Mohon Aktifkan Javascript!Enable JavaScript

เรียงความเรื่อง “ทันตแพทย์ในดวงใจ”

เรียงความ, ทันตแพทย์ในดวงใจ
เรียงความ, ทันตแพทย์ในดวงใจ
เรียงความ, ทันตแพทย์ในดวงใจ
เรียงความเรื่อง “ทันตแพทย์ในดวงใจ”

--------------------------
การได้เกิดเป็นมนุษย์สำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อได้เกิดแล้วสามารถสร้างคุณงามความดีหรือทำตนให้มีคุณค่าอะไรบ้าง มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นใคร อาชีพอะไร หรือกำลังทำหน้าที่อะไรอยู่ก็ตามสิ่งที่เราควรตระหนักหรือสำนึกตนอยู่ตลอดเวลาคือเราได้ทำความดีแค่ไหน ความดีเท่านั้นที่จะตัดสินได้ว่าเราควรจะมีความสุขหรือเป็นทุกข์ อาชีพหมอเป็นอาชีพสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมและของโลก เพราะเป็นอาชีพที่เป็นความหวังของทุกคน เป็นอาชีพที่คอยช่วยให้คนมีความสุขหายจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย แพทย์หรือหมอจึงควรทำตนให้เหมาะสมกับอาชีพ ต้องมีจรรยาบรรณอย่างเต็มเปี่ยม ต้องเป็นแพทย์ที่ดีให้ได้ ยิ่งกว่านั้นคือแพทย์ควรตระหนักอยู่เสมอว่าชีวิตของทุกคนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกคนจึงฝากความหวังไว้ที่หมอว่าจะเป็นผู้ที่ทำให้คนป่วยทั้งโลกมีความสุขให้ได้เท่าที่สามารถทำได้และตนเองก็จะต้องเป็นแพทย์อย่างสมบูรณ์และ “ทันตแพทย์” ก็เช่นเดียวกันย่อมเป็นความหวังของคนป่วยนับหมื่นล้านคน
อาชีพของทันตแพทย์ก็คืออาชีพที่คอยช่วยเหลือและทำให้คนอื่นมีความสุข ข้าพเจ้าเองก็เคยได้รับการรักษาจากทันตแพทย์เช่นกันแต่ไม่บ่อยนักส่วนมากก็ไปรักษาโรคอื่นซึ่งก็ได้พบกับแพทย์เช่นเดียวกันและข้าพเจ้าคิดว่าไม่ว่าจะเป็นหมอหรือแพทย์แผนกไหนก็ตาม แพทย์ต้องมีคุณสมบัติที่ดีด้วยกันทั้งนั้นไม่จำกัดแค่แผนกใดแผนกหนึ่ง จากการที่ข้าพเจ้าเคยเป็นคนป่วยของหมอมาหลายครั้งทำให้ข้าพเจ้าเองได้เข้าใจและทราบถึงอารมณ์หรือความต้องการของคนป่วยว่าเขาต้องการอะไรจากแพทย์ที่รับการรักษา ข้าพเจ้าจึงอยากให้แพทย์ทุกท่านได้เข้าใจถึงความต้องการของคนป่วยหรือคนที่เข้ารับการรักษาและเพื่อเป็นการทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ในทัศนะของข้าพเจ้าทันตแพทย์ควรมีคุณสมบัติ คือ
ต้องสร้างความรู้สึกว่าผู้ป่วยเหมือนลูก-ไม่ดูถูกดูแคลน สำหรับผู้ที่เคยมีลูกมาแล้วคงเข้าใจได้ดีว่าความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีต่อลูกนั้นเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าจึงอยากเสนอความเห็นว่าทันตแพทย์ควรปฏิบัติตนเหมือนเป็นพ่อแม่และต้องรู้สึกว่าคนป่วยก็เหมือนกับลูกที่กำลังรอรับความห่วงใย ความหวังดี ความเมตตาสงสาร อยากให้ลูกมีความสุข ปลอดภัยจากโรคภัยทั้งหลายทั้งปวง ไม่ดูถูกดูแคลนหรือรังเกียจไม่ว่าผู้ป่วยจะเป็นใครมาจากไหน ยาก ดี มี จน สกปรก สะอาดก็ตาม เมื่อเขาคือคนป่วยทันตแพทย์ควรตระหนักเสมอว่าทุกคนนั้นมีสิทธิ์และมีความสำคัญเท่าเทียมกันทุกคน นอกจากจะเป็นการทำหน้าที่อย่างดีแล้วยังชื่อว่าได้ทำบุญและสร้างคุณงามความดีไปในขณะเดียวกันด้วย ส่วนคนป่วยก็จะมีความสุขมีกำลังใจและเชื่อแน่ว่าทันตแพทย์ที่ทำได้อย่างนี้ย่อมจะเป็นที่ประทับใจของคนป่วยได้อย่างแน่นอน
ต้อง เห็นอกเห็นใจ-ไม่ใช่เห็นแก่ตัว คนที่กำลังป่วยย่อมต้องการความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจเพราะกำลังตกอยู่ในความทุกข์ ต้องการกำลังใจ ต้องการแพทย์ที่เปี่ยมไปด้วยความเห็นอกเห็น ใจ อย่างน้อยก็ทำให้คนป่วยมีกำลังใจและมีความสุขขึ้นได้ในขณะที่กำลังป่วย จริงอยู่แพทย์ต้องพบกับคนป่วยหลากหลายแบบอาจจะเกิดอารมณ์ไม่ค่อยเหมาะสมบ้างก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ไม่ควรที่จะเอาเหตุผลนี้มาเป็นข้อแก้ตัว ทางที่ดีก็คือทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนป่วยหรือคนอื่น ๆ ได้ ต้องคิดว่าเสมอว่าคนป่วยทุกคนมีความสำคัญที่สุด ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำให้คนไข้มีความสุข รู้สึกอบอุ่นใจ เมื่อนั้นเองที่คนป่วยจะชื่นชมหมอว่าเป็นทั้งคนเก่งและคนดี
ต้องให้คุณธรรมนำหน้า-เงินตราตามหลัง เงินเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิตก็จริงอยู่แต่สิ่งที่สำคัญและมีค่ายิ่งกว่าเงินทองก็คือคุณงามความดีหรือคุณธรรม ทำไมต้องให้คุณธรรมเป็นตัวนำ ? ก็เพราะว่าคุณธรรมเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดความสุขอย่างแท้จริงและยั่งยืนได้ เราต้องมีคุณธรรมก็เพื่อให้เกิดความสงบสุขกันถ้วนหน้า ที่สำคัญคือผู้ที่มีคุณธรรมนั้นเองที่จะได้รับความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากคุณธรรม ยิ่งสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ยิ่งทำให้คุณธรรมเริ่มเสื่อมถอย ผู้คนหันหน้าเข้าหาความชั่วกันมากมาย เพื่อความสงบสุขของทุกดวงใจทุกคนต้องเดินเข้าหาคุณธรรมก่อนที่จะให้เงินตรามาปิดบังคุณงามความดี โดยเฉพาะทันตแพทย์ซึ่งเป็นที่พึ่งของคนป่วยเป็นจำนวนมาก เขาเหล่านั้นกำลังรอความเมตตาธรรมจากหมอ อย่าทำให้เขาเหล่านั้นต้องเป็นทุกข์ไปมากกว่าที่เป็นอยู่เลย
ในยุคที่สังคมกำลังเปลี่ยนแปลง สับสน และขัดแย้งกันเช่นทุกวันนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เราคิดไม่ถึง แต่ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เจริญหรือเสื่อมอย่างไร คนเราก็จำต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ทันตแพทย์เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ต้องสร้างความสุขและความอบอุ่นใจให้กับสังคมเท่าที่สามารถจะทำได้ แพทย์ทุกคนต้องคิดเสมอว่าคนป่วยนั้นเป็นเสมือนพ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติกันก็ว่าได้ อย่าเห็นแก่ตัวจนหน้ามืดมองไม่เห็นคุณธรรม อย่าเห็นเงินทองเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะมันอาจนำเราไปหาห้วงเหวของความทุกข์อย่างไม่จบสิ้น ศักดิ์ศรีและคุณค่าของคนเรานั้นอยู่ที่คุณธรรมและคุณงามความดีทั้งหลาย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทันตแพทย์จะรับรู้รับทราบถึงเสียงขอร้องของคนป่วยอีกหลายคนที่กำลังร้องครวญครางเพราะความเจ็บปวดจากการป่วย สังคมกำลังรอหมอที่ดีและเก่งเพื่อพยุงและทำให้สังคมสงบสุขได้อย่างถ้วนหน้ากันที่สำคัญคือ “ทันตแพทย์” นั้นเองที่จะเข้าไปอยู่ในใจของทุกคนได้ในที่สุด
ประทับใจหมอฟันไทยในวันนี้
เพราะความดีความเมตตาและสงสาร
ช่วยคนอื่นให้หายทุกข์ทรมาน
จึงตั้งมั่นอยู่ในใจไทยทุกคนฯ



คำค้นหา :

เรียงความ, ทันตแพทย์ในดวงใจ

ทันตแพทย์ในดวงใจ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประวัติ เพลงชาติไทย

ประวัติ เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย เป็นชื่อของเพลงชาติสยามและประเทศไทย ได้รับการประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ และได้ประพันธ์เพลงชาติไทยในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พุทธศักราช

เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย
2475 คำร้องฉบับแรกสุดร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พุทธศักราช 2482
ต่อมาในสมัยการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมเยือน ประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล แม้เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าวเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พุทธศักราช 2475 คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี
ที่มาของทำนองเพลงชาติปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พุทธศักราช 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ในลักษณะของเพลงลามาร์แซแยส ซึ่งพระเจนดุริยางค์ได้บอกปฏิเสธ เพราะถือว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว ทั้งการจะให้แต่งเพลงนี้ก็ยังไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย แม้ภายหลังหลวงนิเทศกลกิจจะมาติดต่อให้แต่งเพลงนี้อีกหลายครั้งก็ตาม พระเจนดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 ผ่านไปได้ประมาณ 5 วันแล้ว หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งพระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่าเป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎรด้วย ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดทางที่จะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ตนได้กำหนดนัดหมายวันแต่งเพลงชาติไว้ ขณะที่นั่งบนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน จากนั้นจึงได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง และมอบโน้ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงตนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้แต่งเพลงเอาไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ศรีกรุงก็ได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเปิดเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี จะได้ชี้แจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ 30 ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นบำนาญ อีกครึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง
ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่ขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พุทธศักราช 2475 เนื่องจากมีการคันพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว แม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ และมีการจดจำต่อๆ กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ เมื่อ พุทธศักราช 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย
เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุด ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พุทธศักราช 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พุทธศักราช 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พุทธศักราช 2475 และ พุทธศักราช 2477)

ชาติไทย
ชาติไทย

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา
ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ
ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา
เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย


เพลงชาติสยามฉบับราชการ พุทธศักราช 2477

ในปี พุทธศักราช 2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน มีกรรมการท่านอื่นๆ ดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์, พระเจนดุริยางค์, หลวงชำนาญนิติเกษตร, จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท การประกวดเพลงชาติในครั้งนั้นได้ดำเนินการประกวดเพลงชาติ 2 แบบ คือ เพลงชาติแบบไทย (ประพันธ์ขึ้นโดยดัดแปลงจากดนตรีไทยเดิม) และเพลงชาติแบบสากล ซึ่งผลการประกวดมีดังนี้

1. เพลงชาติแบบไทยคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติได้ตัดสินให้ผลงานเพลง "มหานิมิตร" ซึ่งประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล เป็นผลงานชนะเลิศ เพลงมหานิมิตรนี้จางวางทั่วได้ประพันธ์ดัดแปลงมาจากเพลงหน้าพ­าทย์สำคัญของไทยที่มีชื่อว่า "ตระนิมิตร" ให้สามารถบรรเลงเป็นทางสากล ซึ่งเพลงตระนิมิตรนี้ เป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงครู นักดนตรีจะใช้บรรเลงในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานไหว้ครู บรรเลงเป็นการอัญเชิญครูบาอาจารย์ เทวดาทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนั้นจึงมีความหมายอันควรแก่การเคารพนับ­ถือเป็นสิริมงคล เหมาะสมที่จะใช้เป็นเพลงชาติไทยได้
รัฐบาลได้ทดลองบรรเลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงอยู่ระยะหนึ่ง แต่ต่อมาเมื่อคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติจะเสนอผลการประกวดให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองนั้น คณะกรรมการฯ ได้ประชุมกันและมีความเห็นว่า เพลงชาติมีลักษณะที่บ่งบอกถึงความ­ศักดิ์สิทธิ์ หากมีการใช้อยู่ 2 เพลง จะทำให้คลายความศักดิ์สิทธิ์ลง จึงได้ตัดสินใจไม่เสนอเพลงชาติแบบไทยที่ได้คัดเลือกไว้ให้คณะรัฐมนตรีประกาศรับรองเป็นเพลงชาติในที่สุด
2. เพลงชาติแบบสากลคณะกรรมการพิจารณาเพลงชาติมีความเห็นให้ใช้ทำนองเพลงซึ่งประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์เป็นทำนองเพลงชาติแบบสากล สำหรับบทร้องนั้นได้คัดเลือกบทร้องของขุนวิจิตรมาตราซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมเป็นบทร้องชนะเลิศ และได้เพิ่มบทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล ซึ่งเป็นบทร้องที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศเข้าอีกชุดหนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้ประกาศรับรองให้เป็นบทร้องเพลงชาติฉบับราชการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2477
บทร้องทั้งของขุนวิจิตรมาตราและนายฉันท์ ประพันธ์ในรูปฉันทลักษณ์แบบกลอนสุภาพ (กลอนแปด) ความยาว 4 บท แต่ละบทมี 4 วรรค ผลงานของแต่ละคนจึงมีความยาวของบทร้องเป็น 16 วรรค เมื่อนำมารวมกันแล้วจึงทำให้บทร้องเพลงชาติทั้งหมดมีความยาวถึง 32 วรรค ซึ่งนับว่ายาวมาก หากจะร้องเพลงชาติให้ครบทั้งสี่บทจะต้องใช้เวลาร้องถึง 3 นาที 52 วินาที (เฉลี่ยแต่ละท่อนรวมดนตรีนำด้วยทั้งเพลงตกที่ท่อนละ 35 วินาที) ในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา และต่อมาภายหลังจึงไม่มีการขับร้อง คงเหลือแต่เพียงทำนองเพลงบรรเลงเท่านั้น

เพลงชาติสยามฉบับสังเขป พุทธศักราช 2478
ในปี พุทธศักราช 2478 รัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ออกระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติ ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2478 (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน) ระเบียบดังกล่าวนี้ได้มีการกำหนดให้แบ่งการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติออกเป็น 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบพิสดาร (บรรเลงตามความยาวปกติเต็มเพลง) และการบรรเลงแบบสังเขป ในกรณีของเพลงชาตินั้น ได้กำหนดให้บรรเลงเพลงชาติฉบับสังเขปในการพิธีที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สโมสรสันนิบาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีปกติ ส่วนการบรรเลงแบบเต็มเพลงนั้นให้ใช้ในงานพิธีใหญ่เท่านั้น
ท่อนของเพลงชาติที่ตัดมาใช้บรรเลงแบบสังเขปนั้น คือท่อนขึ้นต้น (Introduction) ของเพลงชาติ (เทียบกับเนื้อร้องเพลงชาติฉบับปัจจุบันก็คือตั้งแต่ท่อน สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี จนจบเพลง) ความยาวประมาณ 10 วินาที ไม่มีการขับร้องใดๆ ประกอบ

เพลงชาติไทย พุทธศักราช 2482 – ปัจจุบัน
ในปี พุทธศักราช 2482 "ประเทศสยาม" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ประเทศไทย" รัฐบาลจึงได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติไทยใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ โดยกำหนดเงื่อนไขยังคงใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์อยู่เช่นเดิม แต่กำหนดให้มีเนื้อร้องความยาวเพียง 8 วรรคเท่านั้น และปรากฏคำว่า "ไทย" ซึ่งเป็นชื่อประเทศอยู่ในเพลงด้วย ผลการประกวดปรากฏว่าเนื้อร้องของพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกได้รับรางวัลชนะเลิศ รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศรับรองให้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติไทย โดยแก้ไขคำร้องจากต้นฉบับที่ส่งประกวดเล็กน้อย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2482 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งส่งประกวดในนามกองทัพบกไทยก่อนแก้ไขเป็นฉบับทางการมีดังนี้ (สำหรับเนื้อร้องฉบับประกาศใช้จริง ดูได้ในหัวข้อ เนื้อเพลง)

ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชาธิปไตยของไทยทุกส่วน
อยู่ยืนยงดำรงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่ขลาด
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย

การประกวดเพลงชาติครั้งนี้ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีกวีและผู้มีชื่อเสียงในทางการประพันธ์เพลงหลายท่าน เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี แก้ว อัจฉริยะกุล ชิต บุรทัต เป็นต้น ซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์เนื้อเพลงชาติสองฉบับแรก (ขุนวิจิตรมาตรา และฉันท์ ขำวิไล) ได้ส่งเนื้อร้องของตนเองเข้าประกวดด้วย แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านการตัดสินครั้งนั้น เฉพาะเนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราแต่งใหม่นั้น ปรากฏว่ามีการใช้คำว่า "ไทย" ถึง 12 ครั้ง

เพลงชาติไทยปัจจุบัน


คำค้นหา : เพลงชาติไทย, เพลงชาติไทย เนื้อเพลง, เพลงชาติไทย mp3, เพลงชาติไทย ภาษาอังกฤษ, เพลงชาติไทย ความหมาย, เพลงชาติไทย คอร์ด, เพลงชาติไทย เนื้อ, เพลงชาติไทย บรรเลง, เพลงชาติไทย ขลุ่ย, เพลงชาติไทย โน๊ต, เพลงชาติไทย ประวัติ, เพลงชาติไทย ผู้แต่ง, เพลงชาติไทย 4sh, เพลงชาติไทย คาราโอเกะ, เพลงชาติไทยใหญ่, เพลงชาติไทย แปล, เพลงชาติไทยเกิดขึ้นเมื่อใด, เพลงชาติไทย สมัยก่อน, เพลงชาติไทยแดนซ์, เพลงชาติไทยมีความสําคัญอย่างไร, เพลงชาติไทย ช่อง 9, เพลง ชาติ ไทย thai national anthem, เพลง ชาติ ไทย แบบ เป็น ทางการ, เพลง ชาติ ไทย แบบ เป็น ทางการ mp3, ประวัติ เพลง ชาติ ไทย แบบ ย่อ, โหลด เพลง ชาติ ไทย แบบ เป็น ทางการ, เพลงชาติไทย download, เพลง ชาติ ไทย mp3 download, ฟัง เพลง ชาติ ไทย mp3 download, ตัว โน๊ ต เพลง ชาติ ไทย download, ตัว โน๊ ต เพลง ชาติ ไทย doc, เพลงชาติไทย hd, เพลงชาติไทย itv
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การละเล่นว่าว

การละเล่นว่าว
การละเล่นว่าว
การละเล่นว่าว
สำหรับคำว่า ว่าว ในภาษาไทย หรือ ในภาษาอังกฤษนั้น มีความหมายว่า เป็นเครื่องเล่นรูปต่างๆ มีไม้เบาๆ ทำเป็นโครง แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบางๆ แล้วปล่อยให้ลอยขึ้นไปในอากาศ โดยที่มีเชือก หรือ สายป่านยึดไว้

ว่าว เรียกได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์อีกประเภทหนึ่งที่มนุษย์ทำขึ้นมา / ประดิษฐ์ ขึ้นมาเพื่อเป็นการละเล่นที่ให้ความบันเทิงและเพื่อเป็นประโยชน์อย่างอื่นมานับพันปีแล้ว แม้จะไม่ทราบแหล่งกำเนิดที่แน่ชัดว่า ว่าว เกิดขึ้นที่ชาติใดก่อนเป็นครั้งแรก เนื่องจากว่าวเป็นการละเล่นที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เล่นกันแทบจะทุกชาติทุกภาษา แต่ชนชาติที่นิยมเล่นกันมาที่สุดนั้น คือ ชนชาติในทวีปเอเชีย และประเทศที่น่าสนใจ นั่นคือ ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่และสำคัญของโลก มีองค์ประกอบที่เอื้ออำนวยต่อการเล่นว่าวเป็นอย่างยิ่ง คือ ในประเทศจีนมีต้นไผ่เป็นจำนวนมาก ชาวจีนรู้จักการทอผ้าไหมและทำกระดาษมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4,000 ปีมาแล้ว จากบันทึกเก่าแก่ของประเทศจีนที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ชาวจีนรู้จักการทำว่าวและเล่นว่าวมาไม่น้อยกว่า 2,000 ปี

สำหรับคนไทยคุ้นเคยและรู้จัก ว่าว กันมาแต่โบราณเพราะเป็นการละเล่นและเป็นกีฬาที่แพร่หลาย เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย (พ. ศ.1781-1981) จนเกิดตำนานความรักระหว่างพระร่วงหรือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ที่โปรดการเล่นว่าวมาก วันหนึ่งพระองค์ทรง เล่นว่าวในวัง สายป่านขาดลอยไปตกที่หลังคาบ้านพระยาเอื้อ พระองค์เสียดายว่าวมาก เมื่อถึงเวลากลางคืนจึงปลอมตัวเป็นคน สามัญ ปีนออกจากวังไปเก็บว่าวที่บ้านพระยาเอื้อ เมื่อปีนไปก็ได้พบ ว่าพระยาเอื้อมีลูกสาวสวย ทำให้พระองค์เกิดความรักกับลูกสาวพระยาเอื้อ

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) การเล่นว่าวได้รับความ นิยมมาก ตั้งแต่พระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนถึงสามัญชน ในสมัย สมเด็จพระเพทราชา ได้ใช้ว่าวในการสงครามด้วย คือใช้ว่าวติดลูกระเบิดลอยขึ้นไปแล้วจุดไฟสายป่าน ทำให้ฝ่ายข้าศึกถูกระเบิด เสียหาย การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระมหากษัตริย์จะทรงว่าวจุฬา ถ้าใครเล่นว่าวปักเป้าเข้ามาในเขตของพระองค์ก็จะถูกคว้า ลงมา และการพนันเรื่องว่าวก็เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้น

หลักฐานจากจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ อัครราชฑูตจากราชสำนักฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ได้เขียนบรรยายไว้ในจดหมายเหตุ การเดินทางไว้ว่า "ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏในท้องฟ้าของทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของ ฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้

บาทหลวง ตาชาร์ด ซึ่งเป็นบาทหลวงในนิกายเยซุอิค ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 19 ส่งเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนา ได้เขียนบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับว่าว ไว้ว่า "ว่าวเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวสยามที่ทะเลชุบศร และเมืองลพบุรี ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่นั้น ในเวลากลางคืน รอบพระราชนิเวศน์ จะมีว่าวรูปต่างๆ ลอยอยู่ ว่าวนี้ติดโคมไฟส่องสว่าง และลูกกระพรวนส่งเสียง กรุ๋งกริ๋ง”

สมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนเล่นว่าวได้ที่ท้องสนามหลวง ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ใ นปี พ.ศ. 2449 ได้มีการจัดการแข่งขัน ว่าวจุฬา-ปักเป้า ชิงถ้วยทองคำพระราชทาน ที่พระราชวังดุสิต การแข่งขันนี้มีเป็นประจำทุกปี จนสิ้นรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาในช่วงปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้จัดการแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาอีก แต่ก็มีอันต้องว่างเว้นไปอีก เนื่องจากว่ารัฐบาลไม่ส่งเสริม และว่าวเป็นสิ่งที่สร้างปัญหากับระบบการจ่ายไฟฟ้า เพราะมีว่าวไปติดสายไฟ และเคยมีคนถูกไฟดูดตายก็มีมาก จึงทำให้การเล่นว่าวเสื่อมความนิยมลงไป และคนที่มีภูมิปัญญาด้านนี้เริ่มร่อยหรอลง เด็กรุ่นใหม่ที่เล่นและทำว่าวเองเริ่มที่จะไม่มีให้พบเห็น จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างมากหากการเล่นว่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย จากหลักฐานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ชาวไทยรู้จักการเล่นว่าวมาไม่ต่ำกว่า 700 ปีแล้ว โดยเริ่มแรกอาจรับอิทธิพลความเชื่อในพิธีกรรมมาจากอินเดีย ต่อมาค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นการละเล่นตามฤดูกาลเท่านั้น

ประเภทและชนิดของว่าว
ในประเทศไทยมีการแบ่งประเภทว่าว เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ 1. ว่าวแผง ได้แก่ ว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาว เช่น ว่าวปักเป้า ว่าวจุฬา ว่าว อีลุ้ม ว่าวแซงแซว หรือว่าวรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น

2. ว่าวภาพ ได้แก่ ว่าวที่ประดิษฐ์ขึ้นในลักษณะพิเศษ เป็นรูปร่าง มีความกว้าง ความยาว และความหนา แบ่งออกเป็นประเภทย่อย ๆ ได้ 3 ประเภท คือ ว่าวประเภทสวยงาม ว่าวประเภทความคิด และว่าวประเภทขบขัน




คำค้นหา :

การละเล่นว่าว

การละเล่นว่าว, การเล่นว่าว, การเล่นว่าวไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย
ว่าวภาคเหนือ
ลักษณะของว่าวไทยภาคเหนือ แต่เดิมมีรูปแบบที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ โดยมีโครงทำมาจากไม้ไผ่ นำมาไขว้กันมี แกนกลางอันหนึ่ง และมีอีกอันหนึ่งโค้งทำเป็นปีกว่าว จะไม่ใช้เชือกช่วยในการทำโครงก่อน แต่ใช้กระดาษปิดทับโครงไม้เลยทีเดียว รูปร่างของว่าวคล้าย ๆ กับว่าวปักเป้าของภาคกลาง แต่ไม่มีหาง และภู่จะมีชนิดเดียวไม่มีหลายประเภทเหมือน ภาคกลาง ว่าวรูปแบบอื่น ๆ คงได้รับแบบอย่างจากว่าวภาคกลางในภายหลัง ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม

ว่าวภาคกลาง
มีการวิจัยสำรวจพบว่าเยาวชนไทยในภาคกลางนิยมเล่นว่าวมากถึง ร้อยละ 50.60 ว่าวที่นิยมเล่นมีรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นแบบดั้งเดิม คือ ว่าวปักเป้า ว่าวดุ๊ยดุ่ย ว่าวอีเพรด ว่าวอีลุ้ม ส่วนรูปแบบใหม่ที่รับมาจากต่างประเทศ เช่น ว่าวงู ว่าวนกยูง ว่าวปลา ว่าวคน ว่าวผีเสื้อ เป็นต้น

ว่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชาชนส่วนมากนิยมเล่นว่าวพื้นเมือง และว่าวที่นิยมมากที่สุด คือ ว่าวสองห้อง ภาคกลางเรียกว่า ว่าวดุ๊ยดุ่ย รองลงไป ได้แก่ ว่าวอีลุ้ม
ว่าวภาคใต้
การเล่นว่าวในภาคใต้นิยมเล่นเพื่อความสนุกสนานเป็นส่วนใหญ่ ว่าวที่เล่นกันมากในภาคใต้มีหลายชนิด เช่น ว่าววงเดือน ว่าวปักเป้า ว่าวนก ว่าวหลา (ว่าวจุฬา) ว่าวอีลุ้ม ว่าวงู ว่าวคน ว่าวกระบอก และว่าวใบไม้ ว่าวที่นิยมเล่นกันมาก คือว่าววงเดือนแบบมีแอก ผู้เล่นมักชักขึ้นในเวลาบ่ายแล้วลงในตอนเช้าของอีกวันหนึ่ง ซึ่งถือว่าว่าวตัวไหนชักไว้ค้างคืนโดยไม่ต้องเอาลงได้นับว่าตัวนั้นวิเศษมาก อนึ่งนักเล่นว่าวชาวใต้นิยมประชันเสียงแอกด้วยว่าว่าวตัวไหนมีเสียงแอกดังและไพเราะกว่ากัน คนรุ่นเก่า ๆ มักนิยมเล่นว่าววงเดือนขนาดใหญ่กันเป็นหมู่เป็นพวก คือทำว่าวที่มีขนาดของปีกยาวประมาณ 3-4 เมตร ใช้คนส่งว่าวขึ้น 2-3 คน และคนชัก 3-4 คน ส่วนว่าววงเดือนอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีแอกนั้น นิยมเล่นเพื่อการแข่งขันว่าวว่าวตัวไหนลอยขึ้นสูงที่สุดได้ก่อนตัวอื่นในเวลาเดียวกัน ฤดูกาลที่นิยมเล่นว่าวมาก คือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

สรุป
การเล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน มีการพัฒนาการต่อสู้ ดัดแปลงการชักด้ายที่ติดไว้ด้วยของมีคมทำจากเศษแก้วที่เรียกว่า “ป่านคม” สำหรับต่อสู้กัน ใครพลาดท่าก็จะถูกคู่แข่งตัดสายป่านขาด ตลอดการแข่งขันกลางเวหา ตั้งแต่การขึ้นว่าว การยัก การส่าย การคว้า การโฉบ รอก และการบังคับให้เคลื่อนไวได้อย่างสง่างามด้วยสายป่านเพียงสายเดียว ซึ่งต่างจากว่าวของชาติอื่น ๆ ที่มีความงามด้วยสีสัน แต่ส่วนมากมักลอยลมอยู่เฉยๆ “จึงอาจกล่าวได้ว่าชาติไทย เป็นชาติเดียวที่มีกีฬาเอาชนะกันกลางเวหา”

ว่าวไทยมีการเล่นในทุกๆ ภาค จะแตกต่างกันบ้างในลักษณะของว่าว กีฬาเล่นว่าวนอกจากผู้เล่นจะสนุกสนาน ผู้ชมก็ยังได้รับความเพลิดเพลินและตื่นตาตื่นใจเพราะนี่คือ อีกหนึ่งแห่งความภาคภูมิใจแห่งภูมิปัญญาของคนไทย ดังนั้น จึงขอเชิญชวนท่านผู้ฟังรายการทุกท่าน รวมถึงเด็กและเยาวชนหันมาเล่นว่าวเพื่อช่วยกันมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการเล่นว่าวของคนไทยเรา และฝากอีกปิดท้ายรายการอีกสักนิดว่า การละเล่นว่าวควรหาพื้นที่เปิดโล่ง และห่างจากสายส่งไฟฟ้าให้มากนะคะ เพื่อความปลอดภัย และประการสำคัญของการเล่นว่าว เพื่อเป็นจุดสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม และ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายนิดเดียวที่ทุกท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล


คำค้นหา :

ว่าวที่นิยมเล่นกันในภาคต่างๆของประเทศไทย

ว่าว, ว่าวจุฬา, ว่าวปักเป้า, ว่าว ภาษาอังกฤษ, ว่าวไทย, ว่าวควาย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เรียงความครอบครัวพอเพียง

เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความครอบครัวพอเพียง
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว เป็นเรียงความดีดีที่เขียนขึ้นโดย ด.ญ. กนกวรรณ ทัศวิล ชั้น ป.5 ที่เขียนขึ้นประกวดในโครงการของ บริษัท เอบี ฟูด แอนด์ เอฟเวอร์เรจส์(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นรางวัลชนะเลิศในโครงการนี้ ซึ่งเนื้อเรื่องในเรียงความ เป็นใปในแนวทางการใช้ชีวิตพอเพียงของครอบครัวฉัน การใช้เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน การนำเอาแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นคือการเอาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเอง และสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็น เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน ที่นำเอาสิ่งที่ทำอยู่ประจำในชีวิตประจำวันที่เข้ากับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาบรรยาย ออกมาให้บุคคลอื่นได้รับรู้


เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงในครอบครัว
เรียงความเศรษฐกิจพอเพียงของฉัน



เมื่ออ่านเรียงความเรื่องนี้จบลง ท่านอาจจะได้แนวคิด ในการอยู่อย่างพอเพียง ตามแนวพระราชดำรัส ต่อชีวิตส่วนตัว และครอบครัวของท่านได้
คำค้นหา :

เรียงความครอบครัวพอเพียง

ครอบครัวพอเพียง, ครอบครัวพอเพียง เรียงความ, เรียงความ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

แห่ดาว เทศกาลวันคริสต์มาส

แห่ดาว เทศกาลวันคริสต์มาส จังหวัดสกลนคร




คำค้นหา : แห่ดาว, แห่ดาวสกลนคร, แห่ดาว ท่าแร่, แห่ดาว สกลนคร 2556, แห่ดาว สกลนคร 2558, แห่ดาวเคียงเดือน, แห่ดาว สกลนคร 2554, แห่ดาว สกลนคร 2555, แห่ดาวสกลนคร 2012, แห่ดาวท่าแร่ 2555, แห่ดาวท่าแร่ 2556, แห่ดาว 2555, แห่ดาว 2556, แห่ดาว สกลนคร pantip, แห่ดาวคริสต์มาส สกลนคร 2556, แห่ดาว สกล, แห่ดาวสกลนคร 2013, แห่ดาว 55, แห่ดาว pantip, แห่ดาวท่าแร่ 2554, แห่ดาว ท่าแร่ pantip
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2559 นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2559

คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559 หรือ ค.ศ. 2016 โดย นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชามอบให้เป็นของขวัญแก่เด็กไทยทุก­คน ว่า

" เด็กดี หมั่นเพียร เรียนรู้ สู่อนาคต "




ประวัติวันเด็กแห่งชาติ
วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม ในทุกๆปี ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559 โดยวันเด็กแห่งชาติมีต้นกำเนิดมาจากการที่­องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก­่เด็ก ๆ โดยในปี พุทธศักราช 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระ­หว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถ­ึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติที่ดี­ต่อไป

น้องๆอย่างลืมท่องจำคำขวัญวันเด็กแห่งขาติ เพื่อ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อตอบปัญหาชิงรางวัล กันนะ ^_^


คำค้นหา : คำขวัญ คือ, คำขวัญจังหวัด, คำขวัญภาษาไทย, คำขวัญยาเสพติด, คำขวัญวันครู 2558, คำขวัญวันพ่อ, คำขวัญวันเด็ก, คำขวัญวันแม่, คําขวัญวันครู 2558, คําขวัญวันพ่อ, คําขวัญวันภาษาไทย, ตัวอย่าง คำขวัญ ทั่วไป, ตัวอย่างคำขวัญ, ปฏิทิน 2559 excel, ปฏิทิน 2559 ช่อง3, ปฏิทิน 2559 ฤกษ์แต่งงาน, ปฏิทินจีน 2559, วันจักรี 2558, วันตรุษจีน 2558, วันพืชมงคล 2559, วันหยุด 2558, วันหยุด 2558 ราชการ, วันเด็ก, วันเด็ก 2559, วันเด็กแห่งชาติ, วันเด็ก 2559, คำขวัญวันเด็ก, คำขวัญวันเด็ก 2559, คำขวัญวันเด็ก ปี 59, คำขวัญวันเด็กประยุทธ์, ประวัติวันเด็ก, เด็กแห่งชาติ, วันเด็ก, วันเด็ก 59
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน
ในโรงเรียนนักเรียนสามารถนำวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้โดยการประยุกต์ให้เหมาะสมดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. การตั้งใจเรียน มีการดำเนินงานและวางแผนในการเรียนให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

2. ช่วยกันประหยัดและอนุรักษ์ทรัพยากรในโรงเรียน เช่น
1) การใช้น้ำประปาและไฟฟ้าในโรงเรียนอย่างประหยัด รู้คุณค่า ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่จำเป็น
2) ช่วยกันดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ และใช้ของส่วนรวมอย่างทะนุถนอม และไม่ทำลาย เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเล่นต่าง ๆ เป็นต้น
3) ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น ทิ้งขยะลงในถังที่จัดไว้ให้ และไม่ทำให้เกิดขยะโดยไม่จำเป็น ช่วยกันดูแลรักษาต้นไม้ในโรงเรียน ไม่ขีดเขียนภาพหรือข้อความใด ๆ บนโต๊ะ เก้าอี้ ฝาผนัง อาคารเรียน ประตู ห้องน้ำ เป็นต้น
3) การทำการเกษตรเพื่อเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผลไว้บริโภค

การเลี้ยงเป็ดและไก่ การเพาะเห็ด การขุดบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น 4) การใช้เงินอย่างประหยัด ซื้อของที่ไม่ฟุ่มเฟือย

5) การประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีแบบชาวบ้านมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น
1) การทำปุ๋ยหมักธรรมชาติไว้ใช้ปลูกพืชผักในโรงเรียน 2) การทำเชื้อเพลิงช่วยในการหุงต้ม เช่น การเผาถ่าน เป็นต้น 3) การใช้สมุนไพรช่วยกำจัดศัตรูพืช 6) การรวมกลุ่มสหกรณ์ในโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกัน มีแนวทางที่จะเพิ่มพูนรายได้โดยการนำสินค้าของสมาชิกมาจำหน่ายในสหกรณ์ และซื้อสินค้าได้ในราคายุติธรรม


คำค้นหา :

เศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน, โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง, โรงเรียน

เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษาจังหวัดสกลนคร ประจำปี 2557

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557
สรุปผลการแข่งขันเรือยาวประเพณีออกพรรษา
ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนนาราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ณ บึงหนองหาร สวนสมเด็จย่า (สระพังทอง) อ.เมือง จ.สกลนคร
ระหว่างวันที่ 4-5 ตุลาคม 2557
จัดโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ เทศบาลนครสกลนคร

เรือยาวชายไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสุรสิทธิ์ ม.ราชภัฏสกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 เทพทุ่งทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รางวัลชมเชย พิบูลย์ชัยมหาวารี โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวหญิงไม่เกิน 45 ฝีพาย ภายในภาคอีสาน
- ชนะเลิศ นางคำหยาด อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เทพสิทธิพร1 อ.นาแก จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 2 จ้าวไตรภพ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เจ้าแม่หงษาวดี88 อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวชายไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ ชาญคำแก้ว อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 คำปลิวสิงห์ภูทอก อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 เทพปัญญาธร ม.ราชภัฏสกลนคร
- รางวัลชมเชย ไทเกอร์ ฮาร์ดร็อค อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพพิบูลย์ชัย โรงพยาบาลอากาศอำนวย จ.สกลนคร

เรือยาวหญิงไม่เกิน 30 ฝีพาย ภายในจังหวัดสกลนคร
- ชนะเลิศ จันทร์ศรีสงคราม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 เจ้าแม่ตะเคียนทอง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 2 นรสิงห์นาวา อ.เมือง จ.สกลนคร
- รองชนะเลิศอันดับ 3 สองนาง อ.พังโคน จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย พรมหาพรหม อ.เมือง จ.สกลนคร
- รางวัลชมเชย เทพสุวรรณ อ.เมือง จ.สกลนคร



คำค้นหา :

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557

แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557, แข่งขันเรือยาว, สกลนคร 2557, เรือยาวสกลนคร, ออกพรรษาสกลนคร
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย
ในสมัยนี้มีการประสมวงดนตรีไทย 3 ประเภท คือ

1. การบรรเลงพิณ สันนิษฐานว่าเป็นการบรรเลงในรูปแบบการประสมวงเป็นครั้งแรก มีจุดประสงค์เพื่อขับกล่อม
2. วงขับไม้ เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีสำคัญ เช่น สมโภชพระมหาเศวตฉัตร พิธีขึ้นพระอู่ เป็นต้น นิยมบรรเลงมาจนถึงปัจจุบัน
3. วงปี่พาทย์เครื่องห้า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง
4. วงเครื่องประโคม เป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับงานพระราชพิธี สันนิษฐานว่า
มีจุดประสงค์เพื่อแสดงพระบรมเดชานุภาพ และพระเกียรติยศแห่งองค์พระมหากษัตริย์ วงเครื่องประโคมแบ่งเป็น วงประโคมแตรและมโหระทึก วงประโคมแตรสังข์กลองชนะ เป็นต้น


คำค้นหา :

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย

การประสมวงดนตรีไทยสมัยกรุงสุโขทัย, การประสมวงดนตรีไทย, สมัยกรุงสุโขทัย, ดนตรีไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

เพลงที่ใช้ในการแข่งขันวงดนตรีไทย งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64

เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64
เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64



วงเครื่องสายวงเล็กผสมขิม

คำค้นหา :

เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย ครั้งที่ 64

เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย, แข่งขันดนตรีไทย, ดนตรีไทย, แข่งดนตรีไทย, ศิลปหัตถกรรม จังหวัดสกลนครครั้งที่ 64, งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557, เกณฑ์แข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 64, ศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 64 ภาคกลางและตะวันออก, ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 65, www.esan64.net, ศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 64 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ศิลปะกับมนุษย์

ศิลปะกับมนุษย์
ศิลปะกับมนุษย์
ศิลปะกับมนุษย์
แนวความคิดมนุษยปรัชญา เชื่อว่า ศิลปะมีสัมพันธ์แนบแน่นกับดวงจิตมนุษย์มาอย่างช้านาน ในสมัยโบราณศิลปะหลอมรวมกับศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ศิลปะเป็นดั่งสายรุ้งเชื่อมโยงมนุษย์กับโลกเบื้องบน (โลกแห่งจิตวิญญาณ) ถ้าเราได้มีโอกาสศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ ก็จะพบว่า ศิลปินยุคสมัยหนึ่ง (ก่อนยุคเรอนาซอง – Renaissance) ทำงานอุทิศแด่ศาสนา รังสรรค์ผลงานศิลปะ ทั้งจิตรกรรม และ ประติมากรรม ในโบสถ์ วิหาร และศาสนสถานมากมายในประเทศรัสเซียมีงานศิลปะรูปพระแม่มารี และพระเยซู โดยศิลปินเหล่านั้นไม่เคยจารึกนามบนชิ้นงานศิลปะเหล่านั้นเลย ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในยุโรป แต่ยังรวมถึงฟากฝั่งโลกตะวันออกของเราอีกด้วย เฉกเช่นผลงานพุทธศิลป์ในอดีตมากมายในประเทศของเรารวมถึงชมพูทวีป ก็ไม่ปรากฏว่ามีการจารึกนามของเจ้าของผลงานด้วยเช่นกัน ที่สำคัญกว่านั้น เด็กทุกคนซึ่งได้เกิดขึ้นในโลกนี้ การวาดภาพกลายเป็นธรรมชาติภายในที่ทำให้พวกเราตระหนักถึงข้อความข้างต้นเป็นอย่างดี ว่ากันที่จริงแล้ว ก็ละม้ายคล้ายกับจิตใจอันบริสุทธิ์ในการวาดภาพของเด็ก ซึ่งมีนัยยะความสัมพันธ์ ระหว่างดวงจิตของมนุษย์กับศิลปะ นั่นเอง


คำค้นหา :

ศิลปะกับมนุษย์

ศิลปะกับมนุษย์, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะกับมนุษย์
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

จากศิลปะ สู่ ศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัด
มนุษยปรัชญา (Anthroposophy) มีรากฐานของความเข้าใจมนุษย์ทั้งสามส่วนหลัก คือ ความคิด (Thinking) ความรู้สึก (Feeling) และ เจตจำนง (Willing) องค์ประกอบทั้งสามนี้จะปฏิสัมพันธ์อย่างสมดุลย์ตามช่วงเวลาการเติบโต และหากบุคคลหนึ่งบุคคลใดเกิดภาวะเจ็บป่วย ทั้งโรคทางกายหรือโรคทางใจ ไม่ว่าจะเพศหรือวัยใด สามสิ่งข้างต้นก็จะสูญเสียความสมดุลย์ ซึ่งจะส่งผลต่อ ทางกาย (กระบวนการเผาผลาญร่างกาย) ทางใจ (ระบบหมุนเวียนของโลหิตและการทำงานของหัวใจ) ทางความคิด (ระบบประสาท และการทำงานของสมอง)

การบำบัด (Therapy) โดยใช้คิลปะ จึงเป็นการกระทำจากภายนอกร่างกายเข้าไปหลอมรวมสู่ภายใน เพื่อสร้างสมดุลย์ หรือขจัดภาวะติดขัด การถูกกดภายใน ให้หลุดหรือคลายออก โดยผู้รับการบำบัดจะปฏิบัติโดยรับประสบการณ์ จากภายนอกเข้าไปไว้ในตัว แล้วเกิดการสร้างสรรค์จากภายใน เพื่อถ่ายทอดอีกครั้ง

ที่ได้กล่าวมา จะเห็นได้ว่า พื้นฐานความคิดนี้ แตกต่างจากความเข้าใจศิลปะบำบัดในกระแสหลักทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุว่า ศิลปะบำบัดแนวทางมนุษยปรัชญาให้ความสำคัญทั้งการรับความรู้สึก (Impress) และ แสดง ความรู้สึก (Express) เหมือนกับจังหวะของลมหายใจเข้าและลมหายใจออก


คำค้นหา :

ศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา

ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา
ในกระบวนการบำบัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ทั้งเจ็ดแขนงจำต้องศึกษาประวัติผู้เข้ารับการบำบัดอย่างละเอียดจากแพทย์ ครอบครัว ครู (ในกรณีที่ผู้รับการบำบัดเป็นเด็ก) และขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้เวลากับตนเองประมาณสามสัปดาห์ในการเฝ้าดูความเป็นไปของผู้รับการบำบัด เพื่อผลการวินิจฉัยการทำงานบำบัดของตนเอง ว่าจะ ‘เลือก’ สิ่งใดไป ‘บำบัด’ และ ‘เปลี่ยนแปลง’ ภายในของผู้รับการบำบัด โดยมีเหตุผลที่ชัดเจนต่อความเจ็บป่วยนั้น นั่นหมายถึงการบำบัดต้องมีเป้าหมายที่แจ่มชัดต่อทุกขั้นตอนในกระบวนการนั้น ตั้งแต่การเลือกสรร ใช้วัสดุอุปกรณ์ บทเรียนในการบำบัด นั่นจึงเรียกว่าการบำบัดที่สมบูรณ์ และนี่คือการงานของนักศิลปะบำบัดที่แท้จริง

กล่าวในส่วนของประเทศไทย แม้จะมีการหยิบยกศิลปะบำบัดมาพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง แต่ถ้าสังเกตและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เราก็จะพบความทับซ้อนกับการศึกษาบำบัด (Curative Education) เป็นอย่างมาก การจัดการศึกษาบำบัดเกิดขึ้นมานานกว่าหกสิบปี โดยจัดการแก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อให้พวกเขาได้รับการพัฒนาที่สูงขึ้น Blitz (1999) นักปรัชญาการศึกษาคนสำคัญกล่าวว่า แนวคิดการศึกษาบำบัด และ การศึกษาพิเศษ (Special need in Education) มีทั้งส่วนที่คล้าย และส่วนที่ต่างกัน กล่าวคือ ทั้งสองแนวคิดเป็นการทำงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็ก ที่มีความต้องการพิเศษ และมองที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ แต่การศึกษาบำบัดนั้นมองเด็กต่างไปจากการศึกษาพิเศษ โดยเป็นการ มองเด็กแบบองค์รวม (Holistic View) เน้นความสำคัญทั้ง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ

ดังนั้นเอง การจัดการศึกษาบำบัดนั้น จึงมุ่งเน้นจัดกิจกรรมที่ลึกซึ้ง บนสุนทรียภาพ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและบริบทของสังคมนั้นๆ เน้นวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อให้เป็นมิติของการบำบัดจริงๆ กิจกรรมมีลักษณะเป็นกลุ่ม และค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น การวาดภาพ การร้อยเมล็ดพืช การระบายสีบนดินเผา รวมทั้งงานประดิษฐ์อื่น ๆ ไม่ได้เน้นความเป็นปัจเจกบุคคล หรือเฉพาะเจาะจงในกระบวนการวาด หรือกระบวนการปั้น สิ่งที่ได้กล่าวมามีรูปแบบอยู่ในประเทศตะวันตกอย่างชัดเจนว่า คือการศึกษาบำบัด นั่นเอง


คำค้นหา :

ศิลปะบำบัดบนพื้นฐานมนุษยปรัชญา

ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย, ศิลปะบำบัดพื้นฐาน
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ศิลปะบำบัดในสังคมไทย

ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ศิลปะบำบัดในสังคมไทย
ปัจจุบัน สังคมไทยให้ความสำคัญกับศิลปะบำบัดมากขึ้น ซึ่งก็นับเป็นสัญญาณที่ดี ในปีหนึ่ง ๆ มีผู้เข้ารับการบำบัดตั้งแต่เด็กไปจนกระทั่งผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก แม้ความรู้ทางวิชาการจะยังอยู่ในวงจำกัด นักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ที่ได้ร่ำเรียนและฝึกฝนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติมาอย่างจริงจัง ก็ยังนับว่าน้อยมาก ซึ่งความรู้ที่ลึกซึ้งและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ยังจำเป็นมากต่อการบำบัด ดังนั้น ช่วงเวลานับจากนี้จะเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจไม่น้อยว่า ศิลปะบำบัดในประเทศไทยจะสามารถยกระดับองค์ความรู้และศักยภาพของเรา ให้เพียงพอที่จะรับมือกับความผันผวน และการเปลี่ยนแปลงอันซับซ้อนของโลกทุกวันนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่


คำค้นหา :

ศิลปะบำบัดในสังคมไทย

ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, ศิลปะในสังคมไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประโยชน์ของการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปกรรมสู่ความงดงามแห่งชีวิตและสุขภาพ

ประโยชน์ของศิลปะ
ประโยชน์ของศิลปะ
ประโยชน์ของศิลปะ
- ได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น คล้ายกับการได้คุยกับตนเองในอดีต ได้ทบทวนเรื่องราวในอดีตของตัวเอง
- ได้ใช้ความคิดที่เป็นอิสระ รู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเอง
- เป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลายและเป็นช่วงเวลาที่ดีต่อความทรงจำมากๆ
- ได้รู้สึกถึงการมีอิสระของความคิด ถึงแม้ภาพที่วาดออกมาจะไม่สวยนัก แต่ก็เป็นการแสดงออกของความคิดที่เป็นตัวของเราเอง
- ทำให้เราได้รู้จักความคิดที่เกิดขึ้นกับตัวเองในขณะที่ทำงานศิลปะ
- เป็นช่วงเวลาที่ได้นึกถึงเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นภายในจิตใจอย่างมีสติและรอบคอบ
- ก่อให้เกิดสมาธิขึ้นมาในจิตใจ ทำให้รู้จักการดูแลและบำบัดความเครียดด้วยตนเอง
- ทำให้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจในขณะที่กำลังวาดภาพศิลปะ
- ทำให้ได้ย้อนรำลึกถึงความสัมพันธ์ในอดีตของตนเองกับบุคคลอันเป็นที่รักแม้ว่าท่านจะจากไปแล้ว ศิลปะช่วยให้คิดถึงบุคคลอันเป็นที่รักมากขึ้นและจะคิดถึงตลอดไป
- ทำให้เราได้นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิตว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย ที่เราได้ลืมมันไป ศิลปะทำให้เราได้ย้อนไปในอดีตและรู้สึกดีที่ได้คิดถึงมันอีกครั้ง
- รู้สึกมีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมการวาดภาพ แม้ครั้งแรกจะรู้สึกไม่อยากวาดแต่การได้แลกเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกจากการวาดภาพกับเพื่อนทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุขมาก
- ทำให้คิดถึงความรู้สึกดีๆ ในอดีตที่กำลังจะหายไป การวาดภาพทำให้เข้าใจในสิ่งที่มันเกิดและคิดว่าในอนาคตจะทำให้ความรู้สึกดีๆ นี้กลับคืนมาอีกครั้ง
- การวาดภาพทำให้นึกถึงในอดีตที่มีความสุข เมื่อนึกถึงภาพเหล่านี้เมื่อใดก็ยิ้มออกมาทุกครั้ง
- ตอนแรกรู้สึกไม่ค่อยชอบการวาดภาพ แต่ต่อมาเมื่อได้วาดและบรรยายถึงภาพที่ต้องการสื่อออกมากลับทำให้รู้สึกดีที่ได้เล่าถึงที่มา เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจตลอดเวลาแต่ไม่มีโอกาสได้พูด เมื่อได้พูดแล้วรู้สึกดี สบายใจขึ้น
- การวาดภาพทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ได้คิดถึงในอดีต คิดถึงคนที่ไม่ได้พูดคุยด้วยและรู้สึกมีความสุขที่ได้วาดภาพออกมา
- การวาดภาพทำให้จิตของเรา ความคิดของเราได้อยู่กับตัวเอง อยู่กับเรื่องราวในอดีตที่เราเคยทำในที่นั้นๆ การแต่งเติมภาพบางครั้งก็ทำให้เราคิดได้ว่าบางอย่างมันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจจะให้เป็น
- ศิลปะทำให้จิตใจเราได้ปลดปล่อย ผ่อนคลาย นึกถึงสิ่งเก่าๆ ที่ผ่านมา มีสติ ได้คิดและมองเห็นความสำคัญของบางสิ่งที่เรานึกถึง และได้รับรู้ถึงความสนุกสนานเพลิดเพลินที่เกิดขึ้นในใจ
- ในขณะที่วาดภาพเป็นเวลาที่ได้ย้อนกลับไปในเหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต มีหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในครอบครัว มีทั้งสุข ทุกข์ เศร้า อบอุ่น ดีใจ เสียใจ ณ สถานที่แห่งนั้นและได้ถ่ายทอดออกมาเป็นภาพ
- รู้สึกว่ามีรอยยิ้มผุดขึ้นในใจ มีความสุขมาก การวาดภาพจะช่วยสื่อถึงความรู้สึกของเราได้ดีกว่าการพูดออกมา
- ได้เกิดการจินตนาการย้อนกลับไปในอดีต มีทั้งเหตุการณ์บางอย่างก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี น่าจดจำและไม่น่าจดจำปะปนกันไป การวาดภาพทำให้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในความทรงจำออกมาทำให้เรานึกถึงเรื่องดีๆ ในอดีตและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
- ศิลปะช่วยให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ ทำให้เรื่องราวเครียดๆ ความยุ่งยากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้หายไป ความคิดโล่ง โปร่งสบาย จิตใจเป็นสมาธิ ได้เกิดการจินตนาการ ลืมเรื่องๆ เครียดๆ ที่มีอยู่จนหมดสิ้น
- รู้สึกว่าศิลปะช่วยเติมพลังในสมองให้เกิดขึ้นและมีความพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะผ่านเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น
- การวาดรูปทำให้มีสมาธิ ลืมเรื่องราวที่รู้สึกไม่ดีที่ติดอยู่ในใจ กลับไปเป็นเด็กที่ไม่มีเรื่องหนักใจให้คิด รู้สึกผ่อนคลาย หายเครียด ได้ปลดปล่อย
- รู้สึกได้ถึงความรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่วาดภาพ ได้นึกถึงภาพในอดีต สิ่งที่ดีๆ เหมือนได้หวนกลับไปสู่อดีตในวันที่มีความสุขอีกครั้ง
- ศิลปะทำให้ได้รู้ถึงความรู้สึกขอตัวเอง ได้อยู่กับตัวเอง รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง ได้เกิดการจินตนาการและลืมเรื่องราวที่ทำให้เกิดความเครียด
- จากการที่เรียนหนักมาทั้งวันมาแล้ว การวาดภาพช่วยให้รูสึกผ่อนคลายละเติมพลังให้มีความรู้สึกมีแรงสู้ในการเรียนวิชาต่อไป
- แม้ว่าเราจะวาดภาพที่ไม่ได้มีสีสันที่สวยมากนัก แต่มันก็ดูสวยด้วยคุณค่าของสิ่งที่อยู่ในภาพ ได้มีรอยยิ้มเกิดขึ้นในใจ ได้ปล่อยวาง ปลดปล่อยความรู้สึกในใจออกมา ทำให้เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น
- ได้มองเข้าไปในจิตใจตนเองว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร ต้องการอะไร นึกถึงสิ่งใด เป็นการทำให้จิตใจเราเปิดกว้างขึ้น ได้มีโอกาสค้นหาสิ่งที่เราต้องการจริงๆ
- ได้ผ่อนคลาย มีสมาธิ
- สนุกสนาน
- รู้สึกเพลิดเพลิน
- เป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ ได้ผ่อนคลายความเครียด
- ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อน
- ได้ลืมเรื่องราวเครียดๆ
- ได้นึกย้อนถึงตัวเอง
- สามารถถ่ายทอดความรู้สึกเครียดที่ไม่สามารถที่จะบอกหรือปรึกษาใครได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกไปเป็นภาพ
- ทำให้มีสมาธิอยู่กับงาน ได้ปลดปล่อยความคิดของตนเอง ทำให้ไม่รู้สึกเครียด
- ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ทำให้หายเครียดและมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
- คลายเครียด สร้างความสนุกสนาน
- ทำให้ได้รู้ปัญหาของตัวเองว่ากำลังเผชิญกับอะไร
- ทำให้เกิดสมาธิอยู่กับชิ้นงาน
- ทำให้ได้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก ผ่อนคลายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตัวเอง ได้สร้างสรรค์ งานศิลปะสวยๆ
- ได้เกิดแง่คิดดีๆ ในชีวิต
- ทำให้เราได้อยู่กับตนเอง ได้คิดว่าขณะนี้ใจเราอยู่ที่ไหน คิดอะไรและถ่ายทอดออกมาทางการวาดรูป
- เกิดความสนุกกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ สร้างสีสันของการแลกเปลี่ยนภาพแห่งความประทับใจ
- เป็นการปลดปล่อยจินตนาการ รับรู้และเข้าใจความคิดของเพื่อน
- ได้แง่มุมของความคิด ฝึกการคิดและการจินตนาการ
- รู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้ลืมเรื่องราวที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะวาดภาพ
- เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ และพอใจกับผลงานที่ออกมา
- ได้เกิดการเรียนรู้เทคนิคการใช้สีแบบใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน
- คลายเครียด ได้พักผ่อนทางด้านจิตใจ
- งานศิลปะอยู่ที่มุมมองของคน และศิลปะก็ได้แสดงถึงก้นบึ้งของจิตใจ
- ทำให้รู้ถึงสิ่งที่ตัวเองคิด เป็นการผ่อนคลายและปล่อยจิตใจ รู้สึกสบายมากขึ้น
- ได้อยู่กับตนเอง ทำให้รู้สึกว่ามีช่วงเวลาที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ตนเองแสดงออกได้อย่างอิสระ
- ขณะที่ระบายสีทำให้เรามีสมาธิ สนใจในภาพที่เรากำลังระบายสีอยู่ ทำให้เราไม่คิดหรือกังวลเรื่องอื่น นอกจากภาพของเรา เพราะเรากำลังคิดว่าจะสร้างสรรค์ภาพของเราออกมาอย่างไร ทำให้มีสมาธิและสติอยู่กับตัวตลอดเวลา
- รู้สึกเพลิดเพลินและพอใจกับภาพ แม้ว่ามันจะไม่สวยงามเหมือนเพื่อนคนอื่น แต่ก็ดีใจที่ทำได้สำเร็จ และจะลองใช้วิธีนี้กับตัวเองอีกเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ
- รู้สึกผ่อนคลายมากทำให้อยากหยุดเวลาไว้กับการระบายสี แต่พอหมดเวลาก็รู้สึกใจหาย
- ทำให้มีอารมณ์ผ่อนคลายมากขึ้น ปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ข้างในที่บางครั้งพูดออกมาไม่ได้
- ได้แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะได้บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้วาดอกมา
- เป็นการบำบัดความเครียดที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
- ทำให้รู้ว่าศิลปะสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้สึกและความคิด
- ได้วาดรูปตามจินตนาการของตนเอง แม้ผลงานที่ออกมาจะไม่สวยหรือดูดีเหมือนของคนอื่น แต่ก็ภูมิใจ
- จากก่อนวาดรู้สึกเหมือนสมองมันตื้อๆ แต่พอได้ลงมือทำแล้วก็รู้สึกว่าสมองมันเบาลง รู้สึกโล่งขึ้น ได้ผ่อนคลาย และเพลิดเพลิน
- ก่อนทำงานศิลปะ เพิ่งรู้คะแนนสอบ ปรากฏว่าสอบตกเลยรู้สึกเครียด แต่พอได้ลงมือวาดรูปรู้สึกดีขึ้นบ้าง เพราะได้พูดคุยสนุกสนานกับเพื่อน
- ทำให้ได้รู้สึกถึงการจดจ่อกับการสร้างสรรค์ผลงาน
- ได้เรียนรู้ว่าการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งนั้น ต้องใช้สมาธิและมีจุดสนใจอยู่ที่ผลงาน ทำให้ไม่เครียด
- รู้สึกเหมือนได้ย้อนไปในตอนที่ยังเป็นเด็ก ขณะที่วาดทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ ที่จะสร้างสรรค์ผลงานจนลืมความกังวลใจต่างๆ ไปได้โดยไม่รู้ตัว เกิดความรื่นรมย์ในใจ ที่ได้เห็นสีสันสวยงาม ได้ปล่อยความคิดไปตามผลงานที่กำลังทำ
- สนุกกับการได้เลือกสีสันให้กับธรรมชาติของตัวเอง
- ทำให้ได้มุมมองกับการใช้ศิลปะผ่อนคลายความเครียด
- รู้สึกได้ระบายอารมณ์ไปกับการวาดภาพ คิดหรือรู้สึกอะไรก็ปลดปล่อยไปกับสีที่เราเลือกใช้
- สามารถบอกอารมณ์ต่างๆ ผ่านภาพวาดของเราเองได้
- ได้ถ่ายทอดความรู้สึกประทับใจจากสถานที่ที่เคยไปเที่ยวและมีความทรงจำดีๆ ลงไปในภาพที่วาด
- ตอนวาดรูปรู้สึกอารมณ์ดีมากๆ รู้สึกว่าไม่มีคำถามอะไรเกิดขึ้นในสมองเลย ปลอดโปร่งมาก
- การวาดภาพทำให้ผมได้รู้คำตอบของคำถามที่ผมไม่เคยเข้าใจและก็อยากรู้คำตอบมานาน จึงทำให้ผมได้วาดภาพนี้มา
- การระบายสีเป็นเหมือนการได้ระบายอารมณ์ความรู้สึกของเราออกมา
- การวาดภาพทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดในการเรียน เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดแง่มุมดีๆ ในการใช้ชีวิต สะท้อนให้เห็นสิ่งที่ตัวเองกำลังคิดอยู่
- ตอนแรกรู้สึกเครียดเพราะไม่ชอบศิลปะ แต่พอได้ลองทำก็รู้สึกดีและสนุกมากขึ้น
- ได้เกิดสมาธิและจินตนาการทำให้อารมณ์ดีขึ้น เป็นการฝึกอารมณ์ทำให้สงบนิ่ง มีภาวะอารมณ์ที่ดี
- รู้สึกว่าการวาดภาพเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- การวาดภาพทำให้เราสบายใจ สร้างสรรค์จินตนาการของตนเอง สะท้อนแง่คิดและมุมมองต่างๆ ของอารมณ์เรา การวาดภาพเป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ถ้าอารมณ์ไม่ดีภาพที่วาดออกมาก็จะไม่สวย ถ้าอารมณ์ดีภาพที่วาดออกมาก็จะได้ตามที่ต้องการ
- การวาดภาพเป็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจถึงเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้วาดภาพได้สวยยิ่งขึ้น ทำให้อยากเข้ามาร่วมกิจกรรมนี้อยู่บ่อยๆ
- ได้เรียนรู้ว่าการวาดภาพไม่ต้องใช้ความคิดเพียงแต่ต้องใช้จินตนาการและอารมณ์ประกอบ ความรู้สึกตอนที่วาดรูปคือการมีสมาธิซึ่งจะทำให้รูปที่ออกมาน่าพอใจ
- ได้ฝึกความอดทนเวลาที่ได้ภาพออกมาไม่น่าพอใจ
- ทำให้รู้สึกว่าได้มีเวลาทบทวนสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต การวาดภาพทำให้จิตใจเราเย็นลง และมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น
- เกิดความรู้สึกอบอุ่นในจิตใจ ที่ได้นึกถึงสถานที่สบายใจและคุ้นเคย - ได้อยู่กับความคิดของตนเอง



คำค้นหา :

ประโยชน์ของศิลปะ

ประโยชน์ของศิลปะ, ศิลปะเพื่อชีวิต, ศิลปะเพื่อสุขภาพ
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า \"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย...\" เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา \"มักจะ\" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ \"กระทง\" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย


คำค้นหา :

ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง, ลอยกระทง, วันลอยกระทง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ประเพณีกำฟ้า บ้านน้ำจั้น

ประเพณีกำฟ้า
ประเพณีกำฟ้า
ประเพณีกำฟ้า
ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน คำว่า ”กำ” ในภาษาพวน หมายถึง การนับถือสักการะ คำว่า “ฟ้า” หมายถึง เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน ผู้อยู่สูงเทียมฟ้า หรือเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น คำว่า “กำฟ้า” จึงหมายถึง การนับถือการบูชาฟ้า

มีตำนานเล่าต่อๆ กันมาว่าสาเหตุที่เกิดวันกำฟ้า เนื่องจากสมัยหนึ่งเมืองพวนขึ้นอยู่กับนครเวียงจันทน์ และมีเจ้าชมพูเป็นกษัตริย์เมืองพวน นำทัพร่วมกับนครเวียงจันทน์ไปตีเมืองหลวงพระบาง แต่เจ้าชมพูได้ประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของเวียงจันทน์ ทำให้เจ้านนท์แห่งนครเวียงจันทน์โกรธมาก ยกทัพมาปราบเมืองพวนและจับเจ้าชมพูได้ จึงสั่งให้ประการชีวิต ขณะที่ทำพิธีประหาร ฟ้าผ่าถูกด้ามหอกที่จะใช้ประหาร ทหารเวียงจันทน์ไปกราบทูลเจ้านนท์ให้ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น เจ้านนท์จึงรับสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม ตั้งแต่เหตุการณ์ครั้งนั้น จึงทำให้เกิดประเพณีกำฟ้าสืบมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับชาวไทยพวนมีอาชีพทำนาอยู่แล้ว จึงมีวิถีชีวิตผูกพันกับฟ้า ไม่กล้าทำให้ฟ้าพิโรธ เพราะกลัวฟ้าฝนฟ้าจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล การจัดงานบุญกำฟ้านี้ ก็เพื่อให้ผีฟ้าเทวดามีความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการแสดงความขอบคุณผีฟ้าที่ประทานฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย

ประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน หมู่บ้านน้ำจั้น ตามประเพณีจะจัดตั้งแต่วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งเป็นวันเตรียมงานหรือวันสุกดิบ คนในหมู่บ้านหรือสมาชิกในครัวเรือนจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปั้นยัดไส้หวาน ไส้เค็ม ชุบไข่ และปิ้งไฟจนแห้งเกรียม) เพื่อนำสิ่งของดังกล่าวไปเซ่นไหว้ผีฟ้า นอกจากนี้ยังมีการสร้างปะรำสำหรับทำพิธีที่วัด ตอนเย็นจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ผู้อาวุโสของหมู่บ้านจะประกอบพิธีเบิกบายศรี อัญเชิญเทพยดาผีฟ้ามารับเครื่องสังเวย และมีการรำขอพร กล่าวคำขอให้ผีฟ้า ผีบ้าน ผีเรือน มาปกปักรักษาคนในครอบครัวให้อยู่ดีกินดี มีข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ สิ่งสำคัญที่สุดของงานบุญนี้คือทุกคนต้องหยุดทำงานทั้งหลายทั้งปวง เพราะมีความเชื่อว่าหากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะถูกฟ้าผ่าตายได้

สำหรับในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันกำฟ้า ซึ่งเป็นวันสำคัญที่สุด ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อเตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระและร่วมกันใส่บาตรข้าวหลามข้าวจี่ ตอนบ่ายจนถึงกลางคืนจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เตะหม่าเบี้ย ต่อไก่ ไม้อื่อคร่อมเส้า ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า และในช่วงเวลากำฟ้านั้น คนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวจะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นการพยากรณ์เกี่ยวกับความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน โดยมีคำทำนาย ดังนี้

เสียงฟ้าร้อง หมายถึง ฟ้าเปิดประตูน้ำ
ฟ้าร้องทางทิศเหนือหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะตกดี ทำนาจะได้ข้าวดี
ฟ้าร้องทางทิศใต้ ทำนายว่า ฝนจะแล้งข้าวกล้าในนาจะเสียหาย ชาวบ้านจะอดเกลือ
ฟ้าร้องทางทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะน้อย เกิดความแห้งแล้ง ทำนาไม่ค่อยได้ผล นาในที่ลุ่มดี นาในที่ดอนจะเสียหาย ข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจะเดือดร้อน เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท รบราฆ่าฟันกัน
ฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ชาวบ้านจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่มีโจรผู้ร้าย

หลังจากำฟ้า 1 สัปดาห์ จะไปทำบุญที่วัดอีกครั้งหนึ่งโดยนำดุ้นฟืนที่ติดไฟ 1 ดุ้น ไปทิ้งตามแม่น้ำลำคลองให้ไหลไปตามสายน้ำ เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ และเป็นการบอกกล่าวแก่เทวดาผีฟ้าว่าหมดเขตกำฟ้าแล้ว

ปัจจุบัน งานกำฟ้าเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากบ้านเมืองเจริญขึ้น การทำบุญต่างๆ ได้รวบรัดตัดรายละเอียดของพิธีลงไป แต่ก็ใช่ว่าจะลดความสำคัญลง ฉะนั้น เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับประเพณีไทย เพื่อให้คงอยู่คู่ชาติไทย สืบไป


คำค้นหา :

ประเพณีกำฟ้า

ประเพณีกำฟ้า, บ้านน้ำจั้น, ประเพณีภาคกลาง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย
ประเพณีไทย
ประเพณีไทย
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์อย่างแยกแยะไม่ได้ ผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นตามภาคต่างๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ชุมชนให้ความนับถือ เมื่อมีการจัดพิธีดังกล่าวขึ้น คนในชุมชนที่มาร่วมพิธีจะเกิดความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง

ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการนำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องหลักที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจโดยถ่องแท้

พิธีกรรมตามพจนานุกรมฯ ให้ความหมายไว้ว่า “พิธีกรรม” หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา

พิธีกรรม คือ การกระทำที่คนเราสมมติ ขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป เช่น พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่ง พิธีกรรม หมายถึง พฤติกรรม ทีมนุษย์พึงปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตามต่างก็มีการปฏิบัติต่อศาสนาของตน ตามความเชื่อและความศรัทธาของตนเองในแต่ละศาสนาจึงก่อให้เกิดเป็น “พิธีกรรม” ทางศาสนาด้วยความเชื่อและความศรัทธา

ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า ขนบธรรมเนียม แบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น “ขนบ” มีความหมายว่า ระเบียบ แบบอย่าง “ธรรมเนียม” มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติ ที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป

พิธีกรรมและประเพณี จัดเป็นจารีตประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมา นับว่าเป็นสมบัติที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณี อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ความรู้แก่เยาวชนและองค์กรภาครัฐทุกส่วน ให้สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ หมายความว่า ทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เกิดความชำนาญและแนะนำผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือการปฏิบัติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น มีความรู้ในการทำพิธีอย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้สังคมไทยมีจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม


คำค้นหา :

ประเพณีไทย

อนุรักษ์, สืบทอดวัฒนธรรม, ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
๑. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

๓. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้
• ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
• ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

๔. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ
• เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
• เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

๕. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

แนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมิติทางวัฒนธรรม
จากการศึกษาประเด็นหลัก ๕ ประเด็นหลักข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่าคือ สาระสำคัญของการดำเนินวิถีชีวิตของสังคมไทยซึ่งจะนำมาซึ่งความสุข ความสมดุล ตรงตามเป้าหมายสูงสุดของการดำเนินงานวัฒนธรรม โดยนัยยะของ “วัฒนธรรม” หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน คือจิตใจ สังคม และวัตถุ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีดุลยภาพ นำมาซึ่งสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพ อันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของมนุษยชาติ การประยุกต์ใช้จึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งที่จะต้องร่วมมือกัน


คำค้นหา :

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา, เศรษฐกิจพอเพียง, พอเพียง
อ่านประเพณีไทยเพิ่มเติม >>
ประเพณีไทย ประเพณีไทย ประเพณีไทย
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

เศรษฐกิจพอเพียง

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย
Presented by anirud ประเพณีไทย on Nov 01 2012
Rating: 5
ประเพณีไทย โดย anirud

ความรู้ ประเพณีไทย

คำค้นหา ประเพณีไทย

กลอนประเพณีผูกเสี่ยว (1) การประสมวงดนตรีไทย (1) การรักษาสัมพันธภาพ (1) การละเล่นไทย (3) การละเล่นพื้นบ้านมะโย่ง (1) การละเล่นภาคใต้ (1) การละเล่นว่าว (1) การเล่นโพงพาง (1) การเล่นว่าว (1) การเล่นว่าวไทย (1) การวาดภาพ (1) การ วาด ภาพ ระบายสี โปสเตอร์การ (1) การสร้างสัมพันธภาพ (1) การอยู่ร่วมกัน (1) การอยู่ร่วมกันในสังคม (2) เกณฑ์การแข่งขัน (1) เกษตรแบบผสมผสาน (1) ขนบธรรมเนียม (2) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย (1) เขียนเรียงความ (1) แข่งขันดนตรีไทย (1) แข่งขันเรือยาว (2) แข่งขันเรือยาว สกลนคร 2557 (1) แข่งดนตรีไทย (1) ครอบครัวพอเพียง (1) ครอบครัวพอเพียง เรียงความ (1) ความคิดและการแสดงออก (1) ความเป็นไทย (1) ความเป็นมาเศรษฐกิจพอเพียง (1) ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง (1) คำกลอนประเพณีบุญบั้งไฟ (1) คำขวัญวันเด็ก (1) คำขวัญวันเด็ก 2559 (1) โคมลอย (1) งานศพ (1) งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน (1) ดนตรี (1) ดนตรีไทย (2) ทหารเรือ (1) ทักษะการเขียนเรียงความ (1) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ (1) ทันตแพทย์ในดวงใจ (1) ทำขวัญ (1) ธรรมเนียมประเพณีของทหารเรือ (1) บทความเศรษฐกิจพอเพียง (1) บ้านน้ำจั้น (1) บุญข้าวประดับดิน (1) บุญข้าวสาก (1) บุญเดือน 9 (1) บุญบั้งไฟ (1) ประเพณี (6) ประเพณีกำฟ้า (1) ประเพณีแข่งขันเรือยาว (1) ประเพณีทหารเรือ (1) ประเพณีทำขวัญ (1) ประเพณีทำขวัญแม่โพสพ (1) ประเพณี ไทย (9) ประเพณีไทยไทย (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ (1) ประเพณีบุญบั้งไฟ 2557 (1) ประเพณีผูกเสี่ยว (1) ประเพณีภาคกลาง (1) ประเพณีภาคใต้ (1) ประเพณีภาคเหนือ (1) ประเพณียี่เป็ง (1) ประเพณีลอยกระทง (1) ประโยชน์ของดนตรี (1) ประโยชน์ของศิลปะ (1) ประโยชน์ดนตรี (1) ประวัติ เพลงชาติไทย (1) ปรัชญา (1) ผูกเสี่ยว (1) พระราชดำรัส (1) พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (1) พอเพียง (3) พิธีจัดงานศพ (1) เพลงแข่งขันวงดนตรีไทย (1) เพลงชาติไทย (1) ภาพประเพณีไทยประกวด ภาพ วาด 2557 (1) ภาพวาด (1) ภาพวาดประกวดประเพณีไทย (1) ภูมิปัญญาชาวบ้าน (3) ภูมิปัญญาชาวบ้านปัจจุบัน (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน (1) ภูมิปัญญาไทย (1) มโหรี (1) มโหรีพื้นบ้าน (1) มะโย่ง (1) ระดับประเทศ (1) ระเบียบประเพณีไทย (1) เรียงความ (3) เรียงความ ประเพณี ไทย (2) เรียงความเศรษฐกิจพอเพียง (2) เรียนวาดภาพ (1) เรือยาวสกลนคร (1) โรงเรียน (1) ลอยกระทง (1) ลอยกระทงภาคเหนือ (1) ลาวบุญคูนข้าว (1) วงมโหรีพื้นบ้าน (1) วันเด็ก 2559 (1) วันเด็กแห่งชาติ (1) วันที่ห้ามเผาศพ (1) วันผีกิน (1) วันลอยกระทง (1) วาดภาพระบายสีเศรษฐกิจพอเพียง (1) ว่าว (1) ว่าวควาย (1) ว่าวจุฬา (1) ว่าวไทย (1) ว่าวปักเป้า (1) ว่าว ภาษาอังกฤษ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ (1) ศิลป์สร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ (1) ศิลปหัตถกรรม 2557 (1) ศิลปหัตถกรรม 64 (1) ศิลปะ (4) ศิลปะกับมนุษย์ (1) ศิลปะในสังคมไทย (4) ศิลปะบำบัด (3) ศิลปะบำบัดพื้นฐาน (2) ศิลปะเพื่อชีวิต (1) ศิลปะเพื่อสุขภาพ (1) เศรษฐกิจพอเพียง (8) เศรษฐกิจพอเพียง คือ (1) เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน (1) สกลนคร 2557 (1) สมัยกรุงสุโขทัย (1) สอนวาดภาพ (1) สังคม (1) สัปเหร่อ (1) สัมพันธภาพ (1) สัมพันธภาพกับผู้อื่น (1) สัมพันธภาพที่ดี (1) สืบทอดวัฒนธรรม (1) หลักการอยู่ร่วมกัน (1) แห่ดาว (1) แห่ดาว ท่าแร่ (1) แห่ดาว สกลนคร (1) อนุรักษ์ (1) อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข (1) เอกลักษณ์ไทย (1)

เว็บไซต์เพื่อนบ้าน

ผู้ติดตามข่าวสารประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย

ผู้ชมเว็บไซต์ ประเพณีไทย วัดโดยstats.in.th