Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
วงมโหรีพื้นบ้าน
วงมโหรีพื้นบ้าน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
วงมโหรีพื้นบ้าน |
วงมโหรีพื้นบ้าน คือ การนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องดนตรีประเภทปี่พาทย์ บางชิ้นมาประสมกัน โดมีซอเป็นเครื่องดนตรีหลักใช้บรรเลงในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในวงมโหรีพื้นบ้านสุรินทร์ ประกอบด้วย ซอกลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนซออู้ แต่จะมีเสียงสูงกว่า ซออู้เล็กน้อย หรือเรียกว่า ซออู้เสียงกลาง, ปี่ไน, ซออู้, ซอด้วง, กลองสองหน้า, ฉิ่ง , ฉาบ
เพลงที่ใช้ประกอบในวงมโหรีจะมีเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ประเภทของเพลงขับร้องจะมีบทร้องโดยไม่มีท่ารำประกอบเช่น บทเพลงกันตบ เนื้อร้องจะเป็นบทสอนหญิง บทเพลงเขมรเป่าใบไม้ ส่วนบทเพลงที่มีท่ารำประกอบเช่น เพลงอมตูก(พายเรือ), เพลงมลปโดง(ร่มมะพร้าว), เพลงอายัยโบราณ, เพลงซองซาร(หมายถึงที่รัก) บทเพลงดังกล่าวจะมีการฟ้อนรำประกอบโดยเฉพาะ อายัยโบราณ เป็นเพลง ซองซาร ในการร้องจะเป็นการโต้ตอบระหว่างชายหญิง เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องจะเป็นภาษาเขมร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวบ้านและวงมโหรีพื้นบ้านยังมีบทบาทต่อชาวบ้านในด้านต่างๆเช่น เป็นเครื่องนันทนาการของสังคมชาวบ้านเป็นสื่อประสานสัมพันธ์ทางสังคม ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสมาพบปะกัน เกิดความใกล้ชิด สามัคคีกลมเกลียวขึ้นในชุมชน
วงมโหรีพื้นบ้าน, มโหรีพื้นบ้าน, มโหรี
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในวงมโหรีพื้นบ้านสุรินทร์ ประกอบด้วย ซอกลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนซออู้ แต่จะมีเสียงสูงกว่า ซออู้เล็กน้อย หรือเรียกว่า ซออู้เสียงกลาง, ปี่ไน, ซออู้, ซอด้วง, กลองสองหน้า, ฉิ่ง , ฉาบ
เพลงที่ใช้ประกอบในวงมโหรีจะมีเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ประเภทของเพลงขับร้องจะมีบทร้องโดยไม่มีท่ารำประกอบเช่น บทเพลงกันตบ เนื้อร้องจะเป็นบทสอนหญิง บทเพลงเขมรเป่าใบไม้ ส่วนบทเพลงที่มีท่ารำประกอบเช่น เพลงอมตูก(พายเรือ), เพลงมลปโดง(ร่มมะพร้าว), เพลงอายัยโบราณ, เพลงซองซาร(หมายถึงที่รัก) บทเพลงดังกล่าวจะมีการฟ้อนรำประกอบโดยเฉพาะ อายัยโบราณ เป็นเพลง ซองซาร ในการร้องจะเป็นการโต้ตอบระหว่างชายหญิง เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องจะเป็นภาษาเขมร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวบ้านและวงมโหรีพื้นบ้านยังมีบทบาทต่อชาวบ้านในด้านต่างๆเช่น เป็นเครื่องนันทนาการของสังคมชาวบ้านเป็นสื่อประสานสัมพันธ์ทางสังคม ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสมาพบปะกัน เกิดความใกล้ชิด สามัคคีกลมเกลียวขึ้นในชุมชน
คำค้นหา : | วงมโหรีพื้นบ้าน |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
มโหรี,
มโหรีพื้นบ้าน,
วงมโหรีพื้นบ้าน
ประเพณีไทยภาคใต้ การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง |
มะโย่ง เป็นศิลปะการละครร่ายรำอย่างหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีลักษณะของการผสมผสานทางพิธีกรรม ความเชื่อ การละคร นาฏศิลป์และดนตรีเข้าด้วยกัน มีความกลมกลืนกันเป็นศิลปะชั้นเลิศของมลายู มะโย่งจัดเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายู ที่สามารถชมกันได้ในรัฐกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี ซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทสมาเลเซีย บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไกลจนถึงเกาะสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซีย คนไทยเชื้อสายมลายูเรียกการละเล่นมะโย่งว่า “เมาะโย่ง” ตามสำเนียงภาษามลายูถิ่นปัตตานี ซึ่งปัจจุบันมะโย่งยังคงมีการแสดงอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ประวัติความเป็นมาของมะโย่ง
ประวัติความเป็นมาของมะโย่งมิอาจระบุได้แน่ชัดว่ากำเนิดขึ้นที่ใดเป็นครั้งแรก นักวิชาการและนักแสดงหลายท่านได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของมะโย่งไว้แตกต่างกันไปหลายกระแส เช่น นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า มะโย่งกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเมืองมัชปหิต สมัยรายามูดอแลลอ บ้างก็ว่ากำเนิดขึ้นจากต่วนประไหมสุหรีบอสู และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในเมืองปาเล็มบังในสมัยรายากาซีนาบันดีตอแล้วแพร่มาสู่แหลมมลายู ส่วนจากคำเล่าของนักแสดงมะโย่ง บางโรงว่ามะโย่งกำเนิดขึ้นจากพิธีกรรมที่เกาะชวา บางโรงบอกว่าเกิดขึ้นจากสองสามีภรรยาที่ไปหาของในป่า ดังเช่น
จากการสัมภาษณ์ นายเจ๊ะเต๊ะ ดือมอง นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสรีปัตตานี เล่าว่า “มะโย่งก่อกำเนิดในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มจากสองผัวเมียเข้าไปหาของในป่าใหญ่แล้วเกิดหลงทาง ทั้งสองจึงคิดที่จะออกจากป่าซึ่งบังเอิญเห็นลิงป่าหลายตัวเล่นกันอยู่ จึงคิดสนุกโดยการที่ฝ่ายสามีเหลือบไปเห็นกะโหลกสุนัขก็นำกะโหลกสุนัขมาทำกะโหลกซอและเอาผมของตนเองมาทำสายคันชักและสายซอเอากระดูกมาเป็นด้ามซอฝ่ายภรรยาก็ร้องเพลงและเลียนท่าเต้นจากลิงป่า เมื่อออกจากป่าได้แล้ว จึงนำมาแสดงในเมือง ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม การแสดงนี้ต่อมาจึงเรียกว่า “มะโย่ง”
จากการสัมภาษณ์ นายนิโซะ นิเลาะ นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสามพี่น้อง กล่าวว่า “มะโย่งมีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ขณะนั้นโดยมะโย่งอยู่ในรูปแบบของการเล่นเพื่อรักษาไข้ ต่อมาเป็นที่รู้จักของชาวบ้านในวงกว้างขึ้นและได้นำเอาการแสดงมะโย่ง มาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในโอกาสต่างๆ เช่น งานเข้าสุหนัต งานแต่งงาน ต้อนรับบุคคลสำคัญ ต่อมากลายเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมจากราชสำนักและระดับชาวบ้าน จึงทำให้การแสดงมะโย่งได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาสู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดาร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน”
จากการสัมภาษณ์ นายยูโซ๊ะ บ่อทอง นักแสดงลิเกฮูลู กล่าวว่า มะโย่งมีต้นกำเนิดจากคนชวา ใช้แสดงในพิธีกรรมรักษาไข้ ต่อมาได้แพร่หลายมายังรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน และมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานี ปรากฏว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า การแสดงมะโย่งในปัตตานีมีมานานมากกว่า 400 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานเด่นชัดในสมัยราชินีฮิเยาครองเมืองปัตตานี สมัยนั้นมะโย่งมักนิยมดูในหมู่ชนชั้นสูง โดยใช้สถานที่แสดงในวังหรือบ้านขุนนาง ครั้งหนึ่ง ๆ แสดงนานถึง 4-7 คืน แต่ละคืนจะเลิกแสดงก็ต่อเมื่อรายารับสั่งให้ยุติ เล่นเพื่อความบันเทิง ต้อนรับบุคคลสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายูได้ปรากฏหลักฐานในพิธีต้อนรับพระองค์ได้มีการแสดงมะโย่งในเมืองปัตตานี ทรงบันทึกไว้ในหนังสือพระราชหัตถเลขา เรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายู อาจกล่าวได้ว่าการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานีน่าจะเริ่มปรากฏในราชสำนักก่อนในรูปแบบความบันเทิงเป็นที่นิยมชื่นชอบในราชสำนัก ถึงขนาดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ครองเมือง ต่อมาได้แพร่หลายสู่ระดับประชาชนทั่วไปซึ่งทั้งใช้เพื่อความบันเทิงและประกอบพิธีกรรมรักษาไข้มาจนถึงปัจจุบัน
โอกาสในการแสดงมะโย่ง
โอกาสในการแสดงมะโย่งสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการแสดงได้ 2 ประการ คือ การแสดง เพื่อความบันเทิง และการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ดังรายละเอียดดังนี้
1) การแสดงเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงที่เจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างรับมะโย่งมาแสดงในโอกาสต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง บุคคลสำคัญ งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานขึ้นเปลลูกเจ้าเมือง งานมาแกแต (งานบุญบริจาคหารายได้สมทบทุน) แก้บนที่ไม่ได้เกี่ยวรักษาไข้ (บนไว้ว่าถ้าได้ลูกสาวจะรับมะโย่งมาแสดง) งานประเพณีแห่นก งานเทศกาลประจำปี หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เป็นต้น
2) การแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม
เป็นการแสดงเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแสดงมะโย่งในพิธีแก้บน สะเดาะเคราะห์ รักษาไข้หรือตือรี และเพื่อไหว้ครู เป็นต้น
โรง หรือเวทีแสดงมะโย่ง
โรงหรือเวทีที่ใช้ในการแสดงมะโย่ง นั้น มี 2 แบบ คือ โรงที่ใช้แสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิง และโรงที่แสดงมะโย่งในพิธีกรรม ซึ่งทั้งสองมีลักษณะเป็นโรงที่ปลูกเป็นเพิงหมาแหงนเหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่อุปกรณ์ที่ใช้ประดับตกแต่งโรง คือ โรงเวทีที่ใช้แสดงมะโย่งในพิธีกรรม จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและมีอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในโรงหลายอย่าง
การแสดงมะโย่ง
ในการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรมนั้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ เริ่มต้นด้วยการเบิกโรง การโหมโรงจะเริ่มจากการบรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือซอรือบับเท่านั้นที่เล่นคลอเบา ๆ ตามด้วยกลองฆือแน ฆ้อง โหม่งและเครื่องดนตรีชิ้นที่เหลือตีบรรเลงพร้อมๆ กัน เป็นการปลุกเร้าหรือส่งสัญญาณบอกให้ผู้ชมทราบว่าการแสดงมะโย่งกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ต่อด้วย การรำเบิกโรง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้ร่ายรำจะต้องเป็นเปาะโย่ง ในพิธีนี้คนไข้อาจจะแสดงเป็นเปาะโย่ง และได้รับการถ่ายทอดท่าร่ายรำจากผู้แสดงเป็นเปาะโย่งของคณะที่ว่าจ้าง โดยมีตัวละครเมาะโย่ง ปือรันมูดอ ปือรันตูวอร่วมแสดงด้วย เวลาที่ใช้ในการรำเบิกโรงนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อมาเป็นการแสดงเป็นละครมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องตามบทละคร มีบทพูดสนทนาโต้ตอบกันของตัวละคร สลับบทร้อง การรำ การเต้น เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงจะมีลักษณะคล้ายเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ต่อมาเป็นพิธีแก้บน เป็นพิธีกรรมที่กระทำในคืนสุดท้ายเพื่อบอกกล่าวว่าการใช้บนได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยเจ้าภาพจะจัดเตรียมอุปกรณ์ คือ “สมางีน” พ่อหมอจะเรียกคนไข้และญาติให้มานั่งใกล้ ดนตรีเริ่มบรรเลงเพลง พ่อหมอจะหยิบผงกำยานโรยบนถ่านไฟให้ควันกำยานพุ่งนำเครื่องประกอบแก้สินบนทั้งหมดขึ้นมารมควันแล้วอ่านคาถา พ่อหมอดึงตัวปลดปล่อยที่สานจากใบมะพร้าวให้ขาดออกจากกัน และพ่อหมอนำแป้งหอมละลายน้ำทำเป็นน้ำมนต์มาพรมคนไข้และญาติๆ
ส่วนการแสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิงมีลักษณะการแสดงคล้าย ๆ กับการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรม แต่จะมีลำดับขั้นตอนการแสดงน้อยกว่า คือ จะเริ่มจากการโหมโรง ต่อด้วยรำเบิกโรง และแสดงเป็นละคร เวลาที่ใช้แสดงประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมะโย่งประกอบด้วย ซอรือบับ ปี่ซูนา กลองฆือแน ฆง โหม่ง จือแร็ก ฉิ่ง ฉาบ รำมะนา และไวโอลิน ส่วนจำนวนผู้แสดงมะโย่งมีทั้งหมด 15-25 คน เป็นโต๊ะมีโน๊ะหรือพ่อหมอ 1 คน เป็นนักดนตรี 7-9 คน ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงกับผู้ช่วยแสดง นักดนตรี ประกอบด้วย คนสีซอรือบับ เป่าปี่ซูนา ตีกลองฆือแน ฆง โหม่ง ฉิ่งกับฉาบ จือแร็ก รำมะนา (เครื่องดนตรีบางชนิดอาจจะเป็นคนๆ เดียวกันเล่น) ผู้ที่เป็นนักแสดงจะรักบทเป็นตัวละครสำคัญ ๆ ในการแสดงมะโย่งมี เปาะโย่ง เป็นตัวละครเอก เมาะโย่ง ปือรันมูดอ ตัวตลกตัวที่ 1 ปือรันทูวอ เป็นตัวตลกตัวที่ 2 ดายัง - ดายัง หรือ อีนัง - อีนัง
เครื่องแต่งกายของเปาะโย่งจะมีลักษณะพิเศษเป็นชุดเลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ ส่วนเมาะโย่งและนักแสดงที่เป็นตัวประกอบจะแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดพื้นบ้านชาวไทยมุสลิม เช่น ชุดกือบายา หรือชุดที่ธรรมดาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน นักดนตรีจะแต่งชุดสบาย ๆ ธรรมดาในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อัตราค่าจ้างในการแสดง มะโย่งแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่รับไปแสดง เช่น ถ้าเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง ระยะเวลาแสดง 2 - 3 ชั่วโมง ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 4,500 บาท ถ้าเป็นการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 6,000 บาท
ปัจจุบันมะโย่งนับได้ว่าเป็นการแสดงที่กำลังจะสูญหาย และหาดูได้ยากในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเนื่องจาก ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ไม่เอื้ออำนวยให้การละเล่นชนิดนี้อยู่รอดต่อไปได้ ดังเช่น ปัจจัยด้านความเชื่อในศาสนาอิสลาม ปัจจัยสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากชาติอื่น ๆ เข้ามาแพร่สิ่งใหม่ ๆ ดังเช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ โทรทัศน์ และปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างผู้แสดงและผู้ชมที่บทละครมะโย่งใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานี
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง, มะโย่ง, ประเพณีภาคใต้, การละเล่นภาคใต้
ประวัติความเป็นมาของมะโย่ง
ประวัติความเป็นมาของมะโย่งมิอาจระบุได้แน่ชัดว่ากำเนิดขึ้นที่ใดเป็นครั้งแรก นักวิชาการและนักแสดงหลายท่านได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของมะโย่งไว้แตกต่างกันไปหลายกระแส เช่น นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า มะโย่งกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเมืองมัชปหิต สมัยรายามูดอแลลอ บ้างก็ว่ากำเนิดขึ้นจากต่วนประไหมสุหรีบอสู และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในเมืองปาเล็มบังในสมัยรายากาซีนาบันดีตอแล้วแพร่มาสู่แหลมมลายู ส่วนจากคำเล่าของนักแสดงมะโย่ง บางโรงว่ามะโย่งกำเนิดขึ้นจากพิธีกรรมที่เกาะชวา บางโรงบอกว่าเกิดขึ้นจากสองสามีภรรยาที่ไปหาของในป่า ดังเช่น
จากการสัมภาษณ์ นายเจ๊ะเต๊ะ ดือมอง นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสรีปัตตานี เล่าว่า “มะโย่งก่อกำเนิดในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มจากสองผัวเมียเข้าไปหาของในป่าใหญ่แล้วเกิดหลงทาง ทั้งสองจึงคิดที่จะออกจากป่าซึ่งบังเอิญเห็นลิงป่าหลายตัวเล่นกันอยู่ จึงคิดสนุกโดยการที่ฝ่ายสามีเหลือบไปเห็นกะโหลกสุนัขก็นำกะโหลกสุนัขมาทำกะโหลกซอและเอาผมของตนเองมาทำสายคันชักและสายซอเอากระดูกมาเป็นด้ามซอฝ่ายภรรยาก็ร้องเพลงและเลียนท่าเต้นจากลิงป่า เมื่อออกจากป่าได้แล้ว จึงนำมาแสดงในเมือง ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม การแสดงนี้ต่อมาจึงเรียกว่า “มะโย่ง”
จากการสัมภาษณ์ นายนิโซะ นิเลาะ นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสามพี่น้อง กล่าวว่า “มะโย่งมีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ขณะนั้นโดยมะโย่งอยู่ในรูปแบบของการเล่นเพื่อรักษาไข้ ต่อมาเป็นที่รู้จักของชาวบ้านในวงกว้างขึ้นและได้นำเอาการแสดงมะโย่ง มาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในโอกาสต่างๆ เช่น งานเข้าสุหนัต งานแต่งงาน ต้อนรับบุคคลสำคัญ ต่อมากลายเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมจากราชสำนักและระดับชาวบ้าน จึงทำให้การแสดงมะโย่งได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาสู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดาร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน”
จากการสัมภาษณ์ นายยูโซ๊ะ บ่อทอง นักแสดงลิเกฮูลู กล่าวว่า มะโย่งมีต้นกำเนิดจากคนชวา ใช้แสดงในพิธีกรรมรักษาไข้ ต่อมาได้แพร่หลายมายังรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน และมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานี ปรากฏว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า การแสดงมะโย่งในปัตตานีมีมานานมากกว่า 400 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานเด่นชัดในสมัยราชินีฮิเยาครองเมืองปัตตานี สมัยนั้นมะโย่งมักนิยมดูในหมู่ชนชั้นสูง โดยใช้สถานที่แสดงในวังหรือบ้านขุนนาง ครั้งหนึ่ง ๆ แสดงนานถึง 4-7 คืน แต่ละคืนจะเลิกแสดงก็ต่อเมื่อรายารับสั่งให้ยุติ เล่นเพื่อความบันเทิง ต้อนรับบุคคลสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายูได้ปรากฏหลักฐานในพิธีต้อนรับพระองค์ได้มีการแสดงมะโย่งในเมืองปัตตานี ทรงบันทึกไว้ในหนังสือพระราชหัตถเลขา เรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายู อาจกล่าวได้ว่าการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานีน่าจะเริ่มปรากฏในราชสำนักก่อนในรูปแบบความบันเทิงเป็นที่นิยมชื่นชอบในราชสำนัก ถึงขนาดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ครองเมือง ต่อมาได้แพร่หลายสู่ระดับประชาชนทั่วไปซึ่งทั้งใช้เพื่อความบันเทิงและประกอบพิธีกรรมรักษาไข้มาจนถึงปัจจุบัน
โอกาสในการแสดงมะโย่ง
โอกาสในการแสดงมะโย่งสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการแสดงได้ 2 ประการ คือ การแสดง เพื่อความบันเทิง และการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ดังรายละเอียดดังนี้
1) การแสดงเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงที่เจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างรับมะโย่งมาแสดงในโอกาสต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง บุคคลสำคัญ งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานขึ้นเปลลูกเจ้าเมือง งานมาแกแต (งานบุญบริจาคหารายได้สมทบทุน) แก้บนที่ไม่ได้เกี่ยวรักษาไข้ (บนไว้ว่าถ้าได้ลูกสาวจะรับมะโย่งมาแสดง) งานประเพณีแห่นก งานเทศกาลประจำปี หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เป็นต้น
2) การแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม
เป็นการแสดงเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแสดงมะโย่งในพิธีแก้บน สะเดาะเคราะห์ รักษาไข้หรือตือรี และเพื่อไหว้ครู เป็นต้น
โรง หรือเวทีแสดงมะโย่ง
โรงหรือเวทีที่ใช้ในการแสดงมะโย่ง นั้น มี 2 แบบ คือ โรงที่ใช้แสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิง และโรงที่แสดงมะโย่งในพิธีกรรม ซึ่งทั้งสองมีลักษณะเป็นโรงที่ปลูกเป็นเพิงหมาแหงนเหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่อุปกรณ์ที่ใช้ประดับตกแต่งโรง คือ โรงเวทีที่ใช้แสดงมะโย่งในพิธีกรรม จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและมีอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในโรงหลายอย่าง
การแสดงมะโย่ง
ในการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรมนั้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ เริ่มต้นด้วยการเบิกโรง การโหมโรงจะเริ่มจากการบรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือซอรือบับเท่านั้นที่เล่นคลอเบา ๆ ตามด้วยกลองฆือแน ฆ้อง โหม่งและเครื่องดนตรีชิ้นที่เหลือตีบรรเลงพร้อมๆ กัน เป็นการปลุกเร้าหรือส่งสัญญาณบอกให้ผู้ชมทราบว่าการแสดงมะโย่งกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ต่อด้วย การรำเบิกโรง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้ร่ายรำจะต้องเป็นเปาะโย่ง ในพิธีนี้คนไข้อาจจะแสดงเป็นเปาะโย่ง และได้รับการถ่ายทอดท่าร่ายรำจากผู้แสดงเป็นเปาะโย่งของคณะที่ว่าจ้าง โดยมีตัวละครเมาะโย่ง ปือรันมูดอ ปือรันตูวอร่วมแสดงด้วย เวลาที่ใช้ในการรำเบิกโรงนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อมาเป็นการแสดงเป็นละครมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องตามบทละคร มีบทพูดสนทนาโต้ตอบกันของตัวละคร สลับบทร้อง การรำ การเต้น เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงจะมีลักษณะคล้ายเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ต่อมาเป็นพิธีแก้บน เป็นพิธีกรรมที่กระทำในคืนสุดท้ายเพื่อบอกกล่าวว่าการใช้บนได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยเจ้าภาพจะจัดเตรียมอุปกรณ์ คือ “สมางีน” พ่อหมอจะเรียกคนไข้และญาติให้มานั่งใกล้ ดนตรีเริ่มบรรเลงเพลง พ่อหมอจะหยิบผงกำยานโรยบนถ่านไฟให้ควันกำยานพุ่งนำเครื่องประกอบแก้สินบนทั้งหมดขึ้นมารมควันแล้วอ่านคาถา พ่อหมอดึงตัวปลดปล่อยที่สานจากใบมะพร้าวให้ขาดออกจากกัน และพ่อหมอนำแป้งหอมละลายน้ำทำเป็นน้ำมนต์มาพรมคนไข้และญาติๆ
ส่วนการแสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิงมีลักษณะการแสดงคล้าย ๆ กับการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรม แต่จะมีลำดับขั้นตอนการแสดงน้อยกว่า คือ จะเริ่มจากการโหมโรง ต่อด้วยรำเบิกโรง และแสดงเป็นละคร เวลาที่ใช้แสดงประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมะโย่งประกอบด้วย ซอรือบับ ปี่ซูนา กลองฆือแน ฆง โหม่ง จือแร็ก ฉิ่ง ฉาบ รำมะนา และไวโอลิน ส่วนจำนวนผู้แสดงมะโย่งมีทั้งหมด 15-25 คน เป็นโต๊ะมีโน๊ะหรือพ่อหมอ 1 คน เป็นนักดนตรี 7-9 คน ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงกับผู้ช่วยแสดง นักดนตรี ประกอบด้วย คนสีซอรือบับ เป่าปี่ซูนา ตีกลองฆือแน ฆง โหม่ง ฉิ่งกับฉาบ จือแร็ก รำมะนา (เครื่องดนตรีบางชนิดอาจจะเป็นคนๆ เดียวกันเล่น) ผู้ที่เป็นนักแสดงจะรักบทเป็นตัวละครสำคัญ ๆ ในการแสดงมะโย่งมี เปาะโย่ง เป็นตัวละครเอก เมาะโย่ง ปือรันมูดอ ตัวตลกตัวที่ 1 ปือรันทูวอ เป็นตัวตลกตัวที่ 2 ดายัง - ดายัง หรือ อีนัง - อีนัง
เครื่องแต่งกายของเปาะโย่งจะมีลักษณะพิเศษเป็นชุดเลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ ส่วนเมาะโย่งและนักแสดงที่เป็นตัวประกอบจะแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดพื้นบ้านชาวไทยมุสลิม เช่น ชุดกือบายา หรือชุดที่ธรรมดาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน นักดนตรีจะแต่งชุดสบาย ๆ ธรรมดาในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อัตราค่าจ้างในการแสดง มะโย่งแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่รับไปแสดง เช่น ถ้าเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง ระยะเวลาแสดง 2 - 3 ชั่วโมง ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 4,500 บาท ถ้าเป็นการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 6,000 บาท
ปัจจุบันมะโย่งนับได้ว่าเป็นการแสดงที่กำลังจะสูญหาย และหาดูได้ยากในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเนื่องจาก ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ไม่เอื้ออำนวยให้การละเล่นชนิดนี้อยู่รอดต่อไปได้ ดังเช่น ปัจจัยด้านความเชื่อในศาสนาอิสลาม ปัจจัยสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากชาติอื่น ๆ เข้ามาแพร่สิ่งใหม่ ๆ ดังเช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ โทรทัศน์ และปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างผู้แสดงและผู้ชมที่บทละครมะโย่งใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานี
คำค้นหา : | การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง,
การละเล่นภาคใต้,
ประเพณีภาคใต้,
มะโย่ง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประเวศ วะสี (2542 : 34 – 36) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า เศรษฐกิจ พอเพียง คือ เศรษฐกิจที่มีรูปแบบเป็นทางสายกลาง หรือเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาปฏิปทา เพราะเชื่อมโยงทุกเรื่องเข้ามาด้วยกันทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่จริงคำว่า “เศรษฐกิจ” เป็นคำที่มีความหมายในทางที่ดี ที่หมายถึง ความเจริญที่เชื่อมโยงกาย ใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน แต่ได้มีการนำเอาคำว่าเศรษฐกิจไปใช้ในลักษณะที่แยกส่วนที่หมายถึง การแสวงหาเงินเท่านั้น เมื่อยกส่วนมันก็จะทำลายส่วนอื่น ๆ จนเสียสมดุลและวิกฤต
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2544) เศรษฐกิจพอเพียง คือ วัฒนธรรม ไม่ใช่เทคนิคการเพาะปลูก แต่ เป็นศีลธรรมความไม่ละโมบ และการประหยัด เศรษฐกิจพอเพียงเปิดโอกาสให้ทุกคนพออยู่ได้ แตกต่างจากการคิดในด้านเทคนิค ถ้าคิดแต่ด้านเทคนิคก็จะย้ำเฉพาะคน ทำให้เกิดการเอาตัวรอด ซึ่งไม่ตรงกับอุดมการณ์ของเศรษฐกิจพอเพียง ความคิดทางเทคนิคทำให้คนไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ตัวใครตัวมัน อันจะเป็นโทษแก่ธรรมชาติด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของสมาชิกในชุมชนที่มีให้แก่เพื่อนบ้าน และธรรมชาตินั้นถือเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน แนวคิดนี้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่จะคำนึงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน พร้อม ๆ กับรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติไปด้วย
พิสิฐ ลี้อาธรรม (2549 : 11) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง โดยความพอเพียงนั้น หมายถึง ความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายนอก และภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้ในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ และสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน มีความพอกินพอใช้ ไม่ใช่แต่จะสร้างความเจริญ หรือ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะที่เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ
สุเมธ ตันติเวชกุล (2550 : 13) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self –Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกิน พอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็ว แต่เพียงอย่างเดียว
อภิชัย พันธเสน (2550 : 22) ได้ให้คำจำกัดความของเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นข้อเสนอใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า “คือ ความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น” การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจจะหามาได้ถ้าปราศจากเงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การได้มาซึ่งเงินนั้นจำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ และนำเงินที่ได้มานั้นไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความสามารถในการดำรงชีพ อย่างเรียบง่าย อุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง รู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย อยู่อย่างประมาณตน ใช้จ่ายไม่เกินรายรับ มีการผลิตเพื่อให้พอมีพอกินในครอบครัว และมีความเอื้อเฟื้อกันในชุมชน ทะนุบำรุงพื้นฐานตัวเองให้เข้มแข็งทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง คือ
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2544) เศรษฐกิจพอเพียง คือ วัฒนธรรม ไม่ใช่เทคนิคการเพาะปลูก แต่ เป็นศีลธรรมความไม่ละโมบ และการประหยัด เศรษฐกิจพอเพียงเปิดโอกาสให้ทุกคนพออยู่ได้ แตกต่างจากการคิดในด้านเทคนิค ถ้าคิดแต่ด้านเทคนิคก็จะย้ำเฉพาะคน ทำให้เกิดการเอาตัวรอด ซึ่งไม่ตรงกับอุดมการณ์ของเศรษฐกิจพอเพียง ความคิดทางเทคนิคทำให้คนไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ตัวใครตัวมัน อันจะเป็นโทษแก่ธรรมชาติด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของสมาชิกในชุมชนที่มีให้แก่เพื่อนบ้าน และธรรมชาตินั้นถือเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน แนวคิดนี้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่จะคำนึงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน พร้อม ๆ กับรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติไปด้วย
พิสิฐ ลี้อาธรรม (2549 : 11) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง โดยความพอเพียงนั้น หมายถึง ความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายนอก และภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้ในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ และสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน มีความพอกินพอใช้ ไม่ใช่แต่จะสร้างความเจริญ หรือ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะที่เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ
สุเมธ ตันติเวชกุล (2550 : 13) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self –Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกิน พอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็ว แต่เพียงอย่างเดียว
อภิชัย พันธเสน (2550 : 22) ได้ให้คำจำกัดความของเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นข้อเสนอใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า “คือ ความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น” การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจจะหามาได้ถ้าปราศจากเงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การได้มาซึ่งเงินนั้นจำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ และนำเงินที่ได้มานั้นไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความสามารถในการดำรงชีพ อย่างเรียบง่าย อุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง รู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย อยู่อย่างประมาณตน ใช้จ่ายไม่เกินรายรับ มีการผลิตเพื่อให้พอมีพอกินในครอบครัว และมีความเอื้อเฟื้อกันในชุมชน ทะนุบำรุงพื้นฐานตัวเองให้เข้มแข็งทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
คำค้นหา : | ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง,
เศรษฐกิจพอเพียง,
เศรษฐกิจพอเพียง คือ
ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
เศรษฐกิจพอเพียง |
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้รับการบรมราชาภิเษกตามแบบโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ณ วโรกาสนั้น พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แม้จะเป็นข้อความเพียงสั้น ๆ แต่มีความลึกซึ้งกินใจซึ่งเป็นพระราชปณิธานมุ่งมั่นพระทัยที่ต้องทรงปฏิบัติให้ได้
เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เหล่าพสกนิกรชาวไทย และชาวโลกแล้วว่า ตลอดระยะเวลา 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฏร์ และทรงห่วงใยในทุกข์สุขของประชาชนตลอดมา ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เมื่อทรงพบกับปัญหาก็ได้พยายามช่วยเหลือโดยทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ที่มุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชน
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นส่วนหนึ่งในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเหมาะพอดี มีเหตุมีผล และไม่ประมาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือปฏิบัติด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งได้พระราชทานพระราชดำริให้แก่คนไทยนำไปปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฏาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปโดยลำดับต่อไป หากมุ่งเน้นแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทาง การแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรอง พระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2549 – 2554) โดยรัฐบาลได้ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ อันเป็นการสนองพระราชปณิธานสืบสายพระราชดำริต่อไป
เศรษฐกิจพอเพียง, ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, ที่มาของเศรษฐกิจพอเพียง, ที่ มา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง, ความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ความ หมาย ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาษาอังกฤษ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง doc
เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เหล่าพสกนิกรชาวไทย และชาวโลกแล้วว่า ตลอดระยะเวลา 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฏร์ และทรงห่วงใยในทุกข์สุขของประชาชนตลอดมา ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เมื่อทรงพบกับปัญหาก็ได้พยายามช่วยเหลือโดยทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ที่มุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชน
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นส่วนหนึ่งในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเหมาะพอดี มีเหตุมีผล และไม่ประมาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือปฏิบัติด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งได้พระราชทานพระราชดำริให้แก่คนไทยนำไปปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฏาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปโดยลำดับต่อไป หากมุ่งเน้นแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้”
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทาง การแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรอง พระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2549 – 2554) โดยรัฐบาลได้ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ อันเป็นการสนองพระราชปณิธานสืบสายพระราชดำริต่อไป
คำค้นหา : | เศรษฐกิจพอเพียง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง,
พอเพียง,
เศรษฐกิจพอเพียง
เกษตรแบบผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เกษตรแบบผสมผสาน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
เกษตรแบบผสมผสาน |
การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ก็เป็นความรู้ความสามารถที่มีมาแต่โบราณ คนทางภาคเหนือรู้จักบริหารน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการบริโภคต่างๆ โดยการจัดระบบเหมือนฝายมีการจัดแบ่งปันน้ำกันตามระบบประเพณีที่สืบทอดกันมา มีหัวหน้าที่ทุกคนยอมรับ มีคณะกรรมการจัดสรรน้ำตามสัดส่วนและตามพื้นที่ทำกิน นับเป็นความรู้ที่ทำให้ชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำ ไม่ว่าต้นน้ำหรือปลายน้ำ ได้รับการแบ่งปันน้ำอย่างยุติธรรม ทุกคนได้ประโยชน์และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ชาวบ้านรู้จักการแปรรูปผลิตผลในหลายรูปแบบ การถนอมอาหารให้กินได้นาน การดองการหมัก เช่น ปลาร้า น้ำปลา ผักดอง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ปลาแห้ง เนื้อแห้ง การแปรรูปข้าวก็ทำได้มากมายนับร้อยชนิด เช่น ขนมต่าง ๆ แต่ละพิธีกรรมและแต่ละงานบุญประเพณี มีข้าวและขนมในรูปแบบไม่ซ้ำกัน ตั้งแต่ขนมจีน สังขยา ไปถึงขนมในงานสารท กะละแม ขนมครก และอื่น ๆ ซึ่งยังพอมีให้เห็นอยู่จำนวนหนึ่ง ในปัจจุบันส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อขาย หรือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
ความรู้เรื่องการปรุงอาหารก็มีอยู่มากมายแต่ละท้องถิ่นมีรูปแบบและรสชาติแตกต่างกันไปมีมากมายนับร้อยนับพันชนิด แม้ในชีวิตประจำวันจะมีเพียงไม่กี่อย่าง แต่โอกาสงานพิธี งานเลี้ยง งานฉลองสำคัญ จะมีการจัดเตรียมอาหารอย่างดีและพิถีพิถัน
การทำมาหากินในประเพณีเดิมนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การเตรียมอาหาร การจัดขนมและผลไม้ ไม่ได้เป็นเพียงเพื่อให้รับประทานและอร่อย แต่ให้ได้ความสวยงาม ทำให้สามารถสัมผัสกับอาหารนั้นไม่เพียงแต่ทางปากและรสชาติของลิ้น แต่ทางตาและทางใจ การเตรียมอาหารนั้นเป็นงานศิลปะที่ปรุงแต่งด้วยความตั้งใจ ใช้เวลา ผีมือ และความรู้ความสามารถ
ชาวบ้านสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำนาเป็นหลักเพราะเมื่อมีข้าวแล้วก็สบายใจ อย่างอื่นพอหาได้จากธรรมชาติ เสร็จหน้านาก็จะทำงานหัตถกรรม การทอผ้า ทำเสื่อ เลี้ยงไหม เลี้ยงไหม ทำเครื่องมือสำหรับจับสัตว์ เครื่องมือการเกษตร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น หรือเตรียมพื้นที่เพื่อการทำนาครั้งต่อไป
หัตถกรรมเป็นทรัพย์สินและมรดกทางภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษเพราะเป็นสื่อที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อและคุณค่าต่าง ๆ ที่สั่งสมมาแต่นมนาน ลายผ้าไหม ผ้าฝ้าย ฝีมือในการทออย่างประณีต รูปแบบเครื่องมือที่สานด้วยไม้ไผ่ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ เครื่องดนตรี เครื่องเล่น สิ่งเหล่านี้ได้ถูกบรรจงสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สอย การทำบุญหรือการอุทิศให้ใครคนหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อการค้าขาย
ชาวบ้านทำมาหากินเพียงเพื่อการยังชีพ ไม่ได้ทำเพื่อขาย มีการนำผลิตผลส่วนหนึ่งไปแลกสิ่งของที่จำเป็นที่ตนเองไม่มี เช่น นำข้าวไปแลกเกลือ พริก ปลา ไก่ หรือเสื้อผ้า การขายผลิตผลมีเพียงส่วนน้อย และเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อเสียภาษีให้รัฐ ชาวบ้านนำผลิตผล เช่น ข้าว ไปขายในเมืองให้กับพ่อค้าหรือขายให้กับพ่อท้องถิ่นเช่นทางภาคอีสาน เรียกว่า \"นายฮ้อย\" คนเหล่านี้จะนำผลผลิตบางอย่างเช่น ข้าว ปลาร้า วัว ควาย ไปขายในที่ไกล ๆ ทางภาคเหนือมีพ่อค้าวัวต่าง ๆ เป็นต้น
แม้ว่าความรู้เรื่องการค้าขายของคนสมัยก่อนไม่อาจจะนำมาใช้ในระบบตลาดเช่นปัจจุบันได้ เพราะสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแต่การค้าที่มีจริยธรรมของพ่อค้าในอดีต ที่ไม่ได้หวังแต่เพียงกำไร แต่คำนึงถึงการช่วยเหลือแบ่งปันเป็นหลัก ยังมีคุณค่าสำหรับปัจจุบัน นอกนั้น ในหลายพื้นที่ในชนบท ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของยังมีอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจนซึ่งชาวบ้านไม่มีเงินสด แต่มีผลิตผลต่างๆ ระบบการแลกเปลี่ยนไม่ได้ยึดหลักมาตราชั่งวัดหรือการตีราคาของสิ่งของ แต่แลกเปลี่ยนโดยการคำนึงถึงสถานการณ์ของผู้แลกทั้งสองฝ่ายคนที่เอาปลาหรือไก่มาของแลกข้าว อาจจะได้ข้าวเป็นถังเพราะเจ้าของข้าวคำนึงถึงความจำเป็นของครอบครัวเจ้าของไก่ ถ้าตีราคาเป็นเงินข้าวหนึ่งถังย่อมมีค่าสูงกว่าไก่หนึ่งตัว
เกษตรแบบผสมผสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ความรู้เรื่องการปรุงอาหารก็มีอยู่มากมายแต่ละท้องถิ่นมีรูปแบบและรสชาติแตกต่างกันไปมีมากมายนับร้อยนับพันชนิด แม้ในชีวิตประจำวันจะมีเพียงไม่กี่อย่าง แต่โอกาสงานพิธี งานเลี้ยง งานฉลองสำคัญ จะมีการจัดเตรียมอาหารอย่างดีและพิถีพิถัน
การทำมาหากินในประเพณีเดิมนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การเตรียมอาหาร การจัดขนมและผลไม้ ไม่ได้เป็นเพียงเพื่อให้รับประทานและอร่อย แต่ให้ได้ความสวยงาม ทำให้สามารถสัมผัสกับอาหารนั้นไม่เพียงแต่ทางปากและรสชาติของลิ้น แต่ทางตาและทางใจ การเตรียมอาหารนั้นเป็นงานศิลปะที่ปรุงแต่งด้วยความตั้งใจ ใช้เวลา ผีมือ และความรู้ความสามารถ
ชาวบ้านสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำนาเป็นหลักเพราะเมื่อมีข้าวแล้วก็สบายใจ อย่างอื่นพอหาได้จากธรรมชาติ เสร็จหน้านาก็จะทำงานหัตถกรรม การทอผ้า ทำเสื่อ เลี้ยงไหม เลี้ยงไหม ทำเครื่องมือสำหรับจับสัตว์ เครื่องมือการเกษตร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น หรือเตรียมพื้นที่เพื่อการทำนาครั้งต่อไป
หัตถกรรมเป็นทรัพย์สินและมรดกทางภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษเพราะเป็นสื่อที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความเชื่อและคุณค่าต่าง ๆ ที่สั่งสมมาแต่นมนาน ลายผ้าไหม ผ้าฝ้าย ฝีมือในการทออย่างประณีต รูปแบบเครื่องมือที่สานด้วยไม้ไผ่ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ เครื่องดนตรี เครื่องเล่น สิ่งเหล่านี้ได้ถูกบรรจงสร้างขึ้นมาเพื่อใช้สอย การทำบุญหรือการอุทิศให้ใครคนหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อการค้าขาย
ชาวบ้านทำมาหากินเพียงเพื่อการยังชีพ ไม่ได้ทำเพื่อขาย มีการนำผลิตผลส่วนหนึ่งไปแลกสิ่งของที่จำเป็นที่ตนเองไม่มี เช่น นำข้าวไปแลกเกลือ พริก ปลา ไก่ หรือเสื้อผ้า การขายผลิตผลมีเพียงส่วนน้อย และเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เงินเพื่อเสียภาษีให้รัฐ ชาวบ้านนำผลิตผล เช่น ข้าว ไปขายในเมืองให้กับพ่อค้าหรือขายให้กับพ่อท้องถิ่นเช่นทางภาคอีสาน เรียกว่า \"นายฮ้อย\" คนเหล่านี้จะนำผลผลิตบางอย่างเช่น ข้าว ปลาร้า วัว ควาย ไปขายในที่ไกล ๆ ทางภาคเหนือมีพ่อค้าวัวต่าง ๆ เป็นต้น
แม้ว่าความรู้เรื่องการค้าขายของคนสมัยก่อนไม่อาจจะนำมาใช้ในระบบตลาดเช่นปัจจุบันได้ เพราะสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแต่การค้าที่มีจริยธรรมของพ่อค้าในอดีต ที่ไม่ได้หวังแต่เพียงกำไร แต่คำนึงถึงการช่วยเหลือแบ่งปันเป็นหลัก ยังมีคุณค่าสำหรับปัจจุบัน นอกนั้น ในหลายพื้นที่ในชนบท ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของยังมีอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ยากจนซึ่งชาวบ้านไม่มีเงินสด แต่มีผลิตผลต่างๆ ระบบการแลกเปลี่ยนไม่ได้ยึดหลักมาตราชั่งวัดหรือการตีราคาของสิ่งของ แต่แลกเปลี่ยนโดยการคำนึงถึงสถานการณ์ของผู้แลกทั้งสองฝ่ายคนที่เอาปลาหรือไก่มาของแลกข้าว อาจจะได้ข้าวเป็นถังเพราะเจ้าของข้าวคำนึงถึงความจำเป็นของครอบครัวเจ้าของไก่ ถ้าตีราคาเป็นเงินข้าวหนึ่งถังย่อมมีค่าสูงกว่าไก่หนึ่งตัว
คำค้นหา : | เกษตรแบบผสมผสาน |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
เกษตรแบบผสมผสาน,
ภูมิปัญญาชาวบ้าน,
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความคิดและการแสดงออก ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
เพื่อจะเข้าใจภูมิปัญญาชาวบ้าน จำเป็นต้องเข้าใจความคิดของชาวบ้านเกี่ยวกับโลกหรือที่เรียกว่า โลกทัศน์ และเกี่ยวกับชีวิตที่เรียกว่า ชีวทัศน์ สิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรมอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ทีเป็นรูปธรรม
แนวคิดเรื่องความสมดุล เป็นแนวคิดพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน การแพทย์แผนไทยหรือที่เคยเรียกกันว่า การแพทย์แผนโบราณ นั้นมีหลักการว่า คนมีสุขภาพดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คนเจ็บป่วยได้เพราะธาตุขาดความสมดุล
ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านในชุมชน ความสัมพันธ์ที่ดี มีหลักเกณฑ์ที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนมา เช่น ลูกควรปฏิบัติอย่างไรกับพ่อแม่ กับญาติพี่น้อง กับผู้สูงอายุ พ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยเฉพาะในยามทุกข์ยากหรือมีปัญหา
ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อนพึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน ตั้งแต่อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่พัฒนาก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ยังไม่มีระบบการค้าแบบสมัยใหม่ ไม่มีตลาด ชาวบ้านมีหลักเกณฑ์ในการใช้สิ่งของในธรรมชาติ ไม่ตัดไม้อ่อน ทำให้ต้นไม้ในป่าขึ้นแทนที่ถูกตัดไปได้ตลอดเวลา
ชาวบ้านยังไม่รู้จักสารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สิ่งของในธรรมชาติให้เกื้อกูลกัน ใช้มูลสัตว์ ใบไม้ใบหญ้าที่เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบรูณ์ น้ำสะอาดและไม่เหือดแห้ง ชาวบ้านเคารพธรรมชาติ เชื่อว่ามีเทพมีเจ้าสถิตอยุ่ในดิน น้ำ ป่า เขา สถานที่ทุกแห่งจะทำอะไรต้องขออนุญาตและทำด้วยความเคารพและพอดีพองาม ชาวบ้านรู้คุณธรรมชาติ ที่ได้ให้ชีวิตแก่ตน พิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแสดงออกถึงแนวคิดดังกล่าว เช่น งานบุญพิธีที่เกี่ยวกับ น้ำ ข้าว ป่าเขา รวมถึงสัตว์ บ้านเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ มีพิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น
ความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ชาวบ้านรู้ว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วน เล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเร้นลับ มีพลังและอำนาจที่เขาไม่อาจจะหาคำอธิบายได้ ความเร้นลับดังกล่าวรวมถึงญาติพี่น้องและผู้คนที่ล่วงลับไปแล้ว ชาวบ้านยังความสัมพันธ์กับพวกเขา ทำบุญและรำลึกถึงอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือในโอกาสสำคัญ ๆ
การทำมาหากินแม้วิถีชีวิตของชาวบ้านเมื่อก่อนจะดูเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ และยังอาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็ต้องใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด ทั้งนี้เพราะปัญหาต่าง ๆ ในอดีตก็ยังมีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อครอบครัวมีสมาชิกมากขึ้น จำเป็นต้องขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิกพื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนาซึ่งเป็นงานที่หนัก การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ การจับปลาล่าสัตว์ก็มีวิธีการ บางคนมีความสามารถมาก รู้ว่าเวลาไหนที่ใดและวิธีใดจะจับปลาได้ดีที่สุด คนที่ไม่เก่ง ก็ต้องใช้เวลานานและได้ปลาน้อย การล่าสัตว์ก็เช่นเดียวกัน
ความคิดและการแสดงออก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาชาวบ้าน
แนวคิดเรื่องความสมดุล เป็นแนวคิดพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน การแพทย์แผนไทยหรือที่เคยเรียกกันว่า การแพทย์แผนโบราณ นั้นมีหลักการว่า คนมีสุขภาพดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คนเจ็บป่วยได้เพราะธาตุขาดความสมดุล
ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านในชุมชน ความสัมพันธ์ที่ดี มีหลักเกณฑ์ที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนมา เช่น ลูกควรปฏิบัติอย่างไรกับพ่อแม่ กับญาติพี่น้อง กับผู้สูงอายุ พ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยเฉพาะในยามทุกข์ยากหรือมีปัญหา
ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อนพึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน ตั้งแต่อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่พัฒนาก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ยังไม่มีระบบการค้าแบบสมัยใหม่ ไม่มีตลาด ชาวบ้านมีหลักเกณฑ์ในการใช้สิ่งของในธรรมชาติ ไม่ตัดไม้อ่อน ทำให้ต้นไม้ในป่าขึ้นแทนที่ถูกตัดไปได้ตลอดเวลา
ชาวบ้านยังไม่รู้จักสารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สิ่งของในธรรมชาติให้เกื้อกูลกัน ใช้มูลสัตว์ ใบไม้ใบหญ้าที่เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบรูณ์ น้ำสะอาดและไม่เหือดแห้ง ชาวบ้านเคารพธรรมชาติ เชื่อว่ามีเทพมีเจ้าสถิตอยุ่ในดิน น้ำ ป่า เขา สถานที่ทุกแห่งจะทำอะไรต้องขออนุญาตและทำด้วยความเคารพและพอดีพองาม ชาวบ้านรู้คุณธรรมชาติ ที่ได้ให้ชีวิตแก่ตน พิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแสดงออกถึงแนวคิดดังกล่าว เช่น งานบุญพิธีที่เกี่ยวกับ น้ำ ข้าว ป่าเขา รวมถึงสัตว์ บ้านเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ มีพิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น
ความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ชาวบ้านรู้ว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วน เล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเร้นลับ มีพลังและอำนาจที่เขาไม่อาจจะหาคำอธิบายได้ ความเร้นลับดังกล่าวรวมถึงญาติพี่น้องและผู้คนที่ล่วงลับไปแล้ว ชาวบ้านยังความสัมพันธ์กับพวกเขา ทำบุญและรำลึกถึงอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือในโอกาสสำคัญ ๆ
การทำมาหากินแม้วิถีชีวิตของชาวบ้านเมื่อก่อนจะดูเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ และยังอาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็ต้องใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด ทั้งนี้เพราะปัญหาต่าง ๆ ในอดีตก็ยังมีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อครอบครัวมีสมาชิกมากขึ้น จำเป็นต้องขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิกพื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนาซึ่งเป็นงานที่หนัก การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ การจับปลาล่าสัตว์ก็มีวิธีการ บางคนมีความสามารถมาก รู้ว่าเวลาไหนที่ใดและวิธีใดจะจับปลาได้ดีที่สุด คนที่ไม่เก่ง ก็ต้องใช้เวลานานและได้ปลาน้อย การล่าสัตว์ก็เช่นเดียวกัน
คำค้นหา : | ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ความคิดและการแสดงออก,
ภูมิปัญญาชาวบ้าน,
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความหมายของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงความรู้ ความคิด ความเชื่อที่ท้องถิ่นได้สั่งสมและ สืบทอดต่อกันมา ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ อันเป็นศักยภาพหรือความสามารถ วิธีการ เครื่องมือเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาของการดำรงชีวิตให้มีความสงบสุขของบุคคลในท้องถิ่นให้อยู่รอด
ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ
การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม
การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย
การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน
การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น
ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทำมาหากิน การร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี
ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกับธรรมชาติ
ความรู้เรื่องทำมาหากินมีอยู่มาก เช่นการทำไร่ทำนา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การจับปลา จับสัตว์ การผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดของชาวบ้าน การทำเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้และหิน ซึ่งจะพบได้จากโบราณสถานในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ
การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม
การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย
การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน
การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น
ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทำมาหากิน การร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี
ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกับธรรมชาติ
ความรู้เรื่องทำมาหากินมีอยู่มาก เช่นการทำไร่ทำนา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การจับปลา จับสัตว์ การผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดของชาวบ้าน การทำเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้และหิน ซึ่งจะพบได้จากโบราณสถานในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
คำค้นหา : | ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ภูมิปัญญาท้องถิ่น,
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย,
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
ประเพณีภาคเหนือ ประเพณียี่เป็ง
ประเพณียี่เป็ง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณียี่เป็ง |
คำว่า “ยี่เป็ง” เป็นภาษาล้านนาหรือภาษาคำเมือง การนับวันเดือนปีของชาวล้านนาจะมีความคาดเคลื่อนจากชาวภาคกลางประมาณ 2 เดือน ชาวล้านนาจะเริ่มนับวันเดือนปีประมาณเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปี โดยเดือนที่หนึ่งเรียกว่า “เดือนเกี๋ยง” เดือนที่สองเรียกว่า “เดือนยี่” และเดือนที่สาม สี่ ห้า……จนถึงเดือนสิบสองจะนับเช่นเดียวกับชาวภาคกลาง
คำว่า “เป็ง” ก็คือพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ พระจันทร์ในคืนนี้จะมีความสว่างสุกใสเป็นพิเศษ ชาวล้านนาออกเสียง พ (พ.พาน) เป็น ป (ป.ปา) ถ้าเป็นภาษาเขียน พ (ตั๋วป๊ะ) = พ) ดังนั้น คำว่า “วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง พวกเราชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง” ก็คือ วันเพ็ญเดือนสิบสองของชาวภาคกลาง และก็มีความหมายเหมือนกับของชาวล้านคือ “วันยี่เป็ง” ซึ่งจะตกราวประมาณของเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี
ประเพณียี่เป็งชาวล้านนาจะถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน กิจกรรมในประเพณีนี้ชาวล้านนาจะมีการตบแต่งสถานที่ “ชุ้มประตูป่า” ประดับด้วยไฟสีต่าง ๆ ตอนเช้าไปทำบุญที่วัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและความเป็นศิริมงคลกับครอบครัวและตนเอง ตอนเย็นหรือหัวค่ำก็จะเดินทางไปบูชาเทียนต่อพระประธานในพระวิหารหรือพระอุโบสถ เทียนนี้จะทำเป็นพิเศษ โดยไส้เทียนจะประกอบด้วยเส้นไส้เทียนเท่าอายุของตนเองหรือเผื่ออีกเล็กน้อย จะมากหรือน้อยนั้นก็สุดแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล กระดาษสาที่เขียนด้วยบทคาถาและวันเดือนปีเกิดของบุคคลนั้น เทียนนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 เล่มคือ สืบชะตา รับโชค และสะเดาะเคราะห์ นอกจากการบูชาเทียนนี้แล้ว ก็มีการจุด ประทีบ (ผางปะตีด) บูชาพระพุทธเจ้า และกลับมาที่บ้านก็มาจุดบูชาพระพุทธรูปที่บ้าน ตลอดจนจุดประทีบบริเวณหน้าบ้าน จะมีการจุดดอกไม้ไฟ ปล่อยโคมลอย และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ๆ ต่างก็มีความสนุกสนานกับประเพณีนี้ในปีหนึ่ง ๆ จะมีเพียงครั้งเดียว
สิ่งที่เราพบเห็นอีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือ “การลอยกระทง” ในแม่น้ำสายต่าง ๆ ทั่วประเทศ การทำกิจกรรมนี้ในอดีตที่ผ่านมานั้นกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะบูชา “พระแม่คงคา” กล่าวคือแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดียนั้นมีประโยชน์คุณูประการต่อชาวอินเดียตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยรับเอาพระพุทธศาสนามาจากประเทศอินเดีย และขณะเดียวกันก็รับเอาประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาด้วย การลอยกระทงเป็นการบูชา “แม่น้ำ” หรือ “น้ำ” นั้น เป็นการสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ช่วยให้ชีวิตทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ได้อาบ ได้ดื่ม ได้กิน ให้ชีวิตนี้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข
ประเพณียี่เป็ง, ประเพณีภาคเหนือ, ลอยกระทงภาคเหนือ, โคมลอย
คำว่า “เป็ง” ก็คือพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ พระจันทร์ในคืนนี้จะมีความสว่างสุกใสเป็นพิเศษ ชาวล้านนาออกเสียง พ (พ.พาน) เป็น ป (ป.ปา) ถ้าเป็นภาษาเขียน พ (ตั๋วป๊ะ) = พ) ดังนั้น คำว่า “วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง พวกเราชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง” ก็คือ วันเพ็ญเดือนสิบสองของชาวภาคกลาง และก็มีความหมายเหมือนกับของชาวล้านคือ “วันยี่เป็ง” ซึ่งจะตกราวประมาณของเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี
ประเพณียี่เป็งชาวล้านนาจะถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน กิจกรรมในประเพณีนี้ชาวล้านนาจะมีการตบแต่งสถานที่ “ชุ้มประตูป่า” ประดับด้วยไฟสีต่าง ๆ ตอนเช้าไปทำบุญที่วัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและความเป็นศิริมงคลกับครอบครัวและตนเอง ตอนเย็นหรือหัวค่ำก็จะเดินทางไปบูชาเทียนต่อพระประธานในพระวิหารหรือพระอุโบสถ เทียนนี้จะทำเป็นพิเศษ โดยไส้เทียนจะประกอบด้วยเส้นไส้เทียนเท่าอายุของตนเองหรือเผื่ออีกเล็กน้อย จะมากหรือน้อยนั้นก็สุดแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล กระดาษสาที่เขียนด้วยบทคาถาและวันเดือนปีเกิดของบุคคลนั้น เทียนนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 เล่มคือ สืบชะตา รับโชค และสะเดาะเคราะห์ นอกจากการบูชาเทียนนี้แล้ว ก็มีการจุด ประทีบ (ผางปะตีด) บูชาพระพุทธเจ้า และกลับมาที่บ้านก็มาจุดบูชาพระพุทธรูปที่บ้าน ตลอดจนจุดประทีบบริเวณหน้าบ้าน จะมีการจุดดอกไม้ไฟ ปล่อยโคมลอย และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ๆ ต่างก็มีความสนุกสนานกับประเพณีนี้ในปีหนึ่ง ๆ จะมีเพียงครั้งเดียว
สิ่งที่เราพบเห็นอีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือ “การลอยกระทง” ในแม่น้ำสายต่าง ๆ ทั่วประเทศ การทำกิจกรรมนี้ในอดีตที่ผ่านมานั้นกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะบูชา “พระแม่คงคา” กล่าวคือแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดียนั้นมีประโยชน์คุณูประการต่อชาวอินเดียตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยรับเอาพระพุทธศาสนามาจากประเทศอินเดีย และขณะเดียวกันก็รับเอาประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาด้วย การลอยกระทงเป็นการบูชา “แม่น้ำ” หรือ “น้ำ” นั้น เป็นการสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ช่วยให้ชีวิตทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ได้อาบ ได้ดื่ม ได้กิน ให้ชีวิตนี้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข
ปล่อยโคมลอย |
คำค้นหา : | ประเพณียี่เป็ง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
โคมลอย,
ประเพณีภาคเหนือ,
ประเพณียี่เป็ง,
ลอยกระทงภาคเหนือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เศรษฐกิจพอเพียง
วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง
ประเพณีไทย
ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
เกี่ยวกับเรา ประเพณีไทย
เข้าร่วม Google+ ประเพณีไทย
ประเพณีไทย โดย anirud
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ความรู้ ประเพณีไทย
-
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลา...
-
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย ห ลายๆ ท่าน หลายโรงเรียนในช่วงนี้ อาจจะกำลังตามหารูปภาพที่จะใช้ในการวาดประกวดใน หัวข้อ " ภาพวาดประกวดประเพณี...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมท...
-
เรียงความ ประเพณี ไทย การเขียนเรียงความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเพณีไทย ก่อนที่เราจะเขียนในหัวข้อนี้ออกมาได้ และทำให้ผู้ที่อ่านเรียงควา...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย หมายถึง กิจกรรมที่มีการกระทำสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์ของไทยพร้อมทั้งมีความสำคัญต่อสังคมไทย เช่น...
-
การวาดภาพระบายสี การวาดภาพระบายสี 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 4 – ป....
-
ศิลป์สร้างสรรค์ การแข่งขัน “ ศิลป์สร้างสรรค์” 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดั...
-
ประโยชน์ของศิลปะ ประโยชน์ของศิลปะ - ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง - ได...
-
เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 >>> เกณฑ์การแข่งขันล่าสุด <<< งานศิ...
-
ประโยชน์ของดนตรี ประโยชน์ของดนตรี ดนตรี คำว่าดนตรีนั้นมีความหมายมากมายแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลแต่ดิฉันให้ความหมายของ...
คำค้นหา ประเพณีไทย
กลอนประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
การประสมวงดนตรีไทย
(1)
การรักษาสัมพันธภาพ
(1)
การละเล่นไทย
(3)
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
(1)
การละเล่นภาคใต้
(1)
การละเล่นว่าว
(1)
การเล่นโพงพาง
(1)
การเล่นว่าว
(1)
การเล่นว่าวไทย
(1)
การวาดภาพ
(1)
การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ
(1)
การสร้างสัมพันธภาพ
(1)
การอยู่ร่วมกัน
(1)
การอยู่ร่วมกันในสังคม
(2)
เกณฑ์การแข่งขัน
(1)
เกษตรแบบผสมผสาน
(1)
ขนบธรรมเนียม
(2)
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
(1)
เขียนเรียงความ
(1)
แข่งขันดนตรีไทย
(1)
แข่งขันเรือยาว
(2)
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
(1)
แข่งดนตรีไทย
(1)
ครอบครัวพอเพียง
(1)
ครอบครัวพอเพียง เรียงความ
(1)
ความคิดและการแสดงออก
(1)
ความเป็นไทย
(1)
ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
คำขวัญวันเด็ก
(1)
คำขวัญวันเด็ก 2559
(1)
โคมลอย
(1)
งานศพ
(1)
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
(1)
ดนตรี
(1)
ดนตรีไทย
(2)
ทหารเรือ
(1)
ทักษะการเขียนเรียงความ
(1)
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
(1)
ทันตแพทย์ในดวงใจ
(1)
ทำขวัญ
(1)
ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ
(1)
บทความเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
บ้านน้ำจั้น
(1)
บุญข้าวประดับดิน
(1)
บุญข้าวสาก
(1)
บุญเดือน 9
(1)
บุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณี
(6)
ประเพณีกำฟ้า
(1)
ประเพณีแข่งขันเรือยาว
(1)
ประเพณีทหารเรือ
(1)
ประเพณีทำขวัญ
(1)
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
(1)
ประเพณี ไทย
(9)
ประเพณีไทยไทย
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557
(1)
ประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
ประเพณีภาคกลาง
(1)
ประเพณีภาคใต้
(1)
ประเพณีภาคเหนือ
(1)
ประเพณียี่เป็ง
(1)
ประเพณีลอยกระทง
(1)
ประโยชน์ของดนตรี
(1)
ประโยชน์ของศิลปะ
(1)
ประโยชน์ดนตรี
(1)
ประวัติ เพลงชาติไทย
(1)
ปรัชญา
(1)
ผูกเสี่ยว
(1)
พระราชดำรัส
(1)
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(1)
พอเพียง
(3)
พิธีจัดงานศพ
(1)
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย
(1)
เพลงชาติไทย
(1)
ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557
(1)
ภาพวาด
(1)
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย
(1)
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
(3)
ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(3)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
(1)
ภูมิปัญญาไทย
(1)
มโหรี
(1)
มโหรีพื้นบ้าน
(1)
มะโย่ง
(1)
ระดับประเทศ
(1)
ระเบียบประเพณีไทย
(1)
เรียงความ
(3)
เรียงความ ประเพณี ไทย
(2)
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
(2)
เรียนวาดภาพ
(1)
เรือยาวสกลนคร
(1)
โรงเรียน
(1)
ลอยกระทง
(1)
ลอยกระทงภาคเหนือ
(1)
ลาวบุญคูนข้าว
(1)
วงมโหรีพื้นบ้าน
(1)
วันเด็ก 2559
(1)
วันเด็กแห่งชาติ
(1)
วันที่ห้ามเผาศพ
(1)
วันผีกิน
(1)
วันลอยกระทง
(1)
วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ว่าว
(1)
ว่าวควาย
(1)
ว่าวจุฬา
(1)
ว่าวไทย
(1)
ว่าวปักเป้า
(1)
ว่าว ภาษาอังกฤษ
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้
(1)
ศิลปหัตถกรรม 2557
(1)
ศิลปหัตถกรรม 64
(1)
ศิลปะ
(4)
ศิลปะกับมนุษย์
(1)
ศิลปะในสังคมไทย
(4)
ศิลปะบำบัด
(3)
ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
(2)
ศิลปะเพื่อชีวิต
(1)
ศิลปะเพื่อสุขภาพ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียง
(8)
เศรษฐกิจพอเพียง คือ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
(1)
สกลนคร 2557
(1)
สมัยกรุงสุโขทัย
(1)
สอนวาดภาพ
(1)
สังคม
(1)
สัปเหร่อ
(1)
สัมพันธภาพ
(1)
สัมพันธภาพกับผู้อื่น
(1)
สัมพันธภาพที่ดี
(1)
สืบทอดวัฒนธรรม
(1)
หลักการอยู่ร่วมกัน
(1)
แห่ดาว
(1)
แห่ดาว ท่าแร่
(1)
แห่ดาว สกลนคร
(1)
อนุรักษ์
(1)
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
(1)
เอกลักษณ์ไทย
(1)