Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript

สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษาจังหวัดสกลนคร ประจำปี 2557

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษา
ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนนาราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ณ บึงหนองหาร สวนสมเด็จย่า (สระพังทอง) อ.เมือง จ.สกลนคร
ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2557
จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ เทศบาลนครสกลนคร

เรือยาวชายไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสุรสิทธิ์ ม.ราชภัฏสกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 เทพทุ่งทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รางวัลชมเชย พิบูลย์ชัยมหาวารี โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวหญิงไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสิทธิพร1 อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 2 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวชายไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ ชาญคำแก้ว อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 คำปลิวสิงห์ภูทอก อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เทพปัญญาธร ม.ราชภัฏสกลนคร
- รางวัลชมเชย ไทเกอร์ ฮาร์ดร็อค อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพพิบูลย์ชัย โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวหญิงไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ จันทร์ศรีสงคราม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 นรสิงห์นาวา อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 สองนาง อ.พังโคน จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย พรมหาพรหม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพสุวรรณ อ.เมือง จ.สกลนคร



คำค้นหา :

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557, แข่งขันเรือยาว, สกลนคร 2557, เรือยาวสกลนคร, ออกพรรษาสกลนคร
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
ในสมัยนี้มีการประสมวงดนตรีไทย 3 ประเภท คือ

1. การบรรเลงพิณ สันนิษฐานว่าเป็นการบรรเลงในรูปแบบการประสมวงเป็นครั้งแรก มีจุดประสงค์เพื่อขับกล่อม
2. วงขับไม้ เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น สมโภชพระมหาเศวตฉัตร พิธีขึ้นพระอู่ เป็นต้น นิยมบรรเลงมาจนถึงปัจจุบัน
3. วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง
4. วงเครื่องประโคม เป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับงานพระราชพิธี สันนิษฐานว่า
มีจุดประสงค์เพื่อแสดงพระบรมเดชานุภาพ และพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ วงเครื่องประโคมแบ่งเป็น วงประโคมแตรและมโหระทึก วงประโคมแตรสังข์กลองชนะ เป็นต้น


คำค้นหา :

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย, การประสมวงดนตรีไทย, สมัยกรุงสุโขทัย, ดนตรีไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เพลงที่ใช้ในการแข่งขันวงดนตรีไทย งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64

เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64



วงเครื่องสายวงเล็กผสมขิม

คำค้นหา :

เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64

เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย, แข่งขันดนตรีไทย, ดนตรีไทย, แข่งดนตรีไทย, ศิลปหัตถกรรม จังหวัดสกลนครครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, เกณฑ์แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางและตะวันออก, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65, www.esan64.net, ศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ศิลปะกับมนุษย์

ศิลปะกับมนุษย์
ศิลปะกับมนุษย์
ศิลปะกับมนุษย์
แนวความคิดมนุษยปรัชญา เชื่อว่า ศิลปะมีสัมพันธ์แนบแน่นกับดวงจิตมนุษย์มาอย่างช้านาน ในสมัยโบราณศิลปะหลอมรวมกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ศิลปะเป็นดั่งสายรุ้งเชื่อมโยงมนุษย์กับโลกเบื้องบน (โลกแห่งจิตวิญญาณ) ถ้าเราได้มีโอกาสศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็จะพบว่า ศิลปินยุคสมัยหนึ่ง (ก่อนยุคเรอนาซอง – Renaissance) ทำงานอุทิศแด่ศาสนา รังสรรค์ผลงานศิลปะ ทั้งจิตรกรรม และ ประติมากรรม ในโบสถ์ วิหาร และศาสนสถานมากมายในประเทศรัสเซียมีงานศิลปะรูปพระแม่มารี และพระเยซู โดยศิลปินเหล่านั้นไม่เคยจารึกนามบนชิ้นงานศิลปะเหล่านั้นเลย ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในยุโรป แต่ยังรวมถึงฟากฝั่งโลกตะวันออกของเราอีกด้วย เฉกเช่นผลงานพุทธศิลป์ในอดีตมากมายในประเทศของเรารวมถึงชมพูทวีป ก็ไม่ปรากฏว่ามีการจารึกนามของเจ้าของผลงานด้วยเช่นกัน ที่สำคัญกว่านั้น เด็กทุกคนซึ่งได้เกิดขึ้นในโลกนี้ การวาดภาพกลายเป็นธรรมชาติภายในที่ทำให้พวกเราตระหนักถึงข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี ว่ากันที่จริงแล้ว ก็ละม้ายคล้ายกับจิตใจอันบริสุทธิ์ในการวาดภาพของเด็ก ซึ่งมีนัยยะความสัมพันธ์ ระหว่างดวงจิตของมนุษย์กับศิลปะ นั่นเอง


คำค้นหา :

ศิลปะกับมนุษย์

ศิลปะกับมนุษย์, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะกับมนุษย์
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

จากศิลปะ สู่ ศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัด
มนุษยปรัชญา (Anthroposophy) มีรากฐานของความเข้าใจมนุษย์ทั้งสามส่วนหลัก คือ ความคิด (Thinking) ความรู้สึก (Feeling) และ เจตจำนง (Willing) องค์ประกอบทั้งสามนี้จะปฏิสัมพันธ์อย่างสมดุลย์ตามช่วงเวลาการเติบโต และหากบุคคลหนึ่งบุคคลใดเกิดภาวะเจ็บป่วย ทั้งโรคทางกายหรือโรคทางใจ ไม่ว่าจะเพศหรือวัยใด สามสิ่งข้างต้นก็จะสูญเสียความสมดุลย์ ซึ่งจะส่งผลต่อ ทางกาย (กระบวนการเผาผลาญร่างกาย) ทางใจ (ระบบหมุนเวียนของโลหิตและการทำงานของหัวใจ) ทางความคิด (ระบบประสาท และการทำงานของสมอง)

การบำบัด (Therapy) โดยใช้คิลปะ จึงเป็นการกระทำจากภายนอกร่างกายเข้าไปหลอมรวมสู่ภายใน เพื่อสร้างสมดุลย์ หรือขจัดภาวะติดขัด การถูกกดภายใน ให้หลุดหรือคลายออก โดยผู้รับการบำบัดจะปฏิบัติโดยรับประสบการณ์ จากภายนอกเข้าไปไว้ในตัว แล้วเกิดการสร้างสรรค์จากภายใน เพื่อถ่ายทอดอีกครั้ง

ที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่า พื้นฐานความคิดนี้ แตกต่างจากความเข้าใจศิลปะบำบัดในกระแสหลักทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุว่า ศิลปะบำบัดแนวทางมนุษยปรัชญาให้ความสำคัญทั้งการรับความรู้สึก (Impress) และ แสดง ความรู้สึก (Express) เหมือนกับจังหวะของลมหายใจเข้าและลมหายใจออก


คำค้นหา :

ศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา

ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
ในกระบวนการบำบัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ทั้งเจ็ดแขนงจำต้องศึกษาประวัติผู้เข้ารับการบำบัดอย่างละเอียดจากแพทย์ ครอบครัว ครู (ในกรณีที่ผู้รับการบำบัดเป็นเด็ก) และขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้เวลากับตนเองประมาณสามสัปดาห์ในการเฝ้าดูความเป็นไปของผู้รับการบำบัด เพื่อผลการวินิจฉัยการทำงานบำบัดของตนเอง ว่าจะ ‘เลือก’ สิ่งใดไป ‘บำบัด’ และ ‘เปลี่ยนแปลง’ ภายในของผู้รับการบำบัด โดยมีเหตุผลที่ชัดเจนต่อความเจ็บป่วยนั้น นั่นหมายถึงการบำบัดต้องมีเป้าหมายที่แจ่มชัดต่อทุกขั้นตอนในกระบวนการนั้น ตั้งแต่การเลือกสรร ใช้วัสดุอุปกรณ์ บทเรียนในการบำบัด นั่นจึงเรียกว่าการบำบัดที่สมบูรณ์ และนี่คือการงานของนักศิลปะบำบัดที่แท้จริง

กล่าวในส่วนของประเทศไทย แม้จะมีการหยิบยกศิลปะบำบัดมาพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าสังเกตและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราก็จะพบความทับซ้อนกับการศึกษาบำบัด (Curative Education) เป็นอย่างมาก การจัดการศึกษาบำบัดเกิดขึ้นมานานกว่าหกสิบปี โดยจัดการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้พวกเขาได้รับการพัฒนาที่สูงขึ้น Blitz (1999) นักปรัชญาการศึกษาคนสำคัญกล่าวว่า แนวคิดการศึกษาบำบัด และ การศึกษาพิเศษ (Special need in Education) มีทั้งส่วนที่คล้าย และส่วนที่ต่างกัน กล่าวคือ ทั้งสองแนวคิดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ และมองที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ แต่การศึกษาบำบัดนั้นมองเด็กต่างไปจากการศึกษาพิเศษ โดยเป็นการ มองเด็กแบบองค์รวม (Holistic View) เน้นความสำคัญทั้ง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

ดังนั้นเอง การจัดการศึกษาบำบัดนั้น จึงมุ่งเน้นจัดกิจกรรมที่ลึกซึ้ง บนสุนทรียภาพ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและบริบทของสังคมนั้นๆ เน้นวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อให้เป็นมิติของการบำบัดจริงๆ กิจกรรมมีลักษณะเป็นกลุ่ม และค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น การวาดภาพ การร้อยเมล็ดพืช การระบายสีบนดินเผา รวมทั้งงานประดิษฐ์อื่น ๆ ไม่ได้เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล หรือเฉพาะเจาะจงในกระบวนการวาด หรือกระบวนการปั้น สิ่งที่ได้กล่าวมามีรูปแบบอยู่ในประเทศตะวันตกอย่างชัดเจนว่า คือการศึกษาบำบัด นั่นเอง


คำค้นหา :

ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา

ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ศิลปะบำบัดในสังคมไทย

ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ปัจจุบัน สังคมไทยให้ความสำคัญกับศิลปะบำบัดมากขึ้น ซึ่งก็นับเป็นสัญญาณที่ดี ในปีหนึ่ง ๆ มีผู้เข้ารับการบำบัดตั้งแต่เด็กไปจนกระทั่งผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก แม้ความรู้ทางวิชาการจะยังอยู่ในวงจำกัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ที่ได้ร่ำเรียนและฝึกฝนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติมาอย่างจริงจัง ก็ยังนับว่าน้อยมาก ซึ่งความรู้ที่ลึกซึ้งและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ยังจำเป็นมากต่อการบำบัด ดังนั้น ช่วงเวลานับจากนี้จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจไม่น้อยว่า ศิลปะบำบัดในประเทศไทยจะสามารถยกระดับองค์ความรู้และศักยภาพของเรา ให้เพียงพอที่จะรับมือกับความผันผวน และการเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนของโลกทุกวันนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่


คำค้นหา :

ศิลปะบำบัดในสังคมไทย

ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประโยชน์ของการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมสู่ความงดงามแห่งชีวิตและสุขภาพ

ประโยชน์ของศิลปะ
ประโยชน์ของศิลปะ
ประโยชน์ของศิลปะ
- ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง
- ได้ใช้ความคิดที่เป็นอิสระ รู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเอง
- เป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายและเป็นช่วงเวลาที่ดีต่อความทรงจำมากๆ
- ได้รู้สึกถึงการมีอิสระของความคิด ถึงแม้ภาพที่วาดออกมาจะไม่สวยนัก แต่ก็เป็นการแสดงออกของความคิดที่เป็นตัวของเราเอง
- ทำให้เราได้รู้จักความคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเองในขณะที่ทำงานศิลปะ
- เป็นช่วงเวลาที่ได้นึกถึงเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นภายในจิตใจอย่างมีสติและรอบคอบ
- ก่อให้เกิดสมาธิขึ้นมาในจิตใจ ทำให้รู้จักการดูแลและบำบัดความเครียดด้วยตนเอง
- ทำให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจในขณะที่กำลังวาดภาพศิลปะ
- ทำให้ได้ย้อนรำลึกถึงความสัมพันธ์ในอดีตของตนเองกับบุคคลอันเป็นที่รักแม้ว่าท่านจะจากไปแล้ว ศิลปะช่วยให้คิดถึงบุคคลอันเป็นที่รักมากขึ้นและจะคิดถึงตลอดไป
- ทำให้เราได้นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ที่เราได้ลืมมันไป ศิลปะทำให้เราได้ย้อนไปในอดีตและรู้สึกดีที่ได้คิดถึงมันอีกครั้ง
- รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมการวาดภาพ แม้ครั้งแรกจะรู้สึกไม่อยากวาดแต่การได้แลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกจากการวาดภาพกับเพื่อนทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุขมาก
- ทำให้คิดถึงความรู้สึกดีๆ ในอดีตที่กำลังจะหายไป การวาดภาพทำให้เข้าใจในสิ่งที่มันเกิดและคิดว่าในอนาคตจะทำให้ความรู้สึกดีๆ นี้กลับคืนมาอีกครั้ง
- การวาดภาพทำให้นึกถึงในอดีตที่มีความสุข เมื่อนึกถึงภาพเหล่านี้เมื่อใดก็ยิ้มออกมาทุกครั้ง
- ตอนแรกรู้สึกไม่ค่อยชอบการวาดภาพ แต่ต่อมาเมื่อได้วาดและบรรยายถึงภาพที่ต้องการสื่อออกมากลับทำให้รู้สึกดีที่ได้เล่าถึงที่มา เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจตลอดเวลาแต่ไม่มีโอกาสได้พูด เมื่อได้พูดแล้วรู้สึกดี สบายใจขึ้น
- การวาดภาพทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ได้คิดถึงในอดีต คิดถึงคนที่ไม่ได้พูดคุยด้วยและรู้สึกมีความสุขที่ได้วาดภาพออกมา
- การวาดภาพทำให้จิตของเรา ความคิดของเราได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับเรื่องราวในอดีตที่เราเคยทำในที่นั้นๆ การแต่งเติมภาพบางครั้งก็ทำให้เราคิดได้ว่าบางอย่างมันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจจะให้เป็น
- ศิลปะทำให้จิตใจเราได้ปลดปล่อย ผ่อนคลาย นึกถึงสิ่งเก่าๆ ที่ผ่านมา มีสติ ได้คิดและมองเห็นความสำคัญของบางสิ่งที่เรานึกถึง และได้รับรู้ถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นในใจ
- ในขณะที่วาดภาพเป็นเวลาที่ได้ย้อนกลับไปในเหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในครอบครัว มีทั้งสุข ทุกข์ เศร้า อบอุ่น ดีใจ เสียใจ ณ สถานที่แห่งนั้นและได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
- รู้สึกว่ามีรอยยิ้มผุดขึ้นในใจ มีความสุขมาก การวาดภาพจะช่วยสื่อถึงความรู้สึกของเราได้ดีกว่าการพูดออกมา
- ได้เกิดการจินตนาการย้อนกลับไปในอดีต มีทั้งเหตุการณ์บางอย่างก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี น่าจดจำและไม่น่าจดจำปะปนกันไป การวาดภาพทำให้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในความทรงจำออกมาทำให้เรานึกถึงเรื่องดีๆ ในอดีตและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
- ศิลปะช่วยให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ทำให้เรื่องราวเครียดๆ ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้หายไป ความคิดโล่ง โปร่งสบาย จิตใจเป็นสมาธิ ได้เกิดการจินตนาการ ลืมเรื่องๆ เครียดๆ ที่มีอยู่จนหมดสิ้น
- รู้สึกว่าศิลปะช่วยเติมพลังในสมองให้เกิดขึ้นและมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น
- การวาดรูปทำให้มีสมาธิ ลืมเรื่องราวที่รู้สึกไม่ดีที่ติดอยู่ในใจ กลับไปเป็นเด็กที่ไม่มีเรื่องหนักใจให้คิด รู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด ได้ปลดปล่อย
- รู้สึกได้ถึงความรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่วาดภาพ ได้นึกถึงภาพในอดีต สิ่งที่ดีๆ เหมือนได้หวนกลับไปสู่อดีตในวันที่มีความสุขอีกครั้ง
- ศิลปะทำให้ได้รู้ถึงความรู้สึกขอตัวเอง ได้อยู่กับตัวเอง รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ได้เกิดการจินตนาการและลืมเรื่องราวที่ทำให้เกิดความเครียด
- จากการที่เรียนหนักมาทั้งวันมาแล้ว การวาดภาพช่วยให้รูสึกผ่อนคลายละเติมพลังให้มีความรู้สึกมีแรงสู้ในการเรียนวิชาต่อไป
- แม้ว่าเราจะวาดภาพที่ไม่ได้มีสีสันที่สวยมากนัก แต่มันก็ดูสวยด้วยคุณค่าของสิ่งที่อยู่ในภาพ ได้มีรอยยิ้มเกิดขึ้นในใจ ได้ปล่อยวาง ปลดปล่อยความรู้สึกในใจออกมา ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น
- ได้มองเข้าไปในจิตใจตนเองว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร นึกถึงสิ่งใด เป็นการทำให้จิตใจเราเปิดกว้างขึ้น ได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
- ได้ผ่อนคลาย มีสมาธิ
- สนุกสนาน
- รู้สึกเพลิดเพลิน
- เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ ได้ผ่อนคลายความเครียด
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน
- ได้ลืมเรื่องราวเครียดๆ
- ได้นึกย้อนถึงตัวเอง
- สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเครียดที่ไม่สามารถที่จะบอกหรือปรึกษาใครได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกไปเป็นภาพ
- ทำให้มีสมาธิอยู่กับงาน ได้ปลดปล่อยความคิดของตนเอง ทำให้ไม่รู้สึกเครียด
- ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ทำให้หายเครียดและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
- คลายเครียด สร้างความสนุกสนาน
- ทำให้ได้รู้ปัญหาของตัวเองว่ากำลังเผชิญกับอะไร
- ทำให้เกิดสมาธิอยู่กับชิ้นงาน
- ทำให้ได้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก ผ่อนคลายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตัวเอง ได้สร้างสรรค์ งานศิลปะสวยๆ
- ได้เกิดแง่คิดดีๆ ในชีวิต
- ทำให้เราได้อยู่กับตนเอง ได้คิดว่าขณะนี้ใจเราอยู่ที่ไหน คิดอะไรและถ่ายทอดออกมาทางการวาดรูป
- เกิดความสนุกกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ สร้างสีสันของการแลกเปลี่ยนภาพแห่งความประทับใจ
- เป็นการปลดปล่อยจินตนาการ รับรู้และเข้าใจความคิดของเพื่อน
- ได้แง่มุมของความคิด ฝึกการคิดและการจินตนาการ
- รู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะวาดภาพ
- เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และพอใจกับผลงานที่ออกมา
- ได้เกิดการเรียนรู้เทคนิคการใช้สีแบบใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
- คลายเครียด ได้พักผ่อนทางด้านจิตใจ
- งานศิลปะอยู่ที่มุมมองของคน และศิลปะก็ได้แสดงถึงก้นบึ้งของจิตใจ
- ทำให้รู้ถึงสิ่งที่ตัวเองคิด เป็นการผ่อนคลายและปล่อยจิตใจ รู้สึกสบายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตนเอง ทำให้รู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ตนเองแสดงออกได้อย่างอิสระ
- ขณะที่ระบายสีทำให้เรามีสมาธิ สนใจในภาพที่เรากำลังระบายสีอยู่ ทำให้เราไม่คิดหรือกังวลเรื่องอื่น นอกจากภาพของเรา เพราะเรากำลังคิดว่าจะสร้างสรรค์ภาพของเราออกมาอย่างไร ทำให้มีสมาธิและสติอยู่กับตัวตลอดเวลา
- รู้สึกเพลิดเพลินและพอใจกับภาพ แม้ว่ามันจะไม่สวยงามเหมือนเพื่อนคนอื่น แต่ก็ดีใจที่ทำได้สำเร็จ และจะลองใช้วิธีนี้กับตัวเองอีกเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ
- รู้สึกผ่อนคลายมากทำให้อยากหยุดเวลาไว้กับการระบายสี แต่พอหมดเวลาก็รู้สึกใจหาย
- ทำให้มีอารมณ์ผ่อนคลายมากขึ้น ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ข้างในที่บางครั้งพูดออกมาไม่ได้
- ได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะได้บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้วาดอกมา
- เป็นการบำบัดความเครียดที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
- ทำให้รู้ว่าศิลปะสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้สึกและความคิด
- ได้วาดรูปตามจินตนาการของตนเอง แม้ผลงานที่ออกมาจะไม่สวยหรือดูดีเหมือนของคนอื่น แต่ก็ภูมิใจ
- จากก่อนวาดรู้สึกเหมือนสมองมันตื้อๆ แต่พอได้ลงมือทำแล้วก็รู้สึกว่าสมองมันเบาลง รู้สึกโล่งขึ้น ได้ผ่อนคลาย และเพลิดเพลิน
- ก่อนทำงานศิลปะ เพิ่งรู้คะแนนสอบ ปรากฏว่าสอบตกเลยรู้สึกเครียด แต่พอได้ลงมือวาดรูปรู้สึกดีขึ้นบ้าง เพราะได้พูดคุยสนุกสนานกับเพื่อน
- ทำให้ได้รู้สึกถึงการจดจ่อกับการสร้างสรรค์ผลงาน
- ได้เรียนรู้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งนั้น ต้องใช้สมาธิและมีจุดสนใจอยู่ที่ผลงาน ทำให้ไม่เครียด
- รู้สึกเหมือนได้ย้อนไปในตอนที่ยังเป็นเด็ก ขณะที่วาดทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ ที่จะสร้างสรรค์ผลงานจนลืมความกังวลใจต่างๆ ไปได้โดยไม่รู้ตัว เกิดความรื่นรมย์ในใจ ที่ได้เห็นสีสันสวยงาม ได้ปล่อยความคิดไปตามผลงานที่กำลังทำ
- สนุกกับการได้เลือกสีสันให้กับธรรมชาติของตัวเอง
- ทำให้ได้มุมมองกับการใช้ศิลปะผ่อนคลายความเครียด
- รู้สึกได้ระบายอารมณ์ไปกับการวาดภาพ คิดหรือรู้สึกอะไรก็ปลดปล่อยไปกับสีที่เราเลือกใช้
- สามารถบอกอารมณ์ต่างๆ ผ่านภาพวาดของเราเองได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจจากสถานที่ที่เคยไปเที่ยวและมีความทรงจำดีๆ ลงไปในภาพที่วาด
- ตอนวาดรูปรู้สึกอารมณ์ดีมากๆ รู้สึกว่าไม่มีคำถามอะไรเกิดขึ้นในสมองเลย ปลอดโปร่งมาก
- การวาดภาพทำให้ผมได้รู้คำตอบของคำถามที่ผมไม่เคยเข้าใจและก็อยากรู้คำตอบมานาน จึงทำให้ผมได้วาดภาพนี้มา
- การระบายสีเป็นเหมือนการได้ระบายอารมณ์ความรู้สึกของเราออกมา
- การวาดภาพทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดในการเรียน เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดแง่มุมดีๆ ในการใช้ชีวิต สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ตัวเองกำลังคิดอยู่
- ตอนแรกรู้สึกเครียดเพราะไม่ชอบศิลปะ แต่พอได้ลองทำก็รู้สึกดีและสนุกมากขึ้น
- ได้เกิดสมาธิและจินตนาการทำให้อารมณ์ดีขึ้น เป็นการฝึกอารมณ์ทำให้สงบนิ่ง มีภาวะอารมณ์ที่ดี
- รู้สึกว่าการวาดภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- การวาดภาพทำให้เราสบายใจ สร้างสรรค์จินตนาการของตนเอง สะท้อนแง่คิดและมุมมองต่างๆ ของอารมณ์เรา การวาดภาพเป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ถ้าอารมณ์ไม่ดีภาพที่วาดออกมาก็จะไม่สวย ถ้าอารมณ์ดีภาพที่วาดออกมาก็จะได้ตามที่ต้องการ
- การวาดภาพเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจถึงเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้วาดภาพได้สวยยิ่งขึ้น ทำให้อยากเข้ามาร่วมกิจกรรมนี้อยู่บ่อยๆ
- ได้เรียนรู้ว่าการวาดภาพไม่ต้องใช้ความคิดเพียงแต่ต้องใช้จินตนาการและอารมณ์ประกอบ ความรู้สึกตอนที่วาดรูปคือการมีสมาธิซึ่งจะทำให้รูปที่ออกมาน่าพอใจ
- ได้ฝึกความอดทนเวลาที่ได้ภาพออกมาไม่น่าพอใจ
- ทำให้รู้สึกว่าได้มีเวลาทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต การวาดภาพทำให้จิตใจเราเย็นลง และมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
- เกิดความรู้สึกอบอุ่นในจิตใจ ที่ได้นึกถึงสถานที่สบายใจและคุ้นเคย - ได้อยู่กับความคิดของตนเอง



คำค้นหา :

ประโยชน์ของศิลปะ

ประโยชน์ของศิลปะ, ศิลปะเพื่อชีวิต, ศิลปะเพื่อสุขภาพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th