวรูปแบบอื่น ๆ คงได้รับแบบอย่างจากว่าวภาคกลางในภายหลัง ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม

ว่าวภาคกลาง
มีการวิจัยสำรวจพบว่าเยาวชนไทยในภาคกลางนิยมเล่นว่าวมากถึง ร้อยละ 50.60 ว่าวที่นิยมเล่นมีรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิม คือ ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวอีเพรด ว่าวอีลุ้ม ส่วนรูปแบบใหม่ที่รับมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวปลา ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น

ว่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม
ว่าวภาคใต้
การเล่นว่าวในภาคใต้นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นส่วนใหญ่ ว่าวที่เล่นกันมากในภาคใต้มีหลายชนิด เช่น ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก และว่าวใบไม้ ว่าวที่นิยมเล่นกันมาก คือว่าววงเดือนแบบมีแอก ผู้เล่นมักชักขึ้นในเวลาบ่ายแล้วลงในตอนเช้าของอีกวันหนึ่ง ซึ่งถือว่าว่าวตัวไหนชักไว้ค้างคืนโดยไม่ต้องเอาลงได้นับว่าตัวนั้นวิเศษมาก อนึ่งนักเล่นว่าวชาวใต้นิยมประชันเสียงแอกด้วยว่าว่าวตัวไหนมีเสียงแอกดังและไพเราะกว่ากัน คนรุ่นเก่า ๆ มักนิยมเล่นว่าววงเดือนขนาดใหญ่กันเป็นหมู่เป็นพวก คือทำว่าวที่มีขนาดของปีกยาวประมาณ 3-4 เมตร ใช้คนส่งว่าวขึ้น 2-3 คน และคนชัก 3-4 คน ส่วนว่าววงเดือนอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีแอกนั้น นิยมเล่นเพื่อการแข่งขันว่าวว่าวตัวไหนลอยขึ้นสูงที่สุดได้ก่อนตัวอื่นในเวลาเดียวกัน ฤดูกาลที่นิยมเล่นว่าวมาก คือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรุป
การเล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน มีการพัฒนาการต่อสู้ ดัดแปลงการชักด้ายที่ติดไว้ด้วยของมีคมทำจากเศษแก้วที่เรียกว่า “ป่านคม” สำหรับต่อสู้กัน ใครพลาดท่าก็จะถูกคู่แข่งตัดสายป่านขาด ตลอดการแข่งขันกลางเวหา ตั้งแต่การขึ้นว่าว การยัก การส่าย การคว้า การโฉบ รอก และการบังคับให้เคลื่อนไวได้อย่างสง่างามด้วยสายป่านเพียงสายเดียว ซึ่งต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ที่มีความงามด้วยสีสัน แต่ส่วนมากมักลอยลมอยู่เฉยๆ “จึงอาจกล่าวได้ว่าชาติไทย เป็นชาติเดียวที่มีกีฬาเอาชนะกันกลางเวหา”

ว่าวไทยมีการเล่นในทุกๆ ภาค จะแตกต่างกันบ้างในลักษณะของว่าว กีฬาเล่นว่าวนอกจากผู้เล่นจะสนุกสนาน ผู้ชมก็ยังได้รับความเพลิดเพลินและตื่นตาตื่นใจเพราะนี่คือ อีกหนึ่งแห่งความภาคภูมิใจแห่งภูมิปัญญาของคนไทย ดังนั้น จึงขอเชิญชวนท่านผู้ฟังรายการทุกท่าน รวมถึงเด็กและเยาวชนหันมาเล่นว่าวเพื่อช่วยกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเล่นว่าวของคนไทยเรา และฝากอีกปิดท้ายรายการอีกสักนิดว่า การละเล่นว่าวควรหาพื้นที่เปิดโล่ง และห่างจากสายส่งไฟฟ้าให้มากนะคะ เพื่อความปลอดภัย และประการสำคัญของการเล่นว่าว เพื่อเป็นจุดสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวที่ทุกท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล


คำค้นหา :

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย

ว่าว, ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าว ภาษาอังกฤษ, ว่าวไทย, ว่าวควาย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เรียงความครอบครัวพอเพียง

เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว เป็นเรียงความดีดีที่เขียนขึ้นโดย ด.ญ. กนกวรรณ ทัศวิล ชั้น ป.5 ที่เขียนขึ้นประกวดในโครงการของ บริษัท เอบี ฟูด แอนด์ เอฟเวอร์เรจส์(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นรางวัลชนะเลิศในโครงการนี้ ซึ่งเนื้อเรื่องในเรียงความ เป็นใปในแนวทางการใช้ชีวิตพอเพียงของครอบครัวฉัน การใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน การนำเอาแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นคือการเอาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเอง และสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็น เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน ที่นำเอาสิ่งที่ทำอยู่ประจำในชีวิตประจำวันที่เข้ากับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาบรรยาย ออกมาให้บุคคลอื่นได้รับรู้


เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน



เมื่ออ่านเรียงความเรื่องนี้จบลง ท่านอาจจะได้แนวคิด ในการอยู่อย่างพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ต่อชีวิตส่วนตัว และครอบครัวของท่านได้
คำค้นหา :

เรียงความครอบครัวพอเพียง

ครอบครัวพอเพียง, ครอบครัวพอเพียง เรียงความ, เรียงความ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

แห่ดาว เทศกาลวันคริสต์มาส

แห่ดาว เทศกาลวันคริสต์มาส จังหวัดสกลนคร




คำค้นหา : แห่ดาว, แห่ดาวสกลนคร, แห่ดาว ท่าแร่, แห่ดาว สกลนคร 2556, แห่ดาว สกลนคร 2558, แห่ดาวเคียงเดือน, แห่ดาว สกลนคร 2554, แห่ดาว สกลนคร 2555, แห่ดาวสกลนคร 2012, แห่ดาวท่าแร่ 2555, แห่ดาวท่าแร่ 2556, แห่ดาว 2555, แห่ดาว 2556, แห่ดาว สกลนคร pantip, แห่ดาวคริสต์มาส สกลนคร 2556, แห่ดาว สกล, แห่ดาวสกลนคร 2013, แห่ดาว 55, แห่ดาว pantip, แห่ดาวท่าแร่ 2554, แห่ดาว ท่าแร่ pantip
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2559 นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2559

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559 หรือ ค.ศ. 2016 โดย นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชามอบให้เป็นของขวัญแก่เด็กไทยทุก­คน ว่า

" เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต "




ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ในทุกๆปี ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559 โดยวันเด็กแห่งชาติมีต้นกำเนิดมาจากการที่­องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก­่เด็ก ๆ โดยในปี พุทธศักราช 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระ­หว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถ­ึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติที่ดี­ต่อไป

น้องๆอย่างลืมท่องจำคำขวัญวันเด็กแห่งขาติ เพื่อ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อตอบปัญหาชิงรางวัล กันนะ ^_^


คำค้นหา : คำขวัญ คือ, คำขวัญจังหวัด, คำขวัญภาษาไทย, คำขวัญยาเสพติด, คำขวัญวันครู 2558, คำขวัญวันพ่อ, คำขวัญวันเด็ก, คำขวัญวันแม่, คําขวัญวันครู 2558, คําขวัญวันพ่อ, คําขวัญวันภาษาไทย, ตัวอย่าง คำขวัญ ทั่วไป, ตัวอย่างคำขวัญ, ปฏิทิน 2559 excel, ปฏิทิน 2559 ช่อง3, ปฏิทิน 2559 ฤกษ์แต่งงาน, ปฏิทินจีน 2559, วันจักรี 2558, วันตรุษจีน 2558, วันพืชมงคล 2559, วันหยุด 2558, วันหยุด 2558 ราชการ, วันเด็ก, วันเด็ก 2559, วันเด็กแห่งชาติ, วันเด็ก 2559, คำขวัญวันเด็ก, คำขวัญวันเด็ก 2559, คำขวัญวันเด็ก ปี 59, คำขวัญวันเด็กประยุทธ์, ประวัติวันเด็ก, เด็กแห่งชาติ, วันเด็ก, วันเด็ก 59
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
ในโรงเรียนนักเรียนสามารถนำวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้โดยการประยุกต์ให้เหมาะสมดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การตั้งใจเรียน มีการดำเนินงานและวางแผนในการเรียนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

2. ช่วยกันประหยัดและอนุรักษ์ทรัพยากรในโรงเรียน เช่น
1) การใช้น้ำประปาและไฟฟ้าในโรงเรียนอย่างประหยัด รู้คุณค่า ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น
2) ช่วยกันดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ และใช้ของส่วนรวมอย่างทะนุถนอม และไม่ทำลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเล่นต่าง ๆ เป็นต้น
3) ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น ทิ้งขยะลงในถังที่จัดไว้ให้ และไม่ทำให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น ช่วยกันดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน ไม่ขีดเขียนภาพหรือข้อความใด ๆ บนโต๊ะ เก้าอี้ ฝาผนัง อาคารเรียน ประตู ห้องน้ำ เป็นต้น
3) การทำการเกษตรเพื่อเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผลไว้บริโภค

การเลี้ยงเป็ดและไก่ การเพาะเห็ด การขุดบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น 4) การใช้เงินอย่างประหยัด ซื้อของที่ไม่ฟุ่มเฟือย

5) การประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีแบบชาวบ้านมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น
1) การทำปุ๋ยหมักธรรมชาติไว้ใช้ปลูกพืชผักในโรงเรียน 2) การทำเชื้อเพลิงช่วยในการหุงต้ม เช่น การเผาถ่าน เป็นต้น 3) การใช้สมุนไพรช่วยกำจัดศัตรูพืช 6) การรวมกลุ่มสหกรณ์ในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน มีแนวทางที่จะเพิ่มพูนรายได้โดยการนำสินค้าของสมาชิกมาจำหน่ายในสหกรณ์ และซื้อสินค้าได้ในราคายุติธรรม


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน

เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษาจังหวัดสกลนคร ประจำปี 2557

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษา
ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนนาราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ณ บึงหนองหาร สวนสมเด็จย่า (สระพังทอง) อ.เมือง จ.สกลนคร
ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2557
จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ เทศบาลนครสกลนคร

เรือยาวชายไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสุรสิทธิ์ ม.ราชภัฏสกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 เทพทุ่งทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รางวัลชมเชย พิบูลย์ชัยมหาวารี โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวหญิงไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสิทธิพร1 อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 2 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวชายไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ ชาญคำแก้ว อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 คำปลิวสิงห์ภูทอก อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เทพปัญญาธร ม.ราชภัฏสกลนคร
- รางวัลชมเชย ไทเกอร์ ฮาร์ดร็อค อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพพิบูลย์ชัย โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวหญิงไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ จันทร์ศรีสงคราม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 นรสิงห์นาวา อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 สองนาง อ.พังโคน จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย พรมหาพรหม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพสุวรรณ อ.เมือง จ.สกลนคร



คำค้นหา :

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557, แข่งขันเรือยาว, สกลนคร 2557, เรือยาวสกลนคร, ออกพรรษาสกลนคร
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th