Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript

เรียงความประโยชน์ของดนตรี

ประโยชน์ของดนตรี
ประโยชน์ของดนตรี
ประโยชน์ของดนตรี
ดนตรี คำว่าดนตรีนั้นมีความหมายมากมายแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลแต่ดิฉันให้ความหมายของคำว่าดนตรีว่าดนตรีคือกีฬาประเภทหนึ่งที่ช่วยบรรเทา เยียวยาจิตใจของทุกคนเมื่อใดเราได้ฟังดนตรีทำให้จิตใจของเราสะอาดผ่อนคลายที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของแต่ละคนอีกด้วยเพราะฉะนั้นเมื่อใดที่เราได้ฟังดนตรีแล้วจะทำให้เราผ่อนคลายจากความเครียดความกังวลทั้งหลาย และเมื่อเราไม่สบายใจดนตรีจะช่วยให้เราสบายใจขึ้นและดนตรีเปรียบเสมือนเพื่อนคนหนึ่งของเราช่วยให้เราคลายความกังวลจากความทุกได้

ดนตรีไทยคือดนตรีประจำชาติของประเทศไทยเราควรที่จะอนุรักษ์ดนตรีไทย ภาษาไทยเอาไว้ให้คงอยู่คู่คนไทยตราบนานเท่านานกนตรีไทยคือดนตรีประเภทหนึ่งที่มีหลากหลายชนิดและแต่ละชนิดก็แตกต่างกันออกไปดนตรีไทยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ คือ ดีด สี ดี เป่า ดนตรี4 ประเภทนี้จะแตกต่างกันออกไปและทำนองของเสียงดนตรีก็จะแตกต่างหรือคล้ายกันก็ได้ และเสียงของดนตรีก็จะมีทั้ง แหลม ทุ่ม นุ่มนวล และคนส่วนใหญ่ก็มักจะนำเอาดนตรีไทยมาเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมหรือประเพณีและเทศกาลต่างๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไป งานกีฬาสีโรงเรียน หรือ งานบวช เป็นต้น และดิฉันอยากให้ทุกคนจดจำ ประเพณี ดนตรี หรือแม้แต่ภาษาของประเทศไทยเอาไว้ตราบนานเท่านาน

ดนตรีสากลคือดนตรีสมัยใหม่ที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมเล่นในสมัยนี้และดนตรีสากลจะมีทำนอง หรือจังหวะ ที่ไพรเราะและมีการผสมผสานระหว่างดนตรีกับดนตรีได้อย่างลงตัวและผู้คนในสมัยนี้มักจะชอบดนตรีสากลมากกว่าดนตรีไทยดนตรีสากลสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ คือ ดนตรีเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมโลหะ เครื่องกำกับจังหวะและเครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องดนตรีแต่ละประเภทมักจะมีลักษณะหรือเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปหรือคล้ายกันก็ได้และดนตรีสากลมักจะมีเสียงที่ไพรเราะเพราะเป็นดนตรีสากลที่ดัดแปลงขึ้นมาใหม่ให้ดูดี มีราคา และยังดูทันสมัยอีกด้วย ประเภทของดนตรีก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ คือ ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจำชาติ ดนตรีประจำชาติก็คล้ายกับดนตรีไทยที่ใช้ประกอบพิธีกรรมหรือประเพณีต่างๆ ที่เป็นประเพณีระดับประเทศ เช่น พิธีคล้ายวันเกิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น ส่วนดนตรีพื้นบ้านก็จะใช้ประกอบประเพณีในหมู่บ้าน เช่น กลองยาว พิณ ระนาด เป็นต้น หรือบางครั้งดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจำชาติอาจจะนำมาใช้ร่วมกันก็ได้เนื่องในประเพณีที่ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติ เป็นต้น ประโยชน์ของการเล่นดนตรีประโยชน์ของการเล่นดนตรีก้อมีหลายอย่างมากมาย คือ ดนตรีช่วยให้เราผ่อนคลายในยามที่เรามีความเครียดและไม่สบายใจถ้าเราได้เล่นดนตรีก้อจะทำให้เรารู้สึกสบายใจได้ นอกจากนี้แล้วยังช่วยในการบำบัดยาเสพติด(สำหรับคนที่ติดยาเสพติด) ยังบำบัดบุคคลที่เป็นโรคต่างๆ เช่น โรคที่มีสภาวะจิตไม่ปกติ โรคมะเร็งหรือโรคที่ไม่สามารถหายขาดได้ หรือแม้แต่โรคที่ไม่มีวันตื่นหรือลืมตาขึ้นมามองโลกได้อีกครั้งนอกจากนอนหลับอยู่บนเตียง การเล่นดนตรีมีประโยชน์มากถ้าเราใช้ดนตรีไปในทางที่ถูกต้องและการเล่นดนตรีต้องเล่นสิ่งที่เราสนใจเราจึงจะมีความสุขกับการเล่นดนตรีและทำให้ไม่เบื่ออีกด้วย

ข้อดีของการฟังดนตรีการฟังดนตรีจะทำให้เราได้ผ่อนคลาย จิตใจสงบ มีสมาธิ ถ้าเรามีความเครียดและมาฟังดนตรีจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้มากทีเดียวและทำให้เราได้คิดอะไรมากมายในระหว่างที่เรากำลังฟังดนตรีการฟังดนตรีเป็นการบำบัดที่ดีอย่างหนึ่ง เช่น ช่วยให้เราคลายความเครียดจากการเรียน และ คลายความเหนื่อยล้าจากการเล่นกีฬา ยังช่วยในการทำสมาธิ เป็นต้น และยังมีขอดีของการฟังดนตรีอีกอย่างหนึ่งคือ ช่วยให้เราได้ปลดปล่อยในเวลาที่เรามีความเครียดหรือความกังวลมากๆและเมื่อเราได้ปลดปล่อยก็จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น

ดนตรีมีหลากหลายประเภททั้งดนตรีสากลและดนตรีไทยและดนตรีทั้งสองประเภทนี้ยังมีความสำคัญต่อบุคคลในสมัยนี้มากเพราะดนตรีทั้งสองประเภทนี้ต่างมีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปหรือไม่อาจมีความสำคัญที่เท่ากันก็ได้และการที่เราฟังดนตรีก็ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายเมื่อเรามีความเครียด หรือเมื่อเราไม่สบายใจ กังวลใจ ไม่มีสมาธิ ดนตรีก็จะช่วยทำให้เราผ่อนคลาย มีสมาธิ คลายความกังวลใจได้มากทีเดียวในความคิดของดิฉันดนตรีคือเพื่อนคนหนึ่งที่คอยอยู่กับเราเวลาที่เราไม่มีความสุขและเมื่อเราไม่มีความสุขเพื่อนคนนี้ก็จะใช้ดนตรีมาทำให้เราได้ผ่อนคลายได้


คำค้นหา :

ประโยชน์ของดนตรี

ประโยชน์ของดนตรี, ประโยชน์ดนตรี, ดนตรี


ที่มา : ศริญญา จันทะพันธ์ ม.4/12 เลขที่ 18
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
บุคคล ผู้เกิดมาในโลกนี้ ไม่ว่ายากดีมีจน จะอยู่โดยลำพังแต่ผู้เดียวไม่ได้ จำต้องมีการคบหาสมาคมอยู่ร่วมกับผู้อื่น คนที่จะคบหาสมาคมอยู่ร่วมกันนั้น มีความแตกต่างกันออกไป คือเป็นคนชั่วก็มี เป็นคนดีก็มี การคบหาสมาคมนั้นย่อมมีผลแตกต่างกัน ถ้าคบหาสมาคมกับคนชั่ว ก็มีผลให้ได้รับความทุกข์ ถ้าคบคนดีก็มีผลให้ได้รับสุขเหมือนกัน ความทุกข์ความสุขจะเกิดมีขึ้นได้ เพราะการคบหาสมาคมอยู่ร่วมกันนั่นเองเป็นเหตุ

คำว่า คนชั่ว หมายถึง คนที่ดำรงชีพอยู่ด้วยอาการเพียงหายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ไม่ดำรงชีพอยู่ด้วยปัญญา โดยลักษณะของคนชั่ว จะมีความประพฤติชั่ว เป็นสัญลักษณ์ เมื่อคิดจะคิดแต่ความคิดชั่ว เมื่อพูดจะพูดแต่คำพูดชั่ว และเมื่อทำก็ทำแต่กรรมชั่ว คนพาลนั้นมีความประพฤติเป็นไปเพื่อตัดประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคตอย่างเดียว

ส่วนผู้ที่ดำเนินใน ประโยชน์ 2 อย่างในเบื้องต้นด้วยปัญญา ชื่อว่า คนดี มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นสัญลักษณ์ เป็นผู้รู้จักเหตุและผล ความประพฤติของบัณฑิตนั้นไม่วิปริตแปรผัน พึงเห็นสมด้วยพุทธภาษิตว่า บัณฑิตทั้งหลายอันความสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง อีก อย่างหนึ่ง คนที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 ประการ มีเว้นจากการฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้อยคนอื่น เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม อย่างนี้ชื่อว่าเป็นคนดี คนดีนั้นเป็นผู้คิดดี พูดดีและทำดีเป็นเครื่องหมาย ในคนชั่วและคนดี บุคคลผู้อยู่ร่วมสมาคมคบหาคนชั่ว ย่อมมีนิสัยของคนชั่วเป็นแบบอย่าง เพราะคนชั่วนั้น ย่อมแนะนำให้นิยมยินดีในทางทุจริตผิดศีลธรรม ส่วนคนผู้คบหาคนดีด้วยการเข้าไปมอบตนเป็นศิษย์ ยอมรับโอวาทคำสอน ไต่ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ย่อมจะมีคนดีเป็นแบบอย่าง เพราะคนดีย่อมจะแนะนำในทางที่สุจริตความดี

อนึ่ง ผู้ที่คบหาสมาคมกับคนชั่วแม้สิ้นกาลนาน คุ้มครองรักษาตนไม่ได้ มีแต่จะยังตนและผู้ทำตามคำของเขาให้พินาศฉิบหาย ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมไม่ดี ส่วนผู้ที่คบหาสมาคมกับคนดี อยู่ร่วมกับคนดีแม้เพียงครั้งเดียว ย่อมคุ้มครองรักษาตนไว้ได้ ทั้งเป็นเหตุให้ถึงความเจริญในประโยชน์ใหญ่น้อยได้ ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมดี ดังมีภาษิตที่ว่า บุคคลคบคนใดๆ เป็นคนดีหรือไม่ดีก็ตาม มีศีลหรือไร้ศีลก็ตาม เขาย่อมตกอยู่ในอำนาจของคนนั้นๆ โดยแท้ บุคคลทำคนเช่นใดให้เป็นมิตรและคบหาสนิทกับคนเช่นใด เขาย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันทำให้เป็นเช่นนั้น

ดังนั้น ผู้หวังความสุขความเจริญแก่ตน และพ้นจากภัยพิบัตินานาประการ อย่าได้คบหาสมาคมอยู่ร่วมกับคนพาล พึงหลีกเลี่ยงให้ห่างไกล แต่ควรจะคบหาสมาคมกับบัณฑิตให้ชิดใกล้ จะมีความปลอดภัยไร้ทุกข์ มีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

ที่มา : คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหารwatdevaraj@hotmail.com ที่มา... ฉบับที่ 6722 ข่าวสดรายวัน 25 เมษายน พ.ศ. 2552


คำค้นหา :

การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

หลักการ อยู่ ร่วม กัน, การอยู่ร่วมกันในสังคม, การ อยู่ ร่วม กัน ใน สังคม อย่าง มี ความ สุข
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาการทางสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิตและสุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

มนุษย์แต่ละคนถูกหล่อหลอมจากประสบการณ์ให้มีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 คน จึงต้องอาศัยความเข้าใจถึงปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อสัมพันธภาพที่มีระหว่างกัน เพื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายจะได้ประสบความสำเร็จในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

คุณค่าของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

บุคคลเรียนรู้จักตนเองได้จากการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น จากสัมพันธภาพนี้ บุคคลจะได้รู้จุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งเรียนรู้ความเป็นจริงของโลก โดยสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปโดยไม่บิดเบือน มีการยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นจริง ดังนั้นสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง การมีความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า และการมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้า และท้อแท้ในชีวิต และการมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลในการยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น อันได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจ

การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาทางการสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิต สุขภาพทางกายและสุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล บุคคลที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะรู้สึกว่าชีวิตมีค่า มีความหมาย และสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกว่าชีวิตอ้างว้างโดดเดี่ยว ไร้ความหมาย และนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารความเข้าใจ การยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

การเปิดเผยตนเอง และการไว้วางใจซึ่งกันและกันที่เหมาะสม เป็นทักษะที่ทำให้การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้เริ่มต้นขึ้นและมีการดำเนินต่อไป การเปิดเผยตนเองและการไว้วางใจซึ่งกันและกันที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสัมพันธภาพได้

การสื่อสารความเข้าใจ เป็นทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันของบุคคล ได้แก่ การฟัง การถาม การทวนเนื้อความ และการสะท้อนความรู้สึก

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะช่วยให้สัมพันธภาพได้มีโอกาสเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป เป็นสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้ ด้วยบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจต่อกัน




คำค้นหา :

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดี, ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ, การสร้างสัมพันธภาพ, สัมพันธภาพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การรักษา และการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน

การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น
การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น
การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น
เพื่อนเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากต่อชีวิตของวัยรุ่นเพราะเพื่อนจะมีส่วนร่วมแสดงความรู้สึกในทุกอารมณ์ เมื่อมีความสุขความทุกข์ ปัญหาความรัก หรือความเครียดในเรื่องการเรียน เป็นต้น หลักการสร้างและรักษาสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนที่สำคัญดังนี้

• หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และพยายามยุติความขัดแย้งนั้นด้วยสันติวิธี
• มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น
• ยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็นของเพื่อน
• สนใจดูแลเอาใจใส่ความรู้สึกและความต้องการของเพื่อน
• รับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
• มีความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างจากกลุ่มเพื่อน

การป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมายถึง กลุ่มโรคที่สามารถแพร่ ติดต่อกันได้ทางการร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อ เช่น โรคซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม การมโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน หูดหงอนไก่ เริมที่อวัยวะ เป็นต้น

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง เช่น ซื้อยามารับประทานเอง การไม่ไปพบหรือปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น โรค ซิฟิลิส ถ้ารักษาไม่ถูกต้องอาการของโรคจะดำเนินสู่ระยะร้ายแรง ทำให้ตาบอด หูหนวก สมองและสติปัญญาเสื่อม

การหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

• ด้านการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือกับผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงและผิดปกติ งดเว้นการสำส่อนทางเพศ และรู้จักการใช้ถุงยางอนามัย
• ด้านการใช้เข็มฉีดยาและการรับเลือด หลีกเลี่ยงการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การรับบริจาคเลือดควรตรวจสอบแหล่งการบริจาคเลือดที่มั่นใจเชื่อถือได้และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำ
• ด้านแบบแผนการดำเนินชีวิต หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการถูกข่มขืน หรือการอยู่ในที่เปลี่ยว หลีกเลี่ยงสถานที่หรือสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ



คำค้นหา :

การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น

สัมพันธภาพกับผู้อื่น, การสร้างสัมพันธภาพ, การรักษาสัมพันธภาพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557

เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557

>>> เกณฑ์การแข่งขันล่าสุด <<<





งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64 จังหวัดสกลนคร
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ วันที่ 13 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] ….. เพิ่มรายละเอียดเกณฑ์สวดมนต์แปล…..
Dowmload เสียงสวดมนต์ภาษาบาลีจากตัวอย่าง  -  เสียงของพระภิกษุชาวอังกฤษ        -  เสียงของพระภิกษุชาวไทย
  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ วันที่ 18 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] …….เพิ่มภาคผนวค โน๊ตเพลงดนตรีไทย………..
  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วันที่ 6 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]  …. แก้ไขแอโรบิก….
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วันที่ 18 สิงหาคม 2557  [คลิกที่นี่ ] …แก้เกณฑ์การแข่งขัน Impromptu Speech…
  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วันที่ 19 กรกฎาคม 2557  [คลิกที่นี่ ]
  ปฐมวัย วันที่ 30 มิถุนายน 2557  [คลิกที่นี่ ]
  การศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม)  วันที่ 29 กรกฎาคม 2557  [คลิกที่นี่ ]  …. เกณฑ์ใหม่…..
 การศึกษาพิเศษ (เฉพาะความพิการ) วันที่ 30 มิถุนายน 2557  [คลิกที่นี่ ]
อ้างอิงจาก : sillapa.net
อัพเดทล่าสุด วันที่ 18 สิงหาคม 2557

คำค้นหา : ศิลปหัตถกรรม จังหวัดสกลนครครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, เกณฑ์แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางและตะวันออก, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65, www.esan64.net, ศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64,ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางภาคตะวันออก, เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64, งานหัตถกรรมสกล, อีสาน64, งานศิลปหัตถกรรมครั้งที่64, เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรม 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2557, ศิลปหัตถกรรม ครั้งท่ 64, การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64, โหลดเกณฑ์งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศิลปหัตกรรมสกลนครครั้งที่ 64, เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ภาคเหนือ, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมภาคอีสาน ครั้งที่64, งานหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 64, ประกาศผลการแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรม วันที่ 18 สิงหาคม 2557, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน

ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาพื้นบ้านบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เพราะหมอยาเก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น หรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติเพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนสมัยก่อน ใช้ยาสมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิกง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงิน เครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษาคุณภาพและผีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากินมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถนาแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน

การลงแขกทำนาปลูกข้าวและปลูกสร้างบ้านเรือนก็เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียนมีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ คนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อยลงลงไป

การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ผลผลิตจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นำการพัฒนาหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน และการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม


คำค้นหา :

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาชาวบ้านในปัจจุบัน, ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคม, ภูมิปัญญาไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้นำ หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การสั่ง

แต่เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฎระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชนการละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ \"ผิดผี\" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น

ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การแลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง

ในชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางรักษาโรค บางคนทางการเพาะพืช บางคนทางการเลี้ยงสัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคนเก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความสามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี \"ค่าครู\" แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือเพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้นจะเก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว \"วิชา\" ที่ครูถ่ายทอดมาให้ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไปแต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ ด้วยวิธีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการสอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อนตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปีคนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือเก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเขาได้ปลา เขาจะทำกับเราเช่นเดียวกัน

ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด งานบุญกิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่างๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพพระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูสอนลูกหลานผู้ชายซึ่งรับใช้พระสงฆ์ หรือ \"บวชเรียน\" ทั้งนี้ก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาทของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป


คำค้นหา :

การอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคม, เศรษฐกิจพอเพียง, การอยู่ร่วมกัน, สังคม
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

พิธีจัดงานศพ

พิธีจัดงานศพ
พิธีจัดงานศพ
พิธีจัดงานศพ
การตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต การจัดงานศพให้แก่ผู้ตายนับเป็นประเพณีสุดท้ายเกี่ยวกับชีวิต จัดขึ้นตามพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ กลุ่มคนไทยเขมรที่นับถือศาสนาพุทธก็จะจัดพิธีศพตามหลักการของศาสนาพุทธซึ่งผสมผสานอยู่ระหว่างคตินิยมเชิงพุทธกับพราหมณ์

การทำโลงศพหรือหีบศพ ตามชนบทไม่นิยมซื้อโลงสำเร็จรูป แต่จะช่วยกันต่อโลงเองโดยนำไม้ประการฝาบ้านและกระดานพื้นบ้านของผู้ตายมาต่อเป็นโลงแล้วประดับด้วยกระดาษแก้วหลากสี นำมาตัดเป็นลวดลายต่างๆ การตั้งศพนิยมตั้งที่บ้านผู้ตาย ถ้าเป็นศพของญาติผู้ใหญ่จะตั้งไว้หลายวันตั้งแต่3 –7 วัน ศพเด็กหรือศพคนที่มีฐานะยากจนจะตั้งไว้ 1-3 วัน ก็จะทำพิธีฌาปนกิจ ในช่วงที่ตั้งศพสวดอภิธรรมที่บ้านจะมีประเพณีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกว่า “ลึงกาฮ” หมายถึงการเล่นทายเหรียญว่าจะออกหัวหรือก้อย โดยใช้เงินเหรียญหมุนแล้วครอบด้วยขัน ส่วนการแทงหรือการทายจะใช้เสื้อผ้า สิ่งของ ตลอดจนเครื่องประดับเท่าที่มีอยู่ขณะนั้น ไม่ได้เล่นได้เสียกันอย่างจริงจัง เมื่อเสร็จงานศพแล้วก็จะส่งคืน ส่วนใหญ่ผู้เล่นมักจะเป็นหนุ่มสาว ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้เกี้ยวพาราสีกัน

การเผาศพนิยมนำไปเผาที่ป่าช้าประจำหมู่บ้านหรือไม่ก็หัวไร่ปลายนาของผู้ตาย ผู้มีหน้าที่จัดพิธีศพซึ่งจะเป็นคนเดียวตั้งแต่แรกเริ่มเรียกว่า “อาจารย์” เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านพิธีและไสยเวทย์ที่เกี่ยวข้องกันเป็นอย่างดี พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2- 3 คน ผู้ช่วยเหล่านี้มีหน้าที่ตรงกับที่เรียกว่า “สัปเหร่อ” ภาษาถิ่นเรียกว่า “กีร์” หรือ “เกียร์” ชาวไทยเขมรมีการถือฤกษ์ยามการเผาศพเช่นเดียวกับชาวไทยในชนบททั่วไป คือ วันที่ห้ามเผาศพ คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 11 และวันแรม 6 ค่ำของทุกเดือน เนื่องจากวันดังกล่าวตำราของไทยเขมรเรียก “วันผีกิน” ถ้านำศพไปเผาในวันดังกล่าวอาจทำให้ญาติพี่น้องตายตามกันทันที นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามตามวันทั้ง 7 ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นด้วย


คำค้นหา :

พิธีจัดงานศพ

พิธีจัดงานศพ, งานศพ, สัปเหร่อ, วันผีกิน, วันที่ห้ามเผาศพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th