Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา |
ในกระบวนการบำบัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ทั้งเจ็ดแขนงจำต้องศึกษาประวัติผู้เข้ารับการบำบัดอย่างละเอียดจากแพทย์ ครอบครัว ครู (ในกรณีที่ผู้รับการบำบัดเป็นเด็ก) และขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้เวลากับตนเองประมาณสามสัปดาห์ในการเฝ้าดูความเป็นไปของผู้รับการบำบัด เพื่อผลการวินิจฉัยการทำงานบำบัดของตนเอง ว่าจะ ‘เลือก’ สิ่งใดไป ‘บำบัด’ และ ‘เปลี่ยนแปลง’ ภายในของผู้รับการบำบัด โดยมีเหตุผลที่ชัดเจนต่อความเจ็บป่วยนั้น นั่นหมายถึงการบำบัดต้องมีเป้าหมายที่แจ่มชัดต่อทุกขั้นตอนในกระบวนการนั้น ตั้งแต่การเลือกสรร ใช้วัสดุอุปกรณ์ บทเรียนในการบำบัด นั่นจึงเรียกว่าการบำบัดที่สมบูรณ์ และนี่คือการงานของนักศิลปะบำบัดที่แท้จริง
กล่าวในส่วนของประเทศไทย แม้จะมีการหยิบยกศิลปะบำบัดมาพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าสังเกตและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราก็จะพบความทับซ้อนกับการศึกษาบำบัด (Curative Education) เป็นอย่างมาก การจัดการศึกษาบำบัดเกิดขึ้นมานานกว่าหกสิบปี โดยจัดการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้พวกเขาได้รับการพัฒนาที่สูงขึ้น Blitz (1999) นักปรัชญาการศึกษาคนสำคัญกล่าวว่า แนวคิดการศึกษาบำบัด และ การศึกษาพิเศษ (Special need in Education) มีทั้งส่วนที่คล้าย และส่วนที่ต่างกัน กล่าวคือ ทั้งสองแนวคิดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ และมองที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ แต่การศึกษาบำบัดนั้นมองเด็กต่างไปจากการศึกษาพิเศษ โดยเป็นการ มองเด็กแบบองค์รวม (Holistic View) เน้นความสำคัญทั้ง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
ดังนั้นเอง การจัดการศึกษาบำบัดนั้น จึงมุ่งเน้นจัดกิจกรรมที่ลึกซึ้ง บนสุนทรียภาพ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและบริบทของสังคมนั้นๆ เน้นวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อให้เป็นมิติของการบำบัดจริงๆ กิจกรรมมีลักษณะเป็นกลุ่ม และค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น การวาดภาพ การร้อยเมล็ดพืช การระบายสีบนดินเผา รวมทั้งงานประดิษฐ์อื่น ๆ ไม่ได้เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล หรือเฉพาะเจาะจงในกระบวนการวาด หรือกระบวนการปั้น สิ่งที่ได้กล่าวมามีรูปแบบอยู่ในประเทศตะวันตกอย่างชัดเจนว่า คือการศึกษาบำบัด นั่นเอง
ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
กล่าวในส่วนของประเทศไทย แม้จะมีการหยิบยกศิลปะบำบัดมาพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าสังเกตและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราก็จะพบความทับซ้อนกับการศึกษาบำบัด (Curative Education) เป็นอย่างมาก การจัดการศึกษาบำบัดเกิดขึ้นมานานกว่าหกสิบปี โดยจัดการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้พวกเขาได้รับการพัฒนาที่สูงขึ้น Blitz (1999) นักปรัชญาการศึกษาคนสำคัญกล่าวว่า แนวคิดการศึกษาบำบัด และ การศึกษาพิเศษ (Special need in Education) มีทั้งส่วนที่คล้าย และส่วนที่ต่างกัน กล่าวคือ ทั้งสองแนวคิดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ และมองที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ แต่การศึกษาบำบัดนั้นมองเด็กต่างไปจากการศึกษาพิเศษ โดยเป็นการ มองเด็กแบบองค์รวม (Holistic View) เน้นความสำคัญทั้ง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
ดังนั้นเอง การจัดการศึกษาบำบัดนั้น จึงมุ่งเน้นจัดกิจกรรมที่ลึกซึ้ง บนสุนทรียภาพ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและบริบทของสังคมนั้นๆ เน้นวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อให้เป็นมิติของการบำบัดจริงๆ กิจกรรมมีลักษณะเป็นกลุ่ม และค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น การวาดภาพ การร้อยเมล็ดพืช การระบายสีบนดินเผา รวมทั้งงานประดิษฐ์อื่น ๆ ไม่ได้เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล หรือเฉพาะเจาะจงในกระบวนการวาด หรือกระบวนการปั้น สิ่งที่ได้กล่าวมามีรูปแบบอยู่ในประเทศตะวันตกอย่างชัดเจนว่า คือการศึกษาบำบัด นั่นเอง
คำค้นหา : | ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ศิลปะ,
ศิลปะในสังคมไทย,
ศิลปะบำบัด,
ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย |
ปัจจุบัน สังคมไทยให้ความสำคัญกับศิลปะบำบัดมากขึ้น ซึ่งก็นับเป็นสัญญาณที่ดี ในปีหนึ่ง ๆ มีผู้เข้ารับการบำบัดตั้งแต่เด็กไปจนกระทั่งผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก แม้ความรู้ทางวิชาการจะยังอยู่ในวงจำกัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ที่ได้ร่ำเรียนและฝึกฝนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติมาอย่างจริงจัง ก็ยังนับว่าน้อยมาก ซึ่งความรู้ที่ลึกซึ้งและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ยังจำเป็นมากต่อการบำบัด ดังนั้น ช่วงเวลานับจากนี้จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจไม่น้อยว่า ศิลปะบำบัดในประเทศไทยจะสามารถยกระดับองค์ความรู้และศักยภาพของเรา ให้เพียงพอที่จะรับมือกับความผันผวน และการเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนของโลกทุกวันนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย
คำค้นหา : | ศิลปะบำบัดในสังคมไทย |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ศิลปะ,
ศิลปะในสังคมไทย,
ศิลปะบำบัด
ประโยชน์ของการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมสู่ความงดงามแห่งชีวิตและสุขภาพ
ประโยชน์ของศิลปะ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประโยชน์ของศิลปะ |
- ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง
- ได้ใช้ความคิดที่เป็นอิสระ รู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเอง
- เป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายและเป็นช่วงเวลาที่ดีต่อความทรงจำมากๆ
- ได้รู้สึกถึงการมีอิสระของความคิด ถึงแม้ภาพที่วาดออกมาจะไม่สวยนัก แต่ก็เป็นการแสดงออกของความคิดที่เป็นตัวของเราเอง
- ทำให้เราได้รู้จักความคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเองในขณะที่ทำงานศิลปะ
- เป็นช่วงเวลาที่ได้นึกถึงเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นภายในจิตใจอย่างมีสติและรอบคอบ
- ก่อให้เกิดสมาธิขึ้นมาในจิตใจ ทำให้รู้จักการดูแลและบำบัดความเครียดด้วยตนเอง
- ทำให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจในขณะที่กำลังวาดภาพศิลปะ
- ทำให้ได้ย้อนรำลึกถึงความสัมพันธ์ในอดีตของตนเองกับบุคคลอันเป็นที่รักแม้ว่าท่านจะจากไปแล้ว ศิลปะช่วยให้คิดถึงบุคคลอันเป็นที่รักมากขึ้นและจะคิดถึงตลอดไป
- ทำให้เราได้นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ที่เราได้ลืมมันไป ศิลปะทำให้เราได้ย้อนไปในอดีตและรู้สึกดีที่ได้คิดถึงมันอีกครั้ง
- รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมการวาดภาพ แม้ครั้งแรกจะรู้สึกไม่อยากวาดแต่การได้แลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกจากการวาดภาพกับเพื่อนทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุขมาก
- ทำให้คิดถึงความรู้สึกดีๆ ในอดีตที่กำลังจะหายไป การวาดภาพทำให้เข้าใจในสิ่งที่มันเกิดและคิดว่าในอนาคตจะทำให้ความรู้สึกดีๆ นี้กลับคืนมาอีกครั้ง
- การวาดภาพทำให้นึกถึงในอดีตที่มีความสุข เมื่อนึกถึงภาพเหล่านี้เมื่อใดก็ยิ้มออกมาทุกครั้ง
- ตอนแรกรู้สึกไม่ค่อยชอบการวาดภาพ แต่ต่อมาเมื่อได้วาดและบรรยายถึงภาพที่ต้องการสื่อออกมากลับทำให้รู้สึกดีที่ได้เล่าถึงที่มา เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจตลอดเวลาแต่ไม่มีโอกาสได้พูด เมื่อได้พูดแล้วรู้สึกดี สบายใจขึ้น
- การวาดภาพทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ได้คิดถึงในอดีต คิดถึงคนที่ไม่ได้พูดคุยด้วยและรู้สึกมีความสุขที่ได้วาดภาพออกมา
- การวาดภาพทำให้จิตของเรา ความคิดของเราได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับเรื่องราวในอดีตที่เราเคยทำในที่นั้นๆ การแต่งเติมภาพบางครั้งก็ทำให้เราคิดได้ว่าบางอย่างมันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจจะให้เป็น
- ศิลปะทำให้จิตใจเราได้ปลดปล่อย ผ่อนคลาย นึกถึงสิ่งเก่าๆ ที่ผ่านมา มีสติ ได้คิดและมองเห็นความสำคัญของบางสิ่งที่เรานึกถึง และได้รับรู้ถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นในใจ
- ในขณะที่วาดภาพเป็นเวลาที่ได้ย้อนกลับไปในเหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในครอบครัว มีทั้งสุข ทุกข์ เศร้า อบอุ่น ดีใจ เสียใจ ณ สถานที่แห่งนั้นและได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
- รู้สึกว่ามีรอยยิ้มผุดขึ้นในใจ มีความสุขมาก การวาดภาพจะช่วยสื่อถึงความรู้สึกของเราได้ดีกว่าการพูดออกมา
- ได้เกิดการจินตนาการย้อนกลับไปในอดีต มีทั้งเหตุการณ์บางอย่างก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี น่าจดจำและไม่น่าจดจำปะปนกันไป การวาดภาพทำให้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในความทรงจำออกมาทำให้เรานึกถึงเรื่องดีๆ ในอดีตและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
- ศิลปะช่วยให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ทำให้เรื่องราวเครียดๆ ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้หายไป ความคิดโล่ง โปร่งสบาย จิตใจเป็นสมาธิ ได้เกิดการจินตนาการ ลืมเรื่องๆ เครียดๆ ที่มีอยู่จนหมดสิ้น
- รู้สึกว่าศิลปะช่วยเติมพลังในสมองให้เกิดขึ้นและมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น
- การวาดรูปทำให้มีสมาธิ ลืมเรื่องราวที่รู้สึกไม่ดีที่ติดอยู่ในใจ กลับไปเป็นเด็กที่ไม่มีเรื่องหนักใจให้คิด รู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด ได้ปลดปล่อย
- รู้สึกได้ถึงความรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่วาดภาพ ได้นึกถึงภาพในอดีต สิ่งที่ดีๆ เหมือนได้หวนกลับไปสู่อดีตในวันที่มีความสุขอีกครั้ง
- ศิลปะทำให้ได้รู้ถึงความรู้สึกขอตัวเอง ได้อยู่กับตัวเอง รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ได้เกิดการจินตนาการและลืมเรื่องราวที่ทำให้เกิดความเครียด
- จากการที่เรียนหนักมาทั้งวันมาแล้ว การวาดภาพช่วยให้รูสึกผ่อนคลายละเติมพลังให้มีความรู้สึกมีแรงสู้ในการเรียนวิชาต่อไป
- แม้ว่าเราจะวาดภาพที่ไม่ได้มีสีสันที่สวยมากนัก แต่มันก็ดูสวยด้วยคุณค่าของสิ่งที่อยู่ในภาพ ได้มีรอยยิ้มเกิดขึ้นในใจ ได้ปล่อยวาง ปลดปล่อยความรู้สึกในใจออกมา ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น
- ได้มองเข้าไปในจิตใจตนเองว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร นึกถึงสิ่งใด เป็นการทำให้จิตใจเราเปิดกว้างขึ้น ได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
- ได้ผ่อนคลาย มีสมาธิ
- สนุกสนาน
- รู้สึกเพลิดเพลิน
- เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ ได้ผ่อนคลายความเครียด
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน
- ได้ลืมเรื่องราวเครียดๆ
- ได้นึกย้อนถึงตัวเอง
- สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเครียดที่ไม่สามารถที่จะบอกหรือปรึกษาใครได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกไปเป็นภาพ
- ทำให้มีสมาธิอยู่กับงาน ได้ปลดปล่อยความคิดของตนเอง ทำให้ไม่รู้สึกเครียด
- ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ทำให้หายเครียดและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
- คลายเครียด สร้างความสนุกสนาน
- ทำให้ได้รู้ปัญหาของตัวเองว่ากำลังเผชิญกับอะไร
- ทำให้เกิดสมาธิอยู่กับชิ้นงาน
- ทำให้ได้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก ผ่อนคลายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตัวเอง ได้สร้างสรรค์ งานศิลปะสวยๆ
- ได้เกิดแง่คิดดีๆ ในชีวิต
- ทำให้เราได้อยู่กับตนเอง ได้คิดว่าขณะนี้ใจเราอยู่ที่ไหน คิดอะไรและถ่ายทอดออกมาทางการวาดรูป
- เกิดความสนุกกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ สร้างสีสันของการแลกเปลี่ยนภาพแห่งความประทับใจ
- เป็นการปลดปล่อยจินตนาการ รับรู้และเข้าใจความคิดของเพื่อน
- ได้แง่มุมของความคิด ฝึกการคิดและการจินตนาการ
- รู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะวาดภาพ
- เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และพอใจกับผลงานที่ออกมา
- ได้เกิดการเรียนรู้เทคนิคการใช้สีแบบใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
- คลายเครียด ได้พักผ่อนทางด้านจิตใจ
- งานศิลปะอยู่ที่มุมมองของคน และศิลปะก็ได้แสดงถึงก้นบึ้งของจิตใจ
- ทำให้รู้ถึงสิ่งที่ตัวเองคิด เป็นการผ่อนคลายและปล่อยจิตใจ รู้สึกสบายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตนเอง ทำให้รู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ตนเองแสดงออกได้อย่างอิสระ
- ขณะที่ระบายสีทำให้เรามีสมาธิ สนใจในภาพที่เรากำลังระบายสีอยู่ ทำให้เราไม่คิดหรือกังวลเรื่องอื่น นอกจากภาพของเรา เพราะเรากำลังคิดว่าจะสร้างสรรค์ภาพของเราออกมาอย่างไร ทำให้มีสมาธิและสติอยู่กับตัวตลอดเวลา
- รู้สึกเพลิดเพลินและพอใจกับภาพ แม้ว่ามันจะไม่สวยงามเหมือนเพื่อนคนอื่น แต่ก็ดีใจที่ทำได้สำเร็จ และจะลองใช้วิธีนี้กับตัวเองอีกเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ
- รู้สึกผ่อนคลายมากทำให้อยากหยุดเวลาไว้กับการระบายสี แต่พอหมดเวลาก็รู้สึกใจหาย
- ทำให้มีอารมณ์ผ่อนคลายมากขึ้น ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ข้างในที่บางครั้งพูดออกมาไม่ได้
- ได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะได้บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้วาดอกมา
- เป็นการบำบัดความเครียดที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
- ทำให้รู้ว่าศิลปะสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้สึกและความคิด
- ได้วาดรูปตามจินตนาการของตนเอง แม้ผลงานที่ออกมาจะไม่สวยหรือดูดีเหมือนของคนอื่น แต่ก็ภูมิใจ
- จากก่อนวาดรู้สึกเหมือนสมองมันตื้อๆ แต่พอได้ลงมือทำแล้วก็รู้สึกว่าสมองมันเบาลง รู้สึกโล่งขึ้น ได้ผ่อนคลาย และเพลิดเพลิน
- ก่อนทำงานศิลปะ เพิ่งรู้คะแนนสอบ ปรากฏว่าสอบตกเลยรู้สึกเครียด แต่พอได้ลงมือวาดรูปรู้สึกดีขึ้นบ้าง เพราะได้พูดคุยสนุกสนานกับเพื่อน
- ทำให้ได้รู้สึกถึงการจดจ่อกับการสร้างสรรค์ผลงาน
- ได้เรียนรู้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งนั้น ต้องใช้สมาธิและมีจุดสนใจอยู่ที่ผลงาน ทำให้ไม่เครียด
- รู้สึกเหมือนได้ย้อนไปในตอนที่ยังเป็นเด็ก ขณะที่วาดทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ ที่จะสร้างสรรค์ผลงานจนลืมความกังวลใจต่างๆ ไปได้โดยไม่รู้ตัว เกิดความรื่นรมย์ในใจ ที่ได้เห็นสีสันสวยงาม ได้ปล่อยความคิดไปตามผลงานที่กำลังทำ
- สนุกกับการได้เลือกสีสันให้กับธรรมชาติของตัวเอง
- ทำให้ได้มุมมองกับการใช้ศิลปะผ่อนคลายความเครียด
- รู้สึกได้ระบายอารมณ์ไปกับการวาดภาพ คิดหรือรู้สึกอะไรก็ปลดปล่อยไปกับสีที่เราเลือกใช้
- สามารถบอกอารมณ์ต่างๆ ผ่านภาพวาดของเราเองได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจจากสถานที่ที่เคยไปเที่ยวและมีความทรงจำดีๆ ลงไปในภาพที่วาด
- ตอนวาดรูปรู้สึกอารมณ์ดีมากๆ รู้สึกว่าไม่มีคำถามอะไรเกิดขึ้นในสมองเลย ปลอดโปร่งมาก
- การวาดภาพทำให้ผมได้รู้คำตอบของคำถามที่ผมไม่เคยเข้าใจและก็อยากรู้คำตอบมานาน จึงทำให้ผมได้วาดภาพนี้มา
- การระบายสีเป็นเหมือนการได้ระบายอารมณ์ความรู้สึกของเราออกมา
- การวาดภาพทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดในการเรียน เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดแง่มุมดีๆ ในการใช้ชีวิต สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ตัวเองกำลังคิดอยู่
- ตอนแรกรู้สึกเครียดเพราะไม่ชอบศิลปะ แต่พอได้ลองทำก็รู้สึกดีและสนุกมากขึ้น
- ได้เกิดสมาธิและจินตนาการทำให้อารมณ์ดีขึ้น เป็นการฝึกอารมณ์ทำให้สงบนิ่ง มีภาวะอารมณ์ที่ดี
- รู้สึกว่าการวาดภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- การวาดภาพทำให้เราสบายใจ สร้างสรรค์จินตนาการของตนเอง สะท้อนแง่คิดและมุมมองต่างๆ ของอารมณ์เรา การวาดภาพเป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ถ้าอารมณ์ไม่ดีภาพที่วาดออกมาก็จะไม่สวย ถ้าอารมณ์ดีภาพที่วาดออกมาก็จะได้ตามที่ต้องการ
- การวาดภาพเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจถึงเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้วาดภาพได้สวยยิ่งขึ้น ทำให้อยากเข้ามาร่วมกิจกรรมนี้อยู่บ่อยๆ
- ได้เรียนรู้ว่าการวาดภาพไม่ต้องใช้ความคิดเพียงแต่ต้องใช้จินตนาการและอารมณ์ประกอบ ความรู้สึกตอนที่วาดรูปคือการมีสมาธิซึ่งจะทำให้รูปที่ออกมาน่าพอใจ
- ได้ฝึกความอดทนเวลาที่ได้ภาพออกมาไม่น่าพอใจ
- ทำให้รู้สึกว่าได้มีเวลาทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต การวาดภาพทำให้จิตใจเราเย็นลง และมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
- เกิดความรู้สึกอบอุ่นในจิตใจ ที่ได้นึกถึงสถานที่สบายใจและคุ้นเคย - ได้อยู่กับความคิดของตนเอง
ประโยชน์ของศิลปะ, ศิลปะเพื่อชีวิต, ศิลปะเพื่อสุขภาพ
- ได้ใช้ความคิดที่เป็นอิสระ รู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเอง
- เป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายและเป็นช่วงเวลาที่ดีต่อความทรงจำมากๆ
- ได้รู้สึกถึงการมีอิสระของความคิด ถึงแม้ภาพที่วาดออกมาจะไม่สวยนัก แต่ก็เป็นการแสดงออกของความคิดที่เป็นตัวของเราเอง
- ทำให้เราได้รู้จักความคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเองในขณะที่ทำงานศิลปะ
- เป็นช่วงเวลาที่ได้นึกถึงเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นภายในจิตใจอย่างมีสติและรอบคอบ
- ก่อให้เกิดสมาธิขึ้นมาในจิตใจ ทำให้รู้จักการดูแลและบำบัดความเครียดด้วยตนเอง
- ทำให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจในขณะที่กำลังวาดภาพศิลปะ
- ทำให้ได้ย้อนรำลึกถึงความสัมพันธ์ในอดีตของตนเองกับบุคคลอันเป็นที่รักแม้ว่าท่านจะจากไปแล้ว ศิลปะช่วยให้คิดถึงบุคคลอันเป็นที่รักมากขึ้นและจะคิดถึงตลอดไป
- ทำให้เราได้นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ที่เราได้ลืมมันไป ศิลปะทำให้เราได้ย้อนไปในอดีตและรู้สึกดีที่ได้คิดถึงมันอีกครั้ง
- รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมการวาดภาพ แม้ครั้งแรกจะรู้สึกไม่อยากวาดแต่การได้แลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกจากการวาดภาพกับเพื่อนทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุขมาก
- ทำให้คิดถึงความรู้สึกดีๆ ในอดีตที่กำลังจะหายไป การวาดภาพทำให้เข้าใจในสิ่งที่มันเกิดและคิดว่าในอนาคตจะทำให้ความรู้สึกดีๆ นี้กลับคืนมาอีกครั้ง
- การวาดภาพทำให้นึกถึงในอดีตที่มีความสุข เมื่อนึกถึงภาพเหล่านี้เมื่อใดก็ยิ้มออกมาทุกครั้ง
- ตอนแรกรู้สึกไม่ค่อยชอบการวาดภาพ แต่ต่อมาเมื่อได้วาดและบรรยายถึงภาพที่ต้องการสื่อออกมากลับทำให้รู้สึกดีที่ได้เล่าถึงที่มา เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจตลอดเวลาแต่ไม่มีโอกาสได้พูด เมื่อได้พูดแล้วรู้สึกดี สบายใจขึ้น
- การวาดภาพทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ได้คิดถึงในอดีต คิดถึงคนที่ไม่ได้พูดคุยด้วยและรู้สึกมีความสุขที่ได้วาดภาพออกมา
- การวาดภาพทำให้จิตของเรา ความคิดของเราได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับเรื่องราวในอดีตที่เราเคยทำในที่นั้นๆ การแต่งเติมภาพบางครั้งก็ทำให้เราคิดได้ว่าบางอย่างมันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจจะให้เป็น
- ศิลปะทำให้จิตใจเราได้ปลดปล่อย ผ่อนคลาย นึกถึงสิ่งเก่าๆ ที่ผ่านมา มีสติ ได้คิดและมองเห็นความสำคัญของบางสิ่งที่เรานึกถึง และได้รับรู้ถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นในใจ
- ในขณะที่วาดภาพเป็นเวลาที่ได้ย้อนกลับไปในเหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในครอบครัว มีทั้งสุข ทุกข์ เศร้า อบอุ่น ดีใจ เสียใจ ณ สถานที่แห่งนั้นและได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
- รู้สึกว่ามีรอยยิ้มผุดขึ้นในใจ มีความสุขมาก การวาดภาพจะช่วยสื่อถึงความรู้สึกของเราได้ดีกว่าการพูดออกมา
- ได้เกิดการจินตนาการย้อนกลับไปในอดีต มีทั้งเหตุการณ์บางอย่างก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี น่าจดจำและไม่น่าจดจำปะปนกันไป การวาดภาพทำให้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในความทรงจำออกมาทำให้เรานึกถึงเรื่องดีๆ ในอดีตและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
- ศิลปะช่วยให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ทำให้เรื่องราวเครียดๆ ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้หายไป ความคิดโล่ง โปร่งสบาย จิตใจเป็นสมาธิ ได้เกิดการจินตนาการ ลืมเรื่องๆ เครียดๆ ที่มีอยู่จนหมดสิ้น
- รู้สึกว่าศิลปะช่วยเติมพลังในสมองให้เกิดขึ้นและมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น
- การวาดรูปทำให้มีสมาธิ ลืมเรื่องราวที่รู้สึกไม่ดีที่ติดอยู่ในใจ กลับไปเป็นเด็กที่ไม่มีเรื่องหนักใจให้คิด รู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด ได้ปลดปล่อย
- รู้สึกได้ถึงความรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่วาดภาพ ได้นึกถึงภาพในอดีต สิ่งที่ดีๆ เหมือนได้หวนกลับไปสู่อดีตในวันที่มีความสุขอีกครั้ง
- ศิลปะทำให้ได้รู้ถึงความรู้สึกขอตัวเอง ได้อยู่กับตัวเอง รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ได้เกิดการจินตนาการและลืมเรื่องราวที่ทำให้เกิดความเครียด
- จากการที่เรียนหนักมาทั้งวันมาแล้ว การวาดภาพช่วยให้รูสึกผ่อนคลายละเติมพลังให้มีความรู้สึกมีแรงสู้ในการเรียนวิชาต่อไป
- แม้ว่าเราจะวาดภาพที่ไม่ได้มีสีสันที่สวยมากนัก แต่มันก็ดูสวยด้วยคุณค่าของสิ่งที่อยู่ในภาพ ได้มีรอยยิ้มเกิดขึ้นในใจ ได้ปล่อยวาง ปลดปล่อยความรู้สึกในใจออกมา ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น
- ได้มองเข้าไปในจิตใจตนเองว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร นึกถึงสิ่งใด เป็นการทำให้จิตใจเราเปิดกว้างขึ้น ได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
- ได้ผ่อนคลาย มีสมาธิ
- สนุกสนาน
- รู้สึกเพลิดเพลิน
- เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ ได้ผ่อนคลายความเครียด
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน
- ได้ลืมเรื่องราวเครียดๆ
- ได้นึกย้อนถึงตัวเอง
- สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเครียดที่ไม่สามารถที่จะบอกหรือปรึกษาใครได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกไปเป็นภาพ
- ทำให้มีสมาธิอยู่กับงาน ได้ปลดปล่อยความคิดของตนเอง ทำให้ไม่รู้สึกเครียด
- ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ทำให้หายเครียดและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
- คลายเครียด สร้างความสนุกสนาน
- ทำให้ได้รู้ปัญหาของตัวเองว่ากำลังเผชิญกับอะไร
- ทำให้เกิดสมาธิอยู่กับชิ้นงาน
- ทำให้ได้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก ผ่อนคลายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตัวเอง ได้สร้างสรรค์ งานศิลปะสวยๆ
- ได้เกิดแง่คิดดีๆ ในชีวิต
- ทำให้เราได้อยู่กับตนเอง ได้คิดว่าขณะนี้ใจเราอยู่ที่ไหน คิดอะไรและถ่ายทอดออกมาทางการวาดรูป
- เกิดความสนุกกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ สร้างสีสันของการแลกเปลี่ยนภาพแห่งความประทับใจ
- เป็นการปลดปล่อยจินตนาการ รับรู้และเข้าใจความคิดของเพื่อน
- ได้แง่มุมของความคิด ฝึกการคิดและการจินตนาการ
- รู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะวาดภาพ
- เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และพอใจกับผลงานที่ออกมา
- ได้เกิดการเรียนรู้เทคนิคการใช้สีแบบใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
- คลายเครียด ได้พักผ่อนทางด้านจิตใจ
- งานศิลปะอยู่ที่มุมมองของคน และศิลปะก็ได้แสดงถึงก้นบึ้งของจิตใจ
- ทำให้รู้ถึงสิ่งที่ตัวเองคิด เป็นการผ่อนคลายและปล่อยจิตใจ รู้สึกสบายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตนเอง ทำให้รู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ตนเองแสดงออกได้อย่างอิสระ
- ขณะที่ระบายสีทำให้เรามีสมาธิ สนใจในภาพที่เรากำลังระบายสีอยู่ ทำให้เราไม่คิดหรือกังวลเรื่องอื่น นอกจากภาพของเรา เพราะเรากำลังคิดว่าจะสร้างสรรค์ภาพของเราออกมาอย่างไร ทำให้มีสมาธิและสติอยู่กับตัวตลอดเวลา
- รู้สึกเพลิดเพลินและพอใจกับภาพ แม้ว่ามันจะไม่สวยงามเหมือนเพื่อนคนอื่น แต่ก็ดีใจที่ทำได้สำเร็จ และจะลองใช้วิธีนี้กับตัวเองอีกเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ
- รู้สึกผ่อนคลายมากทำให้อยากหยุดเวลาไว้กับการระบายสี แต่พอหมดเวลาก็รู้สึกใจหาย
- ทำให้มีอารมณ์ผ่อนคลายมากขึ้น ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ข้างในที่บางครั้งพูดออกมาไม่ได้
- ได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะได้บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้วาดอกมา
- เป็นการบำบัดความเครียดที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
- ทำให้รู้ว่าศิลปะสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้สึกและความคิด
- ได้วาดรูปตามจินตนาการของตนเอง แม้ผลงานที่ออกมาจะไม่สวยหรือดูดีเหมือนของคนอื่น แต่ก็ภูมิใจ
- จากก่อนวาดรู้สึกเหมือนสมองมันตื้อๆ แต่พอได้ลงมือทำแล้วก็รู้สึกว่าสมองมันเบาลง รู้สึกโล่งขึ้น ได้ผ่อนคลาย และเพลิดเพลิน
- ก่อนทำงานศิลปะ เพิ่งรู้คะแนนสอบ ปรากฏว่าสอบตกเลยรู้สึกเครียด แต่พอได้ลงมือวาดรูปรู้สึกดีขึ้นบ้าง เพราะได้พูดคุยสนุกสนานกับเพื่อน
- ทำให้ได้รู้สึกถึงการจดจ่อกับการสร้างสรรค์ผลงาน
- ได้เรียนรู้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งนั้น ต้องใช้สมาธิและมีจุดสนใจอยู่ที่ผลงาน ทำให้ไม่เครียด
- รู้สึกเหมือนได้ย้อนไปในตอนที่ยังเป็นเด็ก ขณะที่วาดทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ ที่จะสร้างสรรค์ผลงานจนลืมความกังวลใจต่างๆ ไปได้โดยไม่รู้ตัว เกิดความรื่นรมย์ในใจ ที่ได้เห็นสีสันสวยงาม ได้ปล่อยความคิดไปตามผลงานที่กำลังทำ
- สนุกกับการได้เลือกสีสันให้กับธรรมชาติของตัวเอง
- ทำให้ได้มุมมองกับการใช้ศิลปะผ่อนคลายความเครียด
- รู้สึกได้ระบายอารมณ์ไปกับการวาดภาพ คิดหรือรู้สึกอะไรก็ปลดปล่อยไปกับสีที่เราเลือกใช้
- สามารถบอกอารมณ์ต่างๆ ผ่านภาพวาดของเราเองได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจจากสถานที่ที่เคยไปเที่ยวและมีความทรงจำดีๆ ลงไปในภาพที่วาด
- ตอนวาดรูปรู้สึกอารมณ์ดีมากๆ รู้สึกว่าไม่มีคำถามอะไรเกิดขึ้นในสมองเลย ปลอดโปร่งมาก
- การวาดภาพทำให้ผมได้รู้คำตอบของคำถามที่ผมไม่เคยเข้าใจและก็อยากรู้คำตอบมานาน จึงทำให้ผมได้วาดภาพนี้มา
- การระบายสีเป็นเหมือนการได้ระบายอารมณ์ความรู้สึกของเราออกมา
- การวาดภาพทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดในการเรียน เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดแง่มุมดีๆ ในการใช้ชีวิต สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ตัวเองกำลังคิดอยู่
- ตอนแรกรู้สึกเครียดเพราะไม่ชอบศิลปะ แต่พอได้ลองทำก็รู้สึกดีและสนุกมากขึ้น
- ได้เกิดสมาธิและจินตนาการทำให้อารมณ์ดีขึ้น เป็นการฝึกอารมณ์ทำให้สงบนิ่ง มีภาวะอารมณ์ที่ดี
- รู้สึกว่าการวาดภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- การวาดภาพทำให้เราสบายใจ สร้างสรรค์จินตนาการของตนเอง สะท้อนแง่คิดและมุมมองต่างๆ ของอารมณ์เรา การวาดภาพเป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ถ้าอารมณ์ไม่ดีภาพที่วาดออกมาก็จะไม่สวย ถ้าอารมณ์ดีภาพที่วาดออกมาก็จะได้ตามที่ต้องการ
- การวาดภาพเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจถึงเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้วาดภาพได้สวยยิ่งขึ้น ทำให้อยากเข้ามาร่วมกิจกรรมนี้อยู่บ่อยๆ
- ได้เรียนรู้ว่าการวาดภาพไม่ต้องใช้ความคิดเพียงแต่ต้องใช้จินตนาการและอารมณ์ประกอบ ความรู้สึกตอนที่วาดรูปคือการมีสมาธิซึ่งจะทำให้รูปที่ออกมาน่าพอใจ
- ได้ฝึกความอดทนเวลาที่ได้ภาพออกมาไม่น่าพอใจ
- ทำให้รู้สึกว่าได้มีเวลาทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต การวาดภาพทำให้จิตใจเราเย็นลง และมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
- เกิดความรู้สึกอบอุ่นในจิตใจ ที่ได้นึกถึงสถานที่สบายใจและคุ้นเคย - ได้อยู่กับความคิดของตนเอง
คำค้นหา : | ประโยชน์ของศิลปะ |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ประโยชน์ของศิลปะ,
ศิลปะเพื่อชีวิต,
ศิลปะเพื่อสุขภาพ
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีลอยกระทง |
ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า \"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย...\" เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา \"มักจะ\" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ \"กระทง\" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย
ประเพณีลอยกระทง, ลอยกระทง, วันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา \"มักจะ\" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ \"กระทง\" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย
คำค้นหา : | ประเพณีลอยกระทง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ประเพณีลอยกระทง,
ลอยกระทง,
วันลอยกระทง
ประเพณีกำฟ้า บ้านน้ำจั้น
ประเพณีกำฟ้า
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีกำฟ้า |
ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน คำว่า ”กำ” ในภาษาพวน หมายถึง การนับถือสักการะ คำว่า “ฟ้า” หมายถึง เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ผู้อยู่สูงเทียมฟ้า หรือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น คำว่า “กำฟ้า” จึงหมายถึง การนับถือการบูชาฟ้า
มีตำนานเล่าต่อๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน หมู่บ้านน้ำจั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม) เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวย และมีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้
สำหรับในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระและร่วมกันใส่บาตรข้าวหลามข้าวจี่ ตอนบ่ายจนถึงกลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหม่าเบี้ย ต่อไก่ ไม้อื่อคร่อมเส้า ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า และในช่วงเวลากำฟ้านั้น คนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวจะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน โดยมีคำทำนาย ดังนี้
เสียงฟ้าร้อง หมายถึง ฟ้าเปิดประตูน้ำ
ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะตกดี ทำนาจะได้ข้าวดี
ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้งข้าวกล้าในนาจะเสียหาย ชาวบ้านจะอดเกลือ
ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยได้ผล นาในที่ลุ่มดี นาในที่ดอนจะเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเดือดร้อน เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท รบราฆ่าฟันกัน
ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ชาวบ้านจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย
หลังจากำฟ้า 1 สัปดาห์ จะไปทำบุญที่วัดอีกครั้งหนึ่งโดยนำดุ้นฟืนที่ติดไฟ 1 ดุ้น ไปทิ้งตามแม่น้ำลำคลองให้ไหลไปตามสายน้ำ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และเป็นการบอกกล่าวแก่เทวดาผีฟ้าว่าหมดเขตกำฟ้าแล้ว
ปัจจุบัน งานกำฟ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากบ้านเมืองเจริญขึ้น การทำบุญต่างๆ ได้รวบรัดตัดรายละเอียดของพิธีลงไป แต่ก็ใช่ว่าจะลดความสำคัญลง ฉะนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่ชาติไทย สืบไป
ประเพณีกำฟ้า, บ้านน้ำจั้น, ประเพณีภาคกลาง
มีตำนานเล่าต่อๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน หมู่บ้านน้ำจั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม) เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวย และมีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้
สำหรับในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระและร่วมกันใส่บาตรข้าวหลามข้าวจี่ ตอนบ่ายจนถึงกลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหม่าเบี้ย ต่อไก่ ไม้อื่อคร่อมเส้า ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า และในช่วงเวลากำฟ้านั้น คนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวจะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน โดยมีคำทำนาย ดังนี้
เสียงฟ้าร้อง หมายถึง ฟ้าเปิดประตูน้ำ
ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะตกดี ทำนาจะได้ข้าวดี
ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้งข้าวกล้าในนาจะเสียหาย ชาวบ้านจะอดเกลือ
ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยได้ผล นาในที่ลุ่มดี นาในที่ดอนจะเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเดือดร้อน เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท รบราฆ่าฟันกัน
ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ชาวบ้านจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย
หลังจากำฟ้า 1 สัปดาห์ จะไปทำบุญที่วัดอีกครั้งหนึ่งโดยนำดุ้นฟืนที่ติดไฟ 1 ดุ้น ไปทิ้งตามแม่น้ำลำคลองให้ไหลไปตามสายน้ำ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และเป็นการบอกกล่าวแก่เทวดาผีฟ้าว่าหมดเขตกำฟ้าแล้ว
ปัจจุบัน งานกำฟ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากบ้านเมืองเจริญขึ้น การทำบุญต่างๆ ได้รวบรัดตัดรายละเอียดของพิธีลงไป แต่ก็ใช่ว่าจะลดความสำคัญลง ฉะนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่ชาติไทย สืบไป
คำค้นหา : | ประเพณีกำฟ้า |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
บ้านน้ำจั้น,
ประเพณีกำฟ้า,
ประเพณีภาคกลาง
อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ประเพณีไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย |
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์อย่างแยกแยะไม่ได้ ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นตามภาคต่างๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ชุมชนให้ความนับถือ เมื่อมีการจัดพิธีดังกล่าวขึ้น คนในชุมชนที่มาร่วมพิธีจะเกิดความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการนำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องหลักที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโดยถ่องแท้
พิธีกรรมตามพจนานุกรมฯ ให้ความหมายไว้ว่า “พิธีกรรม” หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา
พิธีกรรม คือ การกระทำที่คนเราสมมติ ขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป เช่น พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่ง พิธีกรรม หมายถึง พฤติกรรม ทีมนุษย์พึงปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตามต่างก็มีการปฏิบัติต่อศาสนาของตน ตามความเชื่อและความศรัทธาของตนเองในแต่ละศาสนาจึงก่อให้เกิดเป็น “พิธีกรรม” ทางศาสนาด้วยความเชื่อและความศรัทธา
ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียม แบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น “ขนบ” มีความหมายว่า ระเบียบ แบบอย่าง “ธรรมเนียม” มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติ ที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
พิธีกรรมและประเพณี จัดเป็นจารีตประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมา นับว่าเป็นสมบัติที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ความรู้แก่เยาวชนและองค์กรภาครัฐทุกส่วน ให้สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ หมายความว่า ทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เกิดความชำนาญและแนะนำผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือการปฏิบัติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น มีความรู้ในการทำพิธีอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้สังคมไทยมีจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม
อนุรักษ์, สืบทอดวัฒนธรรม, ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการนำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องหลักที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโดยถ่องแท้
พิธีกรรมตามพจนานุกรมฯ ให้ความหมายไว้ว่า “พิธีกรรม” หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา
พิธีกรรม คือ การกระทำที่คนเราสมมติ ขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป เช่น พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่ง พิธีกรรม หมายถึง พฤติกรรม ทีมนุษย์พึงปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตามต่างก็มีการปฏิบัติต่อศาสนาของตน ตามความเชื่อและความศรัทธาของตนเองในแต่ละศาสนาจึงก่อให้เกิดเป็น “พิธีกรรม” ทางศาสนาด้วยความเชื่อและความศรัทธา
ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียม แบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น “ขนบ” มีความหมายว่า ระเบียบ แบบอย่าง “ธรรมเนียม” มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติ ที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
พิธีกรรมและประเพณี จัดเป็นจารีตประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมา นับว่าเป็นสมบัติที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ความรู้แก่เยาวชนและองค์กรภาครัฐทุกส่วน ให้สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ หมายความว่า ทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เกิดความชำนาญและแนะนำผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือการปฏิบัติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น มีความรู้ในการทำพิธีอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้สังคมไทยมีจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม
คำค้นหา : | ประเพณีไทย |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย,
สืบทอดวัฒนธรรม,
อนุรักษ์
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม
จากการศึกษาประเด็นหลัก ๕ ประเด็นหลักข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าคือ สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมไทยซึ่งจะนำมาซึ่งความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยนัยยะของ “วัฒนธรรม” หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน คือจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ การประยุกต์ใช้จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมมือกัน
ปรัชญา, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม
จากการศึกษาประเด็นหลัก ๕ ประเด็นหลักข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าคือ สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมไทยซึ่งจะนำมาซึ่งความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยนัยยะของ “วัฒนธรรม” หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน คือจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ การประยุกต์ใช้จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมมือกัน
คำค้นหา : | ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ปรัชญา,
พอเพียง,
เศรษฐกิจพอเพียง
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง
“พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง”
“...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต
รากฐานความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง
สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม
และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากวารสารชัยพัฒนา ฉบับประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒
“...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย
ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ
มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง
ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔ ธันวาคม
๒๕๔๑
“...ความพอเพียง นี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
จะต้องทอเสื้อผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ
จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้
แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
“...วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไปมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด
เนื่องมาจากความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ
ของโลกยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง
ประคับประคองตัวเรามากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่โดยประหยัด
เพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี...”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๑
“เศรษฐกิจพอเพียง”
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕
ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
คำค้นหา ประเพณีไทย :
พระราชดำรัส,
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,
เศรษฐกิจพอเพียง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เศรษฐกิจพอเพียง
วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง
ประเพณีไทย
ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
เกี่ยวกับเรา ประเพณีไทย
เข้าร่วม Google+ ประเพณีไทย
ประเพณีไทย โดย anirud
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ความรู้ ประเพณีไทย
-
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลา...
-
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย ห ลายๆ ท่าน หลายโรงเรียนในช่วงนี้ อาจจะกำลังตามหารูปภาพที่จะใช้ในการวาดประกวดใน หัวข้อ " ภาพวาดประกวดประเพณี...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมท...
-
เรียงความ ประเพณี ไทย การเขียนเรียงความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเพณีไทย ก่อนที่เราจะเขียนในหัวข้อนี้ออกมาได้ และทำให้ผู้ที่อ่านเรียงควา...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย หมายถึง กิจกรรมที่มีการกระทำสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์ของไทยพร้อมทั้งมีความสำคัญต่อสังคมไทย เช่น...
-
การวาดภาพระบายสี การวาดภาพระบายสี 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 4 – ป....
-
ศิลป์สร้างสรรค์ การแข่งขัน “ ศิลป์สร้างสรรค์” 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดั...
-
ประโยชน์ของศิลปะ ประโยชน์ของศิลปะ - ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง - ได...
-
เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 >>> เกณฑ์การแข่งขันล่าสุด <<< งานศิ...
-
ประโยชน์ของดนตรี ประโยชน์ของดนตรี ดนตรี คำว่าดนตรีนั้นมีความหมายมากมายแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลแต่ดิฉันให้ความหมายของ...
คำค้นหา ประเพณีไทย
กลอนประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
การประสมวงดนตรีไทย
(1)
การรักษาสัมพันธภาพ
(1)
การละเล่นไทย
(3)
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
(1)
การละเล่นภาคใต้
(1)
การละเล่นว่าว
(1)
การเล่นโพงพาง
(1)
การเล่นว่าว
(1)
การเล่นว่าวไทย
(1)
การวาดภาพ
(1)
การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ
(1)
การสร้างสัมพันธภาพ
(1)
การอยู่ร่วมกัน
(1)
การอยู่ร่วมกันในสังคม
(2)
เกณฑ์การแข่งขัน
(1)
เกษตรแบบผสมผสาน
(1)
ขนบธรรมเนียม
(2)
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
(1)
เขียนเรียงความ
(1)
แข่งขันดนตรีไทย
(1)
แข่งขันเรือยาว
(2)
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
(1)
แข่งดนตรีไทย
(1)
ครอบครัวพอเพียง
(1)
ครอบครัวพอเพียง เรียงความ
(1)
ความคิดและการแสดงออก
(1)
ความเป็นไทย
(1)
ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
คำขวัญวันเด็ก
(1)
คำขวัญวันเด็ก 2559
(1)
โคมลอย
(1)
งานศพ
(1)
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
(1)
ดนตรี
(1)
ดนตรีไทย
(2)
ทหารเรือ
(1)
ทักษะการเขียนเรียงความ
(1)
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
(1)
ทันตแพทย์ในดวงใจ
(1)
ทำขวัญ
(1)
ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ
(1)
บทความเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
บ้านน้ำจั้น
(1)
บุญข้าวประดับดิน
(1)
บุญข้าวสาก
(1)
บุญเดือน 9
(1)
บุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณี
(6)
ประเพณีกำฟ้า
(1)
ประเพณีแข่งขันเรือยาว
(1)
ประเพณีทหารเรือ
(1)
ประเพณีทำขวัญ
(1)
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
(1)
ประเพณี ไทย
(9)
ประเพณีไทยไทย
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557
(1)
ประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
ประเพณีภาคกลาง
(1)
ประเพณีภาคใต้
(1)
ประเพณีภาคเหนือ
(1)
ประเพณียี่เป็ง
(1)
ประเพณีลอยกระทง
(1)
ประโยชน์ของดนตรี
(1)
ประโยชน์ของศิลปะ
(1)
ประโยชน์ดนตรี
(1)
ประวัติ เพลงชาติไทย
(1)
ปรัชญา
(1)
ผูกเสี่ยว
(1)
พระราชดำรัส
(1)
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(1)
พอเพียง
(3)
พิธีจัดงานศพ
(1)
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย
(1)
เพลงชาติไทย
(1)
ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557
(1)
ภาพวาด
(1)
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย
(1)
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
(3)
ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(3)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
(1)
ภูมิปัญญาไทย
(1)
มโหรี
(1)
มโหรีพื้นบ้าน
(1)
มะโย่ง
(1)
ระดับประเทศ
(1)
ระเบียบประเพณีไทย
(1)
เรียงความ
(3)
เรียงความ ประเพณี ไทย
(2)
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
(2)
เรียนวาดภาพ
(1)
เรือยาวสกลนคร
(1)
โรงเรียน
(1)
ลอยกระทง
(1)
ลอยกระทงภาคเหนือ
(1)
ลาวบุญคูนข้าว
(1)
วงมโหรีพื้นบ้าน
(1)
วันเด็ก 2559
(1)
วันเด็กแห่งชาติ
(1)
วันที่ห้ามเผาศพ
(1)
วันผีกิน
(1)
วันลอยกระทง
(1)
วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ว่าว
(1)
ว่าวควาย
(1)
ว่าวจุฬา
(1)
ว่าวไทย
(1)
ว่าวปักเป้า
(1)
ว่าว ภาษาอังกฤษ
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้
(1)
ศิลปหัตถกรรม 2557
(1)
ศิลปหัตถกรรม 64
(1)
ศิลปะ
(4)
ศิลปะกับมนุษย์
(1)
ศิลปะในสังคมไทย
(4)
ศิลปะบำบัด
(3)
ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
(2)
ศิลปะเพื่อชีวิต
(1)
ศิลปะเพื่อสุขภาพ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียง
(8)
เศรษฐกิจพอเพียง คือ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
(1)
สกลนคร 2557
(1)
สมัยกรุงสุโขทัย
(1)
สอนวาดภาพ
(1)
สังคม
(1)
สัปเหร่อ
(1)
สัมพันธภาพ
(1)
สัมพันธภาพกับผู้อื่น
(1)
สัมพันธภาพที่ดี
(1)
สืบทอดวัฒนธรรม
(1)
หลักการอยู่ร่วมกัน
(1)
แห่ดาว
(1)
แห่ดาว ท่าแร่
(1)
แห่ดาว สกลนคร
(1)
อนุรักษ์
(1)
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
(1)
เอกลักษณ์ไทย
(1)