Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript

ความคิดและการแสดงออก ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อจะเข้าใจภูมิปัญญาชาวบ้าน จำเป็นต้องเข้าใจความคิดของชาวบ้านเกี่ยวกับโลกหรือที่เรียกว่า โลกทัศน์ และเกี่ยวกับชีวิตที่เรียกว่า ชีวทัศน์ สิ่งเหล่านี้เป็นนามธรรมอันเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ทีเป็นรูปธรรม

แนวคิดเรื่องความสมดุล เป็นแนวคิดพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน การแพทย์แผนไทยหรือที่เคยเรียกกันว่า การแพทย์แผนโบราณ นั้นมีหลักการว่า คนมีสุขภาพดีเมื่อร่างกายมีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คนเจ็บป่วยได้เพราะธาตุขาดความสมดุล

ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านในชุมชน ความสัมพันธ์ที่ดี มีหลักเกณฑ์ที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนมา เช่น ลูกควรปฏิบัติอย่างไรกับพ่อแม่ กับญาติพี่น้อง กับผู้สูงอายุ พ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยเฉพาะในยามทุกข์ยากหรือมีปัญหา

ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อนพึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน ตั้งแต่อาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่พัฒนาก้าวหน้าเหมือนทุกวันนี้ ยังไม่มีระบบการค้าแบบสมัยใหม่ ไม่มีตลาด ชาวบ้านมีหลักเกณฑ์ในการใช้สิ่งของในธรรมชาติ ไม่ตัดไม้อ่อน ทำให้ต้นไม้ในป่าขึ้นแทนที่ถูกตัดไปได้ตลอดเวลา

ชาวบ้านยังไม่รู้จักสารเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ฆ่าหญ้า ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สิ่งของในธรรมชาติให้เกื้อกูลกัน ใช้มูลสัตว์ ใบไม้ใบหญ้าที่เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบรูณ์ น้ำสะอาดและไม่เหือดแห้ง ชาวบ้านเคารพธรรมชาติ เชื่อว่ามีเทพมีเจ้าสถิตอยุ่ในดิน น้ำ ป่า เขา สถานที่ทุกแห่งจะทำอะไรต้องขออนุญาตและทำด้วยความเคารพและพอดีพองาม ชาวบ้านรู้คุณธรรมชาติ ที่ได้ให้ชีวิตแก่ตน พิธีกรรมต่าง ๆ ล้วนแสดงออกถึงแนวคิดดังกล่าว เช่น งานบุญพิธีที่เกี่ยวกับ น้ำ ข้าว ป่าเขา รวมถึงสัตว์ บ้านเรือน เครื่องใช้ต่าง ๆ มีพิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น

ความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ชาวบ้านรู้ว่ามนุษย์เป็นเพียงส่วน เล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของจักรวาล ซึ่งเต็มไปด้วยความเร้นลับ มีพลังและอำนาจที่เขาไม่อาจจะหาคำอธิบายได้ ความเร้นลับดังกล่าวรวมถึงญาติพี่น้องและผู้คนที่ล่วงลับไปแล้ว ชาวบ้านยังความสัมพันธ์กับพวกเขา ทำบุญและรำลึกถึงอย่างสม่ำเสมอทุกวันหรือในโอกาสสำคัญ ๆ

การทำมาหากินแม้วิถีชีวิตของชาวบ้านเมื่อก่อนจะดูเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ และยังอาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็ต้องใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด ทั้งนี้เพราะปัญหาต่าง ๆ ในอดีตก็ยังมีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อครอบครัวมีสมาชิกมากขึ้น จำเป็นต้องขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิกพื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนาซึ่งเป็นงานที่หนัก การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ การจับปลาล่าสัตว์ก็มีวิธีการ บางคนมีความสามารถมาก รู้ว่าเวลาไหนที่ใดและวิธีใดจะจับปลาได้ดีที่สุด คนที่ไม่เก่ง ก็ต้องใช้เวลานานและได้ปลาน้อย การล่าสัตว์ก็เช่นเดียวกัน


คำค้นหา :

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ความคิดและการแสดงออก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาชาวบ้าน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความหมายของ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึงความรู้ ความคิด ความเชื่อที่ท้องถิ่นได้สั่งสมและ สืบทอดต่อกันมา ซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ อันเป็นศักยภาพหรือความสามารถ วิธีการ เครื่องมือเพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาของการดำรงชีวิตให้มีความสงบสุขของบุคคลในท้องถิ่นให้อยู่รอด

ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ
การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม

การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย

การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน

การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น

ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันทำมาหากิน การร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี

ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ความรู้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เป็นแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของครอบครัว ความสัมพันธ์กับคนอื่น ความสัมพันธ์กับผู้ล่วงลับไปแล้ว กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกับธรรมชาติ

ความรู้เรื่องทำมาหากินมีอยู่มาก เช่นการทำไร่ทำนา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การจับปลา จับสัตว์ การผ้า ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความคิดของชาวบ้าน การทำเครื่องปั้นดินเผา การแกะสลักไม้และหิน ซึ่งจะพบได้จากโบราณสถานในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ


คำค้นหา :

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประเพณีภาคเหนือ ประเพณียี่เป็ง

ประเพณียี่เป็ง
ประเพณียี่เป็ง
ประเพณียี่เป็ง
คำว่า “ยี่เป็ง” เป็นภาษาล้านนาหรือภาษาคำเมือง การนับวันเดือนปีของชาวล้านนาจะมีความคาดเคลื่อนจากชาวภาคกลางประมาณ 2 เดือน ชาวล้านนาจะเริ่มนับวันเดือนปีประมาณเดือนตุลาคมของทุก ๆ ปี โดยเดือนที่หนึ่งเรียกว่า “เดือนเกี๋ยง” เดือนที่สองเรียกว่า “เดือนยี่” และเดือนที่สาม สี่ ห้า……จนถึงเดือนสิบสองจะนับเช่นเดียวกับชาวภาคกลาง

คำว่า “เป็ง” ก็คือพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ พระจันทร์ในคืนนี้จะมีความสว่างสุกใสเป็นพิเศษ ชาวล้านนาออกเสียง พ (พ.พาน) เป็น ป (ป.ปา) ถ้าเป็นภาษาเขียน พ (ตั๋วป๊ะ) = พ) ดังนั้น คำว่า “วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง พวกเราชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง” ก็คือ วันเพ็ญเดือนสิบสองของชาวภาคกลาง และก็มีความหมายเหมือนกับของชาวล้านคือ “วันยี่เป็ง” ซึ่งจะตกราวประมาณของเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี

ประเพณียี่เป็งชาวล้านนาจะถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน กิจกรรมในประเพณีนี้ชาวล้านนาจะมีการตบแต่งสถานที่ “ชุ้มประตูป่า” ประดับด้วยไฟสีต่าง ๆ ตอนเช้าไปทำบุญที่วัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาและความเป็นศิริมงคลกับครอบครัวและตนเอง ตอนเย็นหรือหัวค่ำก็จะเดินทางไปบูชาเทียนต่อพระประธานในพระวิหารหรือพระอุโบสถ เทียนนี้จะทำเป็นพิเศษ โดยไส้เทียนจะประกอบด้วยเส้นไส้เทียนเท่าอายุของตนเองหรือเผื่ออีกเล็กน้อย จะมากหรือน้อยนั้นก็สุดแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล กระดาษสาที่เขียนด้วยบทคาถาและวันเดือนปีเกิดของบุคคลนั้น เทียนนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 เล่มคือ สืบชะตา รับโชค และสะเดาะเคราะห์ นอกจากการบูชาเทียนนี้แล้ว ก็มีการจุด ประทีบ (ผางปะตีด) บูชาพระพุทธเจ้า และกลับมาที่บ้านก็มาจุดบูชาพระพุทธรูปที่บ้าน ตลอดจนจุดประทีบบริเวณหน้าบ้าน จะมีการจุดดอกไม้ไฟ ปล่อยโคมลอย และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ๆ ต่างก็มีความสนุกสนานกับประเพณีนี้ในปีหนึ่ง ๆ จะมีเพียงครั้งเดียว

สิ่งที่เราพบเห็นอีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือ “การลอยกระทง” ในแม่น้ำสายต่าง ๆ ทั่วประเทศ การทำกิจกรรมนี้ในอดีตที่ผ่านมานั้นกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะบูชา “พระแม่คงคา” กล่าวคือแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดียนั้นมีประโยชน์คุณูประการต่อชาวอินเดียตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยรับเอาพระพุทธศาสนามาจากประเทศอินเดีย และขณะเดียวกันก็รับเอาประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาด้วย การลอยกระทงเป็นการบูชา “แม่น้ำ” หรือ “น้ำ” นั้น เป็นการสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ช่วยให้ชีวิตทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ได้อาบ ได้ดื่ม ได้กิน ให้ชีวิตนี้ดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข
ประเพณียี่เป็ง
ปล่อยโคมลอย


คำค้นหา :

ประเพณียี่เป็ง

ประเพณียี่เป็ง, ประเพณีภาคเหนือ, ลอยกระทงภาคเหนือ, โคมลอย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประเพณีที่กำลังเลือนหาย ทำขวัญ-รับขวัญแม่โพสพ ประเพณีไทย

ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
ข้าว มีความผูกพันกับคนไทยมายาวนาน เพราะข้าวเป็นส่วนประกอบหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนให้ดำรงอยู่และเติบโต คนไทยเรียนรู้จนรู้จักวิถีแห่งข้าว จึงตระหนักถึงคุณค่าของข้าว ให้ความเคารพมาแต่ครั้งอดีต โดยแสดงความเคารพ นอบน้อม และด้วยจิตสำนึกอันดีงามอันเป็นรากฐานของประเพณีไทย จึงทำให้เกิดประเพณีที่สืบทอดมาอย่างยาวนานจนเป็น หนึ่งเดียวกับวิถีชีวิตของคนไทย อันได้แก่ ประเพณีทำขวัญข้าว และประเพณีรับขวัญข้าว

ชาวนาในตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งอาชีพทำนาช่วยสร้างรายได้และหล่อเลี้ยงชีวิตมายาวนาน มีประเพณีทำขวัญข้าว ในเดือนสืบ หรือประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง

มีความเชื่อกันว่า การทำขวัญข้าวเป็นการกราบไหว้ เพื่อขอให้แม่โพสพปกป้องพืชพรรณให้เจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์ จะทำพิธีในตอนเช้า เจ้าของนาจะนำอาหารใส่ชะลอมเล็กๆ ที่บุด้วยกระดาษบางๆ อาหารที่ใส่ในชะลอมมักมีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม อ้อย มะขาม ฯลฯ เพราะมีความเชื่อว่า ผู้ที่ตั้งครรภ์จะอยากรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว รวมทั้งแม่โพสพด้วย นอกจากนี้ยังมีแป้ง หมาก พลู กล้วย และขนมอื่นๆ รวมถึงอาหารหวานคาวต่างๆ ที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ เพราะอาหาร ที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ถือว่าเป็นอาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะแม่โพสพที่เป็นเจ้าแม่ แห่งข้าว หรือเป็นเทพธิดาประจำต้นข้าว จะไม่รับของที่เป็นเนื้อสัตว์แต่อย่างใด หลังจากเตรียมของที่จะไหว้เสร็จเรียบร้อย จึงนำของเหล่านั้นมาไว้ที่คันนา พร้อมนำธงที่ได้จากการประกอบพิธี เทศน์มหาชาติมาผูกติดกับชะลอมไว้ด้วย

เมื่อได้เวลา ผู้ประกอบพิธีทำขวัญข้าวจะพูดคำที่เป็นมงคลในการประกอบพิธี เช่น “วันนี้วันดี มาทำขวัญแม่ศรีโพสพ ให้ข้าวออกรวงดี ออกง่ายออกดาย อย่าเป็นโรคเป็นภัย ให้เลี้ยงลูกจนแก่เฒ่า ขอให้ร่ำรวย...” แม้แต่ละคนจะมีคำพูดที่แตกต่างกัน แต่คำพูดทำคำจะมีความหมาย ที่เป็นมงคลที่แสดงความต้องการให้ข้าวของตนมีความเจริญงอกงาม อุดมสมบูรณ์

เมื่อเสร็จสิ้นจากการทำขวัญข้าวแล้ว เจ้าของนาจะสบายใจ ด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพจะบันดาลให้มีผลผลิตดี เมื่อถึงเวลาที่ข้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ ก็จะมีการ “ลงแขก” การลงแขกคือ การที่เจ้าของนาแจ้งให้ผู้ที่รู้จักคุ้นเคยมาช่วยเกี่ยวข้าว นวดข้าว ซึ่งจะช่วยกันโดยวิธีผลัดเปลี่ยน เป็นบ้านๆ โดยไม่ต้องจ่ายค่าแรง เป็นประเพณีที่สร้างความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในหมู่ชาวบ้าน อีกประเพณีหนึ่ง

เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว หญิงสาวชายหนุ่มต่างยินดีมาร่วมเกี่ยวด้วย เพราะจะได้มีโอกาส มาชุมนุมรื่นเริง เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงโต้ตอบฝีปากกันบ้าง

การเกี่ยวข้าวมักเกี่ยวในตอนเช้า พอแดดร้อนก็หยุดพักและไปเกี่ยวใหม่ในตอนบ่าย ใครเกี่ยวได้เท่าใดก็เอารวมไว้เป็นกองๆ หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของเจ้าของข้าว เมื่อเสร็จจาก การเก็บเกี่ยวแล้วจะจัดมัดเป็นฟ่อนๆ เพื่อขนได้สะดวก เชือกที่มัดฟ่อนข้าวจะใช้เส้นตอกแทนเชือกชนิดอื่นๆ ถ้าไม่มีและไม่สะดวกก็สามารถใช้ซังข้าวฟั่นเป็นเกลียวเป็นเชือกมัดเรียกว่า เขน็ด การมัดนั้นจะต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างยิ่ง

ในขณะที่หญิงสาวชายหนุ่มไปเก็บเกี่ยวข้าวนั้น พวกผู้ชายที่แก่เฒ่าอยู่เฝ้าบ้านจัดทำลานสำหรับนวดข้าว ปรับพื้นดินให้เรียบจนติดกันแน่นแข็ง แล้วเอาขี้วัวขี้ควายสดๆ ละลายน้ำปนกับเปลือกไม้ที่มียางหรือไม่มีก็ได้ละเลงทาลานจนทั่วเพื่อให้ปิดดิน ทิ้งไว้จนลานแห้ง เพื่อใช้นวดข้าว

หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จจะนำข้าวมานวดในลานนวดข้าวที่เตรียมไว้ โดยใช้ควายย่ำ จะนำฟ่อนข้าวมาวางเรียงเป็นวงกลมหรือวงรีในลานนวดตามขนาดของลานนวดข้าว การเรียงฟ่อนข้าวใช้วิธีตั้งกำข้าวเอาซังลงดิน ใช้เคียวตัดกำข้าวออกเรียกว่า ตัด “คะเน็ด” เพื่อให้รวงข้าวหลุด จนกระทั่งกองข้าวได้ขนาดพอเหมาะก็ใช้ควายย่ำ การนวดข้าวอาจใช้ควายเพียงตัวเดียวหรือ หลายตัว ถ้าใช้หลายตัวก็นำมาผูกกันเรียงเป็นพวง โดยผูกที่คอเป็นพวงๆ ละประมาณ 3-4 ตัว แต่จะมีควายที่ชาวนานฝึกหัดไว้จนชำนาญอยู่ด้านใน เวลานวดให้ควายย่ำซ้ำอยู่พักหนึ่งก็หยุดพักควายระหว่างหยุดพักชาวนาจะใช้ “ขอฉาย” ซึ่งเป็นด้ามไม้ไผ่ยาว ที่ปลายมีเหล็กปลายงอติดอยู่ “สงฟาง” ที่ถูกนวดเรียบร้อยแล้วออกไป ถ้ายังมีเมล็ดข้าวติดอยู่ก็ใช้ขอฉายสงขึ้นมาไว้ข้างบน ทำอย่างนี้ประมาณ 3 ครั้งกับข้าว 1 กอง หรือ 1 ตก ในการตรวจดูฟางว่าสงสะอาดเรียบร้อยดีหรือไม่ก็ดูด้วยสายตา ถ้าเป็นเวลากลางคืนก็ทดลองใช้ฟางจุดไฟ ถ้ายังมีเมล็ดข้าวติดอยู่มาก จะมีเสียงดังเกิดขึ้น เมื่อนวดเสร็จแล้วก็สงฟางออกให้มากที่สุดคงเหลือแต่เศษฟางปะปนอยู่ ในกองข้าว

เมื่อเสร็จจากลงแขกเก็บเกี่ยวและนวดข้าวแล้ว เจ้าของนาก็จะทำพิธีรับขวัญข้าว เป็นการเชิญขวัญข้าวที่ได้หลังจากการเก็บเกี่ยว ก่อนจะนำไปเก็บในยุ้งฉาง

การรับขวัญข้าว หรือรับขวัญแม่โพสพจากกลางนามาประทับในยุ้งข้าว เป็นพิธีที่ แสดงว่าฤดูทำนาได้สิ้นสุดลงแล้ว ช่วงเวลาที่นิยมทำพิธีมีสองวันคือ วันจันทร์ข้าวยุ้ง หมายถึง การอัญเชิญแม่โพสพ (ข้าว) จากลานไปไว้ในยุ้ง และวันศุกร์ข้าวลาน หมายถึง ประเพณีรับขวัญ แม่โพสพเมล็ดข้าวที่ตกอยู่ตามลานไปไว้ที่ยุ้ง เหตุที่เลือกทำในวันจันทร์ เนื่องจากเชื่อว่า จะได้เจริญรุ่งเรือง ค้าขายข้าวได้ราคาดี เหมือนชื่อจันทร์ เพราะจันทร์เป็นสัญลักษณ์ของความส่องสว่าง รุ่งเรือง ส่วนเหตุที่เลือกทำในวันศุกร์นั้น เนื่องจากเชื่อว่า วันศุกร์ เป็นวันที่ให้ความสุข ไม่มีทุกข์โศกใดๆ

เมื่อได้เวลาในการทำพิธี เจ้าของนาจะเตรียมอาหาร เช่น ขนมต้มขาว ขนมต้มแดง ขนมหม้อแกง เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบพิธีรับขวัญข้าว พร้อมทั้งจะมีการกล่าวคำเชิญเหมือนกับการทำขวัญข้าวว่า “ขอเชิญแม่โพสพ นพดารา มารับขวัญข้าว ขอแม่เจ้าจงมา ตกหล่นกลางนา กลับมาอยู่ยุ้งฉาง”

ในการทำขวัญข้าว และการรับขวัญข้าว ที่ตำบลน้ำตาล อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนใหญ่จะให้ผู้หญิงเป็นผู้ดำเนินการ การกำหนดวันจะหาฤกษ์ดีตามความสะดวกของเจ้าของนา และมีการฝากต่อๆ กัน เพื่อที่จะให้เพื่อนบ้านมาร่วมประกอบพิธีด้วย

พิธีทำขวัญข้าวและพิธีรับขวัญข้าว สะท้อนสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับการทำนา เนื่องจากข้าวที่ได้จากการปลูกด้วยแรงกายแรงใจของตนนั้น ช่วยสร้างรายได้หล่อเลี้ยงชีวิตของคนในสังคม ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในตำบลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในปัจจุบันที่ตำบลน้ำตาล มิได้มีประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ทำลาน นวดข้าว และรับขวัญข้าวเหมือนสมัยก่อน เนื่องจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่รู้วิธีการและทำพิธีที่เกี่ยวข้องกับการทำนามีอยู่น้อยคน จึงไม่มีผู้สืบสานต่อ ทำให้ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการทำนาเริ่มจะเลื่อนหายไป หากผู้ที่มีความรู้ เรื่องนี้จากไปโดยไม่มีการสืบต่อรวมทั้งเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวสมัยใหม่ที่สะดวกกว่าเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานเหมือนก่อน จนทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับแม่โพสพเปลี่ยนไป ประเพณี ที่มีคุณค่าทางใจนี้น่าจะสูญหายไปในที่สุด


คำค้นหา :

ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ

ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ, ประเพณีทำขวัญ, ประเพณีแม่โพสพ, ทำขวัญ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

บทความ เศรษฐกิจพอเพียงคือฐานแห่งคุณธรรมนำสู่สังคมสมานฉันท์

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนวทางสายกลางในการดำรงอยู่อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ พระองค์ทรงยึดถือเป็นวัตรปฏิบัติ ดังที่ทรงมีพระราชดำรัสเมื่อ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา กระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่งทรงปรารภถึงพระราชดำรัสของสมเด็จพระราชชนนีว่า “ ภูมิพลต้องเหยียบดิน ถึงเดินไปบนภูเขาก็เดินบนดิน ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยึดถือเป็นอนุสติตลอดมา ทรงมีพระราชดำรัสในคราวเดียวกันอีกว่า “ พอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ เป็นความคิด ให้สามารถทำอะไรอยู่ได้ แม้แต่กองทัพ ” ทรงมีพระประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นว่าความพอเพียงนั้นสามารถใช้ได้กับทุกด้าน

การทำมาหากินของคนเรานั้น ก็ต้องหาให้พอกินในบ้านก่อน ถ้าหามาได้มากก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน และถ้าขายได้ก็ขาย วิถีดังเดิมของคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา มีขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวเนื่องกับการทำนาเรียกว่า “วัฒนธรรมข้าว” มีภูมิปัญญาคารวะธรรม สามัคคีธรรม และปัญญาธรรม นำสู่สังคมสมานฉันท์ ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่ยุคสุโขทัย ดังศิลาจารึกหลักที่ ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า “ เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ” แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มีวิถีในการดำเนินชีวิตในทางสายกลางอันเป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่ามรรค ๘ มีสัมมาอาชีวะเป็นหนึ่งในมรรค ๘ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงคือวิถีดั่งเดิมของคนไทย จึงเป็นฐานแห่งคุณธรรม ในยุคสุโขทัยนั้นมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงจึงแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรดังพ่อแห่งแผ่นดิน

การทำนาของไทย แต่ก่อนใช้คนเกี่ยวข้าว ใช้ควายไถนา มีการลงแขกเกี่ยวข้าว คือการที่เราไปช่วยเพื่อนบ้านเกี่ยวข้าวที่นาของเขาก่อน แล้วเขาก็จะมาช่วยเราเกี่ยวข้าวที่นาของเราเป็นการตอบแทน เรียกว่า “ ไปเอาแรงเขาไว้ก่อน แล้วเขาก็จะมาใช้แรงเราภายหลัง ” ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนเป็นการจ้าง การใช้เครื่องจักรแทนการใช้แรงงานคนและสัตว์

เมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมาเคยมีโรงสีข้าวขนาดเล็กอยู่ตามริมแม่น้ำ โรงสีขนาดเล็กบริการสีข้าวให้ชาวบ้านโดยไม่คิดค่าจ้าง แต่เจ้าของโรงสีจะได้รำข้าวและปลายข้าวที่ได้จากการสีข้าวเป็นการตอบแทนแล้วขายรำข้าวและปลายข้าวให้ชาวบ้านนำไป เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ โรงสีขนาดเล็กเป็นการบริการชุมชน เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตเพื่อบริโภค ทำให้ชาวนามีที่สีข้าวสารสำหรับบริโภค

(โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา ได้เปิดกิจการ และเริ่มสีข้าว ตั้งแต่วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยถึงฐานะความเป็นอยู่ของชาวนา โดยเฉพาะรายได้จากการขายข้าวที่ขาดหายไป เนื่องจากการขายข้าวให้พ่อค้าคนกลาง แล้วนำ เงินมาซื้อข้าวบริโภคในราคาแพง จึงมีพระราชดำริว่าสมควรที่จะแก้ไขโดยให้ชาวนา ร่วมกันเป็นกลุ่มดำเนินงานในแบบ สหกรณ์โดยยึดหลัก สีข้าวเอง เก็บไว้บริโภคเอง ส่วนข้าวเปลือกที่เหลือจากการสี ก็สามารถขายได้)

นอกจากนี้ผู้คนยังใช้เรือบรรทุกข้าวขนส่งทางน้ำ การขนส่งทางน้ำบรรทุกได้มากกว่าการขนส่งทางรถยนต์ ค่าขนส่งทางน้ำถูกกว่าทางรถยนต์ ต่อมามีนายทุนตั้งโรงสีข้าวขนาดใหญ่รับซื้อข้าวส่งขายต่างประเทศ พ่อค้าคนกลางใช้รถยนต์ออกไปรับซื้อข้าวเปลือกถึงยุ้งข้าวชาวนา ชาวนาพากันขายข้าวเปลือก ไม่นำข้าวเปลือกไปสีตามโรงสีขนาดเล็ก โรงสีขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ต้องปิดกิจการ ชาวนาเปลี่ยนวิถีจากผู้ผลิตเพื่อบริโภคเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายผ่านกลไกตลาด ชาวนาไม่ได้บริโภคข้าวที่ตนเองผลิต แต่ซื้อข้าวสารจากตลาดมาบริโภค สังคมชาวนาเข้าสู่ระบบบริโภคนิยม ละทิ้งภูมิปัญญาการเป็นผู้ผลิตเพื่อบริโภค ละทิ้งการใช้บริการของชุมชน ทำให้ต้องใช้เงินซื้อจากตลาดมาบริโภค ตลาดเป็นของนายทุน เขาจำหน่ายเพื่อหวังกำไร ชาวนาจึงประสบปัญหาซื้อของแพงมาบริโภค

เราต้องแก้ไขโดยการสร้างสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจพอเพียง คือสร้างกระแสในระดับชาติ ด้วยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้คนหันมาบริโภค นุ่งห่ม อยู่อาศัยอย่างพอเพียง และสร้างบทบาทผู้ผลิตเพื่อบริโภคในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ให้เกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจพอเพียง อัลวิน ทอฟฟเลอร์ นักวิชาการและนักวิจารณ์สังคมมีชื่อได้กล่าวไว้ในหนังสือคลื่นลูกที่สามว่า “ ตราบใดที่ยังมองไม่เห็นความสำคัญของผู้ผลิตเพื่อบริโภค ตราบนั้นจะไม่มีวันแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้เลย เส้นกั้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคเริ่มลบเลือน บทบาทของผู้ผลิตเพื่อบริโภคกำลังจะเปลี่ยนสภาพการตลาด วิถีชีวิตของเราจะเปลี่ยนไป ระบบของโลกจะเปลี่ยนไป ” การผลิตเพื่อบริโภคแม้ไม่เกิดมูลค่า แต่ไม่ต้องซื้อมาบริโภค ทำให้ประหยัดรายจ่าย เกิดความพอเพียงแก่ตนเอง ครอบครัวและชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขนำสู่สังคมสมานฉันท์

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการยอมรับในระดับโลก เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๙ องค์การสหประชาชาติโดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย โคฟี อันนัน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award และได้กล่าวปาฐกถาถวายราชสดุดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่เริ่มจากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้านและสู่เศรษฐกิจในวงกว้าง มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ องค์การสหประชาชาติสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกทั้ง ๑๖๖ ประเทศ ยึดเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมารณรงค์เผยแพร่ มีหลักการ ๓ ประการ คือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และ ๒ เงื่อนไข คือ ความรู้ และคุณธรรม หลักการประการที่ ๑ คือ ความพอประมาณ ความพอดี ความซื่อตรง ไม่โลภมาก ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่เกินกำลังความสามารถของตนเองจนทำให้ให้เกิดความลำบากในภายหลัง

หลักการประการที่ ๒ คือความมีเหตุผล ความเหมาะสมทั้งต้นและปลาย ความเป็นไปได้ในการผลิต การเล็งเห็นผลของความเพียรที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การผลิตเพื่อจำหน่ายต้องมีการลงทุน การจำหน่ายใช้ระบบเงินตราแลกเปลี่ยนสินค้า ต้องจำหน่ายสินค้าให้ได้โดยไม่ขาดทุน ยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ทุกมุมโลกจะแยกย่อยและหลากหลายมากขึ้น แต่จะมีการเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ความมีเหตุผลจะนำสู่ความสมดุล มั่นคง ความยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม

หลักการประการที่ ๓ คือการมีภูมิคุ้มกัน ความพอประมาณและความมีเหตุผลจะเป็นภูมิคุ้มกันความเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอก ทางสายกลางเป็นทางเลือกในการตัดสินใจเผชิญกับความไม่แน่นอนในอนาคต หลักการทั้ง ๓ ประการดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข ๒ ประการ

เงื่อนไขประการที่ ๑ คือความรู้หมายถึง ความรอบรู้ในทางทฤษฎี หลักการ วิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างสมบรูณ์รอบด้าน ความรอบคอบบูรณาการเชื่อมโยงในขั้นการวางแผน และความระมัดระวัง มีสติในการนำไปใช้ในขั้นการปฏิบัติ

เงื่อนไขประการที่ ๒ คือคุณธรรมหมายถึงการประกอบสัมมาชีพ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน ความเพียร และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต มีความรับผิดชอบทางจริยธรรมต่อสังคม

ด้วยคุณธรรมของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต ความอดทน และความเพียร จึงทำให้เกิดความพอเพียงแก่ตนเอง ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น สร้างสามัคคีธรรมขยายสู่ชุมชน นำสู่สังคมสมานฉันท์ เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้เกิดความพอเพียงขึ้นภายในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของโลกขยายออกไปสู่ภูมิภาค หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ จึงเป็นปรัชญาในการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืนและมั่นคง ข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่าสมควรที่จะปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อเป็นพรอันประเสริฐน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาความยากจนของราษฎร นำชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อให้อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขสมดังมโนปณิธานที่ทรงประกาศปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” อันเป็นพระบรมโพธิสมภารรักษาเอกราช และความเป็นราชอาณาจักรไทยสืบไป.


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง, บทความเศรษฐกิจพอเพียง, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงาน

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลาที่จะลองผิดลองถูกในการทำงาน เพราะกำไรจึงเป็นของผู้ลงมือก่อน เราจึงต้องเปลี่ยนแปลง ต้องจัดสรรเวลาให้รวดเร็ว ในวันหนึ่ง ๆ เราใช้เวลาในการทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับ 8 ชั่วโมง อื่น ๆ 8 ชั่วโมง ในเวลา 1 วัน มี 24 ชั่วโมง หากทบทวนดู เราใช้เวลาให้มีคุณภาพในแต่ละวินาทีอย่างไร หายใจทิ้ง คอรับชั่นเวลาไปเท่าไร เราเคยคิดหรือไม่ว่า เราทำงาน เราทุ่มเทให้หน่วยงานองค์กรเท่าไร เราขโมยเวลาในการทำงานให้หน่วยงานไปเท่าไรหรือเราคิดวนเวียนว่า เราจบจากไหน ได้เงินเดือนเท่าไร มีตำแหน่งบริหารหรือไม่ ได้สองขั้นหรือไม่ ใครได้ดีเกินเรา แล้วก็มัวแต่นั่งหายใจทิ้งไปเฉย ๆ โดยไม่ลงมือทำอะไรเลย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เป็นวิถีชีวิตที่สามารถใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ เพื่อให้ดำรงตนและปฏิบัติตนให้สมดุล ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่เป็นการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เช่น เป็นผู้บริหารที่พอเพียง การพูด การคิดต้องพอเพียง อย่าให้ความคิดกระจาย ซึ่งเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงานได้ง่าย ๆ ดังนี้

ความพอประมาณ ได้แก่ เรียบง่าย ประหยัด การทำอะไรที่พอเหมาะพอควร สมดุลกับอัตภาพ ศักยภาพของตนและสภาวะแวดล้อม ตามความสามารถของแต่ละคน พอประมาณกับภูมิสังคม สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ การทำงานทุกอย่างต้องเรียบง่าย ประหยัด อย่าทำงานให้ยุ่ง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ มีกำหนดการทำงานตามลำดับขั้นตอน และมีการปฏิบัติชัดเจน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องรู้ว่านักศึกษาต้องการอะไร ผู้ใช้บัณฑิตต้องการอะไร เพราะทุกกิจกรรม ทุกงานที่ทำมีต้นทุน อย่าทำงานทิ้งๆ ขว้าง ๆ การทำงานต้องมีประโยชน์ มีผลผลิตที่เกิดขึ้น

ความมีเหตุผล คือ การคิด ฟัง ปฏิบัติ การทำงานต้องใช้หลักความรู้ในการทำงาน วางแผนงานต้องระมัดระวัง ต้องใช้หลักวิชาการช่วยสนับสนุน อย่าใช้ความรู้สึกและอารมณ์ในการทำงาน ทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน การพัฒนาตัวเองต้องเกิดขึ้นจากภายในตัวเองของแต่ละคน จึงต้องแสดงศักยภาพออกมาให้ได้

มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ต้องมีแผนกลยุทธ์ เช่น เป็นอาจารย์ต้องมีแผนการสอน องค์กรต้องมีแผนกลยุทธ์ เป็นต้น การทำงานต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมองภาพรวม ทุกคนมีส่วนร่วม คือการประสานงาน และการบูรณาการปรับวิธีการทำงาน หน่วยงานองค์กรต้องมีธรรมาภิบาลเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้นกันภายในตัว

ชีวิตที่พอเพียงในการทำงานการศึกษา จึงต้องยึดความพอเพียง ประกอบด้วย ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาที่ยึดคุณธรรม ความเพียร ความรอบรู้ ความซื่อสัตย์สุจริตให้เข้าสู่จิตใต้สำนึกของผู้เรียน บุคลากร และต้องมีธรรมาภิบาลในองค์กร การทำงานกับมนุษย์ต้องใช้หลักการ หลักวิชาการให้สอดคล้องกับภูมิสังคม คือภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม ต้องปรับกระบวนการทำงานจากบนลงล่าง เป็นล่างขึ้นบน เป็นผู้เป็นหุ้นส่วนระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายของการศึกษาคือ คุณภาพชีวิตและสังคม เพื่อลดความยากจน เป็นเครื่องมือดูแลสุขภาพ เป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือสำหรับ ธรรมาภิบาลหรือความโปร่งใสของสังคม

การเป็นผู้นำยุคใหม่นี้ ต้องมีความสามารถในการชี้นำ การสื่อสาร และสร้างการเรียนรู้เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้นำผู้ตาม รวมทั้งสามารถทำให้ผู้ร่วมงานสามารถตามทันวิสัยทัศน์ผู้นำได้ การบริหารจัดการจึงต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จคือคุณภาพตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรจึงต้องวางระบบให้กิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


คำค้นหา :

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง

เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน, เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง ของ ฉัน, เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจําวัน, ตัวอย่างเรียงความเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, การ เขียน เรียงความ เศรษฐกิจ พอ เพียง, เรียงความพ่อของแผ่นดิน, เรียงความ วัน แม่
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การวาดภาพ สอนวาดภาพ เรียนวาดภาพ

การวาดภาพ สอนวาดภาพ เรียนวาดภาพ
การวาดภาพ สอนวาดภาพ เรียนวาดภาพ















ผู้ที่จะเรียนอย่างได้ผล ต้องฝึกฝน ไปที่ละขึ้นตอนที่ละข้อจึงจะสำเร็จตามเป้าหมาย ช่วงแรกที่เรียนยังไม่เข้าใจว่าต้องฝึกฝนอย่างไร พอเรียนไป แล้วถึงรู้ว่าต้องฝึกฝนจริงๆ (ฝนดินสอเป็นวันๆเลย)


ขั้นแรก การเรียนรู้น้ำหนักมือ การบังคับทิศทางมือ ต้องฝึกจนจำความหนักเบาได้ดังนี้


1.วาดรูป สี่เหลี่ยม 2 x 2 นิ้ว 4 แถว แถวละ 5 ช่อง แรเงาจากเข้มมากจนจางลง เป็น 5 ระดับความเข้ม แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน

วาดรูป สี่เหลี่ยม 2 x 2 นิ้ว 4 แถว แถวละ 5 ช่อง
วาดรูป สี่เหลี่ยม 2 x 2 นิ้ว 4 แถว แถวละ 5 ช่อง
ดินสอ HB ตีกรอบ ดินสอ EE แรเงา จับดินสอคล้ายกับจับปากกาแล้วขีดไปทิศทางเดียวกันสั้นไม่ต้องยาวมาก ไม่ตะแคงดินสอแบบที่แรเงากันตอนเด็กๆ ดินสออย่าทู่มากเส้นจะไม่สวย

2.วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 4 นิ้ว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง แรเงาจากเข้มมากจนจางลง 4 ระดับความเข้ม แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน
วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 4 นิ้ว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง
วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 4 นิ้ว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง
ฝนลากยาวๆ ได้

3.วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 8 นิ้ว 2 ช่อง ช่องแรก แรเงาจากเข้มมากจนจางลง ช่อง 2 แรเงาจากอ่อนถึงเข้มมาก แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน
วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 8 นิ้ว 2 ช่อง
วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 8 นิ้ว 2 ช่อง
เทคนิค ดินสอ HB ตีกรอบ ดินสอ EE แรเงา สำคัญ ดินสอเหลาต้องแหลมพอสมควร ทิศทางที่แรเงาต้องเป็นแนวเดียวกัน บนลงล่าง-ล่างขึ้นบน หรือ ทะแยงบนลงล่าง-ล่างขึ้นบน จับดินสอเหมือนจับปากกาทำมุมประมาณ 45 องศา แต่ละช่องต้องตั้งใจและใช้เวลานานพอสมควรไม่ควรรีบร้อน

ขั้นสอง การเรียนรู้เรื่องแสงเงา

1.วาดรูปทรงกระบอก แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
วาดรูปทรงกระบอก แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ
วาดรูปทรงกระบอก แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ 
2.วาดรูปทรงกลม แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
วาดรูปทรงกลม แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
วาดรูปทรงกลม แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
3.วาดรูปทรงกระบอก 3 อัน ให้แสงส่องคนละด้าน ทั้งนอนและเอียง อาจวาดรูป สามเหลี่ยม หกเหลี่ยมเพื่อเป็นการฝึกเพิ่มเติม
วาดรูปทรงกระบอก 3 อัน ให้แสงส่องคนละด้าน ทั้งนอนและเอียง
วาดรูปทรงกระบอก 3 อัน ให้แสงส่องคนละด้าน ทั้งนอนและเอียง
4.วาดรูปทรงเรขาคณิตแบบกลุ่มแล้วลงแสงเงา กลุ่ม 1
วาดรูปทรงเรขาคณิตแบบกลุ่มแล้วลงแสงเงา กลุ่ม 1
วาดรูปทรงเรขาคณิตแบบกลุ่มแล้วลงแสงเงา กลุ่ม 1

คำค้นหา :

การวาดภาพ สอนวาดภาพ เรียนวาดภาพ

การวาดภาพ, สอนวาดภาพ, เรียนวาดภาพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ผญา คำกลอน เดือน 9 บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดิน
ประเพณีบุญเดือนเก้า ฮีตครองเก่าเคยมีมา
กลางพรรษาฮีตสิบสอง สืบต่อครองฮีตของเค้า
นั่นคืองานบุญข้าว ประดับดินศีลสิบสี่
เพิ่นพามีห่อข้าวน้อย พายซ้อยสืบมา


ครองปู่ย่าฮีตเค้า ของเก่าโบราณมี
ปวงภูตผีบรรพชน ว่ายวนอยู่ภายพื้น
หวังจักคืนมาเอาข้าว ลูกหลานเอามาวางปล่อย
เอิ้นว่าห่อข้าวน้อย ประสงค์ให่ใส่ภาช์


อุทิศาไปเถิงท่าน บำเพ็ญทานสู่โลกใหม่
มีจิตใจส่งให้ฮู้ ได้ซูซ้วนส่วนบุญ
ดวงวิญญาณ์บ่มาวุ่น นำผลบุญสู่ภพใหม่
จิตแจ่มใสได้ข้าวน้อย เป็นภายซ้อยสืบมา


เจริญ บุดดีเสาร์
๒๔/๐๘/๒๕๕๗



คำค้นหา :

บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน, ลาวบุญคูนข้าว, บุญข้าวสาก, บุญเดือน 9
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th