Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript

เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557

เกณฑ์การแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557

>>> เกณฑ์การแข่งขันล่าสุด <<<





งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64 จังหวัดสกลนคร
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ วันที่ 13 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] ….. เพิ่มรายละเอียดเกณฑ์สวดมนต์แปล…..
Dowmload เสียงสวดมนต์ภาษาบาลีจากตัวอย่าง  -  เสียงของพระภิกษุชาวอังกฤษ        -  เสียงของพระภิกษุชาวไทย
  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วันที่ 19 กรกฎาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ วันที่ 18 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ] …….เพิ่มภาคผนวค โน๊ตเพลงดนตรีไทย………..
  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา วันที่ 6 สิงหาคม 2557 [คลิกที่นี่ ]  …. แก้ไขแอโรบิก….
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วันที่ 18 สิงหาคม 2557  [คลิกที่นี่ ] …แก้เกณฑ์การแข่งขัน Impromptu Speech…
  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน วันที่ 19 กรกฎาคม 2557  [คลิกที่นี่ ]
  ปฐมวัย วันที่ 30 มิถุนายน 2557  [คลิกที่นี่ ]
  การศึกษาพิเศษ (เรียนร่วม)  วันที่ 29 กรกฎาคม 2557  [คลิกที่นี่ ]  …. เกณฑ์ใหม่…..
 การศึกษาพิเศษ (เฉพาะความพิการ) วันที่ 30 มิถุนายน 2557  [คลิกที่นี่ ]
อ้างอิงจาก : sillapa.net
อัพเดทล่าสุด วันที่ 18 สิงหาคม 2557

คำค้นหา : ศิลปหัตถกรรม จังหวัดสกลนครครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, เกณฑ์แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางและตะวันออก, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65, www.esan64.net, ศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 64,ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางภาคตะวันออก, เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64, งานหัตถกรรมสกล, อีสาน64, งานศิลปหัตถกรรมครั้งที่64, เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรม 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2557, ศิลปหัตถกรรม ครั้งท่ 64, การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64, โหลดเกณฑ์งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศิลปหัตกรรมสกลนครครั้งที่ 64, เกณฑ์การแข่งขันศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, การแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ภาคเหนือ, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64, เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมภาคอีสาน ครั้งที่64, งานหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 64, ประกาศผลการแข่งขัน งานศิลปหัตถกรรม วันที่ 18 สิงหาคม 2557, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ก่อเกิดและสืบทอดกันมาในชุมชนหมู่บ้าน เมื่อหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสังคมสมัยใหม่ ภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีการปรับตัวเช่นเดียวกัน

ความรู้จำนวนมากได้สูญหายไปเพราะไม่มีการปฏิบัติสืบทอด เช่น การรักษาพื้นบ้านบางอย่าง การใช้ยาสมุนไพรบางชนิด เพราะหมอยาเก่ง ๆ ได้เสียชีวิตโดยไม่ได้ถ่ายทอดให้กับคนอื่น หรือถ่ายทอดแต่คนต่อมาไม่ได้ปฏิบัติเพราะชาวบ้านไม่นิยมเหมือนสมัยก่อน ใช้ยาสมัยใหม่และไปหาหมอที่โรงพยาบาลหรือคลินิกง่ายกว่า งานหัตถกรรมทอผ้าหรือเครื่องเงิน เครื่องเขิน แม้จะยังเหลืออยู่ไม่น้อย แต่ก็ได้ถูกพัฒนาไปเป็นการค้า ไม่สามารถรักษาคุณภาพและผีมือแบบดั้งเดิมไว้ได้ ในการทำมาหากินมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ใช้รถไถนาแทนควาย รถอีแต๋นแทนเกวียน

การลงแขกทำนาปลูกข้าวและปลูกสร้างบ้านเรือนก็เกือบจะหมดไป มีการจ้างงานมากขึ้น แรงงานก็หายากกว่าแต่ก่อน ผู้คนอพยพย้ายถิ่น บ้างก็เข้าเมือง บ้างก็ไปทำงานที่อื่น สังคมสมัยใหม่มีระบบการศึกษาในโรงเรียนมีอนามัยและโรงพยาบาล มีโรงหนัง วิทยุ โทรทัศน์ และเครื่องบันเทิงต่างๆ ทำให้ชีวิตทางสังคมของชุมชนหมู่บ้านเปลี่ยนไป มีตำรวจ มีโรงศาล มีเจ้าหน้าที่ราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายพัฒนา และอื่นเข้าไปในหมู่บ้าน บทบาทของวัด พระสงฆ์ คนเฒ่าคนแก่เริ่มลดน้อยลงลงไป

การทำมาหากินก็เปลี่ยนจากการทำเพื่อยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการขาย ผู้คนต้องการเงินเพื่อซื้อเครื่องบริโภคต่าง ๆ ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ผลผลิตจากป่าก็หมด สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นำการพัฒนาหลายคนที่มีบทบาทสำคัญในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้าน หน่วยงานทางภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน และการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และค้นคิดสิ่งใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์สุขของสังคม


คำค้นหา :

ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาชาวบ้านในปัจจุบัน, ภูมิปัญญาชาวบ้านในสังคม, ภูมิปัญญาไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในสังคม
การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านเคารพนับถือเป็นผู้นำ หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การสั่ง

แต่เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฎระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ปัญหาในชุมชนก็มีไม่น้อย ปัญหาการทำมาหากิน ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด โจรลักวัวควาย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในชุมชนหรือระหว่างชุมชนการละเมิดกฎหมายประเพณี ส่วนใหญ่จะเป็นการ \"ผิดผี\" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น

ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจรขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงานที่เรียกว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจที่มีอยู่ก็จะช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การแลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกันเก็บเกี่ยว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการคนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง

ในชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางรักษาโรค บางคนทางการเพาะพืช บางคนทางการเลี้ยงสัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคนเก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความสามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็นอาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี \"ค่าครู\" แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้นก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือเพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้นจะเก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว \"วิชา\" ที่ครูถ่ายทอดมาให้ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไปแต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ ด้วยวิธีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการสอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อนตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปีคนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือเก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อเขาได้ปลา เขาจะทำกับเราเช่นเดียวกัน

ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด งานบุญกิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่างๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพพระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูสอนลูกหลานผู้ชายซึ่งรับใช้พระสงฆ์ หรือ \"บวชเรียน\" ทั้งนี้ก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่างๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาทของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป


คำค้นหา :

การอยู่ร่วมกันในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคม, เศรษฐกิจพอเพียง, การอยู่ร่วมกัน, สังคม
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

พิธีจัดงานศพ

พิธีจัดงานศพ
พิธีจัดงานศพ
พิธีจัดงานศพ
การตายเป็นวาระสุดท้ายของชีวิต การจัดงานศพให้แก่ผู้ตายนับเป็นประเพณีสุดท้ายเกี่ยวกับชีวิต จัดขึ้นตามพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ กลุ่มคนไทยเขมรที่นับถือศาสนาพุทธก็จะจัดพิธีศพตามหลักการของศาสนาพุทธซึ่งผสมผสานอยู่ระหว่างคตินิยมเชิงพุทธกับพราหมณ์

การทำโลงศพหรือหีบศพ ตามชนบทไม่นิยมซื้อโลงสำเร็จรูป แต่จะช่วยกันต่อโลงเองโดยนำไม้ประการฝาบ้านและกระดานพื้นบ้านของผู้ตายมาต่อเป็นโลงแล้วประดับด้วยกระดาษแก้วหลากสี นำมาตัดเป็นลวดลายต่างๆ การตั้งศพนิยมตั้งที่บ้านผู้ตาย ถ้าเป็นศพของญาติผู้ใหญ่จะตั้งไว้หลายวันตั้งแต่3 –7 วัน ศพเด็กหรือศพคนที่มีฐานะยากจนจะตั้งไว้ 1-3 วัน ก็จะทำพิธีฌาปนกิจ ในช่วงที่ตั้งศพสวดอภิธรรมที่บ้านจะมีประเพณีการเล่นอย่างหนึ่งเรียกว่า “ลึงกาฮ” หมายถึงการเล่นทายเหรียญว่าจะออกหัวหรือก้อย โดยใช้เงินเหรียญหมุนแล้วครอบด้วยขัน ส่วนการแทงหรือการทายจะใช้เสื้อผ้า สิ่งของ ตลอดจนเครื่องประดับเท่าที่มีอยู่ขณะนั้น ไม่ได้เล่นได้เสียกันอย่างจริงจัง เมื่อเสร็จงานศพแล้วก็จะส่งคืน ส่วนใหญ่ผู้เล่นมักจะเป็นหนุ่มสาว ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้เกี้ยวพาราสีกัน

การเผาศพนิยมนำไปเผาที่ป่าช้าประจำหมู่บ้านหรือไม่ก็หัวไร่ปลายนาของผู้ตาย ผู้มีหน้าที่จัดพิธีศพซึ่งจะเป็นคนเดียวตั้งแต่แรกเริ่มเรียกว่า “อาจารย์” เป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านพิธีและไสยเวทย์ที่เกี่ยวข้องกันเป็นอย่างดี พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2- 3 คน ผู้ช่วยเหล่านี้มีหน้าที่ตรงกับที่เรียกว่า “สัปเหร่อ” ภาษาถิ่นเรียกว่า “กีร์” หรือ “เกียร์” ชาวไทยเขมรมีการถือฤกษ์ยามการเผาศพเช่นเดียวกับชาวไทยในชนบททั่วไป คือ วันที่ห้ามเผาศพ คือ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 11 และวันแรม 6 ค่ำของทุกเดือน เนื่องจากวันดังกล่าวตำราของไทยเขมรเรียก “วันผีกิน” ถ้านำศพไปเผาในวันดังกล่าวอาจทำให้ญาติพี่น้องตายตามกันทันที นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามตามวันทั้ง 7 ตามความเชื่อแต่ละท้องถิ่นด้วย


คำค้นหา :

พิธีจัดงานศพ

พิธีจัดงานศพ, งานศพ, สัปเหร่อ, วันผีกิน, วันที่ห้ามเผาศพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

วงมโหรีพื้นบ้าน

วงมโหรีพื้นบ้าน
วงมโหรีพื้นบ้าน
วงมโหรีพื้นบ้าน
วงมโหรีพื้นบ้าน คือ การนำเอาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องดนตรีประเภทปี่พาทย์ บางชิ้นมาประสมกัน โดมีซอเป็นเครื่องดนตรีหลักใช้บรรเลงในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในวงมโหรีพื้นบ้านสุรินทร์ ประกอบด้วย ซอกลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนซออู้ แต่จะมีเสียงสูงกว่า ซออู้เล็กน้อย หรือเรียกว่า ซออู้เสียงกลาง, ปี่ไน, ซออู้, ซอด้วง, กลองสองหน้า, ฉิ่ง , ฉาบ

เพลงที่ใช้ประกอบในวงมโหรีจะมีเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ประเภทของเพลงขับร้องจะมีบทร้องโดยไม่มีท่ารำประกอบเช่น บทเพลงกันตบ เนื้อร้องจะเป็นบทสอนหญิง บทเพลงเขมรเป่าใบไม้ ส่วนบทเพลงที่มีท่ารำประกอบเช่น เพลงอมตูก(พายเรือ), เพลงมลปโดง(ร่มมะพร้าว), เพลงอายัยโบราณ, เพลงซองซาร(หมายถึงที่รัก) บทเพลงดังกล่าวจะมีการฟ้อนรำประกอบโดยเฉพาะ อายัยโบราณ เป็นเพลง ซองซาร ในการร้องจะเป็นการโต้ตอบระหว่างชายหญิง เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องจะเป็นภาษาเขมร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชาวบ้านและวงมโหรีพื้นบ้านยังมีบทบาทต่อชาวบ้านในด้านต่างๆเช่น เป็นเครื่องนันทนาการของสังคมชาวบ้านเป็นสื่อประสานสัมพันธ์ทางสังคม ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสมาพบปะกัน เกิดความใกล้ชิด สามัคคีกลมเกลียวขึ้นในชุมชน


คำค้นหา :

วงมโหรีพื้นบ้าน

วงมโหรีพื้นบ้าน, มโหรีพื้นบ้าน, มโหรี
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประเพณีไทยภาคใต้ การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง
มะโย่ง เป็นศิลปะการละครร่ายรำอย่างหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีลักษณะของการผสมผสานทางพิธีกรรม ความเชื่อ การละคร นาฏศิลป์และดนตรีเข้าด้วยกัน มีความกลมกลืนกันเป็นศิลปะชั้นเลิศของมลายู มะโย่งจัดเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายู ที่สามารถชมกันได้ในรัฐกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี ซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทสมาเลเซีย บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไกลจนถึงเกาะสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซีย คนไทยเชื้อสายมลายูเรียกการละเล่นมะโย่งว่า “เมาะโย่ง” ตามสำเนียงภาษามลายูถิ่นปัตตานี ซึ่งปัจจุบันมะโย่งยังคงมีการแสดงอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ประวัติความเป็นมาของมะโย่ง
ประวัติความเป็นมาของมะโย่งมิอาจระบุได้แน่ชัดว่ากำเนิดขึ้นที่ใดเป็นครั้งแรก นักวิชาการและนักแสดงหลายท่านได้กล่าวถึงต้นกำเนิดของมะโย่งไว้แตกต่างกันไปหลายกระแส เช่น นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า มะโย่งกำเนิดขึ้นครั้งแรกในเมืองมัชปหิต สมัยรายามูดอแลลอ บ้างก็ว่ากำเนิดขึ้นจากต่วนประไหมสุหรีบอสู และบ้างก็ว่าเกิดขึ้นในเมืองปาเล็มบังในสมัยรายากาซีนาบันดีตอแล้วแพร่มาสู่แหลมมลายู ส่วนจากคำเล่าของนักแสดงมะโย่ง บางโรงว่ามะโย่งกำเนิดขึ้นจากพิธีกรรมที่เกาะชวา บางโรงบอกว่าเกิดขึ้นจากสองสามีภรรยาที่ไปหาของในป่า ดังเช่น

จากการสัมภาษณ์ นายเจ๊ะเต๊ะ ดือมอง นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสรีปัตตานี เล่าว่า “มะโย่งก่อกำเนิดในเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย โดยเริ่มจากสองผัวเมียเข้าไปหาของในป่าใหญ่แล้วเกิดหลงทาง ทั้งสองจึงคิดที่จะออกจากป่าซึ่งบังเอิญเห็นลิงป่าหลายตัวเล่นกันอยู่ จึงคิดสนุกโดยการที่ฝ่ายสามีเหลือบไปเห็นกะโหลกสุนัขก็นำกะโหลกสุนัขมาทำกะโหลกซอและเอาผมของตนเองมาทำสายคันชักและสายซอเอากระดูกมาเป็นด้ามซอฝ่ายภรรยาก็ร้องเพลงและเลียนท่าเต้นจากลิงป่า เมื่อออกจากป่าได้แล้ว จึงนำมาแสดงในเมือง ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม การแสดงนี้ต่อมาจึงเรียกว่า “มะโย่ง”

จากการสัมภาษณ์ นายนิโซะ นิเลาะ นักแสดงมะโย่งหัวหน้าคณะสามพี่น้อง กล่าวว่า “มะโย่งมีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ขณะนั้นโดยมะโย่งอยู่ในรูปแบบของการเล่นเพื่อรักษาไข้ ต่อมาเป็นที่รู้จักของชาวบ้านในวงกว้างขึ้นและได้นำเอาการแสดงมะโย่ง มาเป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงในโอกาสต่างๆ เช่น งานเข้าสุหนัต งานแต่งงาน ต้อนรับบุคคลสำคัญ ต่อมากลายเป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมจากราชสำนักและระดับชาวบ้าน จึงทำให้การแสดงมะโย่งได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาสู่ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดาร์ และทางตอนใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน”

จากการสัมภาษณ์ นายยูโซ๊ะ บ่อทอง นักแสดงลิเกฮูลู กล่าวว่า มะโย่งมีต้นกำเนิดจากคนชวา ใช้แสดงในพิธีกรรมรักษาไข้ ต่อมาได้แพร่หลายมายังรัฐตรังกานู รัฐกลันตัน และมาสู่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

จากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานี ปรากฏว่ามีอยู่น้อยมาก แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า การแสดงมะโย่งในปัตตานีมีมานานมากกว่า 400 ปี ซึ่งปรากฏหลักฐานเด่นชัดในสมัยราชินีฮิเยาครองเมืองปัตตานี สมัยนั้นมะโย่งมักนิยมดูในหมู่ชนชั้นสูง โดยใช้สถานที่แสดงในวังหรือบ้านขุนนาง ครั้งหนึ่ง ๆ แสดงนานถึง 4-7 คืน แต่ละคืนจะเลิกแสดงก็ต่อเมื่อรายารับสั่งให้ยุติ เล่นเพื่อความบันเทิง ต้อนรับบุคคลสำคัญ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายูได้ปรากฏหลักฐานในพิธีต้อนรับพระองค์ได้มีการแสดงมะโย่งในเมืองปัตตานี ทรงบันทึกไว้ในหนังสือพระราชหัตถเลขา เรื่อง เสด็จประพาสแหลมมลายู อาจกล่าวได้ว่าการแสดงมะโย่งในจังหวัดปัตตานีน่าจะเริ่มปรากฏในราชสำนักก่อนในรูปแบบความบันเทิงเป็นที่นิยมชื่นชอบในราชสำนัก ถึงขนาดได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ครองเมือง ต่อมาได้แพร่หลายสู่ระดับประชาชนทั่วไปซึ่งทั้งใช้เพื่อความบันเทิงและประกอบพิธีกรรมรักษาไข้มาจนถึงปัจจุบัน

โอกาสในการแสดงมะโย่ง
โอกาสในการแสดงมะโย่งสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการแสดงได้ 2 ประการ คือ การแสดง เพื่อความบันเทิง และการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ดังรายละเอียดดังนี้

1) การแสดงเพื่อความบันเทิง เป็นการแสดงที่เจ้าภาพหรือผู้ว่าจ้างรับมะโย่งมาแสดงในโอกาสต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความบันเทิง ได้แก่ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง บุคคลสำคัญ งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัต งานขึ้นเปลลูกเจ้าเมือง งานมาแกแต (งานบุญบริจาคหารายได้สมทบทุน) แก้บนที่ไม่ได้เกี่ยวรักษาไข้ (บนไว้ว่าถ้าได้ลูกสาวจะรับมะโย่งมาแสดง) งานประเพณีแห่นก งานเทศกาลประจำปี หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น เป็นต้น

2) การแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม
เป็นการแสดงเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ เช่น การแสดงมะโย่งในพิธีแก้บน สะเดาะเคราะห์ รักษาไข้หรือตือรี และเพื่อไหว้ครู เป็นต้น

โรง หรือเวทีแสดงมะโย่ง
โรงหรือเวทีที่ใช้ในการแสดงมะโย่ง นั้น มี 2 แบบ คือ โรงที่ใช้แสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิง และโรงที่แสดงมะโย่งในพิธีกรรม ซึ่งทั้งสองมีลักษณะเป็นโรงที่ปลูกเป็นเพิงหมาแหงนเหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่อุปกรณ์ที่ใช้ประดับตกแต่งโรง คือ โรงเวทีที่ใช้แสดงมะโย่งในพิธีกรรม จะมีการตกแต่งอย่างสวยงามและมีอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในโรงหลายอย่าง

การแสดงมะโย่ง
ในการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรมนั้น มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ เริ่มต้นด้วยการเบิกโรง การโหมโรงจะเริ่มจากการบรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นแรกคือซอรือบับเท่านั้นที่เล่นคลอเบา ๆ ตามด้วยกลองฆือแน ฆ้อง โหม่งและเครื่องดนตรีชิ้นที่เหลือตีบรรเลงพร้อมๆ กัน เป็นการปลุกเร้าหรือส่งสัญญาณบอกให้ผู้ชมทราบว่าการแสดงมะโย่งกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว ต่อด้วย การรำเบิกโรง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ผู้ร่ายรำจะต้องเป็นเปาะโย่ง ในพิธีนี้คนไข้อาจจะแสดงเป็นเปาะโย่ง และได้รับการถ่ายทอดท่าร่ายรำจากผู้แสดงเป็นเปาะโย่งของคณะที่ว่าจ้าง โดยมีตัวละครเมาะโย่ง ปือรันมูดอ ปือรันตูวอร่วมแสดงด้วย เวลาที่ใช้ในการรำเบิกโรงนานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อมาเป็นการแสดงเป็นละครมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องตามบทละคร มีบทพูดสนทนาโต้ตอบกันของตัวละคร สลับบทร้อง การรำ การเต้น เนื้อเรื่องที่นำมาแสดงจะมีลักษณะคล้ายเรื่องจักรๆ วงศ์ ๆ ต่อมาเป็นพิธีแก้บน เป็นพิธีกรรมที่กระทำในคืนสุดท้ายเพื่อบอกกล่าวว่าการใช้บนได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยเจ้าภาพจะจัดเตรียมอุปกรณ์ คือ “สมางีน” พ่อหมอจะเรียกคนไข้และญาติให้มานั่งใกล้ ดนตรีเริ่มบรรเลงเพลง พ่อหมอจะหยิบผงกำยานโรยบนถ่านไฟให้ควันกำยานพุ่งนำเครื่องประกอบแก้สินบนทั้งหมดขึ้นมารมควันแล้วอ่านคาถา พ่อหมอดึงตัวปลดปล่อยที่สานจากใบมะพร้าวให้ขาดออกจากกัน และพ่อหมอนำแป้งหอมละลายน้ำทำเป็นน้ำมนต์มาพรมคนไข้และญาติๆ

ส่วนการแสดงมะโย่งเพื่อความบันเทิงมีลักษณะการแสดงคล้าย ๆ กับการแสดงมะโย่งเพื่อประกอบพิธีกรรม แต่จะมีลำดับขั้นตอนการแสดงน้อยกว่า คือ จะเริ่มจากการโหมโรง ต่อด้วยรำเบิกโรง และแสดงเป็นละคร เวลาที่ใช้แสดงประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ทั้งนี้เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมะโย่งประกอบด้วย ซอรือบับ ปี่ซูนา กลองฆือแน ฆง โหม่ง จือแร็ก ฉิ่ง ฉาบ รำมะนา และไวโอลิน ส่วนจำนวนผู้แสดงมะโย่งมีทั้งหมด 15-25 คน เป็นโต๊ะมีโน๊ะหรือพ่อหมอ 1 คน เป็นนักดนตรี 7-9 คน ส่วนที่เหลือเป็นนักแสดงกับผู้ช่วยแสดง นักดนตรี ประกอบด้วย คนสีซอรือบับ เป่าปี่ซูนา ตีกลองฆือแน ฆง โหม่ง ฉิ่งกับฉาบ จือแร็ก รำมะนา (เครื่องดนตรีบางชนิดอาจจะเป็นคนๆ เดียวกันเล่น) ผู้ที่เป็นนักแสดงจะรักบทเป็นตัวละครสำคัญ ๆ ในการแสดงมะโย่งมี เปาะโย่ง เป็นตัวละครเอก เมาะโย่ง ปือรันมูดอ ตัวตลกตัวที่ 1 ปือรันทูวอ เป็นตัวตลกตัวที่ 2 ดายัง - ดายัง หรือ อีนัง - อีนัง

เครื่องแต่งกายของเปาะโย่งจะมีลักษณะพิเศษเป็นชุดเลียนแบบเครื่องทรงกษัตริย์ ส่วนเมาะโย่งและนักแสดงที่เป็นตัวประกอบจะแต่งด้วยเสื้อผ้าชุดพื้นบ้านชาวไทยมุสลิม เช่น ชุดกือบายา หรือชุดที่ธรรมดาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน นักดนตรีจะแต่งชุดสบาย ๆ ธรรมดาในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้อัตราค่าจ้างในการแสดง มะโย่งแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่รับไปแสดง เช่น ถ้าเป็นการแสดงเพื่อความบันเทิง ระยะเวลาแสดง 2 - 3 ชั่วโมง ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 4,500 บาท ถ้าเป็นการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรม ค่าจ้างในการแสดงประมาณ 4,000 – 6,000 บาท

ปัจจุบันมะโย่งนับได้ว่าเป็นการแสดงที่กำลังจะสูญหาย และหาดูได้ยากในสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะเนื่องจาก ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ที่ไม่เอื้ออำนวยให้การละเล่นชนิดนี้อยู่รอดต่อไปได้ ดังเช่น ปัจจัยด้านความเชื่อในศาสนาอิสลาม ปัจจัยสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจากชาติอื่น ๆ เข้ามาแพร่สิ่งใหม่ ๆ ดังเช่น ในรูปแบบภาพยนตร์ โทรทัศน์ และปัจจัยด้านการสื่อสารระหว่างผู้แสดงและผู้ชมที่บทละครมะโย่งใช้ภาษามลายูถิ่นปัตตานี


คำค้นหา :

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง

การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง, มะโย่ง, ประเพณีภาคใต้, การละเล่นภาคใต้
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ประเวศ วะสี (2542 : 34 – 36) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า เศรษฐกิจ พอเพียง คือ เศรษฐกิจที่มีรูปแบบเป็นทางสายกลาง หรือเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาปฏิปทา เพราะเชื่อมโยงทุกเรื่องเข้ามาด้วยกันทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ที่จริงคำว่า “เศรษฐกิจ” เป็นคำที่มีความหมายในทางที่ดี ที่หมายถึง ความเจริญที่เชื่อมโยงกาย ใจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน แต่ได้มีการนำเอาคำว่าเศรษฐกิจไปใช้ในลักษณะที่แยกส่วนที่หมายถึง การแสวงหาเงินเท่านั้น เมื่อยกส่วนมันก็จะทำลายส่วนอื่น ๆ จนเสียสมดุลและวิกฤต

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2544) เศรษฐกิจพอเพียง คือ วัฒนธรรม ไม่ใช่เทคนิคการเพาะปลูก แต่ เป็นศีลธรรมความไม่ละโมบ และการประหยัด เศรษฐกิจพอเพียงเปิดโอกาสให้ทุกคนพออยู่ได้ แตกต่างจากการคิดในด้านเทคนิค ถ้าคิดแต่ด้านเทคนิคก็จะย้ำเฉพาะคน ทำให้เกิดการเอาตัวรอด ซึ่งไม่ตรงกับอุดมการณ์ของเศรษฐกิจพอเพียง ความคิดทางเทคนิคทำให้คนไม่เชื่อมโยงกัน ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน ตัวใครตัวมัน อันจะเป็นโทษแก่ธรรมชาติด้วย เพราะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของสมาชิกในชุมชนที่มีให้แก่เพื่อนบ้าน และธรรมชาตินั้นถือเป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน แนวคิดนี้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่จะคำนึงถึงการพึ่งพาอาศัยกัน พร้อม ๆ กับรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติไปด้วย

พิสิฐ ลี้อาธรรม (2549 : 11) กล่าวว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง โดยความพอเพียงนั้น หมายถึง ความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งจากภายนอก และภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ผนวกกับคุณธรรมในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้ในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะนำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืนของชีวิต เศรษฐกิจและสังคม

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ กปร. (2550 : 14) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ว่า หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ และสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน มีความพอกินพอใช้ ไม่ใช่แต่จะสร้างความเจริญ หรือ ยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะที่เพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้ ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้า และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ

สุเมธ ตันติเวชกุล (2550 : 13) ได้กล่าวสรุปความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self –Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือ ให้ตนเองสามารถอยู่ได้อย่างพอกิน พอใช้ มิได้มุ่งหวังที่จะสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจให้เจริญอย่างรวดเร็ว แต่เพียงอย่างเดียว

อภิชัย พันธเสน (2550 : 22) ได้ให้คำจำกัดความของเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นข้อเสนอใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า “คือ ความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น” การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจจะหามาได้ถ้าปราศจากเงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาเป็นระยะเวลานานแล้ว การได้มาซึ่งเงินนั้นจำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ และนำเงินที่ได้มานั้นไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต

จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความสามารถในการดำรงชีพ อย่างเรียบง่าย อุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง รู้จักอดออม ไม่ฟุ่มเฟือย อยู่อย่างประมาณตน ใช้จ่ายไม่เกินรายรับ มีการผลิตเพื่อให้พอมีพอกินในครอบครัว และมีความเอื้อเฟื้อกันในชุมชน ทะนุบำรุงพื้นฐานตัวเองให้เข้มแข็งทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ


คำค้นหา :

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง คือ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้รับการบรมราชาภิเษกตามแบบโบราณราชประเพณี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ณ วโรกาสนั้น พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” แม้จะเป็นข้อความเพียงสั้น ๆ แต่มีความลึกซึ้งกินใจซึ่งเป็นพระราชปณิธานมุ่งมั่นพระทัยที่ต้องทรงปฏิบัติให้ได้

เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เหล่าพสกนิกรชาวไทย และชาวโลกแล้วว่า ตลอดระยะเวลา 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฏร์ และทรงห่วงใยในทุกข์สุขของประชาชนตลอดมา ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนทั่วทุกภูมิภาค เมื่อทรงพบกับปัญหาก็ได้พยายามช่วยเหลือโดยทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ ที่มุ่งแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชน

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นส่วนหนึ่งในแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเหมาะพอดี มีเหตุมีผล และไม่ประมาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือปฏิบัติด้วยพระองค์เองอย่างต่อเนื่องยาวนาน ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งได้พระราชทานพระราชดำริให้แก่คนไทยนำไปปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฏาคม 2517 ความตอนหนึ่งว่า

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นไปโดยลำดับต่อไป หากมุ่งเน้นแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศหลายประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้”

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทาง การแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรอง พระราชดำรัสเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2549 – 2554) โดยรัฐบาลได้ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ อันเป็นการสนองพระราชปณิธานสืบสายพระราชดำริต่อไป


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง, ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง, ที่มาของเศรษฐกิจพอเพียง, ที่ มา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง, ความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ความ หมาย ปรัชญา เศรษฐกิจ พอ เพียง, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาษาอังกฤษ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง doc
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th