Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript

การละเล่นว่าว

การละเล่นว่าว
การละเล่นว่าว
การละเล่นว่าว
สำหรับคำว่า ว่าว ในภาษาไทย หรือ ในภาษาอังกฤษนั้น มีความหมายว่า เป็นเครื่องเล่นรูปต่างๆ มีไม้เบาๆ ทำเป็นโครง แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบางๆ แล้วปล่อยให้ลอยขึ้นไปในอากาศ โดยที่มีเชือก หรือ สายป่านยึดไว้

ว่าว เรียกได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์อีกประเภทหนึ่งที่มนุษย์ทำขึ้นมา / ประดิษฐ์ ขึ้นมาเพื่อเป็นการละเล่นที่ให้ความบันเทิงและเพื่อเป็นประโยชน์อย่างอื่นมานับพันปีแล้ว แม้จะไม่ทราบแหล่งกำเนิดที่แน่ชัดว่า ว่าว เกิดขึ้นที่ชาติใดก่อนเป็นครั้งแรก เนื่องจากว่าวเป็นการละเล่นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เล่นกันแทบจะทุกชาติทุกภาษา แต่ชนชาติที่นิยมเล่นกันมาที่สุดนั้น คือ ชนชาติในทวีปเอเชีย และประเทศที่น่าสนใจ นั่นคือ ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่และสำคัญของโลก มีองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการเล่นว่าวเป็นอย่างยิ่ง คือ ในประเทศจีนมีต้นไผ่เป็นจำนวนมาก ชาวจีนรู้จักการทอผ้าไหมและทำกระดาษมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4,000 ปีมาแล้ว จากบันทึกเก่าแก่ของประเทศจีนที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ชาวจีนรู้จักการทำว่าวและเล่นว่าวมาไม่น้อยกว่า 2,000 ปี

สำหรับคนไทยคุ้นเคยและรู้จัก ว่าว กันมาแต่โบราณเพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่แพร่หลาย เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ. ศ.1781-1981) จนเกิดตำนานความรักระหว่างพระร่วงหรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่โปรดการเล่นว่าวมาก วันหนึ่งพระองค์ทรง เล่นว่าวในวัง สายป่านขาดลอยไปตกที่หลังคาบ้านพระยาเอื้อ พระองค์เสียดายว่าวมาก เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงปลอมตัวเป็นคน สามัญ ปีนออกจากวังไปเก็บว่าวที่บ้านพระยาเอื้อ เมื่อปีนไปก็ได้พบ ว่าพระยาเอื้อมีลูกสาวสวย ทำให้พระองค์เกิดความรักกับลูกสาวพระยาเอื้อ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) การเล่นว่าวได้รับความ นิยมมาก ตั้งแต่พระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงสามัญชน ในสมัย สมเด็จพระเพทราชา ได้ใช้ว่าวในการสงครามด้วย คือใช้ว่าวติดลูกระเบิดลอยขึ้นไปแล้วจุดไฟสายป่าน ทำให้ฝ่ายข้าศึกถูกระเบิด เสียหาย การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระมหากษัตริย์จะทรงว่าวจุฬา ถ้าใครเล่นว่าวปักเป้าเข้ามาในเขตของพระองค์ก็จะถูกคว้า ลงมา และการพนันเรื่องว่าวก็เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้น

หลักฐานจากจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชฑูตจากราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุ การเดินทางไว้ว่า "ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าของทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของ ฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้

บาทหลวง ตาชาร์ด ซึ่งเป็นบาทหลวงในนิกายเยซุอิค ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ส่งเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ได้เขียนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับว่าว ไว้ว่า "ว่าวเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ทะเลชุบศร และเมืองลพบุรี ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืน รอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูกกระพรวนส่งเสียง กรุ๋งกริ๋ง”

สมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ใ นปี พ.ศ. 2449 ได้มีการจัดการแข่งขัน ว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทาน ที่พระราชวังดุสิต การแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาในช่วงปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาอีก แต่ก็มีอันต้องว่างเว้นไปอีก เนื่องจากว่ารัฐบาลไม่ส่งเสริม และว่าวเป็นสิ่งที่สร้างปัญหากับระบบการจ่ายไฟฟ้า เพราะมีว่าวไปติดสายไฟ และเคยมีคนถูกไฟดูดตายก็มีมาก จึงทำให้การเล่นว่าวเสื่อมความนิยมลงไป และคนที่มีภูมิปัญญาด้านนี้เริ่มร่อยหรอลง เด็กรุ่นใหม่ที่เล่นและทำว่าวเองเริ่มที่จะไม่มีให้พบเห็น จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างมากหากการเล่นว่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย จากหลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้ว โดยเริ่มแรกอาจรับอิทธิพลความเชื่อในพิธีกรรมมาจากอินเดีย ต่อมาค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นการละเล่นตามฤดูกาลเท่านั้น

ประเภทและชนิดของว่าว
ในประเทศไทยมีการแบ่งประเภทว่าว เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ 1. ว่าวแผง ได้แก่ ว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาว เช่น ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา ว่าว อีลุ้ม ว่าวแซงแซว หรือว่าวรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น

2. ว่าวภาพ ได้แก่ ว่าวที่ประดิษฐ์ขึ้นในลักษณะพิเศษ เป็นรูปร่าง มีความกว้าง ความยาว และความหนา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้ 3 ประเภท คือ ว่าวประเภทสวยงาม ว่าวประเภทความคิด และว่าวประเภทขบขัน




คำค้นหา :

การละเล่นว่าว

การละเล่นว่าว, การเล่นว่าว, การเล่นว่าวไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวภาคเหนือ
ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำมาจากไม้ไผ่ นำมาไขว้กันมี แกนกลางอันหนึ่ง และมีอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน แต่ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง และภู่จะมีชนิดเดียวไม่มีหลายประเภทเหมือน ภาคกลาง ว่าวรูปแบบอื่น ๆ คงได้รับแบบอย่างจากว่าวภาคกลางในภายหลัง ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม

ว่าวภาคกลาง
มีการวิจัยสำรวจพบว่าเยาวชนไทยในภาคกลางนิยมเล่นว่าวมากถึง ร้อยละ 50.60 ว่าวที่นิยมเล่นมีรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิม คือ ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวอีเพรด ว่าวอีลุ้ม ส่วนรูปแบบใหม่ที่รับมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวปลา ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น

ว่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม
ว่าวภาคใต้
การเล่นว่าวในภาคใต้นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นส่วนใหญ่ ว่าวที่เล่นกันมากในภาคใต้มีหลายชนิด เช่น ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก และว่าวใบไม้ ว่าวที่นิยมเล่นกันมาก คือว่าววงเดือนแบบมีแอก ผู้เล่นมักชักขึ้นในเวลาบ่ายแล้วลงในตอนเช้าของอีกวันหนึ่ง ซึ่งถือว่าว่าวตัวไหนชักไว้ค้างคืนโดยไม่ต้องเอาลงได้นับว่าตัวนั้นวิเศษมาก อนึ่งนักเล่นว่าวชาวใต้นิยมประชันเสียงแอกด้วยว่าว่าวตัวไหนมีเสียงแอกดังและไพเราะกว่ากัน คนรุ่นเก่า ๆ มักนิยมเล่นว่าววงเดือนขนาดใหญ่กันเป็นหมู่เป็นพวก คือทำว่าวที่มีขนาดของปีกยาวประมาณ 3-4 เมตร ใช้คนส่งว่าวขึ้น 2-3 คน และคนชัก 3-4 คน ส่วนว่าววงเดือนอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีแอกนั้น นิยมเล่นเพื่อการแข่งขันว่าวว่าวตัวไหนลอยขึ้นสูงที่สุดได้ก่อนตัวอื่นในเวลาเดียวกัน ฤดูกาลที่นิยมเล่นว่าวมาก คือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรุป
การเล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน มีการพัฒนาการต่อสู้ ดัดแปลงการชักด้ายที่ติดไว้ด้วยของมีคมทำจากเศษแก้วที่เรียกว่า “ป่านคม” สำหรับต่อสู้กัน ใครพลาดท่าก็จะถูกคู่แข่งตัดสายป่านขาด ตลอดการแข่งขันกลางเวหา ตั้งแต่การขึ้นว่าว การยัก การส่าย การคว้า การโฉบ รอก และการบังคับให้เคลื่อนไวได้อย่างสง่างามด้วยสายป่านเพียงสายเดียว ซึ่งต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ที่มีความงามด้วยสีสัน แต่ส่วนมากมักลอยลมอยู่เฉยๆ “จึงอาจกล่าวได้ว่าชาติไทย เป็นชาติเดียวที่มีกีฬาเอาชนะกันกลางเวหา”

ว่าวไทยมีการเล่นในทุกๆ ภาค จะแตกต่างกันบ้างในลักษณะของว่าว กีฬาเล่นว่าวนอกจากผู้เล่นจะสนุกสนาน ผู้ชมก็ยังได้รับความเพลิดเพลินและตื่นตาตื่นใจเพราะนี่คือ อีกหนึ่งแห่งความภาคภูมิใจแห่งภูมิปัญญาของคนไทย ดังนั้น จึงขอเชิญชวนท่านผู้ฟังรายการทุกท่าน รวมถึงเด็กและเยาวชนหันมาเล่นว่าวเพื่อช่วยกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเล่นว่าวของคนไทยเรา และฝากอีกปิดท้ายรายการอีกสักนิดว่า การละเล่นว่าวควรหาพื้นที่เปิดโล่ง และห่างจากสายส่งไฟฟ้าให้มากนะคะ เพื่อความปลอดภัย และประการสำคัญของการเล่นว่าว เพื่อเป็นจุดสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวที่ทุกท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล


คำค้นหา :

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย

ว่าว, ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าว ภาษาอังกฤษ, ว่าวไทย, ว่าวควาย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เรียงความครอบครัวพอเพียง

เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว เป็นเรียงความดีดีที่เขียนขึ้นโดย ด.ญ. กนกวรรณ ทัศวิล ชั้น ป.5 ที่เขียนขึ้นประกวดในโครงการของ บริษัท เอบี ฟูด แอนด์ เอฟเวอร์เรจส์(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นรางวัลชนะเลิศในโครงการนี้ ซึ่งเนื้อเรื่องในเรียงความ เป็นใปในแนวทางการใช้ชีวิตพอเพียงของครอบครัวฉัน การใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน การนำเอาแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นคือการเอาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเอง และสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็น เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน ที่นำเอาสิ่งที่ทำอยู่ประจำในชีวิตประจำวันที่เข้ากับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาบรรยาย ออกมาให้บุคคลอื่นได้รับรู้


เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน



เมื่ออ่านเรียงความเรื่องนี้จบลง ท่านอาจจะได้แนวคิด ในการอยู่อย่างพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ต่อชีวิตส่วนตัว และครอบครัวของท่านได้
คำค้นหา :

เรียงความครอบครัวพอเพียง

ครอบครัวพอเพียง, ครอบครัวพอเพียง เรียงความ, เรียงความ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

แห่ดาว เทศกาลวันคริสต์มาส

แห่ดาว เทศกาลวันคริสต์มาส จังหวัดสกลนคร




คำค้นหา : แห่ดาว, แห่ดาวสกลนคร, แห่ดาว ท่าแร่, แห่ดาว สกลนคร 2556, แห่ดาว สกลนคร 2558, แห่ดาวเคียงเดือน, แห่ดาว สกลนคร 2554, แห่ดาว สกลนคร 2555, แห่ดาวสกลนคร 2012, แห่ดาวท่าแร่ 2555, แห่ดาวท่าแร่ 2556, แห่ดาว 2555, แห่ดาว 2556, แห่ดาว สกลนคร pantip, แห่ดาวคริสต์มาส สกลนคร 2556, แห่ดาว สกล, แห่ดาวสกลนคร 2013, แห่ดาว 55, แห่ดาว pantip, แห่ดาวท่าแร่ 2554, แห่ดาว ท่าแร่ pantip
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2559 นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2559

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559 หรือ ค.ศ. 2016 โดย นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชามอบให้เป็นของขวัญแก่เด็กไทยทุก­คน ว่า

" เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต "




ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ในทุกๆปี ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559 โดยวันเด็กแห่งชาติมีต้นกำเนิดมาจากการที่­องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก­่เด็ก ๆ โดยในปี พุทธศักราช 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระ­หว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถ­ึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติที่ดี­ต่อไป

น้องๆอย่างลืมท่องจำคำขวัญวันเด็กแห่งขาติ เพื่อ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อตอบปัญหาชิงรางวัล กันนะ ^_^


คำค้นหา : คำขวัญ คือ, คำขวัญจังหวัด, คำขวัญภาษาไทย, คำขวัญยาเสพติด, คำขวัญวันครู 2558, คำขวัญวันพ่อ, คำขวัญวันเด็ก, คำขวัญวันแม่, คําขวัญวันครู 2558, คําขวัญวันพ่อ, คําขวัญวันภาษาไทย, ตัวอย่าง คำขวัญ ทั่วไป, ตัวอย่างคำขวัญ, ปฏิทิน 2559 excel, ปฏิทิน 2559 ช่อง3, ปฏิทิน 2559 ฤกษ์แต่งงาน, ปฏิทินจีน 2559, วันจักรี 2558, วันตรุษจีน 2558, วันพืชมงคล 2559, วันหยุด 2558, วันหยุด 2558 ราชการ, วันเด็ก, วันเด็ก 2559, วันเด็กแห่งชาติ, วันเด็ก 2559, คำขวัญวันเด็ก, คำขวัญวันเด็ก 2559, คำขวัญวันเด็ก ปี 59, คำขวัญวันเด็กประยุทธ์, ประวัติวันเด็ก, เด็กแห่งชาติ, วันเด็ก, วันเด็ก 59
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
ในโรงเรียนนักเรียนสามารถนำวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้โดยการประยุกต์ให้เหมาะสมดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การตั้งใจเรียน มีการดำเนินงานและวางแผนในการเรียนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

2. ช่วยกันประหยัดและอนุรักษ์ทรัพยากรในโรงเรียน เช่น
1) การใช้น้ำประปาและไฟฟ้าในโรงเรียนอย่างประหยัด รู้คุณค่า ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น
2) ช่วยกันดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ และใช้ของส่วนรวมอย่างทะนุถนอม และไม่ทำลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเล่นต่าง ๆ เป็นต้น
3) ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น ทิ้งขยะลงในถังที่จัดไว้ให้ และไม่ทำให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น ช่วยกันดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน ไม่ขีดเขียนภาพหรือข้อความใด ๆ บนโต๊ะ เก้าอี้ ฝาผนัง อาคารเรียน ประตู ห้องน้ำ เป็นต้น
3) การทำการเกษตรเพื่อเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผลไว้บริโภค

การเลี้ยงเป็ดและไก่ การเพาะเห็ด การขุดบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น 4) การใช้เงินอย่างประหยัด ซื้อของที่ไม่ฟุ่มเฟือย

5) การประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีแบบชาวบ้านมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น
1) การทำปุ๋ยหมักธรรมชาติไว้ใช้ปลูกพืชผักในโรงเรียน 2) การทำเชื้อเพลิงช่วยในการหุงต้ม เช่น การเผาถ่าน เป็นต้น 3) การใช้สมุนไพรช่วยกำจัดศัตรูพืช 6) การรวมกลุ่มสหกรณ์ในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน มีแนวทางที่จะเพิ่มพูนรายได้โดยการนำสินค้าของสมาชิกมาจำหน่ายในสหกรณ์ และซื้อสินค้าได้ในราคายุติธรรม


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน

เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษาจังหวัดสกลนคร ประจำปี 2557

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษา
ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนนาราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ณ บึงหนองหาร สวนสมเด็จย่า (สระพังทอง) อ.เมือง จ.สกลนคร
ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2557
จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ เทศบาลนครสกลนคร

เรือยาวชายไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสุรสิทธิ์ ม.ราชภัฏสกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 เทพทุ่งทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รางวัลชมเชย พิบูลย์ชัยมหาวารี โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวหญิงไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสิทธิพร1 อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 2 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวชายไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ ชาญคำแก้ว อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 คำปลิวสิงห์ภูทอก อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เทพปัญญาธร ม.ราชภัฏสกลนคร
- รางวัลชมเชย ไทเกอร์ ฮาร์ดร็อค อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพพิบูลย์ชัย โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวหญิงไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ จันทร์ศรีสงคราม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 นรสิงห์นาวา อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 สองนาง อ.พังโคน จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย พรมหาพรหม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพสุวรรณ อ.เมือง จ.สกลนคร



คำค้นหา :

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557, แข่งขันเรือยาว, สกลนคร 2557, เรือยาวสกลนคร, ออกพรรษาสกลนคร
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
ในสมัยนี้มีการประสมวงดนตรีไทย 3 ประเภท คือ

1. การบรรเลงพิณ สันนิษฐานว่าเป็นการบรรเลงในรูปแบบการประสมวงเป็นครั้งแรก มีจุดประสงค์เพื่อขับกล่อม
2. วงขับไม้ เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น สมโภชพระมหาเศวตฉัตร พิธีขึ้นพระอู่ เป็นต้น นิยมบรรเลงมาจนถึงปัจจุบัน
3. วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง
4. วงเครื่องประโคม เป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับงานพระราชพิธี สันนิษฐานว่า
มีจุดประสงค์เพื่อแสดงพระบรมเดชานุภาพ และพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ วงเครื่องประโคมแบ่งเป็น วงประโคมแตรและมโหระทึก วงประโคมแตรสังข์กลองชนะ เป็นต้น


คำค้นหา :

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย, การประสมวงดนตรีไทย, สมัยกรุงสุโขทัย, ดนตรีไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th