Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript
สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษาจังหวัดสกลนคร ประจำปี 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 |
สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษา
ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนนาราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ณ บึงหนองหาร สวนสมเด็จย่า (สระพังทอง) อ.เมือง จ.สกลนคร
ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2557
จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ เทศบาลนครสกลนคร
เรือยาวชายไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสุรสิทธิ์ ม.ราชภัฏสกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 เทพทุ่งทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รางวัลชมเชย พิบูลย์ชัยมหาวารี โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร
เรือยาวหญิงไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสิทธิพร1 อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 2 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
เรือยาวชายไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ ชาญคำแก้ว อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 คำปลิวสิงห์ภูทอก อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เทพปัญญาธร ม.ราชภัฏสกลนคร
- รางวัลชมเชย ไทเกอร์ ฮาร์ดร็อค อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพพิบูลย์ชัย โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร
เรือยาวหญิงไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ จันทร์ศรีสงคราม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 นรสิงห์นาวา อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 สองนาง อ.พังโคน จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย พรมหาพรหม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพสุวรรณ อ.เมือง จ.สกลนคร
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557, แข่งขันเรือยาว, สกลนคร 2557, เรือยาวสกลนคร, ออกพรรษาสกลนคร
ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนนาราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ณ บึงหนองหาร สวนสมเด็จย่า (สระพังทอง) อ.เมือง จ.สกลนคร
ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2557
จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ เทศบาลนครสกลนคร
เรือยาวชายไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสุรสิทธิ์ ม.ราชภัฏสกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 เทพทุ่งทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รางวัลชมเชย พิบูลย์ชัยมหาวารี โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร
เรือยาวหญิงไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสิทธิพร1 อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 2 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
เรือยาวชายไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ ชาญคำแก้ว อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 คำปลิวสิงห์ภูทอก อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เทพปัญญาธร ม.ราชภัฏสกลนคร
- รางวัลชมเชย ไทเกอร์ ฮาร์ดร็อค อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพพิบูลย์ชัย โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร
เรือยาวหญิงไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ จันทร์ศรีสงคราม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 นรสิงห์นาวา อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 สองนาง อ.พังโคน จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย พรมหาพรหม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพสุวรรณ อ.เมือง จ.สกลนคร
คำค้นหา : | แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
แข่งขันเรือยาว,
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557,
เรือยาวสกลนคร,
สกลนคร 2557
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย |
ในสมัยนี้มีการประสมวงดนตรีไทย 3 ประเภท คือ
1. การบรรเลงพิณ สันนิษฐานว่าเป็นการบรรเลงในรูปแบบการประสมวงเป็นครั้งแรก มีจุดประสงค์เพื่อขับกล่อม
2. วงขับไม้ เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น สมโภชพระมหาเศวตฉัตร พิธีขึ้นพระอู่ เป็นต้น นิยมบรรเลงมาจนถึงปัจจุบัน
3. วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง
4. วงเครื่องประโคม เป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับงานพระราชพิธี สันนิษฐานว่า
มีจุดประสงค์เพื่อแสดงพระบรมเดชานุภาพ และพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ วงเครื่องประโคมแบ่งเป็น วงประโคมแตรและมโหระทึก วงประโคมแตรสังข์กลองชนะ เป็นต้น
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย, การประสมวงดนตรีไทย, สมัยกรุงสุโขทัย, ดนตรีไทย
1. การบรรเลงพิณ สันนิษฐานว่าเป็นการบรรเลงในรูปแบบการประสมวงเป็นครั้งแรก มีจุดประสงค์เพื่อขับกล่อม
2. วงขับไม้ เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น สมโภชพระมหาเศวตฉัตร พิธีขึ้นพระอู่ เป็นต้น นิยมบรรเลงมาจนถึงปัจจุบัน
3. วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง
4. วงเครื่องประโคม เป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับงานพระราชพิธี สันนิษฐานว่า
มีจุดประสงค์เพื่อแสดงพระบรมเดชานุภาพ และพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ วงเครื่องประโคมแบ่งเป็น วงประโคมแตรและมโหระทึก วงประโคมแตรสังข์กลองชนะ เป็นต้น
คำค้นหา : | การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
การประสมวงดนตรีไทย,
ดนตรีไทย,
สมัยกรุงสุโขทัย
เพลงที่ใช้ในการแข่งขันวงดนตรีไทย งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย, แข่งขันดนตรีไทย, ดนตรีไทย, แข่งดนตรีไทย, ศิลปหัตถกรรม จังหวัดสกลนครครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, เกณฑ์แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางและตะวันออก, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65, www.esan64.net, ศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64 |
วงเครื่องสายวงเล็กผสมขิม
คำค้นหา : | เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64 |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
แข่งขันดนตรีไทย,
แข่งดนตรีไทย,
ดนตรีไทย,
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย
ศิลปะกับมนุษย์
ศิลปะกับมนุษย์
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ศิลปะกับมนุษย์ |
แนวความคิดมนุษยปรัชญา เชื่อว่า ศิลปะมีสัมพันธ์แนบแน่นกับดวงจิตมนุษย์มาอย่างช้านาน ในสมัยโบราณศิลปะหลอมรวมกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ศิลปะเป็นดั่งสายรุ้งเชื่อมโยงมนุษย์กับโลกเบื้องบน (โลกแห่งจิตวิญญาณ) ถ้าเราได้มีโอกาสศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็จะพบว่า ศิลปินยุคสมัยหนึ่ง (ก่อนยุคเรอนาซอง – Renaissance) ทำงานอุทิศแด่ศาสนา รังสรรค์ผลงานศิลปะ ทั้งจิตรกรรม และ ประติมากรรม ในโบสถ์ วิหาร และศาสนสถานมากมายในประเทศรัสเซียมีงานศิลปะรูปพระแม่มารี และพระเยซู โดยศิลปินเหล่านั้นไม่เคยจารึกนามบนชิ้นงานศิลปะเหล่านั้นเลย ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในยุโรป แต่ยังรวมถึงฟากฝั่งโลกตะวันออกของเราอีกด้วย เฉกเช่นผลงานพุทธศิลป์ในอดีตมากมายในประเทศของเรารวมถึงชมพูทวีป ก็ไม่ปรากฏว่ามีการจารึกนามของเจ้าของผลงานด้วยเช่นกัน ที่สำคัญกว่านั้น เด็กทุกคนซึ่งได้เกิดขึ้นในโลกนี้ การวาดภาพกลายเป็นธรรมชาติภายในที่ทำให้พวกเราตระหนักถึงข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี ว่ากันที่จริงแล้ว ก็ละม้ายคล้ายกับจิตใจอันบริสุทธิ์ในการวาดภาพของเด็ก ซึ่งมีนัยยะความสัมพันธ์ ระหว่างดวงจิตของมนุษย์กับศิลปะ นั่นเอง
ศิลปะกับมนุษย์, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะกับมนุษย์
คำค้นหา : | ศิลปะกับมนุษย์ |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ศิลปะ,
ศิลปะกับมนุษย์,
ศิลปะในสังคมไทย
จากศิลปะ สู่ ศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัด
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ศิลปะบำบัด |
มนุษยปรัชญา (Anthroposophy) มีรากฐานของความเข้าใจมนุษย์ทั้งสามส่วนหลัก คือ ความคิด (Thinking) ความรู้สึก (Feeling) และ เจตจำนง (Willing) องค์ประกอบทั้งสามนี้จะปฏิสัมพันธ์อย่างสมดุลย์ตามช่วงเวลาการเติบโต และหากบุคคลหนึ่งบุคคลใดเกิดภาวะเจ็บป่วย ทั้งโรคทางกายหรือโรคทางใจ ไม่ว่าจะเพศหรือวัยใด สามสิ่งข้างต้นก็จะสูญเสียความสมดุลย์ ซึ่งจะส่งผลต่อ ทางกาย (กระบวนการเผาผลาญร่างกาย) ทางใจ (ระบบหมุนเวียนของโลหิตและการทำงานของหัวใจ) ทางความคิด (ระบบประสาท และการทำงานของสมอง)
การบำบัด (Therapy) โดยใช้คิลปะ จึงเป็นการกระทำจากภายนอกร่างกายเข้าไปหลอมรวมสู่ภายใน เพื่อสร้างสมดุลย์ หรือขจัดภาวะติดขัด การถูกกดภายใน ให้หลุดหรือคลายออก โดยผู้รับการบำบัดจะปฏิบัติโดยรับประสบการณ์ จากภายนอกเข้าไปไว้ในตัว แล้วเกิดการสร้างสรรค์จากภายใน เพื่อถ่ายทอดอีกครั้ง
ที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่า พื้นฐานความคิดนี้ แตกต่างจากความเข้าใจศิลปะบำบัดในกระแสหลักทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุว่า ศิลปะบำบัดแนวทางมนุษยปรัชญาให้ความสำคัญทั้งการรับความรู้สึก (Impress) และ แสดง ความรู้สึก (Express) เหมือนกับจังหวะของลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
การบำบัด (Therapy) โดยใช้คิลปะ จึงเป็นการกระทำจากภายนอกร่างกายเข้าไปหลอมรวมสู่ภายใน เพื่อสร้างสมดุลย์ หรือขจัดภาวะติดขัด การถูกกดภายใน ให้หลุดหรือคลายออก โดยผู้รับการบำบัดจะปฏิบัติโดยรับประสบการณ์ จากภายนอกเข้าไปไว้ในตัว แล้วเกิดการสร้างสรรค์จากภายใน เพื่อถ่ายทอดอีกครั้ง
ที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่า พื้นฐานความคิดนี้ แตกต่างจากความเข้าใจศิลปะบำบัดในกระแสหลักทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุว่า ศิลปะบำบัดแนวทางมนุษยปรัชญาให้ความสำคัญทั้งการรับความรู้สึก (Impress) และ แสดง ความรู้สึก (Express) เหมือนกับจังหวะของลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
คำค้นหา : | ศิลปะบำบัด |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ศิลปะ,
ศิลปะในสังคมไทย,
ศิลปะบำบัด,
ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา |
ในกระบวนการบำบัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ทั้งเจ็ดแขนงจำต้องศึกษาประวัติผู้เข้ารับการบำบัดอย่างละเอียดจากแพทย์ ครอบครัว ครู (ในกรณีที่ผู้รับการบำบัดเป็นเด็ก) และขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้เวลากับตนเองประมาณสามสัปดาห์ในการเฝ้าดูความเป็นไปของผู้รับการบำบัด เพื่อผลการวินิจฉัยการทำงานบำบัดของตนเอง ว่าจะ ‘เลือก’ สิ่งใดไป ‘บำบัด’ และ ‘เปลี่ยนแปลง’ ภายในของผู้รับการบำบัด โดยมีเหตุผลที่ชัดเจนต่อความเจ็บป่วยนั้น นั่นหมายถึงการบำบัดต้องมีเป้าหมายที่แจ่มชัดต่อทุกขั้นตอนในกระบวนการนั้น ตั้งแต่การเลือกสรร ใช้วัสดุอุปกรณ์ บทเรียนในการบำบัด นั่นจึงเรียกว่าการบำบัดที่สมบูรณ์ และนี่คือการงานของนักศิลปะบำบัดที่แท้จริง
กล่าวในส่วนของประเทศไทย แม้จะมีการหยิบยกศิลปะบำบัดมาพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าสังเกตและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราก็จะพบความทับซ้อนกับการศึกษาบำบัด (Curative Education) เป็นอย่างมาก การจัดการศึกษาบำบัดเกิดขึ้นมานานกว่าหกสิบปี โดยจัดการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้พวกเขาได้รับการพัฒนาที่สูงขึ้น Blitz (1999) นักปรัชญาการศึกษาคนสำคัญกล่าวว่า แนวคิดการศึกษาบำบัด และ การศึกษาพิเศษ (Special need in Education) มีทั้งส่วนที่คล้าย และส่วนที่ต่างกัน กล่าวคือ ทั้งสองแนวคิดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ และมองที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ แต่การศึกษาบำบัดนั้นมองเด็กต่างไปจากการศึกษาพิเศษ โดยเป็นการ มองเด็กแบบองค์รวม (Holistic View) เน้นความสำคัญทั้ง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
ดังนั้นเอง การจัดการศึกษาบำบัดนั้น จึงมุ่งเน้นจัดกิจกรรมที่ลึกซึ้ง บนสุนทรียภาพ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและบริบทของสังคมนั้นๆ เน้นวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อให้เป็นมิติของการบำบัดจริงๆ กิจกรรมมีลักษณะเป็นกลุ่ม และค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น การวาดภาพ การร้อยเมล็ดพืช การระบายสีบนดินเผา รวมทั้งงานประดิษฐ์อื่น ๆ ไม่ได้เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล หรือเฉพาะเจาะจงในกระบวนการวาด หรือกระบวนการปั้น สิ่งที่ได้กล่าวมามีรูปแบบอยู่ในประเทศตะวันตกอย่างชัดเจนว่า คือการศึกษาบำบัด นั่นเอง
ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
กล่าวในส่วนของประเทศไทย แม้จะมีการหยิบยกศิลปะบำบัดมาพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าสังเกตและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราก็จะพบความทับซ้อนกับการศึกษาบำบัด (Curative Education) เป็นอย่างมาก การจัดการศึกษาบำบัดเกิดขึ้นมานานกว่าหกสิบปี โดยจัดการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้พวกเขาได้รับการพัฒนาที่สูงขึ้น Blitz (1999) นักปรัชญาการศึกษาคนสำคัญกล่าวว่า แนวคิดการศึกษาบำบัด และ การศึกษาพิเศษ (Special need in Education) มีทั้งส่วนที่คล้าย และส่วนที่ต่างกัน กล่าวคือ ทั้งสองแนวคิดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ และมองที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ แต่การศึกษาบำบัดนั้นมองเด็กต่างไปจากการศึกษาพิเศษ โดยเป็นการ มองเด็กแบบองค์รวม (Holistic View) เน้นความสำคัญทั้ง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
ดังนั้นเอง การจัดการศึกษาบำบัดนั้น จึงมุ่งเน้นจัดกิจกรรมที่ลึกซึ้ง บนสุนทรียภาพ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและบริบทของสังคมนั้นๆ เน้นวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อให้เป็นมิติของการบำบัดจริงๆ กิจกรรมมีลักษณะเป็นกลุ่ม และค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น การวาดภาพ การร้อยเมล็ดพืช การระบายสีบนดินเผา รวมทั้งงานประดิษฐ์อื่น ๆ ไม่ได้เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล หรือเฉพาะเจาะจงในกระบวนการวาด หรือกระบวนการปั้น สิ่งที่ได้กล่าวมามีรูปแบบอยู่ในประเทศตะวันตกอย่างชัดเจนว่า คือการศึกษาบำบัด นั่นเอง
คำค้นหา : | ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ศิลปะ,
ศิลปะในสังคมไทย,
ศิลปะบำบัด,
ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย |
ปัจจุบัน สังคมไทยให้ความสำคัญกับศิลปะบำบัดมากขึ้น ซึ่งก็นับเป็นสัญญาณที่ดี ในปีหนึ่ง ๆ มีผู้เข้ารับการบำบัดตั้งแต่เด็กไปจนกระทั่งผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก แม้ความรู้ทางวิชาการจะยังอยู่ในวงจำกัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ที่ได้ร่ำเรียนและฝึกฝนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติมาอย่างจริงจัง ก็ยังนับว่าน้อยมาก ซึ่งความรู้ที่ลึกซึ้งและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ยังจำเป็นมากต่อการบำบัด ดังนั้น ช่วงเวลานับจากนี้จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจไม่น้อยว่า ศิลปะบำบัดในประเทศไทยจะสามารถยกระดับองค์ความรู้และศักยภาพของเรา ให้เพียงพอที่จะรับมือกับความผันผวน และการเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนของโลกทุกวันนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย
คำค้นหา : | ศิลปะบำบัดในสังคมไทย |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ศิลปะ,
ศิลปะในสังคมไทย,
ศิลปะบำบัด
ประโยชน์ของการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมสู่ความงดงามแห่งชีวิตและสุขภาพ
ประโยชน์ของศิลปะ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประโยชน์ของศิลปะ |
- ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง
- ได้ใช้ความคิดที่เป็นอิสระ รู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเอง
- เป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายและเป็นช่วงเวลาที่ดีต่อความทรงจำมากๆ
- ได้รู้สึกถึงการมีอิสระของความคิด ถึงแม้ภาพที่วาดออกมาจะไม่สวยนัก แต่ก็เป็นการแสดงออกของความคิดที่เป็นตัวของเราเอง
- ทำให้เราได้รู้จักความคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเองในขณะที่ทำงานศิลปะ
- เป็นช่วงเวลาที่ได้นึกถึงเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นภายในจิตใจอย่างมีสติและรอบคอบ
- ก่อให้เกิดสมาธิขึ้นมาในจิตใจ ทำให้รู้จักการดูแลและบำบัดความเครียดด้วยตนเอง
- ทำให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจในขณะที่กำลังวาดภาพศิลปะ
- ทำให้ได้ย้อนรำลึกถึงความสัมพันธ์ในอดีตของตนเองกับบุคคลอันเป็นที่รักแม้ว่าท่านจะจากไปแล้ว ศิลปะช่วยให้คิดถึงบุคคลอันเป็นที่รักมากขึ้นและจะคิดถึงตลอดไป
- ทำให้เราได้นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ที่เราได้ลืมมันไป ศิลปะทำให้เราได้ย้อนไปในอดีตและรู้สึกดีที่ได้คิดถึงมันอีกครั้ง
- รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมการวาดภาพ แม้ครั้งแรกจะรู้สึกไม่อยากวาดแต่การได้แลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกจากการวาดภาพกับเพื่อนทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุขมาก
- ทำให้คิดถึงความรู้สึกดีๆ ในอดีตที่กำลังจะหายไป การวาดภาพทำให้เข้าใจในสิ่งที่มันเกิดและคิดว่าในอนาคตจะทำให้ความรู้สึกดีๆ นี้กลับคืนมาอีกครั้ง
- การวาดภาพทำให้นึกถึงในอดีตที่มีความสุข เมื่อนึกถึงภาพเหล่านี้เมื่อใดก็ยิ้มออกมาทุกครั้ง
- ตอนแรกรู้สึกไม่ค่อยชอบการวาดภาพ แต่ต่อมาเมื่อได้วาดและบรรยายถึงภาพที่ต้องการสื่อออกมากลับทำให้รู้สึกดีที่ได้เล่าถึงที่มา เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจตลอดเวลาแต่ไม่มีโอกาสได้พูด เมื่อได้พูดแล้วรู้สึกดี สบายใจขึ้น
- การวาดภาพทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ได้คิดถึงในอดีต คิดถึงคนที่ไม่ได้พูดคุยด้วยและรู้สึกมีความสุขที่ได้วาดภาพออกมา
- การวาดภาพทำให้จิตของเรา ความคิดของเราได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับเรื่องราวในอดีตที่เราเคยทำในที่นั้นๆ การแต่งเติมภาพบางครั้งก็ทำให้เราคิดได้ว่าบางอย่างมันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจจะให้เป็น
- ศิลปะทำให้จิตใจเราได้ปลดปล่อย ผ่อนคลาย นึกถึงสิ่งเก่าๆ ที่ผ่านมา มีสติ ได้คิดและมองเห็นความสำคัญของบางสิ่งที่เรานึกถึง และได้รับรู้ถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นในใจ
- ในขณะที่วาดภาพเป็นเวลาที่ได้ย้อนกลับไปในเหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในครอบครัว มีทั้งสุข ทุกข์ เศร้า อบอุ่น ดีใจ เสียใจ ณ สถานที่แห่งนั้นและได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
- รู้สึกว่ามีรอยยิ้มผุดขึ้นในใจ มีความสุขมาก การวาดภาพจะช่วยสื่อถึงความรู้สึกของเราได้ดีกว่าการพูดออกมา
- ได้เกิดการจินตนาการย้อนกลับไปในอดีต มีทั้งเหตุการณ์บางอย่างก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี น่าจดจำและไม่น่าจดจำปะปนกันไป การวาดภาพทำให้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในความทรงจำออกมาทำให้เรานึกถึงเรื่องดีๆ ในอดีตและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
- ศิลปะช่วยให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ทำให้เรื่องราวเครียดๆ ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้หายไป ความคิดโล่ง โปร่งสบาย จิตใจเป็นสมาธิ ได้เกิดการจินตนาการ ลืมเรื่องๆ เครียดๆ ที่มีอยู่จนหมดสิ้น
- รู้สึกว่าศิลปะช่วยเติมพลังในสมองให้เกิดขึ้นและมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น
- การวาดรูปทำให้มีสมาธิ ลืมเรื่องราวที่รู้สึกไม่ดีที่ติดอยู่ในใจ กลับไปเป็นเด็กที่ไม่มีเรื่องหนักใจให้คิด รู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด ได้ปลดปล่อย
- รู้สึกได้ถึงความรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่วาดภาพ ได้นึกถึงภาพในอดีต สิ่งที่ดีๆ เหมือนได้หวนกลับไปสู่อดีตในวันที่มีความสุขอีกครั้ง
- ศิลปะทำให้ได้รู้ถึงความรู้สึกขอตัวเอง ได้อยู่กับตัวเอง รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ได้เกิดการจินตนาการและลืมเรื่องราวที่ทำให้เกิดความเครียด
- จากการที่เรียนหนักมาทั้งวันมาแล้ว การวาดภาพช่วยให้รูสึกผ่อนคลายละเติมพลังให้มีความรู้สึกมีแรงสู้ในการเรียนวิชาต่อไป
- แม้ว่าเราจะวาดภาพที่ไม่ได้มีสีสันที่สวยมากนัก แต่มันก็ดูสวยด้วยคุณค่าของสิ่งที่อยู่ในภาพ ได้มีรอยยิ้มเกิดขึ้นในใจ ได้ปล่อยวาง ปลดปล่อยความรู้สึกในใจออกมา ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น
- ได้มองเข้าไปในจิตใจตนเองว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร นึกถึงสิ่งใด เป็นการทำให้จิตใจเราเปิดกว้างขึ้น ได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
- ได้ผ่อนคลาย มีสมาธิ
- สนุกสนาน
- รู้สึกเพลิดเพลิน
- เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ ได้ผ่อนคลายความเครียด
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน
- ได้ลืมเรื่องราวเครียดๆ
- ได้นึกย้อนถึงตัวเอง
- สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเครียดที่ไม่สามารถที่จะบอกหรือปรึกษาใครได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกไปเป็นภาพ
- ทำให้มีสมาธิอยู่กับงาน ได้ปลดปล่อยความคิดของตนเอง ทำให้ไม่รู้สึกเครียด
- ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ทำให้หายเครียดและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
- คลายเครียด สร้างความสนุกสนาน
- ทำให้ได้รู้ปัญหาของตัวเองว่ากำลังเผชิญกับอะไร
- ทำให้เกิดสมาธิอยู่กับชิ้นงาน
- ทำให้ได้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก ผ่อนคลายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตัวเอง ได้สร้างสรรค์ งานศิลปะสวยๆ
- ได้เกิดแง่คิดดีๆ ในชีวิต
- ทำให้เราได้อยู่กับตนเอง ได้คิดว่าขณะนี้ใจเราอยู่ที่ไหน คิดอะไรและถ่ายทอดออกมาทางการวาดรูป
- เกิดความสนุกกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ สร้างสีสันของการแลกเปลี่ยนภาพแห่งความประทับใจ
- เป็นการปลดปล่อยจินตนาการ รับรู้และเข้าใจความคิดของเพื่อน
- ได้แง่มุมของความคิด ฝึกการคิดและการจินตนาการ
- รู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะวาดภาพ
- เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และพอใจกับผลงานที่ออกมา
- ได้เกิดการเรียนรู้เทคนิคการใช้สีแบบใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
- คลายเครียด ได้พักผ่อนทางด้านจิตใจ
- งานศิลปะอยู่ที่มุมมองของคน และศิลปะก็ได้แสดงถึงก้นบึ้งของจิตใจ
- ทำให้รู้ถึงสิ่งที่ตัวเองคิด เป็นการผ่อนคลายและปล่อยจิตใจ รู้สึกสบายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตนเอง ทำให้รู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ตนเองแสดงออกได้อย่างอิสระ
- ขณะที่ระบายสีทำให้เรามีสมาธิ สนใจในภาพที่เรากำลังระบายสีอยู่ ทำให้เราไม่คิดหรือกังวลเรื่องอื่น นอกจากภาพของเรา เพราะเรากำลังคิดว่าจะสร้างสรรค์ภาพของเราออกมาอย่างไร ทำให้มีสมาธิและสติอยู่กับตัวตลอดเวลา
- รู้สึกเพลิดเพลินและพอใจกับภาพ แม้ว่ามันจะไม่สวยงามเหมือนเพื่อนคนอื่น แต่ก็ดีใจที่ทำได้สำเร็จ และจะลองใช้วิธีนี้กับตัวเองอีกเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ
- รู้สึกผ่อนคลายมากทำให้อยากหยุดเวลาไว้กับการระบายสี แต่พอหมดเวลาก็รู้สึกใจหาย
- ทำให้มีอารมณ์ผ่อนคลายมากขึ้น ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ข้างในที่บางครั้งพูดออกมาไม่ได้
- ได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะได้บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้วาดอกมา
- เป็นการบำบัดความเครียดที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
- ทำให้รู้ว่าศิลปะสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้สึกและความคิด
- ได้วาดรูปตามจินตนาการของตนเอง แม้ผลงานที่ออกมาจะไม่สวยหรือดูดีเหมือนของคนอื่น แต่ก็ภูมิใจ
- จากก่อนวาดรู้สึกเหมือนสมองมันตื้อๆ แต่พอได้ลงมือทำแล้วก็รู้สึกว่าสมองมันเบาลง รู้สึกโล่งขึ้น ได้ผ่อนคลาย และเพลิดเพลิน
- ก่อนทำงานศิลปะ เพิ่งรู้คะแนนสอบ ปรากฏว่าสอบตกเลยรู้สึกเครียด แต่พอได้ลงมือวาดรูปรู้สึกดีขึ้นบ้าง เพราะได้พูดคุยสนุกสนานกับเพื่อน
- ทำให้ได้รู้สึกถึงการจดจ่อกับการสร้างสรรค์ผลงาน
- ได้เรียนรู้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งนั้น ต้องใช้สมาธิและมีจุดสนใจอยู่ที่ผลงาน ทำให้ไม่เครียด
- รู้สึกเหมือนได้ย้อนไปในตอนที่ยังเป็นเด็ก ขณะที่วาดทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ ที่จะสร้างสรรค์ผลงานจนลืมความกังวลใจต่างๆ ไปได้โดยไม่รู้ตัว เกิดความรื่นรมย์ในใจ ที่ได้เห็นสีสันสวยงาม ได้ปล่อยความคิดไปตามผลงานที่กำลังทำ
- สนุกกับการได้เลือกสีสันให้กับธรรมชาติของตัวเอง
- ทำให้ได้มุมมองกับการใช้ศิลปะผ่อนคลายความเครียด
- รู้สึกได้ระบายอารมณ์ไปกับการวาดภาพ คิดหรือรู้สึกอะไรก็ปลดปล่อยไปกับสีที่เราเลือกใช้
- สามารถบอกอารมณ์ต่างๆ ผ่านภาพวาดของเราเองได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจจากสถานที่ที่เคยไปเที่ยวและมีความทรงจำดีๆ ลงไปในภาพที่วาด
- ตอนวาดรูปรู้สึกอารมณ์ดีมากๆ รู้สึกว่าไม่มีคำถามอะไรเกิดขึ้นในสมองเลย ปลอดโปร่งมาก
- การวาดภาพทำให้ผมได้รู้คำตอบของคำถามที่ผมไม่เคยเข้าใจและก็อยากรู้คำตอบมานาน จึงทำให้ผมได้วาดภาพนี้มา
- การระบายสีเป็นเหมือนการได้ระบายอารมณ์ความรู้สึกของเราออกมา
- การวาดภาพทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดในการเรียน เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดแง่มุมดีๆ ในการใช้ชีวิต สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ตัวเองกำลังคิดอยู่
- ตอนแรกรู้สึกเครียดเพราะไม่ชอบศิลปะ แต่พอได้ลองทำก็รู้สึกดีและสนุกมากขึ้น
- ได้เกิดสมาธิและจินตนาการทำให้อารมณ์ดีขึ้น เป็นการฝึกอารมณ์ทำให้สงบนิ่ง มีภาวะอารมณ์ที่ดี
- รู้สึกว่าการวาดภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- การวาดภาพทำให้เราสบายใจ สร้างสรรค์จินตนาการของตนเอง สะท้อนแง่คิดและมุมมองต่างๆ ของอารมณ์เรา การวาดภาพเป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ถ้าอารมณ์ไม่ดีภาพที่วาดออกมาก็จะไม่สวย ถ้าอารมณ์ดีภาพที่วาดออกมาก็จะได้ตามที่ต้องการ
- การวาดภาพเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจถึงเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้วาดภาพได้สวยยิ่งขึ้น ทำให้อยากเข้ามาร่วมกิจกรรมนี้อยู่บ่อยๆ
- ได้เรียนรู้ว่าการวาดภาพไม่ต้องใช้ความคิดเพียงแต่ต้องใช้จินตนาการและอารมณ์ประกอบ ความรู้สึกตอนที่วาดรูปคือการมีสมาธิซึ่งจะทำให้รูปที่ออกมาน่าพอใจ
- ได้ฝึกความอดทนเวลาที่ได้ภาพออกมาไม่น่าพอใจ
- ทำให้รู้สึกว่าได้มีเวลาทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต การวาดภาพทำให้จิตใจเราเย็นลง และมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
- เกิดความรู้สึกอบอุ่นในจิตใจ ที่ได้นึกถึงสถานที่สบายใจและคุ้นเคย - ได้อยู่กับความคิดของตนเอง
ประโยชน์ของศิลปะ, ศิลปะเพื่อชีวิต, ศิลปะเพื่อสุขภาพ
- ได้ใช้ความคิดที่เป็นอิสระ รู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเอง
- เป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายและเป็นช่วงเวลาที่ดีต่อความทรงจำมากๆ
- ได้รู้สึกถึงการมีอิสระของความคิด ถึงแม้ภาพที่วาดออกมาจะไม่สวยนัก แต่ก็เป็นการแสดงออกของความคิดที่เป็นตัวของเราเอง
- ทำให้เราได้รู้จักความคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเองในขณะที่ทำงานศิลปะ
- เป็นช่วงเวลาที่ได้นึกถึงเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นภายในจิตใจอย่างมีสติและรอบคอบ
- ก่อให้เกิดสมาธิขึ้นมาในจิตใจ ทำให้รู้จักการดูแลและบำบัดความเครียดด้วยตนเอง
- ทำให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจในขณะที่กำลังวาดภาพศิลปะ
- ทำให้ได้ย้อนรำลึกถึงความสัมพันธ์ในอดีตของตนเองกับบุคคลอันเป็นที่รักแม้ว่าท่านจะจากไปแล้ว ศิลปะช่วยให้คิดถึงบุคคลอันเป็นที่รักมากขึ้นและจะคิดถึงตลอดไป
- ทำให้เราได้นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ที่เราได้ลืมมันไป ศิลปะทำให้เราได้ย้อนไปในอดีตและรู้สึกดีที่ได้คิดถึงมันอีกครั้ง
- รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมการวาดภาพ แม้ครั้งแรกจะรู้สึกไม่อยากวาดแต่การได้แลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกจากการวาดภาพกับเพื่อนทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุขมาก
- ทำให้คิดถึงความรู้สึกดีๆ ในอดีตที่กำลังจะหายไป การวาดภาพทำให้เข้าใจในสิ่งที่มันเกิดและคิดว่าในอนาคตจะทำให้ความรู้สึกดีๆ นี้กลับคืนมาอีกครั้ง
- การวาดภาพทำให้นึกถึงในอดีตที่มีความสุข เมื่อนึกถึงภาพเหล่านี้เมื่อใดก็ยิ้มออกมาทุกครั้ง
- ตอนแรกรู้สึกไม่ค่อยชอบการวาดภาพ แต่ต่อมาเมื่อได้วาดและบรรยายถึงภาพที่ต้องการสื่อออกมากลับทำให้รู้สึกดีที่ได้เล่าถึงที่มา เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจตลอดเวลาแต่ไม่มีโอกาสได้พูด เมื่อได้พูดแล้วรู้สึกดี สบายใจขึ้น
- การวาดภาพทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ได้คิดถึงในอดีต คิดถึงคนที่ไม่ได้พูดคุยด้วยและรู้สึกมีความสุขที่ได้วาดภาพออกมา
- การวาดภาพทำให้จิตของเรา ความคิดของเราได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับเรื่องราวในอดีตที่เราเคยทำในที่นั้นๆ การแต่งเติมภาพบางครั้งก็ทำให้เราคิดได้ว่าบางอย่างมันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจจะให้เป็น
- ศิลปะทำให้จิตใจเราได้ปลดปล่อย ผ่อนคลาย นึกถึงสิ่งเก่าๆ ที่ผ่านมา มีสติ ได้คิดและมองเห็นความสำคัญของบางสิ่งที่เรานึกถึง และได้รับรู้ถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นในใจ
- ในขณะที่วาดภาพเป็นเวลาที่ได้ย้อนกลับไปในเหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในครอบครัว มีทั้งสุข ทุกข์ เศร้า อบอุ่น ดีใจ เสียใจ ณ สถานที่แห่งนั้นและได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
- รู้สึกว่ามีรอยยิ้มผุดขึ้นในใจ มีความสุขมาก การวาดภาพจะช่วยสื่อถึงความรู้สึกของเราได้ดีกว่าการพูดออกมา
- ได้เกิดการจินตนาการย้อนกลับไปในอดีต มีทั้งเหตุการณ์บางอย่างก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี น่าจดจำและไม่น่าจดจำปะปนกันไป การวาดภาพทำให้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในความทรงจำออกมาทำให้เรานึกถึงเรื่องดีๆ ในอดีตและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
- ศิลปะช่วยให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ทำให้เรื่องราวเครียดๆ ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้หายไป ความคิดโล่ง โปร่งสบาย จิตใจเป็นสมาธิ ได้เกิดการจินตนาการ ลืมเรื่องๆ เครียดๆ ที่มีอยู่จนหมดสิ้น
- รู้สึกว่าศิลปะช่วยเติมพลังในสมองให้เกิดขึ้นและมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น
- การวาดรูปทำให้มีสมาธิ ลืมเรื่องราวที่รู้สึกไม่ดีที่ติดอยู่ในใจ กลับไปเป็นเด็กที่ไม่มีเรื่องหนักใจให้คิด รู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด ได้ปลดปล่อย
- รู้สึกได้ถึงความรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่วาดภาพ ได้นึกถึงภาพในอดีต สิ่งที่ดีๆ เหมือนได้หวนกลับไปสู่อดีตในวันที่มีความสุขอีกครั้ง
- ศิลปะทำให้ได้รู้ถึงความรู้สึกขอตัวเอง ได้อยู่กับตัวเอง รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ได้เกิดการจินตนาการและลืมเรื่องราวที่ทำให้เกิดความเครียด
- จากการที่เรียนหนักมาทั้งวันมาแล้ว การวาดภาพช่วยให้รูสึกผ่อนคลายละเติมพลังให้มีความรู้สึกมีแรงสู้ในการเรียนวิชาต่อไป
- แม้ว่าเราจะวาดภาพที่ไม่ได้มีสีสันที่สวยมากนัก แต่มันก็ดูสวยด้วยคุณค่าของสิ่งที่อยู่ในภาพ ได้มีรอยยิ้มเกิดขึ้นในใจ ได้ปล่อยวาง ปลดปล่อยความรู้สึกในใจออกมา ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น
- ได้มองเข้าไปในจิตใจตนเองว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร นึกถึงสิ่งใด เป็นการทำให้จิตใจเราเปิดกว้างขึ้น ได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
- ได้ผ่อนคลาย มีสมาธิ
- สนุกสนาน
- รู้สึกเพลิดเพลิน
- เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ ได้ผ่อนคลายความเครียด
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน
- ได้ลืมเรื่องราวเครียดๆ
- ได้นึกย้อนถึงตัวเอง
- สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเครียดที่ไม่สามารถที่จะบอกหรือปรึกษาใครได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกไปเป็นภาพ
- ทำให้มีสมาธิอยู่กับงาน ได้ปลดปล่อยความคิดของตนเอง ทำให้ไม่รู้สึกเครียด
- ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ทำให้หายเครียดและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
- คลายเครียด สร้างความสนุกสนาน
- ทำให้ได้รู้ปัญหาของตัวเองว่ากำลังเผชิญกับอะไร
- ทำให้เกิดสมาธิอยู่กับชิ้นงาน
- ทำให้ได้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก ผ่อนคลายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตัวเอง ได้สร้างสรรค์ งานศิลปะสวยๆ
- ได้เกิดแง่คิดดีๆ ในชีวิต
- ทำให้เราได้อยู่กับตนเอง ได้คิดว่าขณะนี้ใจเราอยู่ที่ไหน คิดอะไรและถ่ายทอดออกมาทางการวาดรูป
- เกิดความสนุกกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ สร้างสีสันของการแลกเปลี่ยนภาพแห่งความประทับใจ
- เป็นการปลดปล่อยจินตนาการ รับรู้และเข้าใจความคิดของเพื่อน
- ได้แง่มุมของความคิด ฝึกการคิดและการจินตนาการ
- รู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะวาดภาพ
- เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และพอใจกับผลงานที่ออกมา
- ได้เกิดการเรียนรู้เทคนิคการใช้สีแบบใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
- คลายเครียด ได้พักผ่อนทางด้านจิตใจ
- งานศิลปะอยู่ที่มุมมองของคน และศิลปะก็ได้แสดงถึงก้นบึ้งของจิตใจ
- ทำให้รู้ถึงสิ่งที่ตัวเองคิด เป็นการผ่อนคลายและปล่อยจิตใจ รู้สึกสบายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตนเอง ทำให้รู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ตนเองแสดงออกได้อย่างอิสระ
- ขณะที่ระบายสีทำให้เรามีสมาธิ สนใจในภาพที่เรากำลังระบายสีอยู่ ทำให้เราไม่คิดหรือกังวลเรื่องอื่น นอกจากภาพของเรา เพราะเรากำลังคิดว่าจะสร้างสรรค์ภาพของเราออกมาอย่างไร ทำให้มีสมาธิและสติอยู่กับตัวตลอดเวลา
- รู้สึกเพลิดเพลินและพอใจกับภาพ แม้ว่ามันจะไม่สวยงามเหมือนเพื่อนคนอื่น แต่ก็ดีใจที่ทำได้สำเร็จ และจะลองใช้วิธีนี้กับตัวเองอีกเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ
- รู้สึกผ่อนคลายมากทำให้อยากหยุดเวลาไว้กับการระบายสี แต่พอหมดเวลาก็รู้สึกใจหาย
- ทำให้มีอารมณ์ผ่อนคลายมากขึ้น ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ข้างในที่บางครั้งพูดออกมาไม่ได้
- ได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะได้บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้วาดอกมา
- เป็นการบำบัดความเครียดที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
- ทำให้รู้ว่าศิลปะสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้สึกและความคิด
- ได้วาดรูปตามจินตนาการของตนเอง แม้ผลงานที่ออกมาจะไม่สวยหรือดูดีเหมือนของคนอื่น แต่ก็ภูมิใจ
- จากก่อนวาดรู้สึกเหมือนสมองมันตื้อๆ แต่พอได้ลงมือทำแล้วก็รู้สึกว่าสมองมันเบาลง รู้สึกโล่งขึ้น ได้ผ่อนคลาย และเพลิดเพลิน
- ก่อนทำงานศิลปะ เพิ่งรู้คะแนนสอบ ปรากฏว่าสอบตกเลยรู้สึกเครียด แต่พอได้ลงมือวาดรูปรู้สึกดีขึ้นบ้าง เพราะได้พูดคุยสนุกสนานกับเพื่อน
- ทำให้ได้รู้สึกถึงการจดจ่อกับการสร้างสรรค์ผลงาน
- ได้เรียนรู้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งนั้น ต้องใช้สมาธิและมีจุดสนใจอยู่ที่ผลงาน ทำให้ไม่เครียด
- รู้สึกเหมือนได้ย้อนไปในตอนที่ยังเป็นเด็ก ขณะที่วาดทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ ที่จะสร้างสรรค์ผลงานจนลืมความกังวลใจต่างๆ ไปได้โดยไม่รู้ตัว เกิดความรื่นรมย์ในใจ ที่ได้เห็นสีสันสวยงาม ได้ปล่อยความคิดไปตามผลงานที่กำลังทำ
- สนุกกับการได้เลือกสีสันให้กับธรรมชาติของตัวเอง
- ทำให้ได้มุมมองกับการใช้ศิลปะผ่อนคลายความเครียด
- รู้สึกได้ระบายอารมณ์ไปกับการวาดภาพ คิดหรือรู้สึกอะไรก็ปลดปล่อยไปกับสีที่เราเลือกใช้
- สามารถบอกอารมณ์ต่างๆ ผ่านภาพวาดของเราเองได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจจากสถานที่ที่เคยไปเที่ยวและมีความทรงจำดีๆ ลงไปในภาพที่วาด
- ตอนวาดรูปรู้สึกอารมณ์ดีมากๆ รู้สึกว่าไม่มีคำถามอะไรเกิดขึ้นในสมองเลย ปลอดโปร่งมาก
- การวาดภาพทำให้ผมได้รู้คำตอบของคำถามที่ผมไม่เคยเข้าใจและก็อยากรู้คำตอบมานาน จึงทำให้ผมได้วาดภาพนี้มา
- การระบายสีเป็นเหมือนการได้ระบายอารมณ์ความรู้สึกของเราออกมา
- การวาดภาพทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดในการเรียน เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดแง่มุมดีๆ ในการใช้ชีวิต สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ตัวเองกำลังคิดอยู่
- ตอนแรกรู้สึกเครียดเพราะไม่ชอบศิลปะ แต่พอได้ลองทำก็รู้สึกดีและสนุกมากขึ้น
- ได้เกิดสมาธิและจินตนาการทำให้อารมณ์ดีขึ้น เป็นการฝึกอารมณ์ทำให้สงบนิ่ง มีภาวะอารมณ์ที่ดี
- รู้สึกว่าการวาดภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- การวาดภาพทำให้เราสบายใจ สร้างสรรค์จินตนาการของตนเอง สะท้อนแง่คิดและมุมมองต่างๆ ของอารมณ์เรา การวาดภาพเป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ถ้าอารมณ์ไม่ดีภาพที่วาดออกมาก็จะไม่สวย ถ้าอารมณ์ดีภาพที่วาดออกมาก็จะได้ตามที่ต้องการ
- การวาดภาพเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจถึงเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้วาดภาพได้สวยยิ่งขึ้น ทำให้อยากเข้ามาร่วมกิจกรรมนี้อยู่บ่อยๆ
- ได้เรียนรู้ว่าการวาดภาพไม่ต้องใช้ความคิดเพียงแต่ต้องใช้จินตนาการและอารมณ์ประกอบ ความรู้สึกตอนที่วาดรูปคือการมีสมาธิซึ่งจะทำให้รูปที่ออกมาน่าพอใจ
- ได้ฝึกความอดทนเวลาที่ได้ภาพออกมาไม่น่าพอใจ
- ทำให้รู้สึกว่าได้มีเวลาทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต การวาดภาพทำให้จิตใจเราเย็นลง และมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
- เกิดความรู้สึกอบอุ่นในจิตใจ ที่ได้นึกถึงสถานที่สบายใจและคุ้นเคย - ได้อยู่กับความคิดของตนเอง
คำค้นหา : | ประโยชน์ของศิลปะ |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ประโยชน์ของศิลปะ,
ศิลปะเพื่อชีวิต,
ศิลปะเพื่อสุขภาพ
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีลอยกระทง |
ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า \"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย...\" เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา \"มักจะ\" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ \"กระทง\" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย
ประเพณีลอยกระทง, ลอยกระทง, วันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา \"มักจะ\" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ \"กระทง\" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย
คำค้นหา : | ประเพณีลอยกระทง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ประเพณีลอยกระทง,
ลอยกระทง,
วันลอยกระทง
ประเพณีกำฟ้า บ้านน้ำจั้น
ประเพณีกำฟ้า
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีกำฟ้า |
ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน คำว่า ”กำ” ในภาษาพวน หมายถึง การนับถือสักการะ คำว่า “ฟ้า” หมายถึง เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ผู้อยู่สูงเทียมฟ้า หรือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น คำว่า “กำฟ้า” จึงหมายถึง การนับถือการบูชาฟ้า
มีตำนานเล่าต่อๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน หมู่บ้านน้ำจั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม) เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวย และมีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้
สำหรับในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระและร่วมกันใส่บาตรข้าวหลามข้าวจี่ ตอนบ่ายจนถึงกลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหม่าเบี้ย ต่อไก่ ไม้อื่อคร่อมเส้า ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า และในช่วงเวลากำฟ้านั้น คนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวจะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน โดยมีคำทำนาย ดังนี้
เสียงฟ้าร้อง หมายถึง ฟ้าเปิดประตูน้ำ
ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะตกดี ทำนาจะได้ข้าวดี
ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้งข้าวกล้าในนาจะเสียหาย ชาวบ้านจะอดเกลือ
ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยได้ผล นาในที่ลุ่มดี นาในที่ดอนจะเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเดือดร้อน เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท รบราฆ่าฟันกัน
ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ชาวบ้านจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย
หลังจากำฟ้า 1 สัปดาห์ จะไปทำบุญที่วัดอีกครั้งหนึ่งโดยนำดุ้นฟืนที่ติดไฟ 1 ดุ้น ไปทิ้งตามแม่น้ำลำคลองให้ไหลไปตามสายน้ำ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และเป็นการบอกกล่าวแก่เทวดาผีฟ้าว่าหมดเขตกำฟ้าแล้ว
ปัจจุบัน งานกำฟ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากบ้านเมืองเจริญขึ้น การทำบุญต่างๆ ได้รวบรัดตัดรายละเอียดของพิธีลงไป แต่ก็ใช่ว่าจะลดความสำคัญลง ฉะนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่ชาติไทย สืบไป
ประเพณีกำฟ้า, บ้านน้ำจั้น, ประเพณีภาคกลาง
มีตำนานเล่าต่อๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย
ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน หมู่บ้านน้ำจั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม) เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวย และมีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้
สำหรับในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระและร่วมกันใส่บาตรข้าวหลามข้าวจี่ ตอนบ่ายจนถึงกลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหม่าเบี้ย ต่อไก่ ไม้อื่อคร่อมเส้า ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า และในช่วงเวลากำฟ้านั้น คนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวจะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน โดยมีคำทำนาย ดังนี้
เสียงฟ้าร้อง หมายถึง ฟ้าเปิดประตูน้ำ
ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะตกดี ทำนาจะได้ข้าวดี
ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้งข้าวกล้าในนาจะเสียหาย ชาวบ้านจะอดเกลือ
ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยได้ผล นาในที่ลุ่มดี นาในที่ดอนจะเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเดือดร้อน เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท รบราฆ่าฟันกัน
ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ชาวบ้านจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย
หลังจากำฟ้า 1 สัปดาห์ จะไปทำบุญที่วัดอีกครั้งหนึ่งโดยนำดุ้นฟืนที่ติดไฟ 1 ดุ้น ไปทิ้งตามแม่น้ำลำคลองให้ไหลไปตามสายน้ำ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และเป็นการบอกกล่าวแก่เทวดาผีฟ้าว่าหมดเขตกำฟ้าแล้ว
ปัจจุบัน งานกำฟ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากบ้านเมืองเจริญขึ้น การทำบุญต่างๆ ได้รวบรัดตัดรายละเอียดของพิธีลงไป แต่ก็ใช่ว่าจะลดความสำคัญลง ฉะนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่ชาติไทย สืบไป
คำค้นหา : | ประเพณีกำฟ้า |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
บ้านน้ำจั้น,
ประเพณีกำฟ้า,
ประเพณีภาคกลาง
อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ประเพณีไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย |
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์อย่างแยกแยะไม่ได้ ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นตามภาคต่างๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ชุมชนให้ความนับถือ เมื่อมีการจัดพิธีดังกล่าวขึ้น คนในชุมชนที่มาร่วมพิธีจะเกิดความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการนำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องหลักที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโดยถ่องแท้
พิธีกรรมตามพจนานุกรมฯ ให้ความหมายไว้ว่า “พิธีกรรม” หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา
พิธีกรรม คือ การกระทำที่คนเราสมมติ ขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป เช่น พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่ง พิธีกรรม หมายถึง พฤติกรรม ทีมนุษย์พึงปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตามต่างก็มีการปฏิบัติต่อศาสนาของตน ตามความเชื่อและความศรัทธาของตนเองในแต่ละศาสนาจึงก่อให้เกิดเป็น “พิธีกรรม” ทางศาสนาด้วยความเชื่อและความศรัทธา
ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียม แบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น “ขนบ” มีความหมายว่า ระเบียบ แบบอย่าง “ธรรมเนียม” มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติ ที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
พิธีกรรมและประเพณี จัดเป็นจารีตประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมา นับว่าเป็นสมบัติที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ความรู้แก่เยาวชนและองค์กรภาครัฐทุกส่วน ให้สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ หมายความว่า ทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เกิดความชำนาญและแนะนำผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือการปฏิบัติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น มีความรู้ในการทำพิธีอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้สังคมไทยมีจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม
อนุรักษ์, สืบทอดวัฒนธรรม, ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการนำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องหลักที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโดยถ่องแท้
พิธีกรรมตามพจนานุกรมฯ ให้ความหมายไว้ว่า “พิธีกรรม” หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา
พิธีกรรม คือ การกระทำที่คนเราสมมติ ขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป เช่น พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่ง พิธีกรรม หมายถึง พฤติกรรม ทีมนุษย์พึงปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตามต่างก็มีการปฏิบัติต่อศาสนาของตน ตามความเชื่อและความศรัทธาของตนเองในแต่ละศาสนาจึงก่อให้เกิดเป็น “พิธีกรรม” ทางศาสนาด้วยความเชื่อและความศรัทธา
ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียม แบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น “ขนบ” มีความหมายว่า ระเบียบ แบบอย่าง “ธรรมเนียม” มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติ ที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป
พิธีกรรมและประเพณี จัดเป็นจารีตประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมา นับว่าเป็นสมบัติที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ความรู้แก่เยาวชนและองค์กรภาครัฐทุกส่วน ให้สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ หมายความว่า ทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เกิดความชำนาญและแนะนำผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือการปฏิบัติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น มีความรู้ในการทำพิธีอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้สังคมไทยมีจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม
คำค้นหา : | ประเพณีไทย |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย,
สืบทอดวัฒนธรรม,
อนุรักษ์
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม
จากการศึกษาประเด็นหลัก ๕ ประเด็นหลักข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าคือ สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมไทยซึ่งจะนำมาซึ่งความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยนัยยะของ “วัฒนธรรม” หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน คือจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ การประยุกต์ใช้จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมมือกัน
ปรัชญา, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม
จากการศึกษาประเด็นหลัก ๕ ประเด็นหลักข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าคือ สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมไทยซึ่งจะนำมาซึ่งความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยนัยยะของ “วัฒนธรรม” หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน คือจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ การประยุกต์ใช้จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมมือกัน
คำค้นหา : | ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ปรัชญา,
พอเพียง,
เศรษฐกิจพอเพียง
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง
“พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง”
“...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต
รากฐานความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง
สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม
และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จากวารสารชัยพัฒนา ฉบับประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒
“...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย
ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิดอันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ
มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง
ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข...”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔ ธันวาคม
๒๕๔๑
“...ความพอเพียง นี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
จะต้องทอเสื้อผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ
จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้
แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
๔ ธันวาคม ๒๕๔๐
“...วิถีทางดำเนินของบ้านเมืองและประชาชนโดยทั่วไปมีความเปลี่ยนแปลงมาตลอด
เนื่องมาจากความวิปริตผันแปรของวิถีแห่งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และอื่นๆ
ของโลกยากยิ่งที่เราจะหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ จึงต้องระมัดระวัง
ประคับประคองตัวเรามากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องการเป็นอยู่โดยประหยัด
เพื่อที่จะอยู่ให้รอดและก้าวหน้าต่อไปได้โดยสวัสดี...”
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๑
“เศรษฐกิจพอเพียง”
เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕
ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
คำค้นหา ประเพณีไทย :
พระราชดำรัส,
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว,
เศรษฐกิจพอเพียง
เรียงความประโยชน์ของดนตรี
ประโยชน์ของดนตรี
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประโยชน์ของดนตรี |
ดนตรี คำว่าดนตรีนั้นมีความหมายมากมายแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลแต่ดิฉันให้ความหมายของคำว่าดนตรีว่าดนตรีคือกีฬาประเภทหนึ่งที่ช่วยบรรเทา เยียวยาจิตใจของทุกคนเมื่อใดเราได้ฟังดนตรีทำให้จิตใจของเราสะอาดผ่อนคลายที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของแต่ละคนอีกด้วยเพราะฉะนั้นเมื่อใดที่เราได้ฟังดนตรีแล้วจะทำให้เราผ่อนคลายจากความเครียดความกังวลทั้งหลาย และเมื่อเราไม่สบายใจดนตรีจะช่วยให้เราสบายใจขึ้นและดนตรีเปรียบเสมือนเพื่อนคนหนึ่งของเราช่วยให้เราคลายความกังวลจากความทุกได้
ดนตรีไทยคือดนตรีประจำชาติของประเทศไทยเราควรที่จะอนุรักษ์ดนตรีไทย ภาษาไทยเอาไว้ให้คงอยู่คู่คนไทยตราบนานเท่านานกนตรีไทยคือดนตรีประเภทหนึ่งที่มีหลากหลายชนิดและแต่ละชนิดก็แตกต่างกันออกไปดนตรีไทยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ คือ ดีด สี ดี เป่า ดนตรี4 ประเภทนี้จะแตกต่างกันออกไปและทำนองของเสียงดนตรีก็จะแตกต่างหรือคล้ายกันก็ได้ และเสียงของดนตรีก็จะมีทั้ง แหลม ทุ่ม นุ่มนวล และคนส่วนใหญ่ก็มักจะนำเอาดนตรีไทยมาเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมหรือประเพณีและเทศกาลต่างๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไป งานกีฬาสีโรงเรียน หรือ งานบวช เป็นต้น และดิฉันอยากให้ทุกคนจดจำ ประเพณี ดนตรี หรือแม้แต่ภาษาของประเทศไทยเอาไว้ตราบนานเท่านาน
ดนตรีสากลคือดนตรีสมัยใหม่ที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมเล่นในสมัยนี้และดนตรีสากลจะมีทำนอง หรือจังหวะ ที่ไพรเราะและมีการผสมผสานระหว่างดนตรีกับดนตรีได้อย่างลงตัวและผู้คนในสมัยนี้มักจะชอบดนตรีสากลมากกว่าดนตรีไทยดนตรีสากลสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ คือ ดนตรีเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมโลหะ เครื่องกำกับจังหวะและเครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องดนตรีแต่ละประเภทมักจะมีลักษณะหรือเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปหรือคล้ายกันก็ได้และดนตรีสากลมักจะมีเสียงที่ไพรเราะเพราะเป็นดนตรีสากลที่ดัดแปลงขึ้นมาใหม่ให้ดูดี มีราคา และยังดูทันสมัยอีกด้วย ประเภทของดนตรีก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ คือ ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจำชาติ ดนตรีประจำชาติก็คล้ายกับดนตรีไทยที่ใช้ประกอบพิธีกรรมหรือประเพณีต่างๆ ที่เป็นประเพณีระดับประเทศ เช่น พิธีคล้ายวันเกิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น ส่วนดนตรีพื้นบ้านก็จะใช้ประกอบประเพณีในหมู่บ้าน เช่น กลองยาว พิณ ระนาด เป็นต้น หรือบางครั้งดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจำชาติอาจจะนำมาใช้ร่วมกันก็ได้เนื่องในประเพณีที่ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติ เป็นต้น ประโยชน์ของการเล่นดนตรีประโยชน์ของการเล่นดนตรีก้อมีหลายอย่างมากมาย คือ ดนตรีช่วยให้เราผ่อนคลายในยามที่เรามีความเครียดและไม่สบายใจถ้าเราได้เล่นดนตรีก้อจะทำให้เรารู้สึกสบายใจได้ นอกจากนี้แล้วยังช่วยในการบำบัดยาเสพติด(สำหรับคนที่ติดยาเสพติด) ยังบำบัดบุคคลที่เป็นโรคต่างๆ เช่น โรคที่มีสภาวะจิตไม่ปกติ โรคมะเร็งหรือโรคที่ไม่สามารถหายขาดได้ หรือแม้แต่โรคที่ไม่มีวันตื่นหรือลืมตาขึ้นมามองโลกได้อีกครั้งนอกจากนอนหลับอยู่บนเตียง การเล่นดนตรีมีประโยชน์มากถ้าเราใช้ดนตรีไปในทางที่ถูกต้องและการเล่นดนตรีต้องเล่นสิ่งที่เราสนใจเราจึงจะมีความสุขกับการเล่นดนตรีและทำให้ไม่เบื่ออีกด้วย
ข้อดีของการฟังดนตรีการฟังดนตรีจะทำให้เราได้ผ่อนคลาย จิตใจสงบ มีสมาธิ ถ้าเรามีความเครียดและมาฟังดนตรีจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้มากทีเดียวและทำให้เราได้คิดอะไรมากมายในระหว่างที่เรากำลังฟังดนตรีการฟังดนตรีเป็นการบำบัดที่ดีอย่างหนึ่ง เช่น ช่วยให้เราคลายความเครียดจากการเรียน และ คลายความเหนื่อยล้าจากการเล่นกีฬา ยังช่วยในการทำสมาธิ เป็นต้น และยังมีขอดีของการฟังดนตรีอีกอย่างหนึ่งคือ ช่วยให้เราได้ปลดปล่อยในเวลาที่เรามีความเครียดหรือความกังวลมากๆและเมื่อเราได้ปลดปล่อยก็จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น
ดนตรีมีหลากหลายประเภททั้งดนตรีสากลและดนตรีไทยและดนตรีทั้งสองประเภทนี้ยังมีความสำคัญต่อบุคคลในสมัยนี้มากเพราะดนตรีทั้งสองประเภทนี้ต่างมีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปหรือไม่อาจมีความสำคัญที่เท่ากันก็ได้และการที่เราฟังดนตรีก็ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายเมื่อเรามีความเครียด หรือเมื่อเราไม่สบายใจ กังวลใจ ไม่มีสมาธิ ดนตรีก็จะช่วยทำให้เราผ่อนคลาย มีสมาธิ คลายความกังวลใจได้มากทีเดียวในความคิดของดิฉันดนตรีคือเพื่อนคนหนึ่งที่คอยอยู่กับเราเวลาที่เราไม่มีความสุขและเมื่อเราไม่มีความสุขเพื่อนคนนี้ก็จะใช้ดนตรีมาทำให้เราได้ผ่อนคลายได้
ประโยชน์ของดนตรี, ประโยชน์ดนตรี, ดนตรี
ที่มา : ศริญญา จันทะพันธ์ ม.4/12 เลขที่ 18ดนตรีไทยคือดนตรีประจำชาติของประเทศไทยเราควรที่จะอนุรักษ์ดนตรีไทย ภาษาไทยเอาไว้ให้คงอยู่คู่คนไทยตราบนานเท่านานกนตรีไทยคือดนตรีประเภทหนึ่งที่มีหลากหลายชนิดและแต่ละชนิดก็แตกต่างกันออกไปดนตรีไทยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ คือ ดีด สี ดี เป่า ดนตรี4 ประเภทนี้จะแตกต่างกันออกไปและทำนองของเสียงดนตรีก็จะแตกต่างหรือคล้ายกันก็ได้ และเสียงของดนตรีก็จะมีทั้ง แหลม ทุ่ม นุ่มนวล และคนส่วนใหญ่ก็มักจะนำเอาดนตรีไทยมาเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมหรือประเพณีและเทศกาลต่างๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไป งานกีฬาสีโรงเรียน หรือ งานบวช เป็นต้น และดิฉันอยากให้ทุกคนจดจำ ประเพณี ดนตรี หรือแม้แต่ภาษาของประเทศไทยเอาไว้ตราบนานเท่านาน
ดนตรีสากลคือดนตรีสมัยใหม่ที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมเล่นในสมัยนี้และดนตรีสากลจะมีทำนอง หรือจังหวะ ที่ไพรเราะและมีการผสมผสานระหว่างดนตรีกับดนตรีได้อย่างลงตัวและผู้คนในสมัยนี้มักจะชอบดนตรีสากลมากกว่าดนตรีไทยดนตรีสากลสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ คือ ดนตรีเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมโลหะ เครื่องกำกับจังหวะและเครื่องเป่าทองเหลือง เครื่องดนตรีแต่ละประเภทมักจะมีลักษณะหรือเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปหรือคล้ายกันก็ได้และดนตรีสากลมักจะมีเสียงที่ไพรเราะเพราะเป็นดนตรีสากลที่ดัดแปลงขึ้นมาใหม่ให้ดูดี มีราคา และยังดูทันสมัยอีกด้วย ประเภทของดนตรีก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ คือ ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจำชาติ ดนตรีประจำชาติก็คล้ายกับดนตรีไทยที่ใช้ประกอบพิธีกรรมหรือประเพณีต่างๆ ที่เป็นประเพณีระดับประเทศ เช่น พิธีคล้ายวันเกิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น ส่วนดนตรีพื้นบ้านก็จะใช้ประกอบประเพณีในหมู่บ้าน เช่น กลองยาว พิณ ระนาด เป็นต้น หรือบางครั้งดนตรีพื้นบ้านและดนตรีประจำชาติอาจจะนำมาใช้ร่วมกันก็ได้เนื่องในประเพณีที่ยิ่งใหญ่ระดับนานาชาติ เป็นต้น ประโยชน์ของการเล่นดนตรีประโยชน์ของการเล่นดนตรีก้อมีหลายอย่างมากมาย คือ ดนตรีช่วยให้เราผ่อนคลายในยามที่เรามีความเครียดและไม่สบายใจถ้าเราได้เล่นดนตรีก้อจะทำให้เรารู้สึกสบายใจได้ นอกจากนี้แล้วยังช่วยในการบำบัดยาเสพติด(สำหรับคนที่ติดยาเสพติด) ยังบำบัดบุคคลที่เป็นโรคต่างๆ เช่น โรคที่มีสภาวะจิตไม่ปกติ โรคมะเร็งหรือโรคที่ไม่สามารถหายขาดได้ หรือแม้แต่โรคที่ไม่มีวันตื่นหรือลืมตาขึ้นมามองโลกได้อีกครั้งนอกจากนอนหลับอยู่บนเตียง การเล่นดนตรีมีประโยชน์มากถ้าเราใช้ดนตรีไปในทางที่ถูกต้องและการเล่นดนตรีต้องเล่นสิ่งที่เราสนใจเราจึงจะมีความสุขกับการเล่นดนตรีและทำให้ไม่เบื่ออีกด้วย
ข้อดีของการฟังดนตรีการฟังดนตรีจะทำให้เราได้ผ่อนคลาย จิตใจสงบ มีสมาธิ ถ้าเรามีความเครียดและมาฟังดนตรีจะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายได้มากทีเดียวและทำให้เราได้คิดอะไรมากมายในระหว่างที่เรากำลังฟังดนตรีการฟังดนตรีเป็นการบำบัดที่ดีอย่างหนึ่ง เช่น ช่วยให้เราคลายความเครียดจากการเรียน และ คลายความเหนื่อยล้าจากการเล่นกีฬา ยังช่วยในการทำสมาธิ เป็นต้น และยังมีขอดีของการฟังดนตรีอีกอย่างหนึ่งคือ ช่วยให้เราได้ปลดปล่อยในเวลาที่เรามีความเครียดหรือความกังวลมากๆและเมื่อเราได้ปลดปล่อยก็จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น
ดนตรีมีหลากหลายประเภททั้งดนตรีสากลและดนตรีไทยและดนตรีทั้งสองประเภทนี้ยังมีความสำคัญต่อบุคคลในสมัยนี้มากเพราะดนตรีทั้งสองประเภทนี้ต่างมีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปหรือไม่อาจมีความสำคัญที่เท่ากันก็ได้และการที่เราฟังดนตรีก็ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายเมื่อเรามีความเครียด หรือเมื่อเราไม่สบายใจ กังวลใจ ไม่มีสมาธิ ดนตรีก็จะช่วยทำให้เราผ่อนคลาย มีสมาธิ คลายความกังวลใจได้มากทีเดียวในความคิดของดิฉันดนตรีคือเพื่อนคนหนึ่งที่คอยอยู่กับเราเวลาที่เราไม่มีความสุขและเมื่อเราไม่มีความสุขเพื่อนคนนี้ก็จะใช้ดนตรีมาทำให้เราได้ผ่อนคลายได้
คำค้นหา : | ประโยชน์ของดนตรี |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ดนตรี,
ประโยชน์ของดนตรี,
ประโยชน์ดนตรี
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข |
บุคคล ผู้เกิดมาในโลกนี้ ไม่ว่ายากดีมีจน จะอยู่โดยลำพังแต่ผู้เดียวไม่ได้ จำต้องมีการคบหาสมาคมอยู่ร่วมกับผู้อื่น คนที่จะคบหาสมาคมอยู่ร่วมกันนั้น มีความแตกต่างกันออกไป คือเป็นคนชั่วก็มี เป็นคนดีก็มี การคบหาสมาคมนั้นย่อมมีผลแตกต่างกัน ถ้าคบหาสมาคมกับคนชั่ว ก็มีผลให้ได้รับความทุกข์ ถ้าคบคนดีก็มีผลให้ได้รับสุขเหมือนกัน ความทุกข์ความสุขจะเกิดมีขึ้นได้ เพราะการคบหาสมาคมอยู่ร่วมกันนั่นเองเป็นเหตุ
คำว่า คนชั่ว หมายถึง คนที่ดำรงชีพอยู่ด้วยอาการเพียงหายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ไม่ดำรงชีพอยู่ด้วยปัญญา โดยลักษณะของคนชั่ว จะมีความประพฤติชั่ว เป็นสัญลักษณ์ เมื่อคิดจะคิดแต่ความคิดชั่ว เมื่อพูดจะพูดแต่คำพูดชั่ว และเมื่อทำก็ทำแต่กรรมชั่ว คนพาลนั้นมีความประพฤติเป็นไปเพื่อตัดประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคตอย่างเดียว
ส่วนผู้ที่ดำเนินใน ประโยชน์ 2 อย่างในเบื้องต้นด้วยปัญญา ชื่อว่า คนดี มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นสัญลักษณ์ เป็นผู้รู้จักเหตุและผล ความประพฤติของบัณฑิตนั้นไม่วิปริตแปรผัน พึงเห็นสมด้วยพุทธภาษิตว่า บัณฑิตทั้งหลายอันความสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง อีก อย่างหนึ่ง คนที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 ประการ มีเว้นจากการฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้อยคนอื่น เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม อย่างนี้ชื่อว่าเป็นคนดี คนดีนั้นเป็นผู้คิดดี พูดดีและทำดีเป็นเครื่องหมาย ในคนชั่วและคนดี บุคคลผู้อยู่ร่วมสมาคมคบหาคนชั่ว ย่อมมีนิสัยของคนชั่วเป็นแบบอย่าง เพราะคนชั่วนั้น ย่อมแนะนำให้นิยมยินดีในทางทุจริตผิดศีลธรรม ส่วนคนผู้คบหาคนดีด้วยการเข้าไปมอบตนเป็นศิษย์ ยอมรับโอวาทคำสอน ไต่ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ย่อมจะมีคนดีเป็นแบบอย่าง เพราะคนดีย่อมจะแนะนำในทางที่สุจริตความดี
อนึ่ง ผู้ที่คบหาสมาคมกับคนชั่วแม้สิ้นกาลนาน คุ้มครองรักษาตนไม่ได้ มีแต่จะยังตนและผู้ทำตามคำของเขาให้พินาศฉิบหาย ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมไม่ดี ส่วนผู้ที่คบหาสมาคมกับคนดี อยู่ร่วมกับคนดีแม้เพียงครั้งเดียว ย่อมคุ้มครองรักษาตนไว้ได้ ทั้งเป็นเหตุให้ถึงความเจริญในประโยชน์ใหญ่น้อยได้ ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมดี ดังมีภาษิตที่ว่า บุคคลคบคนใดๆ เป็นคนดีหรือไม่ดีก็ตาม มีศีลหรือไร้ศีลก็ตาม เขาย่อมตกอยู่ในอำนาจของคนนั้นๆ โดยแท้ บุคคลทำคนเช่นใดให้เป็นมิตรและคบหาสนิทกับคนเช่นใด เขาย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันทำให้เป็นเช่นนั้น
ดังนั้น ผู้หวังความสุขความเจริญแก่ตน และพ้นจากภัยพิบัตินานาประการ อย่าได้คบหาสมาคมอยู่ร่วมกับคนพาล พึงหลีกเลี่ยงให้ห่างไกล แต่ควรจะคบหาสมาคมกับบัณฑิตให้ชิดใกล้ จะมีความปลอดภัยไร้ทุกข์ มีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ที่มา : คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหารwatdevaraj@hotmail.com ที่มา... ฉบับที่ 6722 ข่าวสดรายวัน 25 เมษายน พ.ศ. 2552
หลักการ อยู่ ร่วม กัน, การอยู่ร่วมกันในสังคม, การ อยู่ ร่วม กัน ใน สังคม อย่าง มี ความ สุข
คำว่า คนชั่ว หมายถึง คนที่ดำรงชีพอยู่ด้วยอาการเพียงหายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ไม่ดำรงชีพอยู่ด้วยปัญญา โดยลักษณะของคนชั่ว จะมีความประพฤติชั่ว เป็นสัญลักษณ์ เมื่อคิดจะคิดแต่ความคิดชั่ว เมื่อพูดจะพูดแต่คำพูดชั่ว และเมื่อทำก็ทำแต่กรรมชั่ว คนพาลนั้นมีความประพฤติเป็นไปเพื่อตัดประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคตอย่างเดียว
ส่วนผู้ที่ดำเนินใน ประโยชน์ 2 อย่างในเบื้องต้นด้วยปัญญา ชื่อว่า คนดี มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นสัญลักษณ์ เป็นผู้รู้จักเหตุและผล ความประพฤติของบัณฑิตนั้นไม่วิปริตแปรผัน พึงเห็นสมด้วยพุทธภาษิตว่า บัณฑิตทั้งหลายอันความสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง อีก อย่างหนึ่ง คนที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 ประการ มีเว้นจากการฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้อยคนอื่น เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม อย่างนี้ชื่อว่าเป็นคนดี คนดีนั้นเป็นผู้คิดดี พูดดีและทำดีเป็นเครื่องหมาย ในคนชั่วและคนดี บุคคลผู้อยู่ร่วมสมาคมคบหาคนชั่ว ย่อมมีนิสัยของคนชั่วเป็นแบบอย่าง เพราะคนชั่วนั้น ย่อมแนะนำให้นิยมยินดีในทางทุจริตผิดศีลธรรม ส่วนคนผู้คบหาคนดีด้วยการเข้าไปมอบตนเป็นศิษย์ ยอมรับโอวาทคำสอน ไต่ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ย่อมจะมีคนดีเป็นแบบอย่าง เพราะคนดีย่อมจะแนะนำในทางที่สุจริตความดี
อนึ่ง ผู้ที่คบหาสมาคมกับคนชั่วแม้สิ้นกาลนาน คุ้มครองรักษาตนไม่ได้ มีแต่จะยังตนและผู้ทำตามคำของเขาให้พินาศฉิบหาย ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมไม่ดี ส่วนผู้ที่คบหาสมาคมกับคนดี อยู่ร่วมกับคนดีแม้เพียงครั้งเดียว ย่อมคุ้มครองรักษาตนไว้ได้ ทั้งเป็นเหตุให้ถึงความเจริญในประโยชน์ใหญ่น้อยได้ ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมดี ดังมีภาษิตที่ว่า บุคคลคบคนใดๆ เป็นคนดีหรือไม่ดีก็ตาม มีศีลหรือไร้ศีลก็ตาม เขาย่อมตกอยู่ในอำนาจของคนนั้นๆ โดยแท้ บุคคลทำคนเช่นใดให้เป็นมิตรและคบหาสนิทกับคนเช่นใด เขาย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันทำให้เป็นเช่นนั้น
ดังนั้น ผู้หวังความสุขความเจริญแก่ตน และพ้นจากภัยพิบัตินานาประการ อย่าได้คบหาสมาคมอยู่ร่วมกับคนพาล พึงหลีกเลี่ยงให้ห่างไกล แต่ควรจะคบหาสมาคมกับบัณฑิตให้ชิดใกล้ จะมีความปลอดภัยไร้ทุกข์ มีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ที่มา : คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหารwatdevaraj@hotmail.com ที่มา... ฉบับที่ 6722 ข่าวสดรายวัน 25 เมษายน พ.ศ. 2552
คำค้นหา : | การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
การอยู่ร่วมกันในสังคม,
หลักการอยู่ร่วมกัน,
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น |
การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาการทางสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิตและสุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
มนุษย์แต่ละคนถูกหล่อหลอมจากประสบการณ์ให้มีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 คน จึงต้องอาศัยความเข้าใจถึงปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อสัมพันธภาพที่มีระหว่างกัน เพื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายจะได้ประสบความสำเร็จในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
คุณค่าของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
บุคคลเรียนรู้จักตนเองได้จากการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น จากสัมพันธภาพนี้ บุคคลจะได้รู้จุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งเรียนรู้ความเป็นจริงของโลก โดยสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปโดยไม่บิดเบือน มีการยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นจริง ดังนั้นสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง การมีความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า และการมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้า และท้อแท้ในชีวิต และการมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น
การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลในการยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น อันได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจ
การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาทางการสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิต สุขภาพทางกายและสุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล บุคคลที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะรู้สึกว่าชีวิตมีค่า มีความหมาย และสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกว่าชีวิตอ้างว้างโดดเดี่ยว ไร้ความหมาย และนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น
การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารความเข้าใจ การยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน
การเปิดเผยตนเอง และการไว้วางใจซึ่งกันและกันที่เหมาะสม เป็นทักษะที่ทำให้การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้เริ่มต้นขึ้นและมีการดำเนินต่อไป การเปิดเผยตนเองและการไว้วางใจซึ่งกันและกันที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสัมพันธภาพได้
การสื่อสารความเข้าใจ เป็นทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันของบุคคล ได้แก่ การฟัง การถาม การทวนเนื้อความ และการสะท้อนความรู้สึก
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะช่วยให้สัมพันธภาพได้มีโอกาสเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป เป็นสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้ ด้วยบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจต่อกัน
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดี, ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ, การสร้างสัมพันธภาพ, สัมพันธภาพ
มนุษย์แต่ละคนถูกหล่อหลอมจากประสบการณ์ให้มีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยม ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 คน จึงต้องอาศัยความเข้าใจถึงปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อสัมพันธภาพที่มีระหว่างกัน เพื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายจะได้ประสบความสำเร็จในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
คุณค่าของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
บุคคลเรียนรู้จักตนเองได้จากการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น จากสัมพันธภาพนี้ บุคคลจะได้รู้จุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งเรียนรู้ความเป็นจริงของโลก โดยสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปโดยไม่บิดเบือน มีการยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นจริง ดังนั้นสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง การมีความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า และการมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้า และท้อแท้ในชีวิต และการมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น
การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลในการยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น อันได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจ
การมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ พัฒนาทางการสังคมและความคิดความเข้าใจของบุคคล พัฒนาขึ้นจากการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การค้นพบความหมายของชีวิต สุขภาพทางกายและสุขภาพจิต ล้วนได้รับผลกระทบจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล บุคคลที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะรู้สึกว่าชีวิตมีค่า มีความหมาย และสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกว่าชีวิตอ้างว้างโดดเดี่ยว ไร้ความหมาย และนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น
การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารความเข้าใจ การยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน
การเปิดเผยตนเอง และการไว้วางใจซึ่งกันและกันที่เหมาะสม เป็นทักษะที่ทำให้การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้เริ่มต้นขึ้นและมีการดำเนินต่อไป การเปิดเผยตนเองและการไว้วางใจซึ่งกันและกันที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสัมพันธภาพได้
การสื่อสารความเข้าใจ เป็นทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจต่อกันของบุคคล ได้แก่ การฟัง การถาม การทวนเนื้อความ และการสะท้อนความรู้สึก
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะช่วยให้สัมพันธภาพได้มีโอกาสเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป เป็นสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้ ด้วยบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจต่อกัน
คำค้นหา : | ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ,
สัมพันธภาพ,
สัมพันธภาพที่ดี
การรักษา และการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน
การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น |
เพื่อนเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากต่อชีวิตของวัยรุ่นเพราะเพื่อนจะมีส่วนร่วมแสดงความรู้สึกในทุกอารมณ์ เมื่อมีความสุขความทุกข์ ปัญหาความรัก หรือความเครียดในเรื่องการเรียน เป็นต้น หลักการสร้างและรักษาสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนที่สำคัญดังนี้
• หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และพยายามยุติความขัดแย้งนั้นด้วยสันติวิธี
• มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น
• ยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็นของเพื่อน
• สนใจดูแลเอาใจใส่ความรู้สึกและความต้องการของเพื่อน
• รับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
• มีความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างจากกลุ่มเพื่อน
การป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมายถึง กลุ่มโรคที่สามารถแพร่ ติดต่อกันได้ทางการร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อ เช่น โรคซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม การมโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน หูดหงอนไก่ เริมที่อวัยวะ เป็นต้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง เช่น ซื้อยามารับประทานเอง การไม่ไปพบหรือปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น โรค ซิฟิลิส ถ้ารักษาไม่ถูกต้องอาการของโรคจะดำเนินสู่ระยะร้ายแรง ทำให้ตาบอด หูหนวก สมองและสติปัญญาเสื่อม
การหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• ด้านการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือกับผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงและผิดปกติ งดเว้นการสำส่อนทางเพศ และรู้จักการใช้ถุงยางอนามัย
• ด้านการใช้เข็มฉีดยาและการรับเลือด หลีกเลี่ยงการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การรับบริจาคเลือดควรตรวจสอบแหล่งการบริจาคเลือดที่มั่นใจเชื่อถือได้และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำ
• ด้านแบบแผนการดำเนินชีวิต หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการถูกข่มขืน หรือการอยู่ในที่เปลี่ยว หลีกเลี่ยงสถานที่หรือสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
สัมพันธภาพกับผู้อื่น, การสร้างสัมพันธภาพ, การรักษาสัมพันธภาพ
• หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และพยายามยุติความขัดแย้งนั้นด้วยสันติวิธี
• มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและผู้อื่น
• ยอมรับความแตกต่างทางความคิดเห็นของเพื่อน
• สนใจดูแลเอาใจใส่ความรู้สึกและความต้องการของเพื่อน
• รับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
• มีความเป็นตัวของตัวเองที่แตกต่างจากกลุ่มเพื่อน
การป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมายถึง กลุ่มโรคที่สามารถแพร่ ติดต่อกันได้ทางการร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อ เช่น โรคซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม การมโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน หูดหงอนไก่ เริมที่อวัยวะ เป็นต้น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องแต่ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง เช่น ซื้อยามารับประทานเอง การไม่ไปพบหรือปรึกษาแพทย์อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น โรค ซิฟิลิส ถ้ารักษาไม่ถูกต้องอาการของโรคจะดำเนินสู่ระยะร้ายแรง ทำให้ตาบอด หูหนวก สมองและสติปัญญาเสื่อม
การหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
• ด้านการมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือกับผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงและผิดปกติ งดเว้นการสำส่อนทางเพศ และรู้จักการใช้ถุงยางอนามัย
• ด้านการใช้เข็มฉีดยาและการรับเลือด หลีกเลี่ยงการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การรับบริจาคเลือดควรตรวจสอบแหล่งการบริจาคเลือดที่มั่นใจเชื่อถือได้และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำ
• ด้านแบบแผนการดำเนินชีวิต หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นที่อาจก่อให้เกิดปัญหาการถูกข่มขืน หรือการอยู่ในที่เปลี่ยว หลีกเลี่ยงสถานที่หรือสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
คำค้นหา : | การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
การรักษาสัมพันธภาพ,
การสร้างสัมพันธภาพ,
สัมพันธภาพกับผู้อื่น
เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557
เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่]
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ วันที่ 13 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] ….. เพิ่มรายละเอียดเกณฑ์สวดมนต์แปล…..
Dowmload เสียงสวดมนต์ภาษาบาลีจากตัวอย่าง - เสียงของพระภิกษุชาวอังกฤษ - เสียงของพระภิกษุชาวไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ วันที่ 18 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] …….เพิ่มภาคผนวค โน๊ตเพลงดนตรีไทย………..
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วันที่ 6 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] …. แก้ไขแอโรบิก….
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วันที่ 18 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] …แก้เกณฑ์การแข่งขัน Impromptu Speech…
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
ปฐมวัย วันที่ 30 มิถุนายน 2557 [คลิกที่นี่ ]
การศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม) วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] …. เกณฑ์ใหม่…..
การศึกษาพิเศษ (เฉพาะความพิการ) วันที่ 30 มิถุนายน 2557 [คลิกที่นี่ ]
อัพเดทล่าสุด วันที่ 18 สิงหาคม 2557
คำค้นหา : ศิลปหัตถกรรม จังหวัดสกลนครครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, เกณฑ์แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางและตะวันออก, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65, www.esan64.net, ศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64,ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางภาคตะวันออก, เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64, งานหัตถกรรมสกล, อีสาน64, งานศิลปหัตถกรรมครั้งที่64, เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรม 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2557, ศิลปหัตถกรรม ครั้งท่ 64, การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64, โหลดเกณฑ์งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศิลปหัตกรรมสกลนครครั้งที่ 64, เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ภาคเหนือ, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมภาคอีสาน ครั้งที่64, งานหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 64, ประกาศผลการแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรม วันที่ 18 สิงหาคม 2557, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64
คำค้นหา ประเพณีไทย :
เกณฑ์การแข่งขัน,
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน,
ศิลปหัตถกรรม 2557,
ศิลปหัตถกรรม 64
ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ภูมิปัญญาชาวบ้าน |
ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน
ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาพื้นบ้านบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เพราะหมอยาเก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น หรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติเพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนสมัยก่อน ใช้ยาสมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิกง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงิน เครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษาคุณภาพและผีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากินมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถนาแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน
การลงแขกทำนาปลูกข้าวและปลูกสร้างบ้านเรือนก็เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียนมีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ คนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อยลงลงไป
การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ผลผลิตจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นำการพัฒนาหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน และการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม
ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาชาวบ้านในปัจจุบัน, ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคม, ภูมิปัญญาไทย
ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาพื้นบ้านบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เพราะหมอยาเก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น หรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติเพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนสมัยก่อน ใช้ยาสมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิกง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงิน เครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษาคุณภาพและผีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากินมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถนาแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน
การลงแขกทำนาปลูกข้าวและปลูกสร้างบ้านเรือนก็เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียนมีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ คนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อยลงลงไป
การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ผลผลิตจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นำการพัฒนาหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน และการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม
คำค้นหา : | ภูมิปัญญาชาวบ้าน |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ภูมิปัญญาชาวบ้าน,
ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน,
ภูมิปัญญาไทย
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
การอยู่ร่วมกันในสังคม |
การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้นำ หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การสั่ง
แต่เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฎระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชนการละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ \"ผิดผี\" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น
ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การแลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง
ในชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางรักษาโรค บางคนทางการเพาะพืช บางคนทางการเลี้ยงสัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคนเก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความสามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี \"ค่าครู\" แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือเพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้นจะเก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว \"วิชา\" ที่ครูถ่ายทอดมาให้ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไปแต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ ด้วยวิธีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการสอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อนตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปีคนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือเก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเขาได้ปลา เขาจะทำกับเราเช่นเดียวกัน
ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด งานบุญกิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่างๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพพระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูสอนลูกหลานผู้ชายซึ่งรับใช้พระสงฆ์ หรือ \"บวชเรียน\" ทั้งนี้ก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาทของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป
การอยู่ร่วมกันในสังคม, เศรษฐกิจพอเพียง, การอยู่ร่วมกัน, สังคม
แต่เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฎระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชนการละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ \"ผิดผี\" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น
ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การแลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง
ในชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางรักษาโรค บางคนทางการเพาะพืช บางคนทางการเลี้ยงสัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคนเก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความสามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี \"ค่าครู\" แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือเพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้นจะเก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว \"วิชา\" ที่ครูถ่ายทอดมาให้ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไปแต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ ด้วยวิธีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการสอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อนตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปีคนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือเก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเขาได้ปลา เขาจะทำกับเราเช่นเดียวกัน
ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด งานบุญกิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่างๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพพระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูสอนลูกหลานผู้ชายซึ่งรับใช้พระสงฆ์ หรือ \"บวชเรียน\" ทั้งนี้ก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาทของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป
คำค้นหา : | การอยู่ร่วมกันในสังคม |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
การอยู่ร่วมกัน,
การอยู่ร่วมกันในสังคม,
เศรษฐกิจพอเพียง,
สังคม
พิธีจัดงานศพ
พิธีจัดงานศพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
พิธีจัดงานศพ |
การตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต การจัดงานศพให้แก่ผู้ตายนับเป็นประเพณีสุดท้ายเกี่ยวกับชีวิต จัดขึ้นตามพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ กลุ่มคนไทยเขมรที่นับถือศาสนาพุทธก็จะจัดพิธีศพตามหลักการของศาสนาพุทธซึ่งผสมผสานอยู่ระหว่างคตินิยมเชิงพุทธกับพราหมณ์
การทำโลงศพหรือหีบศพ ตามชนบทไม่นิยมซื้อโลงสำเร็จรูป แต่จะช่วยกันต่อโลงเองโดยนำไม้ประการฝาบ้านและกระดานพื้นบ้านของผู้ตายมาต่อเป็นโลงแล้วประดับด้วยกระดาษแก้วหลากสี นำมาตัดเป็นลวดลายต่างๆ การตั้งศพนิยมตั้งที่บ้านผู้ตาย ถ้าเป็นศพของญาติผู้ใหญ่จะตั้งไว้หลายวันตั้งแต่3 –7 วัน ศพเด็กหรือศพคนที่มีฐานะยากจนจะตั้งไว้ 1-3 วัน ก็จะทำพิธีฌาปนกิจ ในช่วงที่ตั้งศพสวดอภิธรรมที่บ้านจะมีประเพณีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกว่า “ลึงกาฮ” หมายถึงการเล่นทายเหรียญว่าจะออกหัวหรือก้อย โดยใช้เงินเหรียญหมุนแล้วครอบด้วยขัน ส่วนการแทงหรือการทายจะใช้เสื้อผ้า สิ่งของ ตลอดจนเครื่องประดับเท่าที่มีอยู่ขณะนั้น ไม่ได้เล่นได้เสียกันอย่างจริงจัง เมื่อเสร็จงานศพแล้วก็จะส่งคืน ส่วนใหญ่ผู้เล่นมักจะเป็นหนุ่มสาว ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้เกี้ยวพาราสีกัน
การเผาศพนิยมนำไปเผาที่ป่าช้าประจำหมู่บ้านหรือไม่ก็หัวไร่ปลายนาของผู้ตาย ผู้มีหน้าที่จัดพิธีศพซึ่งจะเป็นคนเดียวตั้งแต่แรกเริ่มเรียกว่า “อาจารย์” เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านพิธีและไสยเวทย์ที่เกี่ยวข้องกันเป็นอย่างดี พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2- 3 คน ผู้ช่วยเหล่านี้มีหน้าที่ตรงกับที่เรียกว่า “สัปเหร่อ” ภาษาถิ่นเรียกว่า “กีร์” หรือ “เกียร์” ชาวไทยเขมรมีการถือฤกษ์ยามการเผาศพเช่นเดียวกับชาวไทยในชนบททั่วไป คือ วันที่ห้ามเผาศพ คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 11 และวันแรม 6 ค่ำของทุกเดือน เนื่องจากวันดังกล่าวตำราของไทยเขมรเรียก “วันผีกิน” ถ้านำศพไปเผาในวันดังกล่าวอาจทำให้ญาติพี่น้องตายตามกันทันที นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามตามวันทั้ง 7 ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นด้วย
พิธีจัดงานศพ, งานศพ, สัปเหร่อ, วันผีกิน, วันที่ห้ามเผาศพ
การทำโลงศพหรือหีบศพ ตามชนบทไม่นิยมซื้อโลงสำเร็จรูป แต่จะช่วยกันต่อโลงเองโดยนำไม้ประการฝาบ้านและกระดานพื้นบ้านของผู้ตายมาต่อเป็นโลงแล้วประดับด้วยกระดาษแก้วหลากสี นำมาตัดเป็นลวดลายต่างๆ การตั้งศพนิยมตั้งที่บ้านผู้ตาย ถ้าเป็นศพของญาติผู้ใหญ่จะตั้งไว้หลายวันตั้งแต่3 –7 วัน ศพเด็กหรือศพคนที่มีฐานะยากจนจะตั้งไว้ 1-3 วัน ก็จะทำพิธีฌาปนกิจ ในช่วงที่ตั้งศพสวดอภิธรรมที่บ้านจะมีประเพณีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกว่า “ลึงกาฮ” หมายถึงการเล่นทายเหรียญว่าจะออกหัวหรือก้อย โดยใช้เงินเหรียญหมุนแล้วครอบด้วยขัน ส่วนการแทงหรือการทายจะใช้เสื้อผ้า สิ่งของ ตลอดจนเครื่องประดับเท่าที่มีอยู่ขณะนั้น ไม่ได้เล่นได้เสียกันอย่างจริงจัง เมื่อเสร็จงานศพแล้วก็จะส่งคืน ส่วนใหญ่ผู้เล่นมักจะเป็นหนุ่มสาว ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้เกี้ยวพาราสีกัน
การเผาศพนิยมนำไปเผาที่ป่าช้าประจำหมู่บ้านหรือไม่ก็หัวไร่ปลายนาของผู้ตาย ผู้มีหน้าที่จัดพิธีศพซึ่งจะเป็นคนเดียวตั้งแต่แรกเริ่มเรียกว่า “อาจารย์” เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านพิธีและไสยเวทย์ที่เกี่ยวข้องกันเป็นอย่างดี พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2- 3 คน ผู้ช่วยเหล่านี้มีหน้าที่ตรงกับที่เรียกว่า “สัปเหร่อ” ภาษาถิ่นเรียกว่า “กีร์” หรือ “เกียร์” ชาวไทยเขมรมีการถือฤกษ์ยามการเผาศพเช่นเดียวกับชาวไทยในชนบททั่วไป คือ วันที่ห้ามเผาศพ คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 11 และวันแรม 6 ค่ำของทุกเดือน เนื่องจากวันดังกล่าวตำราของไทยเขมรเรียก “วันผีกิน” ถ้านำศพไปเผาในวันดังกล่าวอาจทำให้ญาติพี่น้องตายตามกันทันที นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามตามวันทั้ง 7 ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นด้วย
คำค้นหา : | พิธีจัดงานศพ |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
งานศพ,
พิธีจัดงานศพ,
วันที่ห้ามเผาศพ,
วันผีกิน,
สัปเหร่อ
วงมโหรีพื้นบ้าน
วงมโหรีพื้นบ้าน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
วงมโหรีพื้นบ้าน |
วงมโหรีพื้นบ้าน คือ การนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องดนตรีประเภทปี่พาทย์ บางชิ้นมาประสมกัน โดมีซอเป็นเครื่องดนตรีหลักใช้บรรเลงในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในวงมโหรีพื้นบ้านสุรินทร์ ประกอบด้วย ซอกลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนซออู้ แต่จะมีเสียงสูงกว่า ซออู้เล็กน้อย หรือเรียกว่า ซออู้เสียงกลาง, ปี่ไน, ซออู้, ซอด้วง, กลองสองหน้า, ฉิ่ง , ฉาบ
เพลงที่ใช้ประกอบในวงมโหรีจะมีเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ประเภทของเพลงขับร้องจะมีบทร้องโดยไม่มีท่ารำประกอบเช่น บทเพลงกันตบ เนื้อร้องจะเป็นบทสอนหญิง บทเพลงเขมรเป่าใบไม้ ส่วนบทเพลงที่มีท่ารำประกอบเช่น เพลงอมตูก(พายเรือ), เพลงมลปโดง(ร่มมะพร้าว), เพลงอายัยโบราณ, เพลงซองซาร(หมายถึงที่รัก) บทเพลงดังกล่าวจะมีการฟ้อนรำประกอบโดยเฉพาะ อายัยโบราณ เป็นเพลง ซองซาร ในการร้องจะเป็นการโต้ตอบระหว่างชายหญิง เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องจะเป็นภาษาเขมร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวบ้านและวงมโหรีพื้นบ้านยังมีบทบาทต่อชาวบ้านในด้านต่างๆเช่น เป็นเครื่องนันทนาการของสังคมชาวบ้านเป็นสื่อประสานสัมพันธ์ทางสังคม ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสมาพบปะกัน เกิดความใกล้ชิด สามัคคีกลมเกลียวขึ้นในชุมชน
วงมโหรีพื้นบ้าน, มโหรีพื้นบ้าน, มโหรี
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในวงมโหรีพื้นบ้านสุรินทร์ ประกอบด้วย ซอกลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนซออู้ แต่จะมีเสียงสูงกว่า ซออู้เล็กน้อย หรือเรียกว่า ซออู้เสียงกลาง, ปี่ไน, ซออู้, ซอด้วง, กลองสองหน้า, ฉิ่ง , ฉาบ
เพลงที่ใช้ประกอบในวงมโหรีจะมีเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ประเภทของเพลงขับร้องจะมีบทร้องโดยไม่มีท่ารำประกอบเช่น บทเพลงกันตบ เนื้อร้องจะเป็นบทสอนหญิง บทเพลงเขมรเป่าใบไม้ ส่วนบทเพลงที่มีท่ารำประกอบเช่น เพลงอมตูก(พายเรือ), เพลงมลปโดง(ร่มมะพร้าว), เพลงอายัยโบราณ, เพลงซองซาร(หมายถึงที่รัก) บทเพลงดังกล่าวจะมีการฟ้อนรำประกอบโดยเฉพาะ อายัยโบราณ เป็นเพลง ซองซาร ในการร้องจะเป็นการโต้ตอบระหว่างชายหญิง เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องจะเป็นภาษาเขมร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวบ้านและวงมโหรีพื้นบ้านยังมีบทบาทต่อชาวบ้านในด้านต่างๆเช่น เป็นเครื่องนันทนาการของสังคมชาวบ้านเป็นสื่อประสานสัมพันธ์ทางสังคม ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสมาพบปะกัน เกิดความใกล้ชิด สามัคคีกลมเกลียวขึ้นในชุมชน
คำค้นหา : | วงมโหรีพื้นบ้าน |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
มโหรี,
มโหรีพื้นบ้าน,
วงมโหรีพื้นบ้าน
ประเพณีไทยภาคใต้ การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง |
มะโย่ง เป็นศิลปะการละครร่ายรำอย่างหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีลักษณะของการผสมผสานทางพิธีกรรม ความเชื่อ การละคร นาฏศิลป์และดนตรีเข้าด้วยกัน มีความกลมกลืนกันเป็นศิลปะชั้นเลิศของมลายู มะโย่งจัดเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายู ที่สามารถชมกันได้ในรัฐกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี ซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทสมาเลเซีย บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไกลจนถึงเกาะสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซีย คนไทยเชื้อสายมลายูเรียกการละเล่นมะโย่งว่า “เมาะโย่ง” ตามสำเนียงภาษามลายูถิ่นปัตตานี ซึ่งปัจจุบันมะโย่งยังคงมีการแสดงอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ประวัติความเป็นมาของมะโย่ง
ประวัติความเป็นมาของมะโย่งมิอาจระบุได้แน่ชัดว่ากำเนิดขึ้นที่ใดเป็นครั้งแรก นักวิชาการและนักแสดงหลายท่านได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของมะโย่งไว้แตกต่างกันไปหลายกระแส เช่น นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า มะโย่งกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเมืองมัชปหิต สมัยรายามูดอแลลอ บ้างก็ว่ากำเนิดขึ้นจากต่วนประไหมสุหรีบอสู และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในเมืองปาเล็มบังในสมัยรายากาซีนาบันดีตอแล้วแพร่มาสู่แหลมมลายู ส่วนจากคำเล่าของนักแสดงมะโย่ง บางโรงว่ามะโย่งกำเนิดขึ้นจากพิธีกรรมที่เกาะชวา บางโรงบอกว่าเกิดขึ้นจากสองสามีภรรยาที่ไปหาของในป่า ดังเช่น
จากการสัมภาษณ์ นายเจ๊ะเต๊ะ ดือมอง นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสรีปัตตานี เล่าว่า “มะโย่งก่อกำเนิดในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มจากสองผัวเมียเข้าไปหาของในป่าใหญ่แล้วเกิดหลงทาง ทั้งสองจึงคิดที่จะออกจากป่าซึ่งบังเอิญเห็นลิงป่าหลายตัวเล่นกันอยู่ จึงคิดสนุกโดยการที่ฝ่ายสามีเหลือบไปเห็นกะโหลกสุนัขก็นำกะโหลกสุนัขมาทำกะโหลกซอและเอาผมของตนเองมาทำสายคันชักและสายซอเอากระดูกมาเป็นด้ามซอฝ่ายภรรยาก็ร้องเพลงและเลียนท่าเต้นจากลิงป่า เมื่อออกจากป่าได้แล้ว จึงนำมาแสดงในเมือง ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม การแสดงนี้ต่อมาจึงเรียกว่า “มะโย่ง”
จากการสัมภาษณ์ นายนิโซะ นิเลาะ นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสามพี่น้อง กล่าวว่า “มะโย่งมีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ขณะนั้นโดยมะโย่งอยู่ในรูปแบบของการเล่นเพื่อรักษาไข้ ต่อมาเป็นที่รู้จักของชาวบ้านในวงกว้างขึ้นและได้นำเอาการแสดงมะโย่ง มาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในโอกาสต่างๆ เช่น งานเข้าสุหนัต งานแต่งงาน ต้อนรับบุคคลสำคัญ ต่อมากลายเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมจากราชสำนักและระดับชาวบ้าน จึงทำให้การแสดงมะโย่งได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาสู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดาร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน”
จากการสัมภาษณ์ นายยูโซ๊ะ บ่อทอง นักแสดงลิเกฮูลู กล่าวว่า มะโย่งมีต้นกำเนิดจากคนชวา ใช้แสดงในพิธีกรรมรักษาไข้ ต่อมาได้แพร่หลายมายังรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน และมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานี ปรากฏว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า การแสดงมะโย่งในปัตตานีมีมานานมากกว่า 400 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานเด่นชัดในสมัยราชินีฮิเยาครองเมืองปัตตานี สมัยนั้นมะโย่งมักนิยมดูในหมู่ชนชั้นสูง โดยใช้สถานที่แสดงในวังหรือบ้านขุนนาง ครั้งหนึ่ง ๆ แสดงนานถึง 4-7 คืน แต่ละคืนจะเลิกแสดงก็ต่อเมื่อรายารับสั่งให้ยุติ เล่นเพื่อความบันเทิง ต้อนรับบุคคลสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายูได้ปรากฏหลักฐานในพิธีต้อนรับพระองค์ได้มีการแสดงมะโย่งในเมืองปัตตานี ทรงบันทึกไว้ในหนังสือพระราชหัตถเลขา เรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายู อาจกล่าวได้ว่าการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานีน่าจะเริ่มปรากฏในราชสำนักก่อนในรูปแบบความบันเทิงเป็นที่นิยมชื่นชอบในราชสำนัก ถึงขนาดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ครองเมือง ต่อมาได้แพร่หลายสู่ระดับประชาชนทั่วไปซึ่งทั้งใช้เพื่อความบันเทิงและประกอบพิธีกรรมรักษาไข้มาจนถึงปัจจุบัน
โอกาสในการแสดงมะโย่ง
โอกาสในการแสดงมะโย่งสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการแสดงได้ 2 ประการ คือ การแสดง เพื่อความบันเทิง และการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ดังรายละเอียดดังนี้
1) การแสดงเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงที่เจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างรับมะโย่งมาแสดงในโอกาสต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง บุคคลสำคัญ งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานขึ้นเปลลูกเจ้าเมือง งานมาแกแต (งานบุญบริจาคหารายได้สมทบทุน) แก้บนที่ไม่ได้เกี่ยวรักษาไข้ (บนไว้ว่าถ้าได้ลูกสาวจะรับมะโย่งมาแสดง) งานประเพณีแห่นก งานเทศกาลประจำปี หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เป็นต้น
2) การแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม
เป็นการแสดงเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแสดงมะโย่งในพิธีแก้บน สะเดาะเคราะห์ รักษาไข้หรือตือรี และเพื่อไหว้ครู เป็นต้น
โรง หรือเวทีแสดงมะโย่ง
โรงหรือเวทีที่ใช้ในการแสดงมะโย่ง นั้น มี 2 แบบ คือ โรงที่ใช้แสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิง และโรงที่แสดงมะโย่งในพิธีกรรม ซึ่งทั้งสองมีลักษณะเป็นโรงที่ปลูกเป็นเพิงหมาแหงนเหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่อุปกรณ์ที่ใช้ประดับตกแต่งโรง คือ โรงเวทีที่ใช้แสดงมะโย่งในพิธีกรรม จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและมีอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในโรงหลายอย่าง
การแสดงมะโย่ง
ในการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรมนั้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ เริ่มต้นด้วยการเบิกโรง การโหมโรงจะเริ่มจากการบรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือซอรือบับเท่านั้นที่เล่นคลอเบา ๆ ตามด้วยกลองฆือแน ฆ้อง โหม่งและเครื่องดนตรีชิ้นที่เหลือตีบรรเลงพร้อมๆ กัน เป็นการปลุกเร้าหรือส่งสัญญาณบอกให้ผู้ชมทราบว่าการแสดงมะโย่งกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ต่อด้วย การรำเบิกโรง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้ร่ายรำจะต้องเป็นเปาะโย่ง ในพิธีนี้คนไข้อาจจะแสดงเป็นเปาะโย่ง และได้รับการถ่ายทอดท่าร่ายรำจากผู้แสดงเป็นเปาะโย่งของคณะที่ว่าจ้าง โดยมีตัวละครเมาะโย่ง ปือรันมูดอ ปือรันตูวอร่วมแสดงด้วย เวลาที่ใช้ในการรำเบิกโรงนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อมาเป็นการแสดงเป็นละครมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องตามบทละคร มีบทพูดสนทนาโต้ตอบกันของตัวละคร สลับบทร้อง การรำ การเต้น เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงจะมีลักษณะคล้ายเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ต่อมาเป็นพิธีแก้บน เป็นพิธีกรรมที่กระทำในคืนสุดท้ายเพื่อบอกกล่าวว่าการใช้บนได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยเจ้าภาพจะจัดเตรียมอุปกรณ์ คือ “สมางีน” พ่อหมอจะเรียกคนไข้และญาติให้มานั่งใกล้ ดนตรีเริ่มบรรเลงเพลง พ่อหมอจะหยิบผงกำยานโรยบนถ่านไฟให้ควันกำยานพุ่งนำเครื่องประกอบแก้สินบนทั้งหมดขึ้นมารมควันแล้วอ่านคาถา พ่อหมอดึงตัวปลดปล่อยที่สานจากใบมะพร้าวให้ขาดออกจากกัน และพ่อหมอนำแป้งหอมละลายน้ำทำเป็นน้ำมนต์มาพรมคนไข้และญาติๆ
ส่วนการแสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิงมีลักษณะการแสดงคล้าย ๆ กับการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรม แต่จะมีลำดับขั้นตอนการแสดงน้อยกว่า คือ จะเริ่มจากการโหมโรง ต่อด้วยรำเบิกโรง และแสดงเป็นละคร เวลาที่ใช้แสดงประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมะโย่งประกอบด้วย ซอรือบับ ปี่ซูนา กลองฆือแน ฆง โหม่ง จือแร็ก ฉิ่ง ฉาบ รำมะนา และไวโอลิน ส่วนจำนวนผู้แสดงมะโย่งมีทั้งหมด 15-25 คน เป็นโต๊ะมีโน๊ะหรือพ่อหมอ 1 คน เป็นนักดนตรี 7-9 คน ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงกับผู้ช่วยแสดง นักดนตรี ประกอบด้วย คนสีซอรือบับ เป่าปี่ซูนา ตีกลองฆือแน ฆง โหม่ง ฉิ่งกับฉาบ จือแร็ก รำมะนา (เครื่องดนตรีบางชนิดอาจจะเป็นคนๆ เดียวกันเล่น) ผู้ที่เป็นนักแสดงจะรักบทเป็นตัวละครสำคัญ ๆ ในการแสดงมะโย่งมี เปาะโย่ง เป็นตัวละครเอก เมาะโย่ง ปือรันมูดอ ตัวตลกตัวที่ 1 ปือรันทูวอ เป็นตัวตลกตัวที่ 2 ดายัง - ดายัง หรือ อีนัง - อีนัง
เครื่องแต่งกายของเปาะโย่งจะมีลักษณะพิเศษเป็นชุดเลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ ส่วนเมาะโย่งและนักแสดงที่เป็นตัวประกอบจะแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดพื้นบ้านชาวไทยมุสลิม เช่น ชุดกือบายา หรือชุดที่ธรรมดาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน นักดนตรีจะแต่งชุดสบาย ๆ ธรรมดาในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อัตราค่าจ้างในการแสดง มะโย่งแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่รับไปแสดง เช่น ถ้าเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง ระยะเวลาแสดง 2 - 3 ชั่วโมง ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 4,500 บาท ถ้าเป็นการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 6,000 บาท
ปัจจุบันมะโย่งนับได้ว่าเป็นการแสดงที่กำลังจะสูญหาย และหาดูได้ยากในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเนื่องจาก ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ไม่เอื้ออำนวยให้การละเล่นชนิดนี้อยู่รอดต่อไปได้ ดังเช่น ปัจจัยด้านความเชื่อในศาสนาอิสลาม ปัจจัยสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากชาติอื่น ๆ เข้ามาแพร่สิ่งใหม่ ๆ ดังเช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ โทรทัศน์ และปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างผู้แสดงและผู้ชมที่บทละครมะโย่งใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานี
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง, มะโย่ง, ประเพณีภาคใต้, การละเล่นภาคใต้
ประวัติความเป็นมาของมะโย่ง
ประวัติความเป็นมาของมะโย่งมิอาจระบุได้แน่ชัดว่ากำเนิดขึ้นที่ใดเป็นครั้งแรก นักวิชาการและนักแสดงหลายท่านได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของมะโย่งไว้แตกต่างกันไปหลายกระแส เช่น นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า มะโย่งกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเมืองมัชปหิต สมัยรายามูดอแลลอ บ้างก็ว่ากำเนิดขึ้นจากต่วนประไหมสุหรีบอสู และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในเมืองปาเล็มบังในสมัยรายากาซีนาบันดีตอแล้วแพร่มาสู่แหลมมลายู ส่วนจากคำเล่าของนักแสดงมะโย่ง บางโรงว่ามะโย่งกำเนิดขึ้นจากพิธีกรรมที่เกาะชวา บางโรงบอกว่าเกิดขึ้นจากสองสามีภรรยาที่ไปหาของในป่า ดังเช่น
จากการสัมภาษณ์ นายเจ๊ะเต๊ะ ดือมอง นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสรีปัตตานี เล่าว่า “มะโย่งก่อกำเนิดในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มจากสองผัวเมียเข้าไปหาของในป่าใหญ่แล้วเกิดหลงทาง ทั้งสองจึงคิดที่จะออกจากป่าซึ่งบังเอิญเห็นลิงป่าหลายตัวเล่นกันอยู่ จึงคิดสนุกโดยการที่ฝ่ายสามีเหลือบไปเห็นกะโหลกสุนัขก็นำกะโหลกสุนัขมาทำกะโหลกซอและเอาผมของตนเองมาทำสายคันชักและสายซอเอากระดูกมาเป็นด้ามซอฝ่ายภรรยาก็ร้องเพลงและเลียนท่าเต้นจากลิงป่า เมื่อออกจากป่าได้แล้ว จึงนำมาแสดงในเมือง ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม การแสดงนี้ต่อมาจึงเรียกว่า “มะโย่ง”
จากการสัมภาษณ์ นายนิโซะ นิเลาะ นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสามพี่น้อง กล่าวว่า “มะโย่งมีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ขณะนั้นโดยมะโย่งอยู่ในรูปแบบของการเล่นเพื่อรักษาไข้ ต่อมาเป็นที่รู้จักของชาวบ้านในวงกว้างขึ้นและได้นำเอาการแสดงมะโย่ง มาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในโอกาสต่างๆ เช่น งานเข้าสุหนัต งานแต่งงาน ต้อนรับบุคคลสำคัญ ต่อมากลายเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมจากราชสำนักและระดับชาวบ้าน จึงทำให้การแสดงมะโย่งได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาสู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดาร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน”
จากการสัมภาษณ์ นายยูโซ๊ะ บ่อทอง นักแสดงลิเกฮูลู กล่าวว่า มะโย่งมีต้นกำเนิดจากคนชวา ใช้แสดงในพิธีกรรมรักษาไข้ ต่อมาได้แพร่หลายมายังรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน และมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานี ปรากฏว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า การแสดงมะโย่งในปัตตานีมีมานานมากกว่า 400 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานเด่นชัดในสมัยราชินีฮิเยาครองเมืองปัตตานี สมัยนั้นมะโย่งมักนิยมดูในหมู่ชนชั้นสูง โดยใช้สถานที่แสดงในวังหรือบ้านขุนนาง ครั้งหนึ่ง ๆ แสดงนานถึง 4-7 คืน แต่ละคืนจะเลิกแสดงก็ต่อเมื่อรายารับสั่งให้ยุติ เล่นเพื่อความบันเทิง ต้อนรับบุคคลสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายูได้ปรากฏหลักฐานในพิธีต้อนรับพระองค์ได้มีการแสดงมะโย่งในเมืองปัตตานี ทรงบันทึกไว้ในหนังสือพระราชหัตถเลขา เรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายู อาจกล่าวได้ว่าการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานีน่าจะเริ่มปรากฏในราชสำนักก่อนในรูปแบบความบันเทิงเป็นที่นิยมชื่นชอบในราชสำนัก ถึงขนาดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ครองเมือง ต่อมาได้แพร่หลายสู่ระดับประชาชนทั่วไปซึ่งทั้งใช้เพื่อความบันเทิงและประกอบพิธีกรรมรักษาไข้มาจนถึงปัจจุบัน
โอกาสในการแสดงมะโย่ง
โอกาสในการแสดงมะโย่งสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการแสดงได้ 2 ประการ คือ การแสดง เพื่อความบันเทิง และการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ดังรายละเอียดดังนี้
1) การแสดงเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงที่เจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างรับมะโย่งมาแสดงในโอกาสต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง บุคคลสำคัญ งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานขึ้นเปลลูกเจ้าเมือง งานมาแกแต (งานบุญบริจาคหารายได้สมทบทุน) แก้บนที่ไม่ได้เกี่ยวรักษาไข้ (บนไว้ว่าถ้าได้ลูกสาวจะรับมะโย่งมาแสดง) งานประเพณีแห่นก งานเทศกาลประจำปี หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เป็นต้น
2) การแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม
เป็นการแสดงเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแสดงมะโย่งในพิธีแก้บน สะเดาะเคราะห์ รักษาไข้หรือตือรี และเพื่อไหว้ครู เป็นต้น
โรง หรือเวทีแสดงมะโย่ง
โรงหรือเวทีที่ใช้ในการแสดงมะโย่ง นั้น มี 2 แบบ คือ โรงที่ใช้แสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิง และโรงที่แสดงมะโย่งในพิธีกรรม ซึ่งทั้งสองมีลักษณะเป็นโรงที่ปลูกเป็นเพิงหมาแหงนเหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่อุปกรณ์ที่ใช้ประดับตกแต่งโรง คือ โรงเวทีที่ใช้แสดงมะโย่งในพิธีกรรม จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและมีอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในโรงหลายอย่าง
การแสดงมะโย่ง
ในการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรมนั้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ เริ่มต้นด้วยการเบิกโรง การโหมโรงจะเริ่มจากการบรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือซอรือบับเท่านั้นที่เล่นคลอเบา ๆ ตามด้วยกลองฆือแน ฆ้อง โหม่งและเครื่องดนตรีชิ้นที่เหลือตีบรรเลงพร้อมๆ กัน เป็นการปลุกเร้าหรือส่งสัญญาณบอกให้ผู้ชมทราบว่าการแสดงมะโย่งกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ต่อด้วย การรำเบิกโรง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้ร่ายรำจะต้องเป็นเปาะโย่ง ในพิธีนี้คนไข้อาจจะแสดงเป็นเปาะโย่ง และได้รับการถ่ายทอดท่าร่ายรำจากผู้แสดงเป็นเปาะโย่งของคณะที่ว่าจ้าง โดยมีตัวละครเมาะโย่ง ปือรันมูดอ ปือรันตูวอร่วมแสดงด้วย เวลาที่ใช้ในการรำเบิกโรงนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อมาเป็นการแสดงเป็นละครมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องตามบทละคร มีบทพูดสนทนาโต้ตอบกันของตัวละคร สลับบทร้อง การรำ การเต้น เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงจะมีลักษณะคล้ายเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ต่อมาเป็นพิธีแก้บน เป็นพิธีกรรมที่กระทำในคืนสุดท้ายเพื่อบอกกล่าวว่าการใช้บนได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยเจ้าภาพจะจัดเตรียมอุปกรณ์ คือ “สมางีน” พ่อหมอจะเรียกคนไข้และญาติให้มานั่งใกล้ ดนตรีเริ่มบรรเลงเพลง พ่อหมอจะหยิบผงกำยานโรยบนถ่านไฟให้ควันกำยานพุ่งนำเครื่องประกอบแก้สินบนทั้งหมดขึ้นมารมควันแล้วอ่านคาถา พ่อหมอดึงตัวปลดปล่อยที่สานจากใบมะพร้าวให้ขาดออกจากกัน และพ่อหมอนำแป้งหอมละลายน้ำทำเป็นน้ำมนต์มาพรมคนไข้และญาติๆ
ส่วนการแสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิงมีลักษณะการแสดงคล้าย ๆ กับการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรม แต่จะมีลำดับขั้นตอนการแสดงน้อยกว่า คือ จะเริ่มจากการโหมโรง ต่อด้วยรำเบิกโรง และแสดงเป็นละคร เวลาที่ใช้แสดงประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมะโย่งประกอบด้วย ซอรือบับ ปี่ซูนา กลองฆือแน ฆง โหม่ง จือแร็ก ฉิ่ง ฉาบ รำมะนา และไวโอลิน ส่วนจำนวนผู้แสดงมะโย่งมีทั้งหมด 15-25 คน เป็นโต๊ะมีโน๊ะหรือพ่อหมอ 1 คน เป็นนักดนตรี 7-9 คน ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงกับผู้ช่วยแสดง นักดนตรี ประกอบด้วย คนสีซอรือบับ เป่าปี่ซูนา ตีกลองฆือแน ฆง โหม่ง ฉิ่งกับฉาบ จือแร็ก รำมะนา (เครื่องดนตรีบางชนิดอาจจะเป็นคนๆ เดียวกันเล่น) ผู้ที่เป็นนักแสดงจะรักบทเป็นตัวละครสำคัญ ๆ ในการแสดงมะโย่งมี เปาะโย่ง เป็นตัวละครเอก เมาะโย่ง ปือรันมูดอ ตัวตลกตัวที่ 1 ปือรันทูวอ เป็นตัวตลกตัวที่ 2 ดายัง - ดายัง หรือ อีนัง - อีนัง
เครื่องแต่งกายของเปาะโย่งจะมีลักษณะพิเศษเป็นชุดเลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ ส่วนเมาะโย่งและนักแสดงที่เป็นตัวประกอบจะแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดพื้นบ้านชาวไทยมุสลิม เช่น ชุดกือบายา หรือชุดที่ธรรมดาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน นักดนตรีจะแต่งชุดสบาย ๆ ธรรมดาในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อัตราค่าจ้างในการแสดง มะโย่งแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่รับไปแสดง เช่น ถ้าเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง ระยะเวลาแสดง 2 - 3 ชั่วโมง ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 4,500 บาท ถ้าเป็นการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 6,000 บาท
ปัจจุบันมะโย่งนับได้ว่าเป็นการแสดงที่กำลังจะสูญหาย และหาดูได้ยากในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเนื่องจาก ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ไม่เอื้ออำนวยให้การละเล่นชนิดนี้อยู่รอดต่อไปได้ ดังเช่น ปัจจัยด้านความเชื่อในศาสนาอิสลาม ปัจจัยสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากชาติอื่น ๆ เข้ามาแพร่สิ่งใหม่ ๆ ดังเช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ โทรทัศน์ และปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างผู้แสดงและผู้ชมที่บทละครมะโย่งใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานี
คำค้นหา : | การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง,
การละเล่นภาคใต้,
ประเพณีภาคใต้,
มะโย่ง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง |
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประเวศ วะสี (2542 : 34 – 36) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า เศรษฐกิจ พอเพียง คือ เศรษฐกิจที่มีรูปแบบเป็นทางสายกลาง หรือเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาปฏิปทา เพราะเชื่อมโยงทุกเรื่องเข้ามาด้วยกันทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่จริงคำว่า “เศรษฐกิจ” เป็นคำที่มีความหมายในทางที่ดี ที่หมายถึง ความเจริญที่เชื่อมโยงกาย ใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน แต่ได้มีการนำเอาคำว่าเศรษฐกิจไปใช้ในลักษณะที่แยกส่วนที่หมายถึง การแสวงหาเงินเท่านั้น เมื่อยกส่วนมันก็จะทำลายส่วนอื่น ๆ จนเสียสมดุลและวิกฤต
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2544) เศรษฐกิจพอเพียง คือ วัฒนธรรม ไม่ใช่เทคนิคการเพาะปลูก แต่ เป็นศีลธรรมความไม่ละโมบ และการประหยัด เศรษฐกิจพอเพียงเปิดโอกาสให้ทุกคนพออยู่ได้ แตกต่างจากการคิดในด้านเทคนิค ถ้าคิดแต่ด้านเทคนิคก็จะย้ำเฉพาะคน ทำให้เกิดการเอาตัวรอด ซึ่งไม่ตรงกับอุดมการณ์ของเศรษฐกิจพอเพียง ความคิดทางเทคนิคทำให้คนไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ตัวใครตัวมัน อันจะเป็นโทษแก่ธรรมชาติด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของสมาชิกในชุมชนที่มีให้แก่เพื่อนบ้าน และธรรมชาตินั้นถือเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน แนวคิดนี้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่จะคำนึงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน พร้อม ๆ กับรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติไปด้วย
พิสิฐ ลี้อาธรรม (2549 : 11) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง โดยความพอเพียงนั้น หมายถึง ความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายนอก และภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้ในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ และสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน มีความพอกินพอใช้ ไม่ใช่แต่จะสร้างความเจริญ หรือ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะที่เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ
สุเมธ ตันติเวชกุล (2550 : 13) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self –Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกิน พอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็ว แต่เพียงอย่างเดียว
อภิชัย พันธเสน (2550 : 22) ได้ให้คำจำกัดความของเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นข้อเสนอใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า “คือ ความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น” การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจจะหามาได้ถ้าปราศจากเงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การได้มาซึ่งเงินนั้นจำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ และนำเงินที่ได้มานั้นไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความสามารถในการดำรงชีพ อย่างเรียบง่าย อุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง รู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย อยู่อย่างประมาณตน ใช้จ่ายไม่เกินรายรับ มีการผลิตเพื่อให้พอมีพอกินในครอบครัว และมีความเอื้อเฟื้อกันในชุมชน ทะนุบำรุงพื้นฐานตัวเองให้เข้มแข็งทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง คือ
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2544) เศรษฐกิจพอเพียง คือ วัฒนธรรม ไม่ใช่เทคนิคการเพาะปลูก แต่ เป็นศีลธรรมความไม่ละโมบ และการประหยัด เศรษฐกิจพอเพียงเปิดโอกาสให้ทุกคนพออยู่ได้ แตกต่างจากการคิดในด้านเทคนิค ถ้าคิดแต่ด้านเทคนิคก็จะย้ำเฉพาะคน ทำให้เกิดการเอาตัวรอด ซึ่งไม่ตรงกับอุดมการณ์ของเศรษฐกิจพอเพียง ความคิดทางเทคนิคทำให้คนไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ตัวใครตัวมัน อันจะเป็นโทษแก่ธรรมชาติด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของสมาชิกในชุมชนที่มีให้แก่เพื่อนบ้าน และธรรมชาตินั้นถือเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน แนวคิดนี้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่จะคำนึงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน พร้อม ๆ กับรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติไปด้วย
พิสิฐ ลี้อาธรรม (2549 : 11) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง โดยความพอเพียงนั้น หมายถึง ความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายนอก และภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้ในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ และสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน มีความพอกินพอใช้ ไม่ใช่แต่จะสร้างความเจริญ หรือ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะที่เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ
สุเมธ ตันติเวชกุล (2550 : 13) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self –Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกิน พอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็ว แต่เพียงอย่างเดียว
อภิชัย พันธเสน (2550 : 22) ได้ให้คำจำกัดความของเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นข้อเสนอใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า “คือ ความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น” การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจจะหามาได้ถ้าปราศจากเงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การได้มาซึ่งเงินนั้นจำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ และนำเงินที่ได้มานั้นไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความสามารถในการดำรงชีพ อย่างเรียบง่าย อุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง รู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย อยู่อย่างประมาณตน ใช้จ่ายไม่เกินรายรับ มีการผลิตเพื่อให้พอมีพอกินในครอบครัว และมีความเอื้อเฟื้อกันในชุมชน ทะนุบำรุงพื้นฐานตัวเองให้เข้มแข็งทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ
คำค้นหา : | ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง |
คำค้นหา ประเพณีไทย :
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง,
เศรษฐกิจพอเพียง,
เศรษฐกิจพอเพียง คือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
เศรษฐกิจพอเพียง
วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง
ประเพณีไทย
ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
เกี่ยวกับเรา ประเพณีไทย
เข้าร่วม Google+ ประเพณีไทย
ประเพณีไทย โดย anirud
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ความรู้ ประเพณีไทย
-
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลา...
-
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย ห ลายๆ ท่าน หลายโรงเรียนในช่วงนี้ อาจจะกำลังตามหารูปภาพที่จะใช้ในการวาดประกวดใน หัวข้อ " ภาพวาดประกวดประเพณี...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมท...
-
เรียงความ ประเพณี ไทย การเขียนเรียงความในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเพณีไทย ก่อนที่เราจะเขียนในหัวข้อนี้ออกมาได้ และทำให้ผู้ที่อ่านเรียงควา...
-
ประเพณีไทย ประเพณีไทย หมายถึง กิจกรรมที่มีการกระทำสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์ของไทยพร้อมทั้งมีความสำคัญต่อสังคมไทย เช่น...
-
การวาดภาพระบายสี การวาดภาพระบายสี 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 4 – ป....
-
ศิลป์สร้างสรรค์ การแข่งขัน “ ศิลป์สร้างสรรค์” 1. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน - เป็นนักเรียนระดับชั้น ป. 1 – ป. 3 - เป็นนักเรียนระดั...
-
ประโยชน์ของศิลปะ ประโยชน์ของศิลปะ - ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง - ได...
-
เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 >>> เกณฑ์การแข่งขันล่าสุด <<< งานศิ...
-
ประโยชน์ของดนตรี ประโยชน์ของดนตรี ดนตรี คำว่าดนตรีนั้นมีความหมายมากมายแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคลแต่ดิฉันให้ความหมายของ...
คำค้นหา ประเพณีไทย
กลอนประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
การประสมวงดนตรีไทย
(1)
การรักษาสัมพันธภาพ
(1)
การละเล่นไทย
(3)
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
(1)
การละเล่นภาคใต้
(1)
การละเล่นว่าว
(1)
การเล่นโพงพาง
(1)
การเล่นว่าว
(1)
การเล่นว่าวไทย
(1)
การวาดภาพ
(1)
การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ
(1)
การสร้างสัมพันธภาพ
(1)
การอยู่ร่วมกัน
(1)
การอยู่ร่วมกันในสังคม
(2)
เกณฑ์การแข่งขัน
(1)
เกษตรแบบผสมผสาน
(1)
ขนบธรรมเนียม
(2)
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
(1)
เขียนเรียงความ
(1)
แข่งขันดนตรีไทย
(1)
แข่งขันเรือยาว
(2)
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
(1)
แข่งดนตรีไทย
(1)
ครอบครัวพอเพียง
(1)
ครอบครัวพอเพียง เรียงความ
(1)
ความคิดและการแสดงออก
(1)
ความเป็นไทย
(1)
ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
คำขวัญวันเด็ก
(1)
คำขวัญวันเด็ก 2559
(1)
โคมลอย
(1)
งานศพ
(1)
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
(1)
ดนตรี
(1)
ดนตรีไทย
(2)
ทหารเรือ
(1)
ทักษะการเขียนเรียงความ
(1)
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
(1)
ทันตแพทย์ในดวงใจ
(1)
ทำขวัญ
(1)
ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ
(1)
บทความเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
บ้านน้ำจั้น
(1)
บุญข้าวประดับดิน
(1)
บุญข้าวสาก
(1)
บุญเดือน 9
(1)
บุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณี
(6)
ประเพณีกำฟ้า
(1)
ประเพณีแข่งขันเรือยาว
(1)
ประเพณีทหารเรือ
(1)
ประเพณีทำขวัญ
(1)
ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ
(1)
ประเพณี ไทย
(9)
ประเพณีไทยไทย
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ
(1)
ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557
(1)
ประเพณีผูกเสี่ยว
(1)
ประเพณีภาคกลาง
(1)
ประเพณีภาคใต้
(1)
ประเพณีภาคเหนือ
(1)
ประเพณียี่เป็ง
(1)
ประเพณีลอยกระทง
(1)
ประโยชน์ของดนตรี
(1)
ประโยชน์ของศิลปะ
(1)
ประโยชน์ดนตรี
(1)
ประวัติ เพลงชาติไทย
(1)
ปรัชญา
(1)
ผูกเสี่ยว
(1)
พระราชดำรัส
(1)
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(1)
พอเพียง
(3)
พิธีจัดงานศพ
(1)
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย
(1)
เพลงชาติไทย
(1)
ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557
(1)
ภาพวาด
(1)
ภาพวาดประกวดประเพณีไทย
(1)
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
(3)
ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(3)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
(1)
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน
(1)
ภูมิปัญญาไทย
(1)
มโหรี
(1)
มโหรีพื้นบ้าน
(1)
มะโย่ง
(1)
ระดับประเทศ
(1)
ระเบียบประเพณีไทย
(1)
เรียงความ
(3)
เรียงความ ประเพณี ไทย
(2)
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง
(2)
เรียนวาดภาพ
(1)
เรือยาวสกลนคร
(1)
โรงเรียน
(1)
ลอยกระทง
(1)
ลอยกระทงภาคเหนือ
(1)
ลาวบุญคูนข้าว
(1)
วงมโหรีพื้นบ้าน
(1)
วันเด็ก 2559
(1)
วันเด็กแห่งชาติ
(1)
วันที่ห้ามเผาศพ
(1)
วันผีกิน
(1)
วันลอยกระทง
(1)
วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง
(1)
ว่าว
(1)
ว่าวควาย
(1)
ว่าวจุฬา
(1)
ว่าวไทย
(1)
ว่าวปักเป้า
(1)
ว่าว ภาษาอังกฤษ
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์
(1)
ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้
(1)
ศิลปหัตถกรรม 2557
(1)
ศิลปหัตถกรรม 64
(1)
ศิลปะ
(4)
ศิลปะกับมนุษย์
(1)
ศิลปะในสังคมไทย
(4)
ศิลปะบำบัด
(3)
ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
(2)
ศิลปะเพื่อชีวิต
(1)
ศิลปะเพื่อสุขภาพ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียง
(8)
เศรษฐกิจพอเพียง คือ
(1)
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
(1)
สกลนคร 2557
(1)
สมัยกรุงสุโขทัย
(1)
สอนวาดภาพ
(1)
สังคม
(1)
สัปเหร่อ
(1)
สัมพันธภาพ
(1)
สัมพันธภาพกับผู้อื่น
(1)
สัมพันธภาพที่ดี
(1)
สืบทอดวัฒนธรรม
(1)
หลักการอยู่ร่วมกัน
(1)
แห่ดาว
(1)
แห่ดาว ท่าแร่
(1)
แห่ดาว สกลนคร
(1)
อนุรักษ์
(1)
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
(1)
เอกลักษณ์ไทย
(1)
เว็บไซต์เพื่อนบ้าน
ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย
ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย
ประเพณีไทย
- 2016 (5)
- 2015 (3)
-
2014
(42)
- ตุลาคม(1)
-
กันยายน(16)
- การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
- เพลงที่ใช้ในการแข่งขันวงดนตรีไทย งานศิลปหัตถกรรมนั...
- ศิลปะกับมนุษย์
- จากศิลปะ สู่ ศิลปะบำบัด
- ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
- ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
- ประโยชน์ของการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมสู่ความงดงา...
- ประเพณีลอยกระทง
- ประเพณีกำฟ้า บ้านน้ำจั้น
- อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
- ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียง
- เรียงความประโยชน์ของดนตรี
- การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
- ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- การรักษา และการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน
- สิงหาคม(25)
- 2012 (7)